ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระอริยมรรค กับ พระอริยผล ต่างกันอย่างไร ไม่เข้าใจครับ  (อ่าน 7564 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ans1

พระอริยมรรค กับ พระอริยผล ต่างกันอย่างไร ไม่เข้าใจครับ

  คือการนับ พระอริยนับที่ พระโสดาปัตติมรรค ขึ้นไปใช่หรือไม่ครับ

 thk56
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต่างกัน ตรง คำว่า มรรค และคำว่า ผล

 :49:
บันทึกการเข้า

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต่างกัน ตรง คำว่า มรรค และคำว่า ผล

 :49:
สั้นไป หรือป่าว ที่ตอบ นะครับ

  :41:
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




มรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)
       1. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส)
       2. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ 3 ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง)
       3. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง 5)
       4. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง 10).

_______________________
อ้างอิง :- อภิ.วิ. 35/837/453.


ผล 4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
       1. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย)
       2. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)
       3. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย)
       4. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย)

       ผล 4 นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม)

________________________
อ้างอิง :- อภิ.วิ. 35/837/453.

 :49: :49: :49:

อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) 4.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล)
       2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค)
       3. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล)
       4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค)
       5 อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล)
       6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค)
       7. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล)
       8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค)

       ทั้ง 8 ท่านนี้ ในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 8

_________________________________________________________
อ้างอิง :- ที.ปา. 11/342/267 ; องฺ.อฏฺฐก. 23/149/301 ; อภิ.ปุ. 36/150/233.


ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)
     ...................
    13. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)
    14. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)
    15. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)
    16. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)

___________________________________________
อ้างอิง :- ขุ.ปฏิ. 31/มาติกา/1-2  และ วิสุทธิ. 3/206-328
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพข่าวจาก http://i1045.photobucket.com/




13. โคตรภูญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ หากบารมีแก่กล้าก็วืบเดียวอนุโลมญาณ แล้วโคตรภูญาณมัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เกิดสืบต่อกัน
ปริยัติธรรม ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ ถึงขั้นนี้ทั้งคำสอนที่เผยแพร่กัน และคำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว
จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้ แล้วเอาคำว่าวืบมาใช้ ความจริงไม่มีคำว่าวืบ หรือวูบ เพราะขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า


ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณแต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ในช่วงที่จิตถอยออกจากอารมณ์นั้น เป็นการรวมของจิตคล้ายกับอัปปนาสมาธินั่นเอง

แต่อาจเป็นการผ่านฌานที่ 1 แล้วเข้าถึงจิตผู้รู้เลย หรือผ่านฌานที่ 2 - 8 แล้วจึงเข้าถึงจิตผู้รู้ก็ได้
แล้วแต่กำลังฌานของแต่ละบุคคล (จุดที่ต่างจากอัปปนาสมาธิคือ มันไม่ได้ถอยมาหยุดเฉยอยู่กับจิตผู้รู้อย่างกับอารมณ์ฌาน หากแต่เป็นการถอยเข้ามารวมกำลังของกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้เข้าไว้ด้วยกันที่จิตผู้รู้ เพื่อแหวกมโนวิญญาณที่ปกคลุมธาตุรู้อันบริสุทธิ์ให้แตกกระจายออกไปในขั้นของมัคคญาณ)


 :25: :25: :25:

14. มัคคญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว
ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน


 :25: :25: :25:

15. ผลญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว
ปริยัติธรรม ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ
ความรู้จากการปฏิบัติ เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธาตุรู้อันบริสุทธิ์หรือจิตอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง มีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง

 :25: :25: :25:

16. ปัจจเวกขณญาณ
คำสอนที่เผยแพร่ บางคนอ่อนก็พูดไม่เป็น บางคนญาณแก่ก็พูดได้ประกาศร้อง ตะโกนว่าเรารู้แล้ว มรรคนี้ถูกต้องแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลืออยู่
ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน

ความรู้จากการปฏิบัติ ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตจริงแท้หลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อพระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง

ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก
     กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด
     กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง


จากกระทู้ "ลำดับขั้น...เข้าสู่อริยมรรค"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3409.0
ขอบคุณภาพข่าวจาก http://i1045.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ans1

พระอริยมรรค กับ พระอริยผล ต่างกันอย่างไร ไม่เข้าใจครับ

  คือการนับ พระอริยนับที่ พระโสดาปัตติมรรค ขึ้นไปใช่หรือไม่ครับ

 thk56


 ans1 ans1 ans1

      [๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘
                ๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
                ๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
                ๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
                ๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
                ๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
                ๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
                ๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
                ๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง

_______________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/read/?11/342/267


อัฏฐปุคคลสูตรที่ ๑
       [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๘ จำพวกเป็นไฉน คือ
         พระโสดาบัน ๑
         ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑
         พระสกทาคามี ๑
         ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑
         พระอนาคามี ๑
         ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑
         พระอรหันต์ ๑
         ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล ๑


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
     บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้เป็นสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรง มีปัญญา มีศีล และจิตมั่นคง ย่อมกระทำบุญของมนุษย์ผู้เพ่งบุญบูชาอยู่ให้มีผลมาก ทานที่ให้ในสงฆ์ย่อมมีผลมาก ฯ
      จบสูตรที่ ๙

__________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/read/?23/149/301


อัฏฐกนิทเทส [บุคคล ๘ จำพวก]
      [๑๕๐] บุคคลผู้พร้อมเพียงด้วยมรรค ๔ ผู้พร้อมเพียงด้วยผล ๔ เป็นไฉน
                          บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
                          บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
                          บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี
                          บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
                          บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
                          บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
                          บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
                          บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์

      เหล่านี้ชื่อว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔
          อัฏฐกนิทเทส จบ

_________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=36.2&item=150&items=1&preline=0&pagebreak=0


 ans1 ans1 ans1
       
       ความหมายของ พระอริยมรรค หรือ พระอริยผล ตามที่คุณwaterman ถามมานั้น
       หากจะเรียกให้รัดกุม น่าจะใช้คำว่า อริยบุคคล ๘ ซึ่งแบ่งเป็น มรรค ๔ และผล ๔
       เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการเรียงลำดับอริยบุคคลนั้น  "ในบาลียกผลขึ้นมาก่อน"

       ถามว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค กับ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ต่างกันอย่างไร
       ตอบว่า หากอธิบายตามตัวอักษร ที่อรรถกถาจารย์ยกมาแสดงไว้นั้น เข้าใจยากครับ
       น่าจะอธิบายด้วยวิปัสสนาญาณ จะเข้าใจได้ง่ายกว่า (อ่านเอาเองนะครับ)
       แต่ก็อีกนั่นแหละ วิปัสสนาญาณเป็นเรื่อง "ปัจจัตตัง ต้องรู้ด้วยตนเอง"
       อ่านไปก็อาจเข้าใจตามนั้น เปรียบเสมือนทัพพีที่อยู่ในหม้อแกง
       ทัพพีมัน...ไม่เคยรู้รสชาติของแกงเลย

        :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2013, 08:45:40 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ