สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: axe ที่ ธันวาคม 19, 2010, 09:08:01 am



หัวข้อ: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ ธันวาคม 19, 2010, 09:08:01 am
เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ

เพราะว่าเพื่อนผม บางท่านก็กล่าวว่า การอธิษฐานกรรมฐาน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกล่าว

คำอธิษฐาน ครับ
 :25:


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2010, 11:30:25 am
การอธิฐานสมาธินิมิต
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
        เวลาเช้าไม่จัดแจงการงาน        โดยเอื้อเฟื้อ
        เวลาเที่ยงไม่จัดแจงการงาน        โดยเอื้อเฟื้อ
        เวลาเย็นไม่จัดแจงการงาน        โดยเอื้อเฟ้อ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น ฉันใด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ไม่ควรบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
        เวลาเช้า    ไม่อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
        เวลาเที่ยง    ไม่อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
        เวลาเย็น    ไม่อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
        เวลาเช้าจัดแจงการงาน        โดยเอื้อเฟื้อ
        เวลาเที่ยงจัดแจงการงาน    โดยเอื้อเฟื้อ
        เวลาเย็นจัดแจงการงาน    โดยเอื้อเฟื้อ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ฉันใด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมควรที่จะได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุให้ทวีขึ้นไป ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
        เวลาเช้า    อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
        เวลาเทียง    อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
        เวลาเย็น    อธิฐานสมาธินิมิต        โดยเคารพ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบไปด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล สมควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
การกำหนดไว้ในใจในการประกอบอธิจิต
    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต    พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
        พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง        สมาธินิมิต
        พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง        ปัคคาหนิมิต
        พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง        อุเบกขานิมิต
    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต    พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่  สมาธินิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความเกียจคร้าน
    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต    พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ ปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความฟุ้งซ่าน
    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต    พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล
    เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองไส่ลงในเบ้า แล้วสูบเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูเสมอ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เพ่งดูทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือช่างทอง สูบทองนั้นเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูทองเสมอ ๆ เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง เครื่องประดับหู เครื่องประดับทอง หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใดฉันนั้นก็เหมือนกันแล
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง        สมาธินิมิต
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง        ปัคคาหนิมิต
    กำหนดไว้ในใจซึ่ง        อุเบกขานิมิต
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจแต่เฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเพื่อให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นโดยชอบสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องไม่เสียหาย ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ ดังนี้แล


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 21, 2010, 11:32:40 am
ทีมาเนื้อหา คำตอบ ล้วนแล้วมีอยู่หนังสือ สมถ วิปัสสนา เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร เจ้าคณะ 5
วัดราชสิทธาราม ( วัดพลับ ) กทม.


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 21, 2011, 11:22:38 am
ข้อธรรมทีพระอาจารย์ตอบไปนั้น ผมขออนุญาตแจ้งที่มา ว่าอยู่ในพระสูตรเล่มไหน
ให้ทุกท่านทราบโดยทั่วกัน ดังนี้ครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ปาปณิกสูตรที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3038&Z=3064 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3038&Z=3064)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สมุคคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783)

 :25:


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ratree ที่ มกราคม 23, 2011, 12:39:22 am
อ่านแล้ว ทำให้เห็นความสำคัญของลำดับพระกรรมฐาน ต้องอธิษฐาน ทุกครั้งที่ภาวนาใช่หรือไม่ คะ

 :88:


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: รักหนอ ที่ มกราคม 23, 2011, 07:30:28 am
อ่านแล้ว ทำให้เห็นความสำคัญของลำดับพระกรรมฐาน ต้องอธิษฐาน ทุกครั้งที่ภาวนาใช่หรือไม่ คะ

 :88:

ตามพระสูตร ควรอธิษฐาน ก่อนภาวนา และ ขณะภาวนาทุกครั้งไปคะ
 :25:


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มกราคม 23, 2011, 08:25:02 am
(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRO471HSqFuBduIh59ijPLteZ2jrWHMq9HNtqwCNvkm3SfTezKv)

       
เราท่านทั้งหลายเป็น อนุพุทธ เป็นผู้ตามธรรม มีไตรสรณะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวกุมใจ มีครูบาอาจารย์เป็นที่

เคารพบูชาคุณ เหตุนี้สิ่งนี้มีจึง ขมา/อธิษฐาน ย้ำคุณระลึกคุณสนองคุณ เพื่อคุณธรรมในใจ อย่ากังขาเลยนะครับ

จะเป็นการปิดกั้นตัวเอง เพราะคิดมากปัญญาเกินจึงมีผลให้เมินเสมือนปรามาสเสียอย่างนั้นไป


     
เชื่อผู้รู้ดูตามไปอย่าฉงน
ธรรมที่ค้นเดี๋ยวไม่ก้าวอย่างที่หวัง
เว้นกังขามั่นฐานจิตสติยั้ง
เชื่อและฟังคุณธรรมไม่ยากเกิน.
                                                                                                       

                                                                                                      ธรรมธวัช.!


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 23, 2012, 01:50:38 pm
เรื่องนี้ น่าจะตอบโจทย์เรื่อง ทำไมต้องอธิษฐาน นิมิต ได้นะคะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เกี่ยวกับเรื่อง การอธิษฐาน กรรมฐาน มีพระสูตรใดกล่าวเรื่องนี้บ้างครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2012, 03:07:54 pm

(http://84000.org/tipitaka/picture/p40.jpg)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของมาณพทั้ง ๑๖ คน


     พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าพระองค์เดียวเพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสองอย่างไร? พระผู้มีพระภาคทรงผนวชแล้วอย่างนี้ ทรงเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด มีเสียงน้อยปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแห่งชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ทรงดำเนินพระองค์เดียว หยุดอยู่พระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์เดียว บรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงรับบิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จกลัพระองค์เดียว

     ประทับนั่งอยู่ในที่ลับพระองค์เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว พระองค์เดียวเที่ยวไปเที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า พระองค์เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนสองอย่างนี้.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐  บรรทัดที่ ๕๑๒๐ - ๖๑๓๘.  หน้าที่  ๒๐๙ - ๒๔๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=5120&Z=6138&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=5120&Z=6138&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=532 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=532)
ขอบคุณภาพจาก http://84000.org/ (http://84000.org/)


(http://www.bloggang.com/data/angelina-jerrry/picture/1297358458.jpg)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
โมคคัลลานสูตร


    ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ
     ๑. เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
     ๒. ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
     ๓. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
     ๔. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

     ๕. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดู ทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
     ๖. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

     ๗. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้
     ๘. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขใน การนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

     ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๑๘๗๓ - ๑๙๓๘.  หน้าที่  ๘๒ - ๘๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1873&Z=1938&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1873&Z=1938&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=58
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/ (http://www.bloggang.com/)