ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ สัปปายะในการปฏิบัติ อย่างไร ?  (อ่าน 2514 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ฟังจากผู้รู้ ในเรื่องการปฏิบัติ ก็มักจะบอกว่า ให้หาที่สัปปายะ ที่สบาย

ผมไปหาพระที่วัด ท่านก็บอกว่า ไม่ สัปปายะ ในการภาวนา แล้ว ที่ไหน ? จะเป็นที่สัปปายะ ในการภาวนา หากวัดยังไม่เป็นที่สัปปายะ ในการภาวนา ครับ

 หรือ ผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจกับ เรื่อง สัปปายะ ครับ

  :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ สัปปายะในการปฏิบัติ อย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2011, 08:49:26 pm »
0

สัปปายะ ๗ (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย)

          ๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ)
          ๒. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป)
          ๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ)
          ๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ)
          ๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก)
          ๖. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น)
          ๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี)


อ้างอิง วิสุทฺธิ. ๑/๑๖๑; วินย.อ.๑/๕๒๔; ม.อ.๓/๕๗๐
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    เอาทฤษฎีไปก่อนนะครับ เรื่องปฏิบัติจริง จะมาคุยทีหลัง เพื่อนๆสมาชิกช่วยว่ากันไปก่อน
   :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ สัปปายะในการปฏิบัติ อย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2011, 09:03:34 pm »
0
แจ่มแจ้ง ครับ ว่าทำไม บางวัดจึงไม่เป็นที่สัปปายะ

   ถ้าเทียบใน สัปปายะ 7 ประการแล้ว ก็ชัดเจนนะครับ แต่พิจาารณาจากสัปปายะ แล้ว สัปปายะอะไร ที่ดูจะสำคัญที่สุด จะเป็นสัปปายะ อะไรที่ไม่ควรขาด ครับ

      ลองโหวต ดีไหมครับ 

       ผมให้ ปุคคลสัปปายะ ครับ เป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด......

 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ สัปปายะในการปฏิบัติ อย่างไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2011, 07:39:32 am »
0
ได้ฟังจากผู้รู้ ในเรื่องการปฏิบัติ ก็มักจะบอกว่า ให้หาที่สัปปายะ ที่สบาย

ผมไปหาพระที่วัด ท่านก็บอกว่า ไม่ สัปปายะ ในการภาวนา แล้ว ที่ไหน ? จะเป็นที่สัปปายะ ในการภาวนา หากวัดยังไม่เป็นที่สัปปายะ ในการภาวนา ครับ

 หรือ ผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจกับ เรื่อง สัปปายะ ครับ

  :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:

    เบื้องต้นต้องเข้าใจว่า ข้อธรรมเรื่อง"สัปปายะ ๗"นี้ เป็นของภิกษุ
    ในส่วนของฆราวาส อาจปรับให้เหมาะกับจริตของตัวเอง
    เห็นด้วยกับคุณสถาพร ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน) ต้องมาก่อน
    ปัจจุบันกัลยาณมิตรหายาก โดยเฉพาะครูอาจารย์ที่มีจริตต้องกันกับเรา

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เคยกล่าวว่า ครูสอนกรรมฐานต้องมี"เจโตปริยญาณ"
    ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง หากอาจารย์ไม่รู้อารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้องของศิษย์
    จะเป็นการยากที่จะสอนศิษย์ให้ก้าวหน้า การนำสัญญาของคนอื่นมาสอนอาจไม่ตรงกับจริตของศิษย์
    ยิ่งสมัยนี้คนยิ่งเรียนมาก ยิ่งรู้มาก เมื่อรู้มากก็มีีิทิฏฐิเยอะ สอนยากมากครับ
    เพราะจะมีกิเลสตัวหนึ่งคือ "ญาณัง" กิเลสตัวนี้เป็นความรู้ที่เกิดจากสัญญา ไม่ได้เกิดจากการเห็นตามความจริง ที่ได้มาจากการวิปัสสนาโดยตรง

    การได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติพร้อม เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นข้อแรก

     :49:

   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ