ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหาปุริสลักษณะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  (อ่าน 3249 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระมหาปุริสลักษณะ ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเท่าใดครับ

มีอย่างไรบ้างครับ

( พอดีเข้าไปดูภาพพระพุทธรูปแล้วทำให้อยากติดจินตนาการถึงพระพุทธองค์ ครับ)

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มหาปุริสลักษณะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 03:22:55 am »
0
พอดีลองเสริร์ช ไปพบพอดี มีไม่มีกี่เว็บที่รวบรวมไว้ดีครับ



รวบ รวมลักษณะของมหาปุริสลักษณะ 32 ประการที่ผู้ใดมีจะสามารถทำนายคติได้สองอย่างคือ จะได้เป็นพระมหาจักรพรรดิ หรือจะได้บรรลุเป็นศาสดาเอกของโลก ลักษณะทั้ง 32 ประการนี้เกิดจากการรักษาศีลและสร้างสมบารมีมาช้านานทั้งสิ้น

๑. พระบาทประดิษฐานเป็นอันดี สุปะติฎฐิตะปาโท เมื่อทรงเหยียบพระบาท  ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน  เมื่อทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน

๒. ใต้พระบาททั้งสองมีลายธรรมจักร มงคล ๑๐๘ ประการ  เหฎฐา ปาทะตะเลสุ  จักกานิ

๓. ส้นพระบาทยาว อายะตะปัณหิ พระบาทแบ่งออกเป็นสี่ส่วน  ปลายพระบาทสองส่วน ลำพระชงฆ์ (แข้ง) ตั้งในส่วนที่สาม  เหลือส้นพระบาทอีกหนึ่งส่วน และส้นพระบาทนั้นสีแดงงาม

๔. นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเรียว กลมงาม ทีฆังคุลี

๕. พระวรกายตั้งตรงดังกายท้าวมหาพรหม พรหมุชุ คัตโต  ไม่น้อมไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง

๖. พระมังสะ (เนื้อ) อูมในที่ ๗ แห่ง  สัตตุสสะโท ได้แก่  หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง พระอังสา (บ่า) ทั้งสอง  ลำพระศอ (คอ) มิได้เห็นเส้นปรากฏออกมาภายนอก

๗. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม มุทุตะละนะหัตถะปาโท

๘. ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่าพระบาทมีลายดังตาข่าย ชาละหัตถะปาโท  นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ เว้น พระอังคุฎฐะ (นิ้วหัวแม่มือ)  นิ้วพระบาททั้งห้าเสมอกัน ชิดสนิทดี

(บุพพชาติทรงอนุเคราะห์คนด้วยสังคหวัตถุสี่ คือ ทาน ปิยะวาจา อัตถจริยา สมานัตตา นิ้วทั้งสี่จึงยาวเท่ากัน)

๙. หลังพระบาทนูนดุจสังข์คว่ำ  อุสสังขะปาโท และข้อพระบาทกลอกกลับผันแปรอย่างคล่องขณะย่างพระบาท

๑๐. พระโลมา (ขน) มีสีดำสนิท ขดเป็นทักษิณาวัฎ (เวียนขวา) ๓ รอบและมีปลายช้อนขึ้น

๑๑. พระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดังแข้งเนื้อทราย กลมกลึงงาม เอณิชังโฆ

๑๒. พระฉวีวรรณ (ผิว) ละเอียด สุขุมมัจฉวี  ธุลีละอองมิติดต้องพระวรกายได้ มลทินใดมาสัมผัสก็เลื่อนหลุดไปดุจน้ำกลิ้งตกจากใบบัว

๑๓. พระฉวีวรรณ (ผิว) เหลืองงามดังทองคำ สุวัณณะวัณโณ

๑๔. พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก โกโสหิตะวัตถะคุโยหะ  องค์กำเนิดเพศชายหดเร้นเข้าข้างใน

๑๕. พระวรกายสง่างาม สมบูรณ์ สมส่วน ดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ  (ต้นไทร)  นิโครธปริมัณฑโล ความสูงของพระวรกายเท่ากับวาของพระองค์

๑๖. พระกรยาวจนใช้พระหัตถ์ลูบพระชานู (เข่า) โดยไม่ต้องน้อมพระวรกาย  ปาณิตะเลหิ ชันนุกานิ ปริมะสะติ

๑๗. พระวรกายส่วนหน้าล่ำพีบริบูรณ์ สง่างามดุจราชสีห์  สีหะปุพพะทะธะกาโย

๑๘. พระปฤษฎางค์ (หลัง) เต็ม ปิตตันตะรังโส ตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว)  ขึ้นไปถึงต้นพระศอ (คอ) พื้นพระมังสะ (เนื้อ)  ปิดพระปฤษฎางค์เป็นอันดี มิได้เห็นข้อพระอัฐิท่ามกลางพระขนอง  (ข้อกระดูกสันหลัง) ปรากฏออกมาภายนอก

๑๙. พระศอกลมเสมอกัน สะมะวัฎฎักขันโธ

๒๐. มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารดีเลิศ  ระสัคคะสัคคี  มีเส้นประสาทปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านสม่ำเสมอ ไปทั่วพระวรกาย

๒๑. พระเนตรดำสนิท อะภินีละเนตโต มีการเห็นแจ่มใส

๒๒. ดวงพระเนตรสดใสดังตาโค  โคปะขุโม (บุพพชาติทรงทอดพระเนตรสัตว์ด้วยความเมตตา เอ็นดู)

๒๓. พระเศียรกลมงาม พระพักตร์มีอุณหิสคือลักษณะเหมือนมีกรอบหน้า  อุณหีสะสีโส

๒๔. โลมา (ขน) มีขุมละเส้น เอเกกะโลโม

๒๕. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง (คิ้ว) สีขาวอ่อนเหมือนปุยฝ้าย  อุณณาโลมา ภมุกันตะเรชาตา

๒๖. พระทนต์มี ๔๐ ซี่ จัตตาฬีสะทันโต เบื้องบน ๒๐ ซี่ เบื้องล่าง ๒๐  ซี่เสมอกัน

๒๗. พระทนต์มิได้ห่าง สนิทกันดี อะวิระฬะทันโต

๒๘. พระชิวหาอ่อน กว้าง ยาวกว่าชนทั้งปวง ปหูตะชิโวห

๒๙. พระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหม  กระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก  พรหมัสสะโร กะระวิกะภาณี

(บุพพชาติทรงเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ส่อเสียด คำไม่จริง)

๓๐. พระหนุ (คาง) ดุจคางราชสีห์ สีหะหะนุ

๓๑. พระทนต์เรียงเรียบเสมอกัน สะมะทันโต

๓๒. พระทาฐะ (เขี้ยว) ทั้ง ๔ ซี่ขาวบริสุทธิ์ รุ่งเรืองด้วยรัศมี  สุสุกกะทาโฐ


เครดิตเว็บนี้ด้วยครับ

http://cndf.wordpress.com/2007/11/23/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0-32-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81/
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อนุพยัญชนะ พระสุรเสียง กำลังพระวรกาย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 11, 2010, 08:20:50 am »
0
อนุพยัญชนะ

ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ
 
๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม,
๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย,
๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี,
๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง,
๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง,
๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย,
๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก,
๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา,
๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ,
๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช,

๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์,
๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน,
๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน,
๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก,
๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี
๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง,
๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก,
๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ,
๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี,
๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี,
 
๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้,
๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย,
๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง
๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง,
๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง,
๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง,
๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ,
๒๘) มีพระนาสิกอันสูง,
๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม
๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก,

 
๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน,
๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์,
๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย,
๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น,
๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์,
๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย
๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน,
๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก,
๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว
๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด

๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง,
๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด
๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม
๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ
๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม


๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว
๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม
๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้
๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ
๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่
๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร

๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย
๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ
๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย
๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา
๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม


๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล
๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง
๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น
๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น
๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ


 
มีพระสุรเสียงไพเราะเสนาะโสต มีพระวาจาสุภาพสละสลวย

พระพุทธเจ้าท่านมีเสียงไพเราะ มีพระดำรัสชวนฟัง พราหมณ์คนหนึ่งชื่อจังกี ถึงกับกล่าวชมพระพุทธองค์ว่า

"พระสมณโคดม มีพระวาจาไพเราะ รู้จักตรัสถ้อยคำงดงาม มีพระวาจาสุภาพ สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง"

ชายหนุ่มคนหนึ่ง ชื่ออุตระ กล่าวชมพระพุทธองค์ว่า

" พระสมณโคดมนั้น ไปถึงอารามแล้ว (เย็นลง) ก็ประชุมบริษัทแสดงธรรม ไม่ประจบประแจงบริษัท สนทนาชักชวนบริษัทให้อาจหาญร่าเริงด้วยถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม"

เสียงกังวานที่เปล่งออกจากพระโอษฐ์ของพระสมณโคดมนั้น
ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๘ ประการ คือ

๑. แจ่มใส
๒. ชัดเจน
๓. นุ่มนวล
๔. ชวนฟัง
๕. กลมกล่อม
๖. ไม่พร่าเลือน
๗. ซาบซึ้ง
๘. กังวาน


เสียงที่พระสมณโคดม ใช้เพื่อทำให้บริษัทเข้าใจเนื้อความไม่กึกก้องแพร่ออกไปนอกบริษัท ครั้นเมื่อพระสมณโคดม สังสันทนาการชักชวนให้อาจหาญรื่นเริงด้วยธรรมิกถา



กำลังพระวรกายของพระตถาคต

พึงทราบโดยทำนองแห่งสกุลช้าง สมดังคาถาประพันธ์ที่โบราณาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า

สกุลช้าง ๑๐ สกุลนี้คือ
กาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑
คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโบสถ ๑ ฉัททันตะ ๑.

ก็สกุลแห่งช้าง ๑๐ สกุลเหล่านี้. สกุลกาฬาวกหัตถี พึงเห็นว่าเป็น สกุลช้างธรรมดา.
กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คนเท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ ๑ เชือก.

กำลังของช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ ๑ เชือก.
กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างปัณฑระ ๑ เชือก.

กำลังช้างปัณฑระ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างตัมพะ ๑ เชือก.
กำลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างปิงคละ ๑ เชือก.

กำลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างคันธะ ๑ เชือก.
กำลังช้างคันธะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างมังคละ ๑ เชือก.

กำลังช้างมังคละ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างเหมวัต ๑ เชือก.
กำลังช้างเหมวัต ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างอุโบสถ ๑ เชือก.

กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังช้างฉัททันตะ ๑ เชือก.
กำลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือกเท่ากับกำลังพระตถาคต ๑ พระองค์.


ช้างฉัททันต์ ๑๐ เชือก เท่ากับ
ช้างอุโบสถ ๑๐๐ เชือก,ช้างเหมะ ๑,๐๐๐ เชือก,
ช้างมงคล ๑๐,๐๐๐ เชือก,ช้างคันธะ ๑๐๐,๐๐๐ เชือก,
ช้างปิงคละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างตามพะ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,
ช้างปัณฑระ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,ช้างคังไคย ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,
ช้างกาฬาวกะ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ เชือก,บุรุษ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน.


ด้วยเหตุนั้น ในอรรถกถาทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

“กำลัง(ของพระตถาคต)นี้นั้น เป็นกำลังของช้างหนึ่งหมื่นล้านเชือกโดยการนับช้างธรรมดา,เป็นกำลังของบุรุษ หนึ่งแสนล้านคนโดยการนับบุรุษ.”

อ้างอิงจาก
1. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สีหนาทวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

ที่มา เว็บพลังจิต

ขอขอบคุณ
http://www.gmwebsite.com




หามาช่วยคุณ CHATCHAY หวังว่า จะถูกใจไม่มากก็น้อย

นี่เป็นครั้งแรกที่ตั้งกระทู้เอง แล้วตอบเอง

สาธุครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มหาปุริสลักษณะ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2010, 07:14:21 am »
0
พระพุทธเจ้า สมบูรณ์ ด้วยกำเนิดชาติ

ด้วยความรู้ ด้วยความเป็นมหาบุรุษ

ด้วยความถึงพร้อมด้วยธรรมะ ทั้งอรรถะ และ พยัญชนะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา