ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชื่นชมดอกสาละ สะพรั่ง ( นำมาฝาก )  (อ่าน 1843 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ชื่นชมดอกสาละ สะพรั่ง ( นำมาฝาก )
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2013, 11:20:21 am »
0












ขอบคุณภาพจาก เอนกคุณ ทับทิม
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



 ๑.๒  สาละลังกา หรือ ต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree)
เป็นพืชวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae (ปัจจุบันจิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae)
มืชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Couroupita guianensis  Aubl. ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่เกี่ยว
เนื่องกับพุทธประวัติ  (ภาษาละติน  guianensis  แสดงว่ามีถิ่นกำเนิดจาก
ประเทศ  Guiana)

                  สาละลังกา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ Guiana และ
ประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน นิยม
ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในสวนพฤกษศาสตร์

        เป็นพันธุ์ไม้นำมาจากประเทศคิวบา ศรีลังกาได้มาปลูก
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๒  ส่วนประเทศไทยปลูกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นไม้ยืนต้น
ผลัดใบสูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว
ออกเวียนสลับตามปลายกิ่งรูปใบหอกกลับ กว้าง ๕-๘ ซม. ยาว ๑๕-๓๐ ซม.
ปลายแหลม โคนสอบ มน ขอบใบจักตื้นๆ

        ดอกช่อใหญ่ ยาว ออกตามโคนต้น ดอกสีชมพูอม
เหลืองและแดง กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น กลีบดอก ๔-๖ กลีบ
แข็ง หักง่าย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๘ ซม. โคน
ของเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นรูปโค้ง ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ผลแห้งเปลือกแข็ง
ผิวสีน้ำตาลปนแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐-๒๐ ซม. ผลสุกมีกลิ่นเหม็น ภายใน
มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่ ออกดอกเกือบตลอดปี ต้องการแสงแดดจัด ต้องการ
น้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท
       
        ชาวลังกาถือว่าเป็นต้นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา  เห็น
ว่า  ดอกมีลักษณะสวยและมีกลิ่นหอม   จึงนำไปถวายพระ อีกทั้งนิยมปลูก
ภายในวัดมากกว่าตามอาคารบ้านเรือน

        (สาละลังกา ปัจจุบันปลูกอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น)

    ปรากฏว่า  ตามวัดสำคัญต่าง ๆ  โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และต่าง
จังหวัด  ได้นำสาละไปปลูก  แต่ส่วนมากจะเป็นสาละลังกา   อาจจะเกิด
ความเข้าใจผิดและสับสนก็เป็นได้

    ๒.  เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน    เมื่อพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์
ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ
ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ แล้วพระองค์ก็ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ โดยพระปรัศว์
เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จ
เข้าสู่พระปรินิพพาน
 

      สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง
ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Shorea siamensis Miq.” และใช้ในความหมาย
เดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกัน
ที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน ๑๕
อัน เส้นแขนงใบย่อยมี ๑๐-๑๒ คู่ ผลมีเส้นปีก ๑๐-๑๒ เส้น มีขนสั้นรูปดาว
ปกคลุมประปราย ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบ
ย่อยมี ๑๔-๑๘ คู่ ผลมีเส้นที่ปีก ๗-๙ เส้น และไม่มีขนปกคลุม   (ภาษาละติน
ระบุว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย)


ที่มา  :  http://www.google.com/imgres?imgurl=http://www.dham
majak.net/gallery/albums/userpics/normal_%25B4%25CD%25A1%
25CA%25D2%25C5%25D0%25204.jpg&imgrefurl=http://www.
dhammajak.net/board/viewtopic.php%3Ft%3D12385&usg=__x2_7
-FdSOIaWgDxUxT9pOIfLHGA=&h=283&w=400&sz=27&hl=en&start
=5&sig2=p_lptuo8lCJnBE29XxflAQ&itbs=1&tbnid=yBN9zC2qwltbLM
:&tbnh=88&tbnw=124&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25
AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0
%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%
25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B5%25
E0%25B8%25A2%26hl%3Den%26sa%3DG%26gbv%3D2%26tbs
%3Disch:1&ei=oHnIS7eTHIm0rAfMo_m7CQ   

 
    สมัยก่อน หนังสือพุทธประวัติรวมทั้งแบบเรียน แทบทุกเล่ม  จะระบุ
ว่าทรงประทับระหว่างต้นรังทั้งคู่   ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องเป็นต้นสาละทั้งคู่   ทั้งนี้
อาจเป็นเพราะต้นสาละและตันรังมีความคล้ายคลึงกัน  จึงทำให้เกิดความเข้าใจ
ผิดเกิดขึ้นก็เป็นได้   ไม่ทราบว่าสมัยนี้ได้แก้ไขหมดแล้วหรือยัง
 


    หวังว่า  คงจะมีส่วนบ้าง  ในการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ "สาละ"  ต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติ  ที่
พุทธศาสนิกชนทุกท่านควรทราบ

ขอบคุณเนื้อหาสาระ นี้ครับ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=586374
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา