สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 28, 2010, 07:19:49 am



หัวข้อ: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 28, 2010, 07:19:49 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 35

   วสสูตรที่ ๑
     [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมยังจิตให้เป็นไป
ในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดรู้ในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ฯ






หัวข้อ: การจัดหมวด แห่ง สมาธิ 10 หมวด
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 19, 2011, 10:50:51 am
 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.

[๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร

สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต

สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑

สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑
              สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑

สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
       สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑

สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือ เอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑
                        ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑
                        จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑

สมาธิ ๗ คือ  ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑

สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑
        เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑

สมาธิ ๙ คือ  รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว๑
               ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑
               อัปปณิหิตสมาธิ ๑

สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอัทธุมาตกสัญญา ๑
               วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑
               วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑  โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑
               อัฏฐิกสัญญา ๑ 

  สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๐ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129)


หัวข้อ: สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ ธันวาคม 19, 2011, 10:55:20 am
 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.
 

[๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ คือ

สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑
เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์๑
เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑
เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑
เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑
เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑
เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑
เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่สงบ ๑
เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑
เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑


สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็น

สมาธิภาวนามยญาณ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0)


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ ธันวาคม 20, 2011, 08:55:09 am
ขอบคุณพระอาจารย์ ที่รื้อ เรื่อง เกี่ยวกับสมาธิ มาปูพื้นฐาน ให้ครับ
ผมคิดว่า ถ้าทุกคนอ่าน ตรงส่วนนี้ดี ก็จะได้ไม่ไปพูด กันผิด ๆ ในเรื่องสมาธิ ครับ
 นับว่ามีประโยชน์ มากครับ

  สาธุ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: malee ที่ ธันวาคม 21, 2011, 01:54:20 pm
อ้างถึง
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดรู้ในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑

อยากให้พระอาจารย์ หรือ ทีมมัชฌิมา ช่วยอธิบาย 7 ประการนี้ ด้วยคะ ตอนนี้มีความสนใจในเรื่องกรรมฐานคะ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 22, 2011, 11:24:15 am
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑

 หมายถึง เป็นผู้เข้าใจในลำดับของพระกรรมฐาน อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง และอะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ

 สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ ลำดับของพระกรรมฐาน นะจ๊ะ เบื้องต้นถ้าเข้าใจในลำดับพระกรรมฐาน ก็คือ ฉลาดในสมาธิ ฉลาดในองค์แห่งสมาธิ

สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑
เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์๑

ในการเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ก็คือ กำลังแห่งศรัทธา ในการภาวนาอันนี้เป็นสำคัญ และเหตุปัจจัยที่จะทำให้สมาธิมีได้จริง


 เจริญธรรม

;)

Aeva Debug: 0.0004 seconds.


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 23, 2011, 12:23:47 pm
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
การฉลาดในการเข้าสมาธิ คือการเดินจิต ในองค์ แห่งสมาธิ คือ
องค์แห่ง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา
สำหรับศิษย์กรรมฐาน ก็คือการเจริญในสมาธิ ในห้องต่าง ๆ ตามลำดับพระกรรมฐาน



เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑
เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑
เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑
เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑
เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑
เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑


ความฉลาดในการเข้าสมาธิ ก็คือ การปล่อยวางทางจิต การปล่อยวางทางจิต ก็สงบระงับกิเลสในเบื้องต้นนั่นก็คือการระงับ นิวรณ์ 5 เบื้องต้นก่อน เพราะระงับนิวรณ์ ทัง 5 เบื้องต้นได้ จิตแจ่มใสมองเห็นธรรมได้
เจริญธรรม
 

 ;)
Aeva Debug: 0.0004 seconds.


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: paitong ที่ ธันวาคม 24, 2011, 11:02:33 pm
อยากให้พระอาจารย์ อธิบายให้มากกว่า หรือ ใส่เสียงบรรยาย เลยก็ได้ครับ
ติดตามเรื่อง สมาธิ อยู่ครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 15, 2012, 02:39:46 pm
แนะนำให้อ่านจ้า