ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ อ่านเสริมสำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาเห็นธรรมในอนิจจัง  (อ่าน 3485 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


ความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดขึ้นก็เพราะไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ที่ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ก็เพราะมีสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์อยู่ สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ คือ



๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง  (ความต่อเนื่อง   ปดปิด  ความเปลี่ยนแปลงและความไม่คงทนถาวร)  สันตติ คือ ความสืบต่อของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วเหลือเกิน จึงทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของนามและของรูป ทำนองเดียวกับที่เห็นแสงไฟที่ธูป ซึ่งแกว่งหมุนเป็นวงกลมอย่างเร็ว ๆ ในที่มืด ๆ จึงทำให้เห็นไปว่าแสงไฟนั้นติดกันเป็นพืด เป็นวงกลมไปเลย


เมื่อยืนขึ้น  รูปที่เคยนั่งก็ดับไป   เมื่อเดิน  รูปยืนนั้นก็ดับไป   เมื่อเดิน  รูปที่ยกเท้าขึ้นก็ดับไปไม่ถึงในขณะก้าว  เมื่อก้าว รูปที่ก้าวก็ดับไปไม่ถึงในขณะย่าง  เมื่อย่าง รูปที่ย่างก็ดับไปไม่ถึงในขณะเหยียบ  รูปแต่ละส่วน  ดับไป แตกไปในส่วนของตน ๆ ในช่วงนั้น ๆ เอง  ไม่ปนกัน 


เมื่อยืนขึ้น  รูปที่นั่งก็ดับไป  เมื่อเดิน  รูปที่ยืนนั้นก็ดับไป  เมื่อนอน รูปที่เดินก็ดับไป   รูปแต่ละส่วนสิ้นไปสิ้นไปไม่ปนกันอย่างนี้


ทั้งนาม คือเจตนาที่คิดจะเดินก็ดับไปไม่ถึงเวลานอน  เจตนาที่คิดจะนอนก็ไม่ถึงเวลานั่ง   นามธรรมต่างดับไปเป็นส่วน ๆ ไม่ปนกันดังนี้

สังขารในอดีต  แตกไปแล้วในอดีต  ไม่ได้ไปกองรวมกันอยู่ที่ไหน ไม่ติดมาถึงปัจจุบันและอนาคต

สังขารในอนาคต  ก็จะเกิดขึ้นและแตกไปในอนาคต  ไม่ติดมาถึงปัจจุบันและอดีต

สังขารปัจจุบันก็จะแตกลง  หายไป  ในปัจจุบันนี้เอง  ไม่ได้สืบเนื่องไปถึงอนาคต  และไม่ได้ปนอยู่กับอดีต


สังขารในกาลทั้งสาม  ไม่ได้ปะปนกัน  เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แตกทำลายไป  และเมื่อแตกสลายไปแล้วก็ไม่ได้ไปตั้งอยู่ที่ไหน  มีแต่หายไป  หายไป  แม้จิตที่กำหนดว่าสังขารไม่เที่ยง จิตดวงนั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ควรกำหนัดยินดี ไม่ควรถือว่า เป็นเรากำหนด หรือจิตของเรา หรือเราดีกว่าคนอื่น เพราะได้กำหนด คนอื่น ๆ ไม่กำหนด เป็นต้น


เมื่อไม่เห็นความเกิดดับ ก็ทำให้เข้าใจผิดไปว่ารูปนามนี้ไม่มีการเกิดดับ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตนเราเขา เป็นของสวยงามน่าชื่นชมยินดี ต่อเมื่อได้กำหนดจนเกิดปัญญาเห็นความดับไปของนามของรูปอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว จึงจะทำลายความวิปลาส(เข้าใจผิด)ที่เห็นว่าเที่ยงว่ายั่งยืน และทำลาย  ความถือตัวได้



๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ อันความทุกขเวทนาทั้งหลาย ตามปกติเป็นส่วนมากนั้นเกิดจากอิริยาบถ เช่น นั่งมากก็เมื่อยเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาแล้วทนอยู่ไม่ได้ เดินมากก็เมื่อยทนไม่ได้ ยืนมากก็ทนไม่ไหว แม้แต่นอนมากก็ลำบากทนอยู่ไม่ได้นานเหมือนกัน

อิริยาบถเก่าเป็นทุกข์นั้นย่อมรู้เห็นกันทั่วไปได้โดยง่าย เมื่อนั่งนานก็เมื่อยทนไม่ได้จึงลุกเดิน ก็นึกว่าการเดินนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเมื่อย เดินนานหน่อยก็เหนื่อยทนไม่ได้อีกจึงนอน ก็นึกว่าการนอนนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเหนื่อย คือเห็นว่าอิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่นั้นเป็นสุข เพราะขณะที่เปลี่ยนใหม่ ๆ นี้ ทุกขเวทนายังไม่ทันเกิด


แท้จริงอิริยาบถเก่าเป็นทุกข์ อิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่ก็จะเป็นทุกข์อีกเหมือนกัน รวมความว่า หนีทุกข์เก่าไปสู่ทุกข์ใหม่นั้นเอง อิริยาบถเก่านั้นเห็นทุกข์ได้ง่าย เพราะทุกขเวทนากำลังมีอยู่ แต่อิริยาบถใหม่ก็ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ จะต้องสำแดงให้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอนไม่เร็วก็ช้า

อิริยาบถเก่าที่กำลังมีทุกข์เวทนาอยู่ เป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส อิริยาบถใหม่ที่นึกว่าเป็นสุขนั้นก็เป็นที่ตั้งแห่ง ตัณหา คือ อภิชฌา แต่ว่าการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น เพื่อกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ทั้งสองอย่าง


ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงการเห็นทุกขเวทนา ซึ่งผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานย่อมจะเห็นทุกขเวทนาก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะทุกขเวทนาเป็นของหยาบ เห็นได้ง่าย ขั้นที่สอง จึงจะเห็นสังขารทุกข์ที่จะต้องถูกเบียดเบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ ต่อไปก็เห็น ทุกขลักษณะ คือ ความเกิดดับเป็นขั้นที่สาม และจะปรากฏทุกขสัจจ เป็นขั้นสุดท้าย

ทุกขเวทนา เห็นได้ในอิริยาบถเก่า เห็นสังขารทุกขได้ในอิริยาบถใหม่ เห็นทุกขลักษณะได้เมื่อกำหนดนามรูปจนสันตติ(ความต่อเนื่อง)ขาด และจะเห็นทุกขสัจจ ได้ในสังขารุ เบกขาญาณที่แก่กล้า มีกำลังพอที่จะอนุโลมให้เห็น อริยสัจจ ทั้ง ๔ ได้   เมื่อเห็นทุกข์ ก็ทำลายวิปัลลาสธรรมที่เห็นว่าสุขว่าสบายนั้นได้ และประหาณตัณหาลงได้

ความทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้น ครูดสี แม้จิตที่กำหนดรู้ทุกข์นั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนของใคร จิตที่กำหนด สติที่กำหนด ต่างก็เป็นสังขารที่เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน จึงไม่ควรถือมั่นจิต ถือมั่นสติ ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าจิตของเรา หรือด้วยการกำหนดนี้ เราจะมีปัญญา เราจะได้อานิสงส์อย่างนั้นอย่างนี้ เราจะได้บุญมากขึ้น เราจะเกิดในสวรรค์ เป็นการสร้างตัณหาผูกกับอนาคตเข้าไปอีก


๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความเข้าใจว่าเป็นก้อน เป็นแท่ง ความสำคัญว่าเป็นก้อนเป็นแท่งนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นคนเป็นสัตว์ ที่ว่าเป็นคนก็สำคัญเอาหมดทั้งก้อนหมดทั้งแท่งนี้ว่าเป็นคน

แต่ถ้าย่อยก้อนนี้แท่งนี้ออกไปแล้ว ก็จะมีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อาการ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้นเท่านั้นเอง หาสิ่งที่เป็นคนเป็นตนเป็นตัวนั้นไม่มีเลย ถ้ายังถือทั้งก้อนทั้งแท่งว่าเป็นคนอยู่ ก็ย่อมจะเข้าใจผิดไปว่าเป็นของเที่ยง เพราะยั่งยืนอยู่นับสิบ ๆ ปี เป็นสุข เป็นสาระ สวยงามน่ารักน่าใคร่ เวลาที่โกรธก็คิดว่าคนเขาทำไม่ดีกับเรา  แต่เมื่อแยกออกมาแล้ว จะเห็นแต่รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ  หาคน หรือสัตว์ ให้โกรธไม่มี


รูป ไม่ใช่เวทนา  เวทนา ไม่ใช่สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ  แต่ละอย่างแยกออกจากกัน  แต่เมื่อเข้าใจผิด ก็จะมองว่าเป็นเรา เป็นของเรา ทั้งที่ขันธ์แต่ละส่วนนั้น มีปัจจัย ๆ ต่างกัน แต่เมื่อผสมออกมาแล้ว ตั้งแล้ว ก็แตกตัวไปทันที หาความเป็นอะไรจริง ๆ ไม่ได้ แม้เหตุให้เกิดรูปขันธ์นั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนทำให้เกิด แต่เป็นเพราะกรรมเก่าทำให้มีรูปร่างหน้าตาต่าง ๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เพราะการทานอาหาร ทำให้กายนี้ตั้งอยู่ เติบโตได้ ไม่ตาย  เพราะจิต ทำให้เิดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นได้ และเพราะอุตุ ทำให้กายนี้มีไออุ่น ไม่เย็นเหมือนศพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รูปเกิด ไม่ใช่ตัวตนของใครทำให้รูปเกิด แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่ยั่งยืน ถูกบีบคั้น และไม่ใช่่ตัวตน พึงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปด้วยประการนี้ แม้เวทนาก็เกิดเพราะผัสสะ แม้สัญญา สังขาร ก็เกิดเพราะผัสสะ แม้วิญญาณ ก็เกิดเพราะนามรูป ไม่มีขันธ์ห้าเกิดได้เอง ด้วยกำลังของตัวเองในส่วนไหนเลย

เมื่อเห็นอนัตตา ก็ทำลายวิปลาสว่า เป็นตัวเป็นตนบังคับบัญชานั้นได้ว่าให้เป็นอย่างยนั้นอย่างนี้ได้ เพราะเห็นชัดแล้วว่าไม่มีขันธ์ทั้งภายในคือของเรา และภายนอกคือของคนอื่น ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเทวดา ของใคร ที่จะบังคับ หรือสั่งให้เป็นไปอย่างไหนตามใจได้ เพราะปัจจัยที่ให้เกิดขันธ์เหล่านั้นเป็นที่มาของขันธ์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่ใช่การบงการหรือคำสั่งจากใคร คลายจิตออกจากความคาดคั้นในขันธโลกได้ และประหาณทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ลงได้ การทำลายสิ่งที่ปกปิดไตรลักษณ์ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์นั้น มีวิธีเดียว คือ การกำหนดเพ่งรูปนามตามวิธีที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

แม้จิตที่ประกอบกับสติที่กำลังวิปัสสนากำหนดลักษณะอนัตตา หรือไตรลักษณ์ทั้งหมดนั้น ก็เป็นสักว่าสังขารอย่างหนึ่ง ที่ถูกผสมผสานแล้วออกมาเป็นจิต เป็นสติ เป็นปัญญา หาได้มีความเป็นตัวตนไม่  ทั้งสังขารเหล่านั้นก็ไม่ได้ตั้งเจตนาว่า "ขอเราจงเป็นสติ" หรือ "ขอเราจงเป็นปัญญา" เป็นต้น ทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าสังขารที่เกิดขึ้นตามปัจจัย ตามอารมณ์ ที่ไหลไป  เกิดขึ้น แล้วสลายตัวลง ไม่มีการอยู่กับที่ ถูกบีบคั้น และถือเอาไม่ได้  เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในไตรลักษณ์แล้ว ย่อมระอา เมื่อระอากับสังขาร ในอกุศล หรือแม้แต่ระอาที่จะถือมั่นกุศล หรืออัพยากฤต ได้แก่สิ่งที่เป็นกุศลก็ไม่ใช่ เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ เช่นกาย หรือธาตุดินน้ำลมไฟอันไม่มีจิตใจ นี้แล้ว ตัณหาย่อมไม่มีที่ตั้ง ไม่มีเหตุผลให้เกิดขึ้น เมื่อสิ้นตัณหา ย่อมไม่ีมีทุกข์ตามมาได้อีกต่อไป สิ้นสุดกับภาพการมีความสุขบนลวงตา



***************************

วิธีวิปัสสนาจากพระไตรปิฎกเพื่อให้ญาณแก่กล้า
มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
         
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า