สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: แพนด้า ที่ สิงหาคม 19, 2012, 09:53:28 am



หัวข้อ: จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ สิงหาคม 19, 2012, 09:53:28 am
จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....ผมไม่ชอบ ฐานจิตที่ 1 แต่ชอบ ฐานจิตที่ 5 มากครับอยากภาวนาตรงนี้เพราะตรงกับของเดิม ครับ ของเดิิม กรรมฐานเดิม ใช้ตรงนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่า ขอเริ่มที่ ฐานจิตที่ 5 เลยได้หรือไม่ครับ เพราะรู้สึกว่า ว่าภาวนาแล้วไม่ขัดแย้ง ความรู้สึกในใจครับ

  :c017: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 19, 2012, 02:05:50 pm
การปฏิบัติขึ้นอยู่กัยดุลพินิจของอาจารย์ผู้บอกฏรรมฐาน

และในกรณีนี้ต้องเข้าแจ้งกรรมฐานเป็นการส่วนตัว

คำตอบที่อาจจะเป็นไปได้ คือ

          - ที่จริงยังปฏิบัติไม่ผ่านก็ต้องมาทำให้ได้ก่อน หรือ
          - ต้องการให้มีทักษะ หรือ
          - ต้องการที่จะแก้เพื่อไม่ให้เราไปติด คือไปชอบอยู่ที่ตรงฐานไหนฐานหนึ่งโดยไม่จริง
            (เกิดจิตปรุงแต่งไปเอง) หรือ
          - อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานรู้อะไรดีๆ ที่จะเกิดขึ้น กับเราแต่ไม่ได้บอกเรา จึงให้ทำเช่นนี้
         
         ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงตัวอย่างในหลายๆ คำตอบ ซึ้งต้องอยูกับอาจารย์ผู็้บอกกรรมฐานของคุณ
 


หัวข้อ: Re: จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 20, 2012, 01:36:27 pm
จำเป็น นะจ๊ะ ไม่ว่าท่าน จะมาจากแนวไหนก็ตาม เมื่อเข้ามาเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับก็ต้องเจริญเริ่มต้นเหมือนกันทั้งหมด ท่านจะได้ ฌาน อะไร มาก็ต้องมาเริ่มต้นทั้งหมด การเข้าฌาน ออกฌาน ก็ต้องเข้าออก ตามลำดับเช่นกัน

 แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้าท่านได้ คุณธรรมสูงมาก่อน เมื่อท่านเริ่มปฏิบัติก็จะไปไว ได้ไว ไม่ได้เสียเวลาอะไรอย่างที่หลายคนกล่าว ท่านเคยได้ ปฐมฌานมาก่อน เมื่อเจริญ พุทธานุสสนติ ก็ใช้เวลาไม่นานในการเจริญให้เป็น อุปจาระฌาน เรียกว่า เป็นงานที่ง่ายสำหรับคนที่ทำได้ ดังนั้นโจทย์แบบเด็ก ๆ ชั้นประถม ก็จะข้อสอบได้ไว

ดังนั้นถ้าคุณมี องค์ธรรมเกิดขึ้นที่ หทัยวัตถุแล้วจริง คุณจะสามารถภาวนาไปสู่จุดนั้นได้โดยไว

การเจริญกรรมฐาน ต้องรู้ส่วนธาตุ เป็นเรื่องแรก เริ่มตั้งแต่ ธาตุดิน เป็นธาตุไฟ เป็นธาตุน้ำ เป็นธาตุลม อันนี้เรียกว่า รูป เบญขันธ์ แต่เมื่อจิตของท่าน เลื่อนขึ้นไปยังอากาศธาตุ ก็เท่ากับเริ่มจะรู้จักจิต ซึ่ง จิตเป็นเบญขันธ์ มี 4 ส่วน แยกเด่นชัดจาก ธาตุอื่น ๆ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญา อยู่ที่หทัยวัตถุ เริ่มมี เริ่มเป็น เริ่มชัด เริ่มกำหนดได้ ที่อากาสธาตุ เพราะธาตุใจเป็นธาตุที่ไม่มีรูปร่าง เป็นธาตุที่ไม่เหมือน มหาภูตรูป ทั้ง 4

ดังนั้น ส่วนหทัยวัตถุ จะรู้ได้ขาด ก็ต้องผ่านการรู้ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม มาเสียก่อน

เจริญธรรม /เจริญพร

  ;)


หัวข้อ: Re: จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....
เริ่มหัวข้อโดย: มหายันต์ ที่ สิงหาคม 22, 2012, 04:04:53 pm
อ่านคำตอบแล้ว รู้สึกว่า กรรมฐาน มีส่วนที่เข้าใจได้ยาก อยู่มากเลยนะครับ
ไม่ใช่เรื่องที่เคยคิดว่า ธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ง่าย ถึงได้ง่าย

 แต่ตอนนี้ผมเริ่มเปลี่ยนความคิดแล้วครับ พระธรรมไม่ใช่เรื่องที่จะรู้แจ้งได้โดยง่าย เข้าถึงได้ง่าย หรือภาวนาได้ง่ายๆ เพราะถ้าง่าย จริง ๆ ตอนนี้บ้านเมืองเรามีพระอริยะ เต็มเลยนะครับ

  :s_hi: :c017:


หัวข้อ: Re: จำเป็นต้องปฏิบัติ ฐานจิตที่ 1 ทุกครั้งหรือไม่ คือ....
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 23, 2012, 02:20:49 am
เราฝึกกรรมฐานโดยทั่วไป ถ้าฝึกตามอุบาย ศิลสมาธิปัญญา
ก็เริ่มจาก ทํารูปให้เป็นอรูป ทําตรงนี้เสร็จแล้ว ก็ต้องทําอรูปให้เป็นรูป
   ขยายความ
   ส่วนรูปมีสี่องค์ธรรม ดิน ไฟ นํา ลม เรียกว่าตั้งรูปกรรมฐาน จัดเป็นสมถะ (ปีติหนึ่งถึงสี่)
     เมื่อธาตุสี่มี เมื่อรวมธาตุสี่(รวมธรรมกาย)ได้เต็มที่ธาตุสี่ก็ระเบิด (เกิดธรรมจักร)เกิดธาตุห้ามี ธาตุอากาศคือช่องว่าง ช่องตาสอง ช่องหูสอง ช่องจมูกสอง ช่องปาก ช่องหทัยวัตถุ(จิต ช่องใจ) ช่องทวารหนัก ช่องทวารเบา เป็นห้องความรู้ญาณ วิปัสสนา อรูปฌาณ    (ปีติองค์ที่ห้าก็เกิด ธาตุอากาศ เป็นนาม เป็นฝ่ายอรูป รู้ยากเห็นยากเป็นนามจิต)
   เมื่ออากาศมีรูปเพราะเบิดรูป ปล่อยรูป ปล่อยลม ออกช่องอากาศได้ ก็จะได้นิมิตทั้งสองส่วน
    ทั้ง อุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต
        ธาตุอากาศธาตุใจไม่มีรูปร่าง
        แต่เราได้รูปร่างแล้ว จากรูปนิมิตที่ระเบิดจากธาตุสี่ เกิดธาตุห้านั้นๆ
         คราวนี้เราสามารถฝ่าฟันอากาศ ตั้งแต่ อากาสา-เนวนาได้โดยใช้นิมิตทั้งสอง คือนิมิตในกรรมฐานทั้งสองส่วน เป็นรูปนามสมาบัติ
      เพื่อเข้าไปศึกษา เรื่องจิตที่รู้ยาก พระรัศมีนามธรรม นามกาย ที่เป็นเบญขันธ์ มีสี่ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(เข้าพิจราณาเวทนา เพราะกายดับรูปดับแล้วเพราะได้ฌานสี่)
      ส่วนรูปเบญขันธ์ เราได้รู้มาจากการตั้งธาตุสี่ ในสี่ขั้นนั้นแล้ว พระลักษณะ รูปกาย

            พระพุทธเจ้าตรัสไว้เสมอว่า  ศิลสมาธิปัญญา ควรทําให้เป็นดังยาน
  .......อุคห-ปฏิภาค ธรรมกาย-ธรรมจักร บางลัทธิเรียกจักรา ที่แหวกว่ายไปในอากาศ  จนสุดฌานแปด ปู่โตเปรียบเทียบไว้ เหมือนโดดขี่หลังเสือ กระโดดใหม่ๆมันก็ตกเสมอ เพราะเสือมันกระโจน จนกว่าจะรู้จังหวะ จึงจะขี่มันได้ พระป่าเรียกว่าทําฌาน ทางกรรมฐานเรียกว่าทําอรูปให้เป็นรูป ในภาษามนุษย์ที่เข้าใจง่าย คือทําอารมณ์ให้มีรูปจะได้เข้าไปรู้จิตรู้อารมณ์(จัดเป็นวิปัสสนาญาณสิบด้วย)   ตรงนี้น่าจะใช้ทั้งอานาปาและกสินและเมตตาพรหมวิหาร

ทําสมถะให้เป็นวิปัสนา ทําวิปัสนาให้เป็นสมถะ แต่ผลได้แล้ว สมถะหลังเป็นฌานหนึ่งโลกุตตระ
ในอานาปามีกายสิบหก หรือ รูปวัตถุสิหก และญาณสติสองร้อยญาณ ว่ากันถึงกาย อรหัตมรรค-อรหัตผลกันเลยทีเดียว
ที่เล่ามาทั้งหมดคืออุบายศิลสมาธิปัญญา แต่ถ้าอยากก้าวหน้าต้องแจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์กรรมฐานเท่านั้น ไม่มีใครรู้ได้เอง ยกเว้นองค์เดียวที่รู้เองได้ คือ พระพุทธเจ้า เท่านั้น

   
 เล่าสู่กันฟังตามที่ได้ยินมา
    การทําภาวนา สําเร็จได้ ด้วยการวางใจและรับครูผู้สอน(ก็คือพระอาจารย์กรรมฐาน) เชื่อฟังครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชา เพราะท่านรักษาประโยชน์ไว้ให้ศิษย์ทุกคน