สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: บุญสม ที่ กันยายน 01, 2011, 09:00:52 am



หัวข้อ: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: บุญสม ที่ กันยายน 01, 2011, 09:00:52 am
ธรรมอันเป็นโคจร  ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ 

(ที.ปา.อ.  ๘๐/๓๑,  ที.ปา.ฏีกา๘๐/๓๐)


อยากทราบความหมาย ของ ธรรมอันเป็นโคจร ครับหมายถึงอารมณ์เยี่ยงใดในกัมมัฏฐาน ครับ
 :c017: :25:



หัวข้อ: Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 01, 2011, 07:36:25 pm

โคจร, โคจร-
    [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.).

ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน,
คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).



อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


   
    พิจารณาตามศัพท์ น่าจะหมายถึง อารมณ์ที่เกิดจากการเจริญกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง

ถ้าจะถามว่าอารมณ์อะไร ขอตอบว่า ควรจะเป็นทุกอารมณ์ คือ กุศล อกุศล และอัพยากฤต

   :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ กันยายน 01, 2011, 07:43:46 pm
อารมณ์ กรรมฐาน อาจจะหมายถึง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา อุเบกขา และ ญาณ 16 นะครับ

ขออภัย นะครับ สำหรับ ผู้เป็นศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทุกท่าน

ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่กล่าวว่า แจ้งกรรมฐาน( อารมณ์กรรมฐาน ) นั้นแจ้งเรื่องอะไรครับ

ในส่วนตัว ( ที่ผมคิดนะครับ )

   น่าจะแจ้ง สภาวะธรรม ในกรรมฐาน อัน เป็น มหรคต ร่วมกับ

   1. ปีติธรรม

   2. ยุคลธรรม

   3. สุขสมาธิ

   4. ญาณปัจจเวกขณ
 

  :s_good: :coffee2:


หัวข้อ: Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: ศรีสุพรรณ ที่ กันยายน 02, 2011, 09:52:03 am
ดังนั้น ธรรมอันเป็นโคจร

 ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่เป็นทางเดิน ของจิต ใช่หรือไม่คะ

  ทางเดินของจิต ก็คือ หลักปฏิบัติ ใช่หรือไม่คะ

   หลักปฏิบัติ ก็ตามแบบ กรรมฐาน นั้น ๆ ใช่หรือไม่คะ

   สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ก็หมายถึง บริกรรม ปัคคาหะ และ อุเบกขา ใช่หรือไม่คะ

     ก็สงสัย อยู่ แต่ก็ทำความเข้าใจ ตามด้วยคะ


   ส่วนอารมณ์ ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่ได้ในขณะนั้น มี วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ ใช่หรือไม่ คะ

  :smiley_confused1: :25:

 


หัวข้อ: Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 02, 2011, 04:52:31 pm
ดังนั้น ธรรมอันเป็นโคจร

 ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่เป็นทางเดิน ของจิต ใช่หรือไม่คะ

  ทางเดินของจิต ก็คือ หลักปฏิบัติ ใช่หรือไม่คะ

   หลักปฏิบัติ ก็ตามแบบ กรรมฐาน นั้น ๆ ใช่หรือไม่คะ

   สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ก็หมายถึง บริกรรม ปัคคาหะ และ อุเบกขา ใช่หรือไม่คะ

     ก็สงสัย อยู่ แต่ก็ทำความเข้าใจ ตามด้วยคะ


   ส่วนอารมณ์ ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่ได้ในขณะนั้น มี วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ ใช่หรือไม่ คะ

  :smiley_confused1: :25:

 


  อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,
       สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์;

       ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


       คำว่า "โคจร" ผมไม่คาดว่า จะหมายถึง "ทางเดินจิต" ควรจะเป็นอารมณ์ของจิตในกรรมฐานมากกว่า

       อารมณ์ในกรรมฐาน น่าจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ อารมณ์ของสมถะ และอารมณ์ของวิปัสสนา
       
       อารมณ์ในสมถะ ก็น่าจะเป็น องค์ฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา

       รวมทั้ง บริกรรมนิมิต ปัคคาหะนิมิต และ อุเบกขานิมิต ก็เป็นอารมณ์สมถะ

       ส่วนอารมณ์ิในวิปัสสนา ก็ควรไปดูเรื่อง "วิัปัสสนาญาณ ๑๖"
       ลิงค์แนะนำhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5061.msg18455;topicseen#new

        :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 05, 2011, 10:19:26 am
โคจร  เส้นทาง สถานที่ ข้อปฏิบัติ คำแนะนำ ได้หลายความหมาย

อโคจร ตรงกันข้าม คือ เติมคำว่า ไม่ใช่......ที่ควร    เช่น ไม่ใช่ เส้นทาง ที่ควร ไม่ใช่ สถาน ที่ควร เป็นต้น

คำอธิบาย ก็เป็นไปตาม อรรถ และ พยัญชนะ ด้วยนัยนี้

เจริญพร

 ;)