ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นพระปฏิบัติ ต้องออกเดินธุดงค์ หรือไม่ ?  (อ่าน 3348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เป็นพระปฏิบัติ ต้องออกเดินธุดงค์ หรือไม่ ?
 คือทราบ และเข้าใจว่า พระที่ปฏิบัติภาวนา ควรจะต้องเดินธุดงค์ บ้าง แต่ ถ้าพระที่ไม่เคยออกเดินธุดงค์เลย จะสำเร็จธรรมได้ หรือไม่ครับ

  :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็นพระปฏิบัติ ต้องออกเดินธุดงค์ หรือไม่ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 27, 2013, 09:32:45 am »
0



ธุดงค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธุดงค์ (บาลี: ธุตงฺค, อังกฤษ: Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ

โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ

ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ

ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน

ปัจจุบัน คำว่า ธุดงค์ ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่าง ๆ หรือเรียกว่า การเดินธุดงค์ ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก

ความหมาย
ธุดงค์ คือวัตร หรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน 13 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส
    โดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์
    พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ
    และการปฏิบัติธุดงค์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น


ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์
    ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย
    ซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมาก เพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้น
    ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว, ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า, ไม่มีการใช้กลด, ไม่รับเงินเด็ดขาด
เป็นต้น.
    และการปฏิบัติที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้นเป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่า โมเนยยปฏิบัติ คือการอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ อย่านอนในที่เดิมซ้ำ เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว เพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต


ที่มา th.wikipedia.org/wiki/ธุดงค์
ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็นพระปฏิบัติ ต้องออกเดินธุดงค์ หรือไม่ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 27, 2013, 09:56:57 am »
0
ask1

เป็นพระปฏิบัติ ต้องออกเดินธุดงค์ หรือไม่ ?
 คือทราบ และเข้าใจว่า พระที่ปฏิบัติภาวนา ควรจะต้องเดินธุดงค์ บ้าง แต่ ถ้าพระที่ไม่เคยออกเดินธุดงค์เลย จะสำเร็จธรรมได้ หรือไม่ครับ

  :c017:

  ans1 ans1 ans1
 
   ธุดงด์ไม่ได้อยู่ในวินัยสงฆ์ เป็นวัตรที่ไม่ได้บังคับ ให้ปฏิบัติโดยสมัครใจ
   ธุดงด์ไม่ใช่การอยู่ป่า ไม่ใช่การเดินแบกกลด อยู่ป่าช้าไม่ไปไหนก็เป็นธุดงด์ได้
   ในสมัยพุทธกาล พระที่ชอบธุดงด์ คือ พระมหากัสสปเถระ ท่านเป็นเอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
   พระที่ปฏิบัติภาวนาไม่จำเป็นต้องออกธุดงด์ การสมาทานธุดงด์เป็นไปตามจริตของแต่ละคน
   ไม่ใช่เครื่องวัด ไม่เป็นบรรทัดฐาน หรือเป็นเครื่องการันตีว่า จะสำเร็จธรรม


   ในสมัยพุทธกาลภิกษุที่สัญจรไปที่ต่างๆนั้น เพื่อการเผยแผ่ศาสนาตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า
   ไม่ได้หมายถึง ท่านชอบธุดงด์ การที่จะสำเร็จธรรมหรือบรรลุธรรมขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมา
   และแน่นอนแต่ละคนสั่งสมมาไม่เหมือนกัน ดูอย่างพระยสกุลบุตร พระพุทธเจ้ามาดักรอถึงที่
   ในขณะที่พระพาหิยะต้องเดินทางหลายโยชน์กว่าจะพบพระพุทธเจ้า แต่ก็สำเร็จธรรมเร็วมาก
   ในส่วนฆราวาส นางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี สันตติมหาอำมาตย์ ไม่เห็นท่านต้องธุดงด์เลย
   ตัวอย่างทียกมา คงพอเข้าใจน่ะครับ ว่าผู้สำเร็จธรรมโดยไม่ธุดงด์นั้นมีอยู่
   ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้

    :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2013, 09:58:33 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ