สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ส้ม ที่ กันยายน 01, 2011, 10:27:15 am



หัวข้อ: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ส้ม ที่ กันยายน 01, 2011, 10:27:15 am
      พระสุตตัตนตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  เอกกนิบาต  ๓.  อกัมมนิยวรรค
 
               ๓. อกัมมนิยวรรค
            หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน

            [๒๑]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    ภิกษุทั้งหลาย    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน    (๑)

            [๒๒]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน    (๒)

            [๒๓]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๓)

            [๒๔]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๔)

            [๒๕]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๕)

            [๒๖]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้    จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๖)

            [๒๗]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑    ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๗)

            [๒๘]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก    (๘)

            [๒๙]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้    (๙)
            [๓๐]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้    (๑๐)

               อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ



หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ศรีสุพรรณ ที่ กันยายน 02, 2011, 10:04:35 am
พยายามอ่าน  วิเคราะห์ ตามนะคะ เพราะ อ่านแล้ว ก็ยัง งง ๆ กับสำนวน คะ

   1. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
       
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือไม่ได้เจริญภาวนา )

   2.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือ จิตที่มีการภาวนา )

   3.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก ( เมื่อไม่ภาวนา ก็ไม่มีประโยชน์ )

   4.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก  ( เมื่อภาวนาก็มีประโยชน์ )

    5.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( ไม่ภาวนาก็ไม่ปรากฏชัด )

    6.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจินี้   
      จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก   ( เมื่อภาวนาก็ปรากฏชัด )

    7.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( การภาวนา ถ้าไม่ทำให้บ่อย )

    8. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ( เมื่อเจริญบ่อยก็ย่อมสมควร )

    9. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ ( เมื่อไม่เจริญภาวนาก็ย่อมมีความทุกข์ )

    10.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้  ( เมื่อเจริญก็ย่อมได้ความสุข )

 สรุป จากที่อ่านมานะคะ คือ ผู้ที่ภาวนา ต้องให้ภาวนาให้บ่อย ถึงจะได้ความสุข คะ


พยายาถอดใจความ ที่กล่าวว่าพระไตรปิฏก ที่อ่านยาก อยู่ คงเพราะเหตุีนี้ คะ


 :s_hi: :13:

 


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: montra ที่ กันยายน 02, 2011, 11:20:10 am
อ่านตาม ก็ยัง มึน ๆ เหมือนกัน อ่ะ แต่ พอเข้าใจ กับบทสรุป คะ

ถ้าพระไตรปิฏก สำนวนอ่าน ง่าย ๆ ก็จะดี นะคะ

 :25:


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 02, 2011, 08:30:07 pm
(http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/25/images/224009_picwebShow.jpg)

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
   ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
   เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒


      ๓. ทรงแสดงว่า ไม่ทรงเห็นธรรมะอื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่ถ้าไม่อบรมแล้ว ก็ใช้งานไม่ได้ เหมือนจิต.
   แล้วทรงแสดงจิตอีก ๙ ลักษณะ   คือ

   ธรรมะที่อบรมแล้ว   ย่อมใช้งานได้,   
   ไม่อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะ ( ความพินาศ ),   

   อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะ ( ประโยชน์),   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่,   

   อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่,

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่ ,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว นำทุกข์มาให้,   

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว นำความสุขมาให้

    ธรรมะแต่ละข้อนี้ไม่มีอะไรเสมอเหมือนจิต.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html)
ขอบคุณภาพจากwww.bangkokbiznews.com


(http://[url=http://img.kapook.com/image/health/maditation.jpg]http://img.kapook.com/image/health/maditation.jpg[/url])


   พระไตรปิฎก(บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ ๒๐
   พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
   อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ

             [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

             [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

   จบวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๙๔ - ๑๒๗. หน้าที่ ๕ - ๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=94&Z=127&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=94&Z=127&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=22 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=22)
ขอบคุณภาพจากhttp://img.kapook.com


    ผมนำข้อความในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชนกับฉบับบาลีสยามรัฐ มาใ้ห้อ่านเปรียบเทียบกัน

    อยากทำความเข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎก เบื้องต้นให้อ่านอรรถกถา หรือไม่ก็

    ให้ไปอ่านพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ตามลิงค์นี้ครับ
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/ (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/)

    ขอให้ทุกท่านสนุกกับการอ่าน
;) :49: :25:


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ กันยายน 02, 2011, 08:34:29 pm
ต้องลองอ่าน หลาย ๆ ฉบับ ครับ แต่ คุณศรีสุพรรณ วงเล็บ ไว้ทำให้เข้าใจไวมากขึ้น ครับ

อ่านแล้ว ก็ไม่มึนตามครับ รู้สึกว่า ต้องพึ่งคนสรุปสำนวนหน่อย

อนุโมทนา กับทุกท่านครับ ที่ช่วยกันชี้แนะ.....

 :25: :25: :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: เสริมสุข ที่ กันยายน 03, 2011, 05:21:27 pm
อ่านแล้วได้ ความรู้เพิ่มมากครับ

ขอบคุณ กับ การแสดงความคิดเห็นของทุกท่าน ขอรับ
 :25: :c017:


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 05, 2011, 10:11:13 am
อันที่จริงที่กล่าวมาเป็นส่วน หนึ่ง ในห้องที่ 2 ของพระพุทธานุสสติ กรรมฐาน
คือห้อง พระยุคคลหกประการ

กายกัมมัญญตา  จิตตกัมมัญญตา
  กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน



  ในห้องพระยุคลธรรม 6 ประการ นั้นมีความพิศดารใน การฝึกอีกนะจ๊ะ
ไม่สามารถเปิดเผยอรรถาธิบายตรงนี้ให้ได้นะจ๊ะ



เพื่อให้เข้าใจ ธรรม อันเป็นคู่ เมื่อมีกลาวแสดงธรรม จะกล่าวธรรมเป็น คู่กัน เพราะจะเข้าใจง่าย

 [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ



 อันนี้ กล่าวถึง จิตไม่อบรม  ( ฝึกภาวนา ) ไม่ควรแก่การงาน
                 จิตที่อบรม   ย่อมควรแก่การงาน




[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



                  อันนี้ กล่าวถึง ธรรมใด ๆ
                  จิตไม่อบรม ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
                  จิตที่ฝึกอบรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันโหญ่




  [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

     [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



    จิตที่ไม่ฝึกอบรม ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
    จิตที่ฝึกอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ยอ่มเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่



  [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

  [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ



       จิตที่ไม่อบรม ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมไม่เป็นเพื่อประโยชน์อันใหญ่
       จิตที่อบรม ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่



[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ

     [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ



จิตที่ไม่มีการฝึกอบรม ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้
 จิตที่มีการฝึกอบรม ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ทั้งหมดนี้ ให้ความสำคัญ ตีความ ได้ คำว่า ธรรม ใด  ๆ ที่กระทำแล้ว ย่อมให้ความสำัคัญลง ไปที่ จิต
การอบรมธรรมใด ๆ ลงไปต้องให้ความสำคัญลงไป กับ จิต เพราะจิต เป็นที่เสวย เวทนา คือ ทุกข์ คือ สุข
เพราะจิต ย่อมทำให้พร้อมแก่การงาน เพราะจิตย่อมทำให้ปรากฏ เพราะจิตย่อมทำให้มากได้ด้วยธรรม เพราะจิตย่อมทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

ผู้ฝึกภาวนา ธรรม ใด ๆ พึงให้ คุณค่า ของธรรม ลงไปสู่ จิต เป็นประการแรก
 

เจริญธรรม
 ;)


หัวข้อ: Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: mongkol ที่ พฤศจิกายน 05, 2011, 12:52:15 pm
อ้างถึง
ในห้องพระยุคลธรรม 6 ประการ นั้นมีความพิศดารใน การฝึกอีกนะจ๊ะ
ไม่สามารถเปิดเผยอรรถาธิบายตรงนี้ให้ได้นะจ๊ะ

ทำไมจึงเปิดเผยไม่ได้ ครับ ถ้าผมมีความสนใจ จะอย่างไรครับ ถึงจะทราบครับ

 :smiley_confused1: