ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร  (อ่าน 2693 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1


( เมื่อต้องมาตอบคำถาม เด็ก ๆ และ ต้องชวนพาเด็ก นั่งสมาธิ )

การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร การทำสมาธิเหมาะกับนักเรียน หรือ ไม่ ครับ
สำหรับผมคิดว่า การทำสมาธิ ไม่เหมาะกับเด็กครับเพราะว่า ไม่อยู่ในภาวะวิสัยที่จะฝึกได้ นะครับ





 thk56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2013, 09:25:27 am โดย kindman »
บันทึกการเข้า

kosol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2013, 10:15:51 am »
0
ถ้าผลกับการเรียน นั้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ นะครับ ว่าคนที่นั่งกรรมฐาน สำเร็จ อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ นั้นมาโชว์ความสามารถเรื่องผลการเรียน มีแต่พวก ขณิกะสมาธิ นั่นแหละครับ ที่มาแสดงว่า ความเยือกเย็น คือ สมาธิ ผมว่ามันไม่ใข่ตรงนี้

   สมาธิ ในพระพุทธศาสนา ไม่ได้มีไว้ เพื่อผลการเรียนนะครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2013, 10:26:37 am »
0

เรื่องสุมนสามเณร

พวกภิกษุล้อเลียนสามเณร              
ครั้งนั้น ภิกษุบางพวกจับสามเณรที่ศีรษะบ้าง ที่หาทั้ง ๒ บ้าง ที่แขนบ้าง พลางเขย่า กล่าวว่า
    "ไม่กระสันหรือ? สามเณร."
     พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า "กรรมของภิกษุเหล่านี้หยาบจริง ภิกษุเหล่านี้จับสามเณรเป็นดุจจับอสรพิษที่คอ พวกเธอหารู้อานุภาพของสามเณรไม่ วันนี้ การที่เราทำคุณของสุมนสามเณรให้ปรากฏ สมควรอยู่."
     แม้พระเถระก็มาถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง.


พระศาสดาทรงทำคุณของสามเณรให้ปรากฏ              
      พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยท่านแล้ว ตรัสเรียกพระอานนทเถระมาว่า "อานนท์ เราเป็นผู้มีความประสงค์เพื่อจะล้างเท้าทั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต เธอจงให้หม้อแก่พวกสามเณรแล้วให้นำน้ำมาเถิด." พระเถระให้สามเณรประมาณ ๕๐๐ ในวิหารประชุมกันแล้ว.

      บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรได้เป็นผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด. พระเถระกล่าวกะสามเณรผู้แก่กว่าสามเณรทั้งหมดว่า "สามเณร พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต, เธอจงถือหม้อน้ำไปนำน้ำมาเถิด."
      สามเณรนั้นไม่ปรารถนา ด้วยกล่าวว่า "กระผมไม่สามารถ ขอรับ." พระเถระถามสามเณรทั้งหลายแม้ที่เหลือโดยลำดับ. แม้สามเณรเหล่านั้น ก็พูดปลีกตัวอย่างนั้นแล.

      มีคำถามว่า "ก็บรรดาสามเณรเหล่านี้ สามเณรผู้เป็นขีณาสพไม่มีหรือ?"
      แก้ว่า "มีอยู่. แต่สามเณรเหล่านั้นไม่ปรารถนา ด้วยคิดเห็นว่า "พวงดอกไม้นี้ พระศาสดาไม่ทรงผูกไว้เพื่อพวกเรา พระองค์ทรงผูกไว้เพื่อสุมนสามเณรองค์เดียว
. แต่พวกสามเณรผู้เป็นปุถุชนไม่ปรารถนา ก็เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถนั่นเอง."



      ก็ในที่สุด เมื่อวาระถึงแก่สุมนสามเณรเข้า พระเถระกล่าวว่า "สามเณร พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต ได้ยินว่า เธอจงถือเอาหม้อไปตักน้ำมา"
      สุมนสามเณรนั้นเรียนว่า "เมื่อพระศาสดาทรงให้นำมา กระผมจักนำมา" ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระองค์ให้ข้าพระองค์นำน้ำมาจากสระอโนดาตหรือ? พระเจ้าข้า"
      พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น สุมนะ."


      สุมนสามเณรนั้นเอามือจับหม้อใหญ่ใบหนึ่ง ซึ่งจุน้ำได้ตั้ง ๖๐ หม้อ ในบรรดาหม้อสำหรับเสนาสนะ ซึ่งเลี่ยมดาดด้วยทองแท่ง อันนางวิสาขาให้สร้างไว้ หิ้วไปด้วยคิดว่า "ความต้องการของเราด้วยหม้อ อันเรายกขึ้นตั้งไว้บนจะงอยบ่านี้ ย่อมไม่มี" เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้าต่อหิมวันตประเทศ รีบไปแล้ว.

      นาคราชเห็นสามเณรซึ่งกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงต้อนรับ แบกหม้อด้วยจะงอยบ่า กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า เมื่อผู้รับใช้เช่นข้าพเจ้ามีอยู่ เพราะอะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงมาเสียเอง เมื่อความต้องการน้ำมีอยู่ เหตุไร? พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่ส่งเพียงข่าวสาสน์มา" ดังนี้แล้ว เอาหม้อตักน้ำแบกเองกล่าวว่า "นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิดขอรับ ข้าพเจ้าเองจักนำไป."
      สามเณรกล่าวว่า "มหาราช ท่านจงหยุด ข้าพเจ้าเองเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้มา" ดังนี้ให้พระยานาคกลับแล้ว เอามือจับที่ขอบปากหม้อ เหาะมาทางอากาศ.



      ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแลดูเธอซึ่งกำลังมา ตรัสเรียกพวกภิกษุมาแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูการเยื้องกรายของสามเณร เธอย่อมงดงามดุจพระยาหงส์ในอากาศฉะนั้น."
      แม้สามเณรนั้นวางหม้อน้ำแล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่.

     ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "สุมนะ เธอมีอายุได้เท่าไร?
     สามเณรกราบทูลว่า "มีอายุ ๗ ขวบ พระเจ้าข้า."
     พระศาสดาตรัสว่า "สุมนะ ถ้ากระนั้น ตั้งแต่วันนี้ เธอจงเป็นภิกษุเถิด" ดังนี้แล้ว ได้ประทานทายัชชอุปสมบท.
     ได้ยินว่า สามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ๒ รูปเท่านั้น ได้อุปสมบท คือสุมนสามเณรนี้รูปหนึ่ง โสปากสามเณรรูปหนึ่ง


     เมื่อสุมนสามเณรนั้นอุปสมบทแล้วอย่างนั้น พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมนี้น่าอัศจรรย์ อานุภาพของสามเณรน้อย แม้เห็นปานนี้ก็มีได้ อานุภาพเห็นปานนี้ พวกเราไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่กาลนี้."



สมบัติย่อมสำเร็จแก่เด็กๆได้             
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ?" เมื่อพวกเธอกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า
   "ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนาของเรา บุคคลแม้เป็นเด็ก ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้เหมือนกัน"

________________________________________________
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=12



    เอตทัคคะผู้บรรพชาตอนอายุ ๗ ขวบ
    ๑. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
    ๒. พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
    ๓. พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
    ๔. พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า


เอตทัคคะผู้เป็นเถระเหล่านี้ บวชต้องแต่อายุ ๗ ขวบ แสดงให้เห็นว่า เด็กสามารถบรรลุธรรมได้ หรือศึกษาธรรมได้ บางองค์บรรลุอรหันต์ขณะปลงผมด้วยซ้ำ เช่น พระสีวลี และพระทัพพมัลลบุตร เป็นต้น

    สามเณรอรหันต์ผู้บรรพชาตอน ๗ ขวบ
     ๑. สุมนสามเณร
     ๒. สังกิจจสามเณร
     ๓. บัณฑิตสามเณร
     ๔. โสปากสามเณร


    ในอรรถกถากล่าวว่า สุมนสามเณร และสังกิจจสามเณร บรรลุอรหันต์ขณะปลงผม
    และมีสามเฌรอยู่ ๒ รูปที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้เป็นภิกษุขณะที่มีอายุ ๗ ขวบ
    ขอนำเอาข้อธรรมในพระสูตรมาแสดงเป็นตัวอย่าง ดังนี้



๔. โสปากเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระโสปากเถระ

      [๓๖๔]    เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน เป็นบุรุษอุดมเสด็จจงกรมอยู่ที่ร่มเงาหลังพระคันธกุฎี จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคม ณ ที่นั้น เราห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือเดินตามพระองค์ผู้ปราศจากกิเลสธุลีผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง
     ลำดับนั้น พระองค์ได้ตรัสถามปัญหาเรา เราเป็นผู้ฉลาด รอบรู้ปัญญาทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีความหวาดหวั่นและไม่กลัว ได้พยากรณ์แด่พระศาสดา
     เมื่อเราวิสัชนาปัญหาแล้ว พระตถาคตทรงอนุโมทนา ทรงทอดพระเนตรหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า
     โสปากภิกษุนี้บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยของชาวอังคะและชาวมคธเหล่าใด ก็เป็นลาภของชาวอังคะและชาวมคธเหล่านั้น
     อนึ่ง ได้ตรัสว่า เป็นลาภของชาวอังคะและชาวมคธที่ได้ต้อนรับและทำสามีจิกรรม แก่โสปากภิกษุ
     ดูกรโสปากะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้เธอเข้ามาหาเราได้
     ดูกรโสปากะ การวิสัชนาปัญหานี้ จงเป็นการอุปสมบทของเธอ เรามีอายุได้ ๗ ปี แต่เกิดมา ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ทรงร่างกายอันมีในที่สุด น่าอัศจรรย์จริง ความที่ธรรมเป็นกรรมดี.

_______________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=6763&Z=6779
ขอบคุณภาพจาก http://ecards.dmc.tv/, http://www.bloggang.com/, http://www.kalyanamitra.org/, http://www.oknation.net/ , http://www.kondee.com/ , http://www.mcunan.com/im
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2013, 10:31:16 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2013, 11:03:44 am »
0
ask1


( เมื่อต้องมาตอบคำถาม เด็ก ๆ และ ต้องชวนพาเด็ก นั่งสมาธิ )

การทำสมาธิ จะมีผล กับการเรียนที่ดีอย่างไร การทำสมาธิเหมาะกับนักเรียน หรือ ไม่ ครับ
สำหรับผมคิดว่า การทำสมาธิ ไม่เหมาะกับเด็กครับเพราะว่า ไม่อยู่ในภาวะวิสัยที่จะฝึกได้ นะครับ





 thk56


    ans1 ans1 ans1
   
    หากเชื่อในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแล้ว อย่างน้อยก็ยืนยันได้ว่า เด็กอายุตั้งแต่ ๗ ขวบขึ้นไป
    สามารถปฏิบัติธรรมได้ อย่าว่าแต่สมาธิเลย การบรรลุอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้
    อีกอย่างขอให้สังเกตว่า ทำไมพระพุทธเจ้าให้ราหุลกุมารบรรพชาได้ ท่านเล็งเห็นอะไร
    การบรรพชาของพระราหุลตอนอายุุ ๗ ขวบ ยืนยันได้ว่า เด็กก็ปฏิบัติธรรมได้
    ดังตัวอย่างที่ยกมาแสดงมีสามเณรทั้งหมด ๘ รูป


    ในบรรดา ๘ รูปนั้น เป็นที่อัศจรรย์ว่า เป็นศิษย์ของพระสารีบุตรถึง ๔ รูป
    คือ พระราหุล พระสีวลี พระทัพพมัลลบุตร และสังกิจจสามเณร

    ถามว่า แล้วเด็กที่ไม่ได้บวชเป็นสามเณร สามารถปฏิบัติธรรมได้ไหม.?
    ตอบว่า ได้.....ขอยกตัวอย่าง พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง
    ตามประวัติของท่าน ท่านเกิดมาตั้งแต่จำความได้ พ่อแม่พาไปวัดตั้งแต่ยังแบเบาะ
    พ่อแม่จะวางเบาะท่านไว้ข้างธรรมมาสน์เสมอ พอโตขึ้นหน่อยก็วิ่งเล่นในวัด
    พระสอนให้นั่งสมาธิ ท่านก็ทำตาม พุท...เข้า โธ...ออก ท่านทำตามอยู่อย่างนี้
    ครั้งหนึ่ง ท่านทำจนไม่มีลมหายใจ ครั้งต่อมาจิตท่านไปปรากฏอยู่บนสวรรค์
    จากประวัติของท่านจะเห็นว่า เด็กสามารถทำสมาธิได้


    แต่ก็..คงไม่ทุกคนหรอก คงทราบนะครับ เรื่องนี้เป็นไปตามวาสนาบารมีที่สั่งสมมาในอดีตชาติ
    หากลูกหลานทำไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งท้อ การสร้างสมอุปนิสัยทางธรรมเป็นเรื่องจำเป็น
    ผมเชื่อว่า อุปนิสัยทางธรรมนี้จะติดตัวไปในชาติต่อๆไป
    ส่วนประโยชน์ของสมาธิต่อการเรียนหนังสือนั้น..มีมากครับ
    แต่จะไม่ขอกล่าวถึง เพราะปรากฏอยู่ทั่วไปแล้ว
    ขอคุยเท่านี้

     :25: :25: :25:
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2013, 11:19:53 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ