ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท  (อ่าน 4109 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:57:53 am »
0
สำหรับ ปุถุชน อย่างผม นั้นมีหลักการในการหยุด วงจรของปฏิจจสมุปบาทอย่างไรครับ
ที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติ จริง ๆ

 :25:

บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 07:21:07 am »
0
หลักภาวนาในการหยุดวงจร ปฏิบัติภาวนา ปฏิจจสมุปบาท นั่นก็คือรู้เห็นตามความเป็นจริง

ว่า สิ่งนี้เนืองด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้เนื่องด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงตั้งอยู่ สิ่งนี้เนื่องด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ

สำหรับผู้ฝึกเริ่มต้น ควรตามดูที่ ผัสสะ กับ อายตนะ กระทบกัน ให้ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา

สำหรับ ผู้ฝึกที่เป็นพระอิรยะบุคคลนั้น ก็ดับลงตามส่วน คือหย่อนทวนกลับ

ส่วนใหญ่ ถ้าละได้แล้ว ก็จะหยุดที่ วิชชา ก็จะไม่เข้าไปในวงจรแห่งกรรมอีก

ไม่จำเป็นต้องหยุดสังขาร เพราะเป็นวิชชาแล้ว ตั้งแต่ต้น

ดูหลักการง่าย ๆ ก็คือ

เมื่อ ตา ผัสสะ กับ รูป ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง วิชชาก็เกิด เพราะพ้นจากความยึดมั่น ถือมั่น เป็นต้น

เจริญพร

 ;)
   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2010, 06:59:03 am »
0
มาช่วยเสริมนะครับ เพราะเห็นว่าพระอาจารย์ปฏิบัติ เนสัชชิกธุดงค์ แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

        รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

        เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักไปนอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่ เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

        สัญญาเป็นอนัตตา ถ้า สัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

        สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้หลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

        วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม ไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

        พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน


อนัตตสัญญา เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าจักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็น อนัตตา กายเป็นอนัตตาโผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อม พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ


อนัตตสัญญา กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย

ขันธสังยุตต์ - มัชฌิมปัณณาสก์ - อรหันตวรรค - ๗. อนัตตนิยสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    ๗. อนัตตนิยสูตร

    ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่มิใช่ของตน

    [๑๔๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนา

โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแล ไม่ใช่เป็นของตน เธอควรละความพอใจ

ในสิ่งนั้นเสีย.

    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.

    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไร

เล่า?

    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มิใช่เป็นของตน

ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย. ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี

พระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดี

แล้ว. ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มิใช่เป็นของตน ควรละความ

พอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย. เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด

ฯลฯ ภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

    จบ สูตรที่ ๗.
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 07:41:02 am »
0
  ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า

เราเพียง มีสติ กำหนด รู้ทัน ในระหว่างที่อายตะภายใน กับ ภายนอก กระทบกัน ก็พอใช่หรือไม่ครับ


   :25: Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2011, 09:34:46 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 09:40:21 am »
0
ในการฝึก กำหนด อนัตตสัญญา นั้นไม่ใช่ว่าจะฝึกกันได้เลย ผู้ฝึก อนัตตสัญญา หรือ มโนปวิจาร นั้น จักต้องผ่านการฝึก อนิจจสัญญา ก่อน นะจ๊ะ คือการกำหนด ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ต้องผ่านตามลำดับ

   ทุกวันนี้ผู้ฝึกกรรมฐาน ไม่สำเร็จ เพราะมักชอบข้ามขั้นตอน การภาวนาเพียงและเห็น และคิดรู้สึกว่า คงจะบรรลุได้ เพราะเหตุทำอย่างนี้จะทำให้เกิดความวิปัลลาส ในธรรม สูญเสียคุณสมบัติไปก็มาก
   
     มีเพื่อน ๆ อาตมาและ คุณโยมหลายท่านที่ิิคิดลัดตัดข้ามตอน จวบจนตายก็ยังเห็นแจ้ง เห็นจริงในองค์ธรรม นั้น ๆ  ไม่ได้

    ดังนั้นผู้ที่จะฝึก อนัตตสัญญา นั้น ควรจะต้องผ่านการเจริญ อนิจจสัญญา มาก่อน ตามลำดับ การฝึกเพื่อเข้าถึง นิพพาน ตามลำดับ  ปณิหิตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน และ สุญญตนิพพาน  ก่อน จะเป็น นิพพานจริง ๆ นะจ๊ะ 

 เจริญธรรม


 
 ;) Aeva Debug: 0.0008 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2011, 09:45:14 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ