สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: arlogo ที่ มกราคม 28, 2012, 08:18:34 am



หัวข้อ: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มกราคม 28, 2012, 08:18:34 am
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้
เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน
ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา
บารมีของเรา ฉะนี้แล.
        จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

ยกพระสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ 33 จริยาปิฏก ซึ่งได้ถูกรวบรวม ความประพฤติ เพื่อสร้างบารมีธรรมนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญมา หลาย ๆ ชาติ


   จากเรื่องที่ยกมานั้น เป็น เรื่องที่แสดงเรื่อง อุเบกขา อันเป็นกำลังของผู้ประพฤติธรรมคือการวางใจเป็นกลาง ไม่ให้ยินดี เมื่อเขาทำดีให้ ไม่ให้ยินร้าย เมื่อเขาให้ร้าย การวางใจเป็นกลางนี้ ถึงแม้จะเห็นว่าดูเหมือนง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ๆ เพราะผู้ที่จะวางใจเป็นกลาง ต้องมีขันติ อดทน มีทมะ การข่มใจตนได้ เป็นพื้นฐานสำหรับ ผู้ที่ยังต้องปฏิบัติธรรมกันอยู่ ส่วนผู้ที่จะละได้โดยไม่ต้องใช้ขันติ หรือ ทมะแล้ว ก็ต้องเป็น พระอนาคามีบุคคล ขึ้นไปจึงจักสามารถทำได้

  ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาในความสงบ ที่เรียกว่า สันโดด นั้น พึงสังวรระวัง สติ ตั้งไว้ในความอดทน และ ข่มกลั้นใจ ในขณะเดียวกัน ก็รู้จักฝึก กรรมฐาน 4 อย่าง คือ เมตตากรรมฐาน กรุณากรรมฐาน มุทิตากรรมฐาน อุเบกขากรรมฐาน ไว้ด้วย

   เจริญธรรม


   ;)

 
(http://www.madchima.net/images/251__.jpg)
  รอยพระพุทธบาท นัมะทานที ที่เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2012, 08:28:11 pm
ชื่นชมครับ พระอาจารย์ผู้ปิดทองหลังพระ ครับ
และยังมุ่งมั่นในการเผยแผ่พระธรรม อย่างไม่พึ่งพาใครๆ

   :25: :25: :25:
 


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2012, 08:42:29 pm
เห็นชอบครับ พระอาจารย์ท่านเหนื่อยมา 3 ปีแล้ว ท่านได้อะไร ? จากการเผยแผ่ ผมว่าศิษย์หลายท่านได้ใส่ใจหรือไม่ ท่านได้เผยแผ่ มุ่งมั่นและสนับสนุนศิษย์ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา ด้วยดีมาตลอด จนกระทั่งทุกวันนี้ไม่มีวัดให้ท่านอยู่แล้วนะครับ

   :25: :'(


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: translate ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2012, 08:44:39 pm
ขออนุโมทนา กับข้อธรรมส่วนนี้ ผมว่าเป็นหัวใจสำคัญ ของการภาวนาเลยนะครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: DANAPOL ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2012, 08:45:00 pm
อนุโมทนา สาธุ ครับ

  :25:


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: pimpa ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2012, 12:26:46 am
อนุโมทนา คะ ( นาน ๆ เข้ามาอ่าน เข้าเวรกลางคืนอยู่คะ กำลังส่งเวรคะ )

  สาธุ สาธุ สาธุ

  การวางใจมีในพระสูตร หลายพระสูตรตามที่พระอาจารย์ ได้เคยกล่าวสอนไว้คะ บางท่านไม่เข้าใจคิดว่ากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับสอนนอกพระไตรปิฏก อันที่จริง กรรมฐาน มัชฌิมา มีคำสอนแนบแน่นกับพระไตรปิฏก คะ

 สาธุ

  :25: :25: :25:



หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: wiriya ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2012, 01:00:24 pm
อนุโมทนาสาธุ กับเรื่อง และการวางอารมณ์ ให้เป็นกลาง ครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ เมษายน 28, 2012, 12:09:13 pm
ถ้าคนอ่านทั่วไป ก็จะกล่าวได้ว่า ผู้ที่ทำใจอย่างนี้ เหมือนคนตายซาก จืดชืด เพราะไม่ยินดี ยินร้าย แต่การวาจิตเป็นกลางอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทำใจได้ง่าย ๆ อย่างนี้นะครับ ต้องมีการผ่านการภาวนา มาอย่างเข้มข้นนะครับ โดยเฉพาะ วางอารมณืเป็นกลางอย่าง นี้ ต้องระดับ พระอรหันต์ เลยนะครับ

  :s_hi: :49: