สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: แมนแมน ที่ ตุลาคม 27, 2010, 07:25:56 pm



หัวข้อ: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: แมนแมน ที่ ตุลาคม 27, 2010, 07:25:56 pm
เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ

ผมเองเวลาปฏฺบัติ กรรมฐาน ไปนาน ๆ สักประมาณ ชั่วโมงกว่า ๆ ก็จะปวดขา เป็นเหน็บ

อยากทราบวิธีการที่ จะชนะ การปวดขา เป็น เหน็บ เหล่านี้ ควรทำอย่างไรครับ
 :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 28, 2010, 09:29:51 am
อ้างถึง
วลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ

สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ภาวนาตามความตั้งใจ ให้ใจวางจากเวทนาเสีย ไม่ต้องไปพะวงกับเวทนา

อันนี้ตอบอย่างพืนฐาน ของคนทั่วไป ก็ควรจะตอบว่า ควรจะมีความอดทน เพราะความเพียร และ อดทน

เป็นตบะเครื่องเผากิเลส อย่างยิ่ง

ที่นี้กลับมาตอบ แบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นอย่างไร ?

เป็นเพราะว่า บุคคลไม่ภาวนาให้อยู่ในองค์บริกรรม จึงทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ เพราะถ้าจิตเป็นสมาธิ จนได้

พระลักษณะ ของ พระธรรมปีติแล้ว ตอนทึ่จิตฝึก อนุโลม ปฏิโลม สะกด ก็ตามนั้น จิตเป็นอุปจาระสมาธิ

ขั้นกลางแล้ว ดังนั้นเมื่อปีติดับโดยธรรมชาติ เมื่อปีติดับ เมื่อใด เมื่อนั้น ก็ย่อมเข้า ยุคลจิต อัน สหรคต ด้วย

กายสุข จิตสุข เพื่อเข้าสู่ภาวะของอุปจาระฌานเต็มขั้น เมื่อใดที่ภาวนาได้ดวงจิตมั่นคงดีแล้ว ก็ย่อมลุล่วง

เวทนาอันเป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ กลาง ๆ ได้

ดัีงนั้นถ้าถามว่าเวทนา สุข ทุกข์ กลาง ๆ ทั้งปวง จะดับได้ตอนไหน ดับได้เมื่อจิตเข้าสู่ปฐมฌาน แล้วนั่นเอง

ดังนั้นตั้งแต่ฌาน 4 ขึ้นไปจึงดับเวทนาจริง ๆ ผู้ฝึกที่ไม่ได้มีิจิตเป็นอุปจาระฌาน ขึ้นไป ย่อมยังคงมี เวทนาอยู่

เป็นธรรมดา

เจริญพร

 ;)




หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:10:57 am
นั่งสมาธิแล้วปวดขา จะแก้อย่างไร

ผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเมื่อนั่งขัดสมาธิแล้วจะพบว่า ขาขวาชา แล้วปวดขา จึงได้พยายามกราบเรียนถามพระอาจารย์หลายๆท่านว่า จะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี

พระอาจารย์บุญส่ง ฐิตสาโร สำนักสงฆ์สันติผาวนาราม จันทบุรี ได้กล่าวให้คำสั่งสอนว่า ขอให้พยายามสู้กับความปวดเหล่านั้น ขอให้พยายามนั่งสมาธิต่อไป แม้จะปวดก็อย่าไปยอมแพ้ หากเราสามารถนั่งสมาธิแล้วเอาชนะความปวดได้สักครั้ง ต่อไปเราก็จะเอาชนะได้อีก ถ้าเราฝึกเยอะๆ นั่งขัดสมาธิบ่อยๆ ก็จะชินไปเอง

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ท่านสอนเรื่องการฝึกสมาธิว่า อย่ายึดติดกับวิธีการ ไม่จำเป็นต้องฝึกในท่านั่งเท่านั้น จะฝึกในท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน หรือถ้าใครเก่ง แม้แต่จะตีลังกาใช้มือยืนแทนเท้าก็ยังฝึกสมาธิได้

ส่วนตัวผมเองลองหาสาเหตุว่าทำไมจึงปวดขาทำไมขาจึงชาก็พบว่า ถ้านั่งวางขาทับกันแน่นเกินไปก็ไม่ดี นั่งแล้วเอนตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวก็จะยิ่งเทลงไปบนขาที่พับกันอยู่ หรือการประสานมือขวาทับมือซ้ายที่วางบนหน้าตักนั้น ถ้าวางแขนไปพาดหน้าขาแล้วทิ้งนำหนักแขนลงไปบนต้นขาก็จะทับเส้นเลือด ทำให้ขาชาได้ง่าย นอกจากนั้นถ้าพื้นที่นั่ง ไม่มีฟูกรองก็จะยิ่งนั่งลำบาก

ผมจึงเริ่มจากหาฟูกมารองนั่ง เวลานั่งขัดสมาธิก็พับขาซ้ายเข้ามาก่อน แล้วพับขาขวาวางไว้นอกขาซ้าย ไม่ต้องพับแล้วสอดไว้ใต้ขาซ้าย และพยายามนั่งตัวให้ตรง วางมือไว้บนหน้าตักหรือบนเท้า พยายามทิ้งแขนพาดไว้บนต้นขาให้น้อยที่สุด พบว่าวิธีนี้ทำให้นั่งได้ง่ายขึ้น หากจะปวดหรือชา ก็จะรู้สึกตัวว่าขาชาต่อเมื่อจะออกจากสมาธิเท่านั้น ส่วนระหว่างที่กำหนดจิตตามคำบริกรรมพุทโธนั้น จิตไม่ได้สนใจรับรู้เรื่องของขาหรืออาการปวดของกายส่วนใดแม้แต่น้อย
Posted by : sippa


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:12:02 am
วิธีการแก้เหน็บชาหรือปวดขาในเวลานั่งสมาธิ
วิธีการแก้เหน็บชาหรือปวดขาในเวลานั่งสมาธิ
(โดย ดร.จรูญ วรรณกสิณานนท์)
อาการ เหน็บเกิดจากการนั่งนาน ทำให้เส้นเลือดในร่างกายเดินไม่สะดวก และพองออกมาจึงทำให้ปวด ส่วนที่ชาคือส่วนที่เลือดเข้าไปไม่ถึง วิธีแก้ก็คือ สูดลมหายใจเข้าไปเต็มปอด กลั้นไว้แล้วเบ่งให้ลมออกมาตามรูขุมขนและขับเลือดให้วิ่งไปตามเส้นเลือดได้ พร้อมกับเอนตัวโยกตัว บิดแขนไปตามส่วนที่ปวด แล้วปล่อยลมออก หายใจออกเป็นปกติสักพักหนึ่งแล้วก็สูดลมเข้าไปใหม่อีก กลั้นไว้ แล้วก็เบ่งขับลมออกจากร่างกาย พร้อมกับโยกตัวไปตามจุดต่าง ๆ ในลักษณะเดิม แล้วก็ปล่อยลมหายใจออกมาอีก หายใจเป็นปกติสักพักหนึ่งแล้วทำใหม่ สูดลมหายใจเข้าไปแบบเดิมอีก ให้ทำสามครั้ง ทุกครั้งที่นั่งแล้วปวด เมื่อทำไปบ่อย ๆ สักสี่ห้าครั้ง แล้วต่อจากนั้นก็จะไม่มีอาการพวกนี้อีก ถ้ามีก็มีน้อยมาก

http://www.kasina.org/content/view/41/34/ (http://www.kasina.org/content/view/41/34/)


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:18:05 am
ทุกข์ให้รู้
สมุทัยให้ละ
มรรคให้ทำ
นิโรธให้แจ้ง

ทุกข์ คือความปวด เวทนาเป็นทุกข์ของกาย
พึงเป็นผู้พิจารณา เวทนานั้นๆ โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ไม่เพ่งที่ความปวด ไม่หนีความปวด แต่รับรู้ แล้วดูที่จิต
จะเห็นความเร่าร้อนของจิต  ความเอ็ดตะโรโวยวายของจิต
แล้วพอดูที่จิตนานหน่อย

จะเห็นว่าทุกข์ที่กาย ไม่ใช่ทุกข์ที่จิต


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:22:56 am
มีคำตอบ ในเรื่องเหล่านี้มากตามจริตแต่ละท่าน แต่ละคน แต่ทุกคำตอบนั้นเราก็เพียงแต่อ่าน

แต่ไม่ปฏิบัติตาม ใช่หรือป่าวครับ

สำหรับพระอาจารย์เคยแนะนำไว้ว่า

  ในกรรมฐาน ในสิ่งสำคัญที่สุด คือ จิตที่ ปราศจากนิวรณ์ ถ้าจิตเราเป็น สมาธิ ก็จะสามารถผ่่านเวทนาไปได้

  แตุ่้ถ้าจิตยังไม่เป็นสมาธิ ก็ยังไม่สามารถผ่านนิวรณ์ไปได้ ดังนั้นก็ไม่ควรจะฝืนไปมาก ควรจะฝืนพอจิตนี้ทนได้

  ท่านบรรยาย สภาวะจิต ขณะเกิดเวทนานั้น มี ราุุคะ คือความอยากหยุด มีโทสะ คือความไม่พอใจที่ปวด

  มีโมหะ เป็นเครื่องสนับสนุนให้ิจิตพ้นจากนิวรณ์

   ดังนั้นท่านพระอาจารย์จึงบอกแต่เพียงว่า ถ้าจิตเป็นสมาธิ ก็พ้นจากเวทนา

   แต่จิต ไม่เป็นสมาธิ ก็ไม่พ้นจากเวทนา

    คำตอบของผม ควรมิควรให้พระอาจารย์ อภัยให้ผมด้วยนะครับ

   นมัสการด้วยความเคารพ

 :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นิด_หน่อย ที่ พฤศจิกายน 03, 2010, 01:19:49 pm
สรุปแล้ว ให้ทำอย่างไร คะ ให้ทน หรือ ให้หยุด

หยุดเข้าใจไม่ยาก ถ้าทนต่อให้ทำอย่างไรในสมาธิ คะ

นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ เลยได้ไหมคะ ไม่ต้องนั่งกลับพื้นขัดตะหมาด
 :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 03, 2010, 09:46:59 pm
สรุปแล้ว ให้ทำอย่างไร คะ ให้ทน หรือ ให้หยุด

หยุดเข้าใจไม่ยาก ถ้าทนต่อให้ทำอย่างไรในสมาธิ คะ

นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ เลยได้ไหมคะ ไม่ต้องนั่งกลับพื้นขัดตะหมาด
 :25:


หนูนิดหน่อยครับ ไม่ได้ให้ทน และไม่ได้ให้หยุด

ที่รู้สึกปวดขา หรือเหน็บชา ก็เพราะจิตไม่ผูกกับคำบริกรรม(ถ้าภาวนาแบบมีคำบริกรรม)

ในกรณีที่ไม่มีคำบริกรรม เช่น ดูลมหายใจเข้าออก

จิตที่ไม่อยู่กับลม ทำให้รู้สึกถึงเวทนาที่เกิดขึ้น คือ อาการปวดต่างๆนั่นเอง


สรุปก็คือ ต้องแก้อาการปวด ด้วยการไม่สนใจอาการต่างๆที่เกิดขึ้น

แต่ให้พยายามผูกจิตกับคำบริกรรมให้แน่นๆ อย่าส่งจิตออกนอก

ถ้าทนไม่ไหวจริงๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถได้ แต่อย่าลืมตา


การนั่งบนเก้าอี้ก็สามารถทำได้ การลองทำหลายๆอย่าง

เพื่อค้นหากรรมฐานที่ถูกจริตกับตัวเอง เป็นเรื่องที่ไม่เสียหายอะไร

ถ้านั่งแล้วเมื่อย ก็เปลี่ยนมาเดินจงกรมได้ ไม่ผิดกติกาครับ
 :25:


หัวข้อ: กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า ๆ กันดูุครับ
เริ่มหัวข้อโดย: mongkol ที่ พฤศจิกายน 14, 2011, 06:42:41 pm
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ

 :13: :13: :13: :13: :13:


หัวข้อ: Re: กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า ๆ กันดูุครับ
เริ่มหัวข้อโดย: naka-54 ที่ พฤศจิกายน 15, 2011, 01:59:17 pm
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ
กระทู้ เก่า มีเรื่องที่ควรอ่าน มาก เลยครับ ลองอ่านเรื่องเก่า  ๆ กันดูุครับ

 :13: :13: :13: :13: :13:

เห็นด้วยคะ แต่จะอ่านกระทู้ไหนก่อนดี คะช่วย เลือกให้หน่อย สิคะ

 :c017:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: modtanoy ที่ พฤศจิกายน 16, 2011, 10:18:37 am
ถ้าปวดขา มาก ๆ ก็ควรจะ หยุด คะ เพราะทนต่อไป ก็ ทำให้ใจลำบาก จัีดเป็น อัตตกิลมถานุโยค

ต้องย้อนว่า เราทำสมาธิ เพื่ออะไรนะคะ เพื่อวิปัสสนา นะคะ ไม่ใช่เพื่อ อิทธฤทธิ์ จึงต้องประกอบ

ด้วย สติ + ปัญญา ดังนั้นการหยุด จึงจะควรคะ แล้วเปลี่ยน อิริยาบถ

  สิ่งสำคัญ เรามักจะคิดถึงแต่การเป็นยอดมนุษย์ กันมากเกินไปคะ จึงมักทำอะไรที่เกินจากสิ่งที่

ควรจะเป็นคะ

  การภาวนา นั้น มีขอบเขตอยู่ในความเป็นผู้ยอมรับ ในธรรมชาติ มิใช่ฝืนธรรมชาติ คะ

 ดังนั้น เมื่อปวด เป็นเหน็บ แสดงว่าถึงขอบเขตธรรมชาติของกายแล้ว ควรเปลี่ยนอิริยาบถ

 พิจารณา คือ กิเลส ดับหรือไม่ อันนี้น่าจะถูก คะ

  :58: :88:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ พฤศจิกายน 16, 2011, 06:19:28 pm
คุณ modtanoy จะไม่ฝึกความอดทนก่อน หรือ ครับ

ออกไปเจอแดด นิดเดียว ก็กางร่ม หรือ ย้ายที่ ซะแล้ว เดี๋ยวไม่รู้จัก วิตามิน ของความอดทน นะครับ

 :25: :s_hi:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: intro ที่ พฤศจิกายน 16, 2011, 07:34:58 pm
เบสิก เลยนะครับ สำหรับ เรื่อง นั่งแล้วเหน็บกินก้น กินขาชา นี่นะครับ
 
 ที่สุดแล้วก็เปลี่ยน อิริยาบถ

 แต่ถึงไม่บอก 100 ต่อ 98 คน เปลี่ยนหรือ หยุด ชัวร์ ครัับ

 และ เป็นปัญหา คือ ท้อ เพราะไม่สามารถ รวมศูนย์ สมาธิ ได้

 พุทโธ ก็มีแค่นี้ครับ ถ้าไม่เรียนให้ถูกในขั้นตอนกรรมฐาน ก็ไป ติด นิ่ง และ หลับ เบื่อ อีก

    ดังนั้น การเปลี่ยน อิริยาบถ ทันทีนั้น ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง ครับ ควรจะเพิ่มเวลา ทีละหน่อย ที่ละ ห้า นาที รับความทุกข์ ของ ห้านาที นั้นให้เต็ม ๆๆๆๆ ก่อน นะครับ

  ขันติ เป็น ธรรม เครื่อง เผากิเลสอย่างยิ่ง ครับ

   :25: :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: modtanoy ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 09:02:56 am
คุณ modtanoy จะไม่ฝึกความอดทนก่อน หรือ ครับ

ออกไปเจอแดด นิดเดียว ก็กางร่ม หรือ ย้ายที่ ซะแล้ว เดี๋ยวไม่รู้จัก วิตามิน ของความอดทน นะครับ

 :25: :s_hi:

  ไม่มีความจำเป็น เพราะส่วนสุดทั้งสองอย่าง อันบรรพชิต ไม่ควรส้องเสพ ก็คือ

  กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค คะ

  มัชฌิมา  สายกลาง ดีที่สุด ก็คือ

     หยุด แล้ว เปลี่ยน อิริยาบถ

     คิดง่าย ๆ ถ้าเราปวด อุจจาระ จะอั้นไว้ทำไมคะ มีประโยชน์อะไร ? อั้นไว้มีโทษ นะคะ

    ดังนั้น ทางที่ถูก ก็คือ ควรเข้าไปอุจจาระ เสีย

   
    ที่นี้ถ้าเป็น เหน็บชา เพราะนั่งกรรมฐาน

    มันปวดอยู่ ฝืนต่อ แทนที่จะได้สมาธิ กับได้รับโทษ คือ ความกระวนกระวาย และจิตไม่แนบกับสมาธิ
ซึ่งนับว่าเป็นโทษ หรือ อาจจะเลิกภาวนาก็เป็นไปได้ คะ

    การที่คนเราจะนั้งขัดสมาธิ ได้ทน ก็อยู่ที่ร่างกายด้วยคะ ไม่ใช่ว่า จะทำได้ เยี่ยงนั้นทุกคนทุกท่าน คะ


    :58: :88:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 09:29:54 am
ก็นับว่าเป็นความเห็น ที่ดีครับ

   พระพุทธเจ้า (ครูใหญ่) ตรัสไว้ ว่า  บุคคลจะก้าวล่วงพ้นทุกข์ ได้เพราะความเพียร ครับ

   ส่วนในโอวาท ปาฏิโมกข์  ก็ก้าวถึง  ขันติ เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ครับ

  การทำสมาธิ ไม่ ถ้าจิตตั้งมั่น ใน นิิมิต ทั้ง 3 ก็จะก้าวล่วง เวทนา ไปได้

  อีกอย่าง คุณธรรม ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ ขึ้นไปนั้น ล้วนใช้ การนั่ง กันตั้งแต่ 3 วัน ถึง 15 วัน นะครับ

 ถ้าคิดอย่างคุณ modtanoy ก็จะไม่มีเรื่อง นิโรธสมาบัติ อาจจะทำให้พระสัทธรรม สูญหายได้ นะครับ

 เพราะมุ่งเอาแต่ความสบาย และ ตีความการฝืน เป็น อัตตกิลมถานุโยค

  ขออภัยที่เห็นแย้ง แต่ถ้าไม่กล่าวไว้ บ้าง ผู้อ่าน จะเขวกันได้ นะครับ

   :34: :bedtime2:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NP2706 ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 09:39:03 am

   พระพุทธเจ้า (ครูใหญ่) ตรัสไว้ ว่า  บุคคลจะก้าวล่วงพ้นทุกข์ ได้เพราะความเพียร ครับ

   ส่วนในโอวาท ปาฏิโมกข์  ก็ก้าวถึง  ขันติ เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ครับ

  การทำสมาธิ ไม่ ถ้าจิตตั้งมั่น ใน นิิมิต ทั้ง 3 ก็จะก้าวล่วง เวทนา ไปได้

  ............ เพราะมุ่งเอาแต่ความสบาย และ ตีความการฝืน เป็น อัตตกิลมถานุโยค

  ขออภัยที่เห็นแย้ง แต่ถ้าไม่กล่าวไว้ บ้าง ผู้อ่าน จะเขวกันได้ นะครับ

 

สาธุ สาธุ สาธุ.......ผู้ปฏิบัติควรดำรงสติให้มั่นอย่างที่คุณสมภพแสดงไว้ เห็นด้วยอย่างยิ่ง........
สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติได้แล้ว หรือก้าวล่วงเวทนาไปได้บ้าง ย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า ในขณะที่ปฏิบัติกรรมฐาน
แล้วดำรงจิตตั้งมั่นในการภาวนา โดยจิตไม่ออกไปนอกกายแล้ว การรับรู้เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน......


หัวข้อ: อานิสงส์ของ ความอดทน ๕ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 10:54:35 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


๕. อขันติสูตรที่ ๑

             [๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
     ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
     ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑
     ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑
     ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑
     เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
    ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑
    ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑
    ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
            ดูกรภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

             จบสูตรที่ ๕


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๙๓๘ - ๕๙๔๙. หน้าที่ ๒๖๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5938&Z=5949&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5938&Z=5949&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=215 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=215)


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 11:16:07 am

สุภาษิตเกี่ยวกับความอดทน
            บุคคลถูกยุงและเหลือบกัดแล้วในป่าใหญ่ พึงเป็นผู้มีสติอดทนต่อสัมผัสแห่งยุงและเหลือบในป่าใหญ่นั้น เหมือนช้างอดทนต่อการถูกอาวุธในสงคราม ฉะนั้น.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=5162&Z=5168 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=5162&Z=5168)


    ในมงคลสูตรกล่าวไว้ว่า "ความอดทนเป็นอุดมมงคล" (มงคลที่ ๒๗)

อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72)


พุทธสุภาษิต 06-07   
๖.  ขันติวรรค  คือ  หมวดอดทน


๑๐๙. ขนฺติ  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา.
ขันติคือความอดทน  เป็นตปะอย่างยิ่ง.
ที.  มหา.  ๑๐/๕๗.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๐.

๑๑๐. ขนฺติ  สาหสวารณา.
ความอดทน  ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน.
ว.  ว.

๑๑๑. ขนฺติ  หิตสุขาวหา.
ความอดทน  นำมาซึ่งประโยชน์สุข.
ส.  ม.

๑๑๒. ขนฺติ  ธีรสฺสลงฺกาโร.
ความอดทน  เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์.
ส.  ม.

๑๑๓. ขนฺติ  ตโป  ตปสฺสิโน.
ความอดทน  เป็นตบะของผู้พากเพียร.
ส.  ม.

๑๑๔. ขนฺติ  พลํ  ว  ยตีนํ.
ความอดทน  เป็นกำลังของนักพรต.
ส ม.

๑๑๕. ขนฺติพลา  สมณพฺราหฺมณา.
สมณพราหมณ์  มีความอดทนเป็นกำลัง.
องฺ.  อฏฐก.  ๒๓/๒๒๗.

๑๑๖. มนาโป  โหติ  ขนฺติโก.
ผู้มีความอดทน  ย่อมเป็นที่ชอบใจ  (ของคนอื่น).
ส.  ม.


ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/8 (http://dhammasound.multiply.com/journal/item/8)


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 18, 2011, 07:21:51 am
ผู้ฉลาดในการภาวนา ต้อง ฉลาดใน สถานการณ์ 4

 คือ ฉลาดในการภาวนาบรรเทา 1 
     ฉลาดในการภาวนาเพื่อข่ม 1
     ฉลาดในการภาวนาเพื่อละ 1
     ฉลาดในการภาวนาเพื่อพ้น 1

  ถ้าฉลาดในการภาวนา ทั้ง 4 ก็จะหาคำตอบในการภาวนา ได้ว่า เมื่อใดเราจะเปลี่ยน หรือ เมื่อใดเราจะอดทนเพราะการภาวนา เพื่อให้พ้นจากสังสารวัฏ นั้น ไม่อิง กับอิริยาบถ ใด ๆ ถ้ามีความฉลาด ก็สามารถถึงแก่นสารคือ การวางภาระ ทำกิจให้จบ ได้เช่นกัน

 เจริญธรรม

  ;)



หัวข้อ: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ พฤษภาคม 22, 2012, 01:16:19 pm
จำได้ตอนที่พระอาจารย์สอน เมื่อเวทนาเกิดก็ให้ทำการหายใจเข้าลึกๆ และภาวนา ว่าพุทโธ ให้ทำสามครั้ง แล้วกลับมามีสติตั้งหมั้น อยู่กับการปฏิบัติต่อ

ส่วนตัวพอทำแล้วก็รู้สึกได้ทันทีว่า ความเมื่อยความปวดมันก็บรรเทาลงไปในทันที  พอได้สูดลมหายใจเข้าไปลึกๆเต็มที่ ทั้งกายและจิตก็ได้รับได้เพิ่มพลังต่อทันที  ทำให้รู้สึกจำได้ถึงตอนเวลาได้บ้างที่เราทำการหายใจเข้าลึกๆ ก็จะมีเช่นตอน เช้าที่ง่วงนอนร่างกายอาจจะพักผ่อนไม่เพียงพอขาดอ๊อซสิเจน พอได้หาวเอาอากาศเข้าร่างกายไปก็รู้สึกว่าดีขึ้น หรือตอนที่เราทำงานมามากเหนื่อยทั้งกายเหนื่อยทั้งใจ เหนื่อยทั้งพลังความคิด แล้วก็ถึงจุดนึงที่เราได้ทำการถอนหายใจ (หายใจเอาอากาศเข้าบอดลึกๆ) แรงๆ แล้วเราก็รู้สึกดีขึ้นทั้งกำลังใจทั้งกำลังกาย เราก็จะสู้ต่อได้อีก มีเสริมอีกนิด จำได้ว่าเคยถูกให้ทำนิสวาต การอัดนิ่ง พอทำแล้วก็สู้ได้ต่อจ๊ะ ก็รีบมีมหาสติการระลึกรู้ตัว กลับไปตั่งหมั้นในการปฏิบัติต่อ


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Lux ที่ พฤษภาคม 22, 2012, 01:37:14 pm
แต่รู้สึกช่วง หลัง พระอาจารย์จะให้ใช้ วิธีอดทน นะคะ

 ถ้าจำไม่ผิด ให้ท่องอยู่ว่า  อ ด ท น


 :58:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ พฤษภาคม 23, 2012, 09:17:38 am
เมื่อนั่งขัดสมาธิแล้วปวดเข่าปวดขาก็ควรเปลี่ยนอิริยาบถที่นั่ง ไม่มีข้อธรรมในพระสูตรใดที่ห้ามไม่ให้เปลี่ยนอิริยาบถนั่งสมาธิ อาจจะเปลี่ยนเป็นนั่งพับเพียบ นั่งเอาหลังพิงฝาเพื่อแก้ปวดหลัง เป็นต้น

หรือ ให้เหยียดขาบิดตัวเพื่อคลายเส้นความปวด หากฝืนจนเกิดไปอาจถึงแก่พิการได้ จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นยืน หรือ เดินจงกรม หรือ นอนตะแคลงขวาในท่าสีหไสยาสน์

นี่ก็เป็นการกัมมัฏฐานทำสมาธิเช่นกันครับ ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนไว้แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระโมคคัลลานะเป็นต้นครับ

หากเมื่อทำสมาธิเข้าถึงสมาธิได้แล้วนั้น อาการปวดใดๆจะลดลง สติเกิด มีสมาธิปกคลุม ปัญญาจดจ่อพิจารณาธรรม สามารถนั่งได้นานขึ้น


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ พฤษภาคม 23, 2012, 09:52:07 am
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ภัพพตาธรรม 6 (ธรรมอันทำให้เป็นผู้ควรที่จะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ

และทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้เจริญเพิ่มพูน,

คุณสมบัติที่ทำให้เป็นผู้ควร เหมาะ สามารถ หรือพร้อมที่จะได้จะถึงสิ่งดีงามที่ยังไม่ได้ไม่ถึง

และทำสิ่งดีงามที่ได้ที่ถึงแล้วให้เจริญเพิ่มพูน

- qualities making one fit for attaining the wholesome not yet attained and augmenting the wholesome already attained)

      1. ฉลาดในหลักความเจริญ คือ รู้เข้าใจกระบวนเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเจริญเพิ่มพูน (to be knowledgeable about improvemnt or gain)

      2. ฉลาดในหลักความเสื่อม คือ รู้เข้าใจกระบวนเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสูญเสียเสื่อมสลาย (to be knowledgeable about loss or decline)

      3. ฉลาดในอุบาย คือ รู้เข้าใจชำนาญในวิธีการที่จะแก้ไขจัดทำดำเนินการให้สำเร็จลุล่วง (to be skilful in the means)

      4. สร้างฉันทะที่จะบรรลุกุศลธรรมที่ยังมิได้บรรลุ (to arouse the will to attain the good one has not attained)

      5. ระวังรักษากุศลธรรมที่ได้ลุถึงแล้ว (to maintain the good one has attained)


      6. ทำให้สำเร็จลุจุดหมายด้วยการกระทำต่อเนื่องไม่ยั้งหยุดหรือขาดตอน (to accomplish one's aim through persevering performace or continuance in action)

A.III.432. องฺ.ฉกฺก. 22/350/482


ข้อมูลจาก

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=267 (http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=267)

-------------------------------------------

ขออานิสงส์ธรรมทานแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทุกๆชีวิต  และ ขอแรงบุญกุศลนำส่งให้ชาวพุทธทั้งที่เป็นมนุษย์   เทวดา  พรหม (ทั้งที่มีสัมมาทิฏฐิในเบื้องต้นและสมบูรณ์)  มีความแกล้วกล้าในธรรมะและได้มีเหตุปัจจัยสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนาแท้ๆได้ประดิษฐานต่อไป


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ พฤษภาคม 26, 2012, 12:01:49 pm
อนุโมทนา คะ อยากให้ทุกท่าน นักภาวนามือใหม่ มือเ่ก่า ได้อ่านคะ มีประโยชน์มากนะคะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SRIYA ที่ พฤษภาคม 26, 2012, 07:00:07 pm
สายกลาง กับ ขี้เกียจ อยู่ใกล้เคียงกันนะคะ

 ต้องระวัง ผู้ภาวนาจริง ๆ เอาจริง เอาจังในการภาวนา เท่าที่ผ่านมา 10 เปอร์เซ็น คะ

  :s_hi:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ เมษายน 19, 2015, 08:40:35 am
ถ้าเกี่ยวกับ เรื่อง การฟัง ปริยาย ขึ้นธรรม แล้วนั่งพับเพียบ พนมมือ ไม่ทราบว่า ต้องใส่ความอดทน กันเต็มขั้นเลยใช่ไหมครับ สลับขาได้หรือไม่ ครับ เพราะพอเวทนา มันเกิดขึ้นมาก รู้สึกฟังปลาย ๆ ไม่รู้เรื่อง คือไม่ได้ฟัง ครับ


  :49:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ เมษายน 19, 2015, 10:22:37 pm

        สาธุ สาธุ ครับ st11 st12 st11 st12