ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที  (อ่าน 18038 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึกว่าฝึกมานานแล้ว ภาพไม่ติดตาเสียที ไม่ทราบการฝึกกสิณมีเทคนิค พิเศษอย่างไรหรือไม่ครับ

จึงจะสามารถได้ อุคคหนิมิต ตามที่ตั้งใจนะครับ

 :c017:

ผมฝึกกสิณสี อยู่ครับ

บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กสิณสี คือ การเพ่งกสิณ แผ่นวงกลมสีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2011, 04:52:49 pm โดย samapol »
บันทึกการเข้า

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การจับภาพนิมิต หรือภาพกสิณใดๆ ภาพจะชัดหรือไม่ชัด จะสว่างหรือไม่สว่าง

ไม่ได้อยู่ที่อาการเพ่ง หรืออาการของภาพ หมายความว่าอย่าสนใจในภาพ ที่เราจับอยู่

หรือนึกถึงอยู่ว่า เอะ! ไมเป็นแบบนั้น เอะ!ไมเป็นแบบนี้ ไห้สนใจที่กำลังใจ หรือใจของเรา

เป็นสำคัญนะครับ ใจยิ่งนิ่ง ใจยิ่งสงบ ภาพจะชัด จะแจ่มใจขึ้นเป็นลำดับ

อย่าสนใจในภาพ ดูความเปลี่ยนปลงของภาพ อย่างใจที่เป็นปกติ เท่านั้นพอ

แต่ไห้จำ ไห้สนใจความรู้สึกของใจเท่านั้น สังเกตดูนะครับ พอใจเราเริ่มสงบนิ่ง+ใจเป็นสุข

ภาพก็จะใสขึ้นตามมา ชัดเจนขึ้น เริ่มสว่างขึ้น อันนี้เข้าสู่อุปจรสมาธิแล้วนะ ถ้ากำลังใจ สงบระงับแนบแน่นลงไปได้อีก

ความเป็นประกายของภาพจะปรากฏขึ้น ถ้าฌาณหนึ่ง หรือประฐมฌาณ ภาพวงกลมที่เราจับ ขอบด้านนอกจะเป็นประกาย ยังไม่กินเข้าไปด้านใน
ที่เล่ามานี่ มันพึ่งจะจุ่มเองนะครับ

พึ่งจะเข้าสู่อัปมาสมาธิในเบื้องต้น ( เอาวงกลมภาพที่เราจับเป็นตัวตั้ง ถ้าเป็นประกายสว่าง หนึ่งในสี่=ฌาณหนึ่ง

เป็นประกายสองในสี่=ฌาณสอง เป็นประกาย สามในสี่=ฌาณสาม ถ้าเป็นประกายสว่างจ้า เต็มดวงภาพกสิณทั้งดวงนั่นแหละ

ฌาณสี่)

การฝึกที่จะไห้ได้ผล ของการจับภาพกสิณ ทุกเวลานาที ภาพที่เราตั้งใจจับไว้นั้น

ต้องอยู่กับใจเราตลอดเวลา นึกปุป เห็นปั๊บ หรือไม่ก็ทรงอยู่ในใจตลอดเวลา

จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ไห้ภาพกสิณนั้น ติดตา ติดใจอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว
สิ่งที่เราปราถนาไว้ จะสมประสงค์แน่นอน

อนุโมทนาครับ
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ห้วข้อกระทู้
กสิณสีแดง
รายละเอียด
กสิณสีแดง

ผู้โพส : ตั๊กม้อ
วันที่ : Monday, May 08, 2552 เวลา : 11:11:49 PM


ความคิดเห็นที่ 1
เพ่ง ๕ นาที แล้วหลับตาเบาๆ อย่ากดบีบตา กำหนดความจำที่เก็บไว้ในจิต เพ่งอยู่ภายใน ถ้ายังจำไม่ได้ให้ลืมตามามองดูใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเป็นนิมิตที่ชัดเจน บริกรรมว่า โลหิตา ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ
จาก ตั๊กม้อ [5/8/2552 23:18:54 ]

ความคิดเห็นที่ 2
รบกวนถามค่ะว่า การเพ่งกสิณสีแดงได้รับผลอะไรบ้าง และบุคลลลักษณะใดที่ควรเพ่งกสิณสีแดงบ้าง ยาแก้ปวดนั้น ยางคนก้ต้อง กินพารา บางคนก้ต้องกินพอนแสตน อย่างไรเสียก็ต้องวิเคราะห์โรคนะค่ะว่ายาตัวนี้เหมาะกับคนไข้ประเภทได้ ดีมิดี คนไข้จะยิ่งอาการหนักนะค่ะ
จาก ปาณิศา [6/8/2552 8:01:05 ]

ความคิดเห็นที่ 3
คุณบัวก็ได้นะ มองเห็นอะไรบ้างครับ
จาก TonG [6/8/2552 9:37:27 ]

ความคิดเห็นที่ 4
ก็เห็นสีแดง หรือให้มองเป็นธงชาติญี่ปุ่นก็ได้อยู่นะ
จาก ปาณิศา [6/8/2552 9:40:56 ]

ความคิดเห็นที่ 5
มองเฉพาะสีแดงในวงกลม เขาให้เพ่งสีแดงนี่ สีขาวแค่เป็นฉากให้สีแดงเด่นขึ้น เดี๋ยวก็เลยไปมองเห็นหน้าหนุ่ม ญี่ปุ่นเข้าหรอก วรรณกสิณเป็น 1 ในกรรมฐาน 40 วิธีที่พระพุทธเจ้าสอน วรรณกสิณจะง่ายต่อการทำให้ติดตา ติดใจ ผลคือทำให้จิตสงบได้ง่ายกว่าวิธีอื่น ฌานที่ได้ก็ระดับปฐมฌานไม่สูงแต่ก็เป็นบาทฐานให้ปฏิบัติกรรมฐานอื่นได้ดี ลองปฏิบัติดูนะครับ
จาก ตั๊กม้อ [6/8/2552 10:40:37 ]

ความคิดเห็นที่ 6
จิงหรือค่ะ ขอบพระคุณค่ะ เพราะตอนนี้ พุท โธ ไม่ค่อยได้ผล ฟุ้งมากมาย ทั้งทีแต่ก่อนได้ผลค่อนข้างดี อาจจะเป็นเพราะไม่สม่ำเสมอด้วยกระมัง
จาก ปาณิศา [6/8/2552 10:46:42 ]

ความคิดเห็นที่ 7
อามิตตาพุทธ
จาก ตั๊กม้อ [6/8/2552 10:54:13 ]

ความคิดเห็นที่ 8
วรรณกสิณ(กสิณสี)...ยิ่งนั่งยิ่งร้อนใจ..ไม่ถูกจริต..หากนั่งเพ่งมองแล้ว ยิ่งสบาย นั่นคือถูกจริตถูกนิสสัย พื้นฐานมองให้เป็นสีขาว...แล้วใส กสิณเป็นบาทให้ได้องค์ฌานเร็ว ในที่นั่งเดียวสำเร็จถึงฌาน4ก็มีหลายคน แต่ก็ติดนิวรณ์ง่าย ฉะนั้นก็ต้องมีสติกำกับมาก วรรณกสิณยังใจให้ชุ่มชื่นดุจเมตตาอัปมัญญากสิณ เจริญขณะแผ่เมตตาให้ครอบฟ้าครอบดินได้เป็นดี ทั้งอานิสงส์ทางการปฏิบัติและการแผ่เมตตาจักบังเกิดให้เห็นชัดเจนเป็นที่ อัศจรรย์
จาก หมอเล็ก [6/8/2552 18:39:12 ]

ความคิดเห็นที่ 9
มีเรื่องจะรบกวนถามท่านผู้รู้ค่ะ เนื่องจากว่าดิฉันเป็นคนที่มีนิสัยแบบว่าพอตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะทำได้ค่อน ข้างดี แต่พอหันไปสนใจอย่างอื่นปุ๊ปงานหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายเดิมจะทิ้งเลย ทั้งที่ยังทำค้างไว้อยู่ ไม่ทราบจะแก้ไขยังไงดีค่ะ ประมาณว่าตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ พอมีงานกลุ่ม ช่วงไหนที่ขยันก็ตั้งใจทำอย่างดี แต่พอช่วงไหน(อย่างเช่นช่วงนี้แหละค่ะ)เบื่อก็ไม่ทำเอาซะเลย ทั้งที่ทราบดีว่าเป็นงานกลุ่มถ้าเราไม่ทำให้ดีเพื่อนๆก็จะเดือดร้อนด้วย แต่เมื่อความสนใจมันหายไปหมดเลยมันก็ขี้เกียจขึ้นมาทันที ช่วงที่ขยันตื่นมาทำงานตั้งแต่ตี 3 ก็ทำไหว แก้ได้มั้ยค่ะ เพราะมันทำให้คนอื่นเดือดร้อนอ่ะค่ะ รู้สึกผิดก็รู้สึกแต่มันสู้ความขี้เกียจไม่ไหวเลย
จาก ปาณิศา [7/8/2552 8:47:20 ]

ความคิดเห็นที่ 10
ปาณิศา มีแต่ตัวขยัน ( ดาวอังคาร ) ขาดตัวอึด ( ดาวเสาร์ ) ดาวอังคาร บวกมฤตยูอยู่ข้างหน้าลัคนาเป็นศูนยพาหะ ถ้าไม่มีดาวพฤหัสบดี เป็นตัวสติกุมลัคน์ช่วย จะจับจดยิ่งกว่านี้ ข้อดีที่ดาวพฤหัสบดีกับดาวอังคารเป็นคู่สมพลกัน อังคารเร็วขาดสติง่ายถ้าได้ดาวพฤหัสบดีช่วยยับยั้งอังคารจึงมีคุณภาพด้านสติ ดีขึ้น ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวความรู้และวิชาการ ถ้าดาวพฤหัสบดีไม่มีดาวอังคารเป็นตัวกระตุ้น จะมีทิฐิมากเรียกทิฎฐิคณาจารย์ ทำอะไรช้าหลักการมากเกินไป ยังมีราหูกับเกตุอีก 2 ตัวที่ส่งกระแสสัมพันธ์ถึง นอกนั้นซ่อนอยู่เรือนวินาสนะหลังลัคนาหมด ราหูก็วูบวาบแนวเดียวกับอังคาร นี่แหละคือเหตุผลที่เป็นอยู่ แก้ไขได้ด้วยสติเท่านั้นฝึกให้การกระทำใหม่ๆใด้ชำนาญเอาชนะพฤติกรรมเก่าๆ เพราะเคยอยู่กับอังคาร และ ราหู มานานจนเคยชินตั้ง 26 ปี ต้องตั้งความเพียรเข้าไว้ ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าบุคคลล่วงพ้นอุปสรรคได้เพราะความเพียร
จาก อ.สัจพจน์ [7/8/2552 9:24:15 ]

ความคิดเห็นที่ 11
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อีกประการหนึ่งที่ทำให้เบื่อกับการเรียนเพราะคิดว่าเรียนไปก็ไม่เห็นจะช่วย อะไรให้สังคมดีขึ้น นอกจากแค่จบไปก้ไปทำงานตามโรงงานหรือบริษัทแล้วก็มีหน้าที่ดิ้นรนต่อสู้ฟาด ฟันกันในโลกธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่มีวันสิ้นสุด ไร้สาระสิ้นดี วันนี้เรียนไปก็เป็นความรู้ที่ทันสมัยที่สุดแต่อีก 10 ปีผ่านไปก็คงเป็นแค่ความรู้โบร่ำโบราณ เหมือนตัวเองเป็นปลาไปติดเบ็ดโง่ๆที่ไม่มีแม้แต่เหยื่อล่อ แต่ก็อีกนั้นแหละสงสัยกรรมจะจัดสรรคให้เป็นแบบนี้ เพราะถ้าไม่เริ่มเรียนชีวิตก็คงเป็นแบบเดิมไม่พลิกผันและคงไม่ได้มาค้นพบ เว๊ปนี้
จาก ปาณิศา [7/8/2552 9:39:47 ]

ความคิดเห็นที่ 12
นั่งแล้วแดงฉานไปหมด แต่ก็รู้สึกดี รู้สึกเหมือนมีพลัง เป็นแป๊บนึงอย่างนี้เกี่ยวกับกสิณสีแดงมั้ย
จาก สงสัย [1/12/2553 8:26:31 ]

ขอบคุณที่มาจากเว็บนี้ครับ

http://www.sathanimahaprash.com/index.asp?contentID=10000006&bid=795&title=%A1%CA%D4%B3%CA%D5%E1%B4%A7&keyword=
บันทึกการเข้า

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เพืิ่้่อรักษา บรรยากาศของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

เรื่องกสิณ น่าจะไปที่นี่นะคะ

http://www.kasina.org/board_v3/index.php
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การฝึกกสินสีขาว พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง ขอแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้วิธีหรือเกิดปัญหาดังนี้

ตั้งวงกสินให้อยู่ไกลประมาณ 1 เมตร 10 ซม.
นั่งให้ระดับสายตาอยู่สูงกว่าตรงกลางวงกสินเล็กน้อย ไม่ให้เงยหน้ามองหรือก้มหน้ามอง
ตั้งกสินให้ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงสะท้อน หรือย้อนแสงนั่นเอง

- จากนั้นให้มองดวงกสินแบบให้มองเหม่อเหมือนส่องกระจกไปที่จุดศูนย์กลางของวงกสิน เพื่อไม่ให้มีแสงลายๆวิ่งรอบๆ ดวงกสิน

- พร้อมกันนั้นให้กำหนดคำภาวนาในใจ เช่น "สีขาว", "สีขาว" เป็นต้น ทุกลมหายใจเข้าออก

- จากนั้นให้เรากระพริบตา เมื่อรู้สึกว่าตาของเรามองกสินไม่ชัด

- เมื่อเรามองกสินไปได้พักหนึ่ง ซึ่งประมาณ 15 วินาที - 1 นาที หรือเมื่อรู้สึกว่านาน ให้หลับตาลงมองดูเงาโครงร้างของกสิน ไม่ใช่นึกภาพเอาเอง เราจะเห็นเป็นวงเงาจางๆ ที่ในหนังตากลางระหว่างคิ้ว

- พยายามรักษารูปเงาของกสินไว้ให้นานที่สุด เมื่อภาพของกสินหายไป อาจจะเพราะจิตเกิดนิวรณ์ หรือภาพที่เคยมองหายไปเอง ให้เราลึมตามองแล้วทำอย่างที่บอกมาแล้วอีกเรื่อยไป

- เวลาที่หลับตาและลืมตานั้น ข้าพเจ้ามีเทคนิคอยู่ว่า อย่าให้ร่างกายของตนเองขยับเขยื่อนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ภาพหายเร็วขึ้น สมาธิเคลื่อน, แต่เวลาที่รู้สึกตามันหนัก ตาจะหลับตาท่าเดียวไม่ลืมตาล่ะก็ ให้หายใจยาวๆ ได้จะทำให้อาการหนักตาหายไป และเวลาที่หลับตาหรือลืมตานั้นควรใช้ตอนที่อยู่ในช่วงเวลาหายใจเข้า เพราะตอนกำลังหายใจเข้าร่ายกายของเราจะนิ่งและรู้สึกเบาตัว

- เมื่อเราดำรงตนอยู่กับคำภาวนา พร้อมกับลืมตามองดวงกสิน สลับกับหลับตามองภาพเงาของกสินได้อยู่ตลอดโดยคำภาวนานั้นไม่ได้ตกหล่นแม้สัก ครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกได้แล้ว

- ต่อไปนานวันเข้า จะทำให้นิวรณ์ดับไปช่วงสั้นๆ คือ ดำรงสมาธิโดยไม่มีนิวรณ์ได้ช่วงสั้นๆ สลับกับมีนิวรณ์แทรกเข้ามาช่วงสั้นๆ ตลอดเวลาการฝึก เมื่อเราทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติอยู่ทุกวี่วัน จะทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของกสินชาวๆ จางๆ ติดตาในเวลาหลับตาที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง เช่น หลับตาตอนนั่งรถประจำทาง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าสมาธิอยู่ใน ระดับ "ขณิกสมาธิ"

- ต่อเมื่อฝึกไปนานๆ เข้าทุกวัน สามารถดำรงขณิกสมาธิได้เป็นปกติแล้ว จะทำให้นิวรณ์ดับไปนานขึ้น จนเกือบไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกเลยในช่วงหลังจากที่เริ่มนั่งฝึกสมาธิแล้ว เมื่อกระทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติเคยชินจะทำให้ภาพของกสินนั้นชัดขึ้น จนติดตาของเรา เห็นภาพเหมือนกับลืมตาปกติ (ก่อนที่จะเห็นเหมือนกับลืมตาได้นั้นจะมีวิวัฒนาการคือ จะเห็นขอบของเงากสินชัดขึ้น ตรงกลางของเงากสินเปลี่ยนสีไปเป็นสีขาวก่อนจุดอื่น และค่อยขยายตัวขึ้น จนในที่สุดจะขาวทั้งดวงเหมือนกับลืมตา) อย่างนี้เรียกว่าสมาธิของเรานั้นอยู่ในระดับ "อุปจารสมาธิ"

- เมื่อกระทำอย่างนี้แล้วเราสามารถวัดความก้าวหน้าได้คือ เมื่อไม่ได้อยู่ในเวลาฝึกปกติ เพียงเราต้องการจะเห็นภาพให้เราหลับตาลง นึกถึงดวงกลมๆ ของเงากสินเพียงลัดนิ้วมือจะเห็นภาพเหมือนกับลืมตาทันที

- เมื่อกระทำอุปจารสมาธิได้เป็นปกติแล้ว เราสามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการกระทำแบบเดิมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้สมาธิก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นคือ นิวรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มนั่งลงฝึก แล้วพอเรากำหนดคำภาวนาไปนิวรณ์จะหายไป  ไม่กลับมาอีกเลยตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก อาการปิติต่างๆ เช่น ขนลุก, น้ำตาไหล, ตัวโยกโคลง, ตัวเบาเหมือนลอยได้ ความชุ่มชื่นอิ่มเอมใจน้อยๆ ปรากฏขึ้นมา จิตของเราที่เคยรู้สึกตามลมหายใจเข้าไปหรือตามลมหายใจออกมา ไม่อยู่นิ่งจะอยู่นิ่งเอยู่พียงจุดเดียว คือ ระหว่างคิ้วที่ภาพของกสินนั้นชัดเหมือนลืมตา และคำภาวนาปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าสู่ "ปฐมฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกระทำไปด้วยวิธีการดังเดิม แม้ในวันเดียวกัน หรือหลายวันขึ้นอยู่กับความเพียร จะทำให้คำภาวนาของเราค่อยๆ หายไป บางทีอยู่ดีๆ หายไป กลายเป็นเรารู้ลมหายใจชัดมากขึ้นไม่มีคำภาวนามาแทรก อาการต่างๆ ของปิติยังคงอยู่ ภาพของกสินยังเป็นสีเดิมแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น นูนขึ้นเหมือนกับภาพ 3 มิติ เมื่อนั้นสมาธิของเราเข้าสู่ "ทุติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสินจิตจ่ออยู่ตรงกลาง ระหว่างคิ้ว ลมหายใจแผ่วเบาลง ภาพของกสินเริ่มเปลี่ยนเป็นเหมือนแก้วขาวใสขุ่นๆ เหมือนกับมรกตที่มีสีขาวใสผสมกับเนื้อกระจก อาการต่างๆ ของปิติสงบไปเองไม่ต้องบังคับ อาการแช่มชื่น สุขใจ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดปรากฏขึ้นเต็มตัว เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าถึง "ตติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสิน ภาพของกสินจะค่อยๆ ใสคล้ายกับเนื้อของเพชร สีขาวค่อยๆ หมดไป จนเหลือแต่เพียงสีผลึกเพชร 7 สีอย่างเดียว สว่างไสว ลมหายใจที่มีอยู่หายไปเอง ไม่ต้องบังคับ อาการความสุขต่างๆ หายไปเหมือนกันไม่ต้องบังคับ เมื่อนั่นสมาธิของเราเข้าสู่ "จตุถฌาน"

- จากนั้น ถ้าเราต้องการที่จะฝึกวิชชา 8 หรือเข้าอรูปฌาน หรืออภิญญาก็สามารถกระทำได้ เช่น
        - ถ้าต้องการฝึกอรูปฌานให้เริ่มโดยการกำหนดอยู่นิ่งๆ กับภาพกสินที่เป็นผลึกเพชร ไม่มีลมหายใจปรากฏ จิตแน่วแน่ขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ภาพของเงากสินนั้นค่อยๆ ไปเหลือเพียงดวงกสินไม่มีใส้ ผลึกเพชรหายไป พูดง่ายๆ เหมือนกับวงกลมธรรมดาที่เขียนขึ้นมีพื้นสีดำที่เป็นเหมือนอากาศ  เรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้นเป็นต้นไปเรียกว่าเข้าสู่อรูปฌานที่ 1

เพิ่มเติม

1.  เวลาทำกสินนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของกสิน เช่น ปฐวีกสินจะใช้ดินที่มีสีแดงหน่อยๆ (ดินขุยปู) ในการทำ, โอทาตกสินจะใช้ผ้าขาว หรือกระดาษสีขาว เป็นต้น แต่ที่เหมือนกันของทุกกสินนั้นคือขนาดความกว้างของดวงกสินที่มีลักษณะกลม นั้น จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 คืบ 4 นิ้ว และต้องมีพื้นผิวที่เรียบไม่มีตำหนิครับ

แต่ถ้าต้องการเพ่งวรรณกสิน คือ สีแดง, สีขาว, สีเหลือง, สีเขียว แล้วล่ะก็ ปัจจุบันมีแบบที่สำเร็จรูปขายแล้วครับ ซึ่งขนาดของดวงกสิน และความสูงของดวงกสิน พื้นผิวเป็นไปตามที่ท่านพระพุทธโฆษจารย์อธิบายไว้ในคำภีวิสุทธิมรรคครับ

2. วิธีการที่จะช่วยให้เพ่งกสินและกำหนดภาพกสินนั้น ข้าพเจ้าได้เขียนอธิบายไว้ข้างต้นแล้ว ขอให้คุณลองตีความจากนั้นปฏิบัติตามดูครับ  ส่วนระยะเวลาที่ฝึกแล้วสามารถเห็นผลได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัยครับ เช่น
        -  สร้างสถานที่และองค์ประกอบต่างๆ ของการเพ่งกสินให้เหมาะสม
        - แบ่งช่วงเวลาที่แน่นอนในการฝึก เช่น เช้ามืด 1 ชม. และ กลางคืน 1 ชม. และอย่าพยายามขาดการฝึก
        - มีศรัทธาตั้งใจอย่างแน่วแน่โดยอาศัยหลักอิทธิบาทสี่
        - อย่าเกิดความอยากได้เร็วๆ เพราะจะกลายเป็นกามฉันทะไปเสีย
        -  ระยะเวลาที่ฝึกอย่างสม่ำเสมอ มากน้อย ซึ่งตรงนี้คือจุดสำคัญมาก เพราะถ้ายิ่งฝึกบ่อยจะทำให้จิตและตาของเราจำภาพของกสินได้ง่ายขึ้น
        - สร้างจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ ในช่วงเวลาดำเนินชีวิตตามปกติไม่ใช่ช่วงการฝึกสมาธิประจำวัน
        - พยายามรักษาดวงตาของเราอย่าให้แห้ง โดยดื่มน้ำมากๆ อย่าใช้สายตาฟุ้มเฟือย

*ถ้า มีความตั้งใจจริง พยายามอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีศีลบริสุทธิ์ คุมจิตใจและสมาธิอยู่เนืองๆ ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนย่อมเห็นถึงความก้าวหน้าครับ

ที่มา : ลานธรรมเสวนา
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เกี่ยวกับเรื่อง กสิณ ที่เว็บท่านี้ คะ

http://web.ruammid.com/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

 :character0029: :character0029: :character0029:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นผู้มีชำนาญ กันจริง ๆ นะนี่ สำหรับส่วนนี้พระอาจารย์ไม่มีความเห็นนะจ๊ะ

เชิญว่ากันไปตามสบายนะจ๊ะ ....

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ชอบเรื่องกสิณ คะ

อาจจะเป็นเพราะจริต เลือกแบบโลดโผน คะ

 :13:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ภาพวงกลมสีแดง นั้นถ้าเพ่งใน จอคอมพิวเตอร์ไม่จัดเป็นวรรณกสิณ พึงระวัง
สีไม่มีกำเนิดของแสง แต่พอจัดในกสิณพิเศษ

 ถ้าจัดเป็นการเพ่งกสิณ ถือว่าเป็นกสิณโทษ ไม่ตรงเจตนาของการฝึก

เนื่องด้วย กสิณสี ต้องอาศัยแสงกระทบ ไม่ใช่ให้แสงในตัว

ดังนั้นถ้าเราเพ่งที่จอ คอม จัดเป็น อาโลกกสิณ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

notebook123

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ท่านต้องการกสิณ(ฤทธิ์เดช)หรือ ธรรมะที่ลึกซึ้งของพระพุทธองค์ครับ
กสิรไม่ทำให้หลุดพ้น ปัญญาและ การตัด  โลภ โกรธ หลง  เท่านั้น
บันทึกการเข้า