ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิบากเกิดจากกรรม ภพใหม่ก็มีเพราะกรรม โลกหมุนเวียนอยู่อย่างนี้  (อ่าน 2132 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กมฺมวิปากา วตฺตนฺติ วิปาโก กมฺมสมฺภโว กมฺมา ปุนพฺภโว โหติ เอวํ โลโก ปวตฺตติ.
เพราะกรรม วิบากทั้งหลายจึงเป็นไป, วิบากเกิดจากกรรม, ภพใหม่ก็มีเพราะกรรม โลกหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ (วิสุทธิมรรค)


ว่าด้วยกรรม ๑๒ ชนิด (๑)

ในกัมมวัฏฏ์และวิปากวัฏฏ์นั้น กรรม(ให้ผลตามคราว) มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า
    ๓. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบๆไป
    ๔. อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว

    ในบรรดาจิต ๗ ดวง(ซึ่งดำเนินไป) ชวนวิถีเดียวกันนั้น ชวนเจตนาดวงแรกเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม มีชื่อเรียกว่า "ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม" ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนั้นให้ผลในอัตภาพนี้เท่านั้น
    แต่เมื่อไม่สามารถ(ให้ผล) อย่างนั้น ก็มีชื่อเรียกว่า "อโหสิกรรม" ไป ที่เป็นกรรมมีชื่อเรียกว่า "อโหสิกรรม" ตามหลักของหมวด ๓(ติกะ) ดังนี้ คือ
     ผลของกรรมมิได้มีแล้ว ๑
     ผลของกรรมจักไม่มี ๑
     ผลของกรรมไม่มีอยู่ ๑ (๒)
 
     ส่วน ชวนเจตนาดวงที่ ๗ ซึ่งทำให้สำเร็จความประสงค์ มีชื่อเรียกว่า "อุปปัชชเวทนียกรรม" อุปปัชชเวทนียกรรมนั้นให้ผลในอัตภาพถัดไป เมื่อไม่สามารถ(ให้ผล)ตามนั้น ก็เป็นกรรมมีชื่อเรียกว่า "อโหสิกรรม" ไป

     โดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน ชวนเจตนา(อีก) ๕ ดวง ในระหว่างชวนเจตนา ๒ ดวง (คือดวงที่ ๑ และที่ ๗) มีชื่อเรียกว่า "อปราปรเวทนียกรรม" อปราปรเวทนียกรรมนั้นได้โอกาสเมื่อใดในกาลอนาคตให้ผลเมื่อนั้น เมื่อยังมีความเป็นไปของสังขารอยู่ ก็ยังไม่เป็นกรรมมีชื่อเรียกว่า "อโหสิกรรม"

____________________________
(๑) ชื่อกรรม ๑๒ ในภาษาไทย แปลตามพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒
(๒) ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๑๔ ๒ ได้แก่ รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศล


@@@@@@

ยังมีกรรม(ให้ผลตามลำดับ) อีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ครุกรรม กรรมหนัก
    ๒. พหุลกรรม กรรมเคยชิน
    ๓. อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน
    ๔. กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ

    บรรดากรรม ๔ อย่างนั้น เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ตาม ในบรรดากรรมหนักและไม่หนัก กรรมใดเป็นกรรมหนัก เช่น มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) เป็นต้นก็ตาม หรือมหัคคตกรรม(๒)ก็ตาม กรรมนั้นแลให้ผลก่อน

    ถึงแม้ในบรรดากรรมที่เคยชินและไม่เคยชินก็เหมือนกัน กรรมใดที่เคยชินเช่น ความเป็นผู้มีศีลดีก็ตาม หรือความเป็นผู้ทุศีลก็ตาม กรรมเคยชินนั้นแลให้ผลก่อน

    กรรมที่คนเราระลึกได้ในเวลาใกล้มรณะมีชื่อเรียกว่า "อาสันนกรรม" (คือกรรมเมื่อจวนเจียน) เพราะว่า บุคคลผู้ใกล้จะตายสามารถระลึกถึงกรรมใดได้ เขาก็เกิดขึ้นด้วยกรรมนั้นนั่นแล

    ส่วนกรรมนอกจาก ๓ อย่างนี้ เป็นกรรมที่ได้ความคุ้นเคยบ่อยๆ มีชื่อเรียกว่า "กตัตตากรรม" เมื่อไม่มีกรรม ๓ อย่างเหล่านั้นแล้ว มันจึงชักพาไปสู่ปฏิสนธิ

@@@@@@

ยังมีกรรม(ให้ผลตามกิจ) อีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด
    ๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน
    ๓. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น
    ๔. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน

บรรดากรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่มีชื่อว่า "ชนกกรรม" เป็นทั้งกุศลทั้งอกุศล ชนกกรรมทำให้เกิดวิบากขันธ์ในกามภพ ในรูปภพและในอรูปภพ ทั้งในเวลาปฏิสนธิ ทั้งในเวลาที่วิบากขันธ์เป็นไป (ตั้งแต่เกิดจนตาย)

ส่วน "อุปัตถัมภกกรรม" ไม่สามารถให้เกิดวิบาก(ขันธ์)ได้ แต่เมื่อกรรมอื่นให้ปฏิสนธิแล้ว จึงสนับสนุนสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นในวิบาก(ขันธ์) ซึ่งกรรมอื่นให้เกิดขึ้น ให้เป็นไปตลอดกาล

"อุปปีฬกกรรม" เมื่อกรรมอื่นให้ปฏิสนธิแล้ว ก็เข้าบีบคั้น เบียดเบียนสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นในวิบาก(ขันธ์) ซึ่งกรรมอื่นนำให้เกิดขึ้น มิให้ดำเนินไปตลอดกาล

ส่วน "อุปฆาตกกรรม" ไม่ว่าตนเองจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม คอยตัดรอนกรรมอื่นที่มีกำลังด้อยกว่า ห้ามปรามผลของกรรมนั้นไว้ แล้วทำโอกาสให้แก่ผลของตน แต่เมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนี้แล้ว ก็เรียกวิบากนั้นได้ว่า เกิดขึ้นแล้ว


@@@@@@

ลำดับของกรรมและลำดับของวิบากของกรรม ๑๒ อย่าง ดังกล่าวมานี้ ย่อมปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เฉพาะแก่ "กัมมวิปากญาณ" ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย แต่พระภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนา พึงทราบทั้งลำดับของกรรมและทั้งลำดับของวิบาก ไว้โดยเอกเทศ

เพราะฉะนั้น จึงได้ประกาศความวิเศษของกรรมนี้ไว้ ด้วยการแสดงแต่เพียงที่เป็นหลักด้วยประการฉะนี้



ที่มา : วิสุทธิมรรค ฉบับแปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสโภ) และคณะ
https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๓_ภาคปัญญา_ปริเฉทที่_๑๙_กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ_หน้าที่_๒๕๔_-_๒๖๐ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2018, 09:07:41 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า