สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 28, 2011, 10:15:10 am



หัวข้อ: อานาปานสังยุตต์ - ๒. ทุติยวรรค - อิจฉานังคลสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 28, 2011, 10:15:10 am
อานาปานสังยุตต์ - ๒. ทุติยวรรค - อิจฉานังคลสูตร
(http://shost.rmutp.ac.th/075320303016-2/photo/wallpaper01.jpg)

พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน ทุติยวรรคที่ ๒ อิจฉานังคลสูตร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ

[๑๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้ อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑ
บาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว


[๑๓๖๔] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า
   ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก
   เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า
   ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
   พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก.


[๑๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออก ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น
    ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ... ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า.

[๑๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบพึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า
 ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ
พระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ
พระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ภิกษุ
เหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอัน
สัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สิ้นอาสวะ.

[๑๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์
เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ
เพื่อสติสัมปชัญญะ.

[๑๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของ
พระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.

 จบ สูตรที่ ๑


หัวข้อ: Re: อานาปานสังยุตต์ - ๒. ทุติยวรรค - อิจฉานังคลสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: mongkol ที่ มิถุนายน 28, 2011, 01:12:58 pm
อนุโมทนา สาธุ ครับ ได้อ่านแล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ในเรื่อง อานาปานสติ อยู่ดี
แต่ก็เข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติ

สาธุ ครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: อานาปานสังยุตต์ - ๒. ทุติยวรรค - อิจฉานังคลสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: udom ที่ มิถุนายน 28, 2011, 09:40:28 pm
ได้อ่านเรื่องนี้ในวันนี้ ทำให้ระลึกถึงลมหายใจมากขึ้นครับ และไม่ประมาทต่อลมหายใจเข้าออก มากขึ้น
จนบางครั้งก็ ไม่ภาวนาพุทโธ เพียงแต่ตามดูลมหายใจเข้า และ ออก เท่านั้น

 :25:


หัวข้อ: Re: อานาปานสังยุตต์ - ๒. ทุติยวรรค - อิจฉานังคลสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ มิถุนายน 29, 2011, 12:08:12 am
สนใจ การฝึกอานาปานสติ มาก ๆ ครับ
แต่ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า ทำไมกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงสอนพระพุทธานุสสติก่อน

พิจารณาสายป่า รักพี่เสียดายน้อง เลยเอาสองกรรมฐาน ผนวกกัน ผมว่าดีเหมือนกันนะครับ

 :25: