สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 11:04:31 am



หัวข้อ: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 11:04:31 am
ก่อนอื่น ขอขอบคุณ ทุกท่านที่คิดถึง และส่งเมล มาสอบถามความเป็นอยู่ ซึ่งกันและกัน ด้วยความนับถือ

ก็ขอให้ทุกคนนั้น มีความก้าวหน้าในการเจริญธรรม ทุกท่าน




ก็จะ ขอชี้แจง เรื่องการปลีก วิเวก ของพระอาจารย์ ให้ทราบ เพื่อคลายความเป็นห่วงกัน




ทำไม พระอาจารย์ เลือกการปลีกวิเวก ช่วงนี้


1. การคลุกคลี ด้วย หมู่คณะ มีอุปสรรค ในการเจริญภาวนา

2. กิจวัตร ไม่สอดคล้องกับการภาวนา

3. การฝึกตน มีความสำคัญ มากที่สุด

4. เพื่อดู ลูกศิษย์ ที่ได้ขึ้น กรรมฐาน 3000 กว่าคน นั้นมีความก้าวหน้าในกรรมฐาน กี่คน

เจริญพรให้ทราบเบื้องต้นเท่านี้นะจ๊ะ

 ;)



หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 02:04:17 pm
พระอาจารย์ สนใจ วิเวก ที่ลำปาง หรือ ป่าวคะ

มีสถานที่ ส่วนบุคคล คะ


 :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 02:05:21 pm
ถ้าพระอาจารย์ มาวิเวก ที่ลำปาง เราจะได้อุปัฏฐาก บ้าง

อนุโมทนา คะ
 :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 02:07:26 pm
ถ้าพระอาจารย์ มาพวกเราจะได้สร้างที่พักให้ ครับ รับรองเรื่อง อากาศดี วิเวกครับ

เป็นที่ดิน ส่วนตัวของผม ซื้อไว้ติดเขา ออกไปทาง วค.ลำปาง ใกล้ ๆ พระธาตุ ม่วงคำครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: Namo ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 02:09:22 pm
เนื่องด้วยพระอาจารย์ เคยอยู่ วค.ลำปาง หลายปี น่าจะคุ้นเคยกับ อากาศที่ลำปาง

ถ้าไม่ต้องการที่ลำปาง ดิฉัน เสนอที่เชียงใหม่ อีกทีคะ คุณอาริสา อาสาไว้ คะ

อยากให้พระอาจารย์ มาวิเวก ภาวนาที่ภาคเหนือบ้าง คะ

 :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 07:17:27 am
 :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: utapati ที่ ธันวาคม 04, 2010, 08:43:36 am
ดีนะครับ เพราะตอนนี้ผม ก็ย้ายไปประจำที่ อ.งาว อยู่ครับ

จะได้ไปหาพระอาจารย์ สะดวกเพิ่มขึ้น ครับ

ตอนนี้ผมสุขภาพดีขึ้นมาก ครับ....

 :25:


หัวข้อ: Re: เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 21, 2010, 11:19:34 am
กายวิเวก  จิตตวิเวก  อุปธิวิเวก
   กายวิเวก เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมช่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ล้อมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว ยืนผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว อธิฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวอยู่เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติรักษาเป็นไป นี้ชื่อว่า  กายวิเวก
   จิตตวิเวก เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมนี้ เข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ มีจิตสงัดจากวิตก วิจาร เพราะเข้าทุติยฌาน เข้าตติยฌานมีจิตสงบจากสุขและทุกข์ เข้าอากาสานัญจายตน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา มานัตตสัญญา เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจาก อากาสานัญจายตนสัญญา เข้าอากิญจัญยายตนฌาน มีจิตสงัดจาก วิญญาณัญจายตนสัญญา เข้าเนวสัญญานาสัญญายตน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา เมื่อภิกษุนั้น เป็นโสดาบันบุคคล สงัดจากสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฐิ เป็นต้น เป็นสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคะสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคะนุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ ๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคุสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นอานาคามี มีจิตสงัดจากกามราคะสังโยชน์ ปฏิฆะสังโยชน์ กามราคะนุสัย ปฏิฆนุสัยอย่างละเอียด ๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคะสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นอรหันต์มีจิตสงัดจาก รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชามานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้น และสงัดจากสังขารนิมิตรทั้งปวงภายนอก นี้ชื่อว่า จิตวิเวก
   อุปธิวิเวกเป็น อย่างไร กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก
   กายวิเวก   ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก   ผู้ยินดีในเนกขัมมะ(การออกบวช)
   จิตตวิเวก  ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์  ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง
   อุปธิวิเวก   ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ(กิเลส)ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร
   ตามความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันเลิศประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่สูงสุด บวรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
   ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย บุคคลไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยความประพฤติวิเวกนั้น บุคคลนั้นแล ย่อมปฏิบัติในที่ใกล้นิพพาน