ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติย่อ พระครูสิทธิสังวร ผู้สืบทอดการเผยแผ่พระกรรมฐาน มัชฌิมา ในปัจจุบัน  (อ่าน 12284 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
    • ดูรายละเอียด
พระครูสิทธิสังวร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๒ ตำบลวัดท่าพระ อำเภอบางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ





        อุปสมบท ณ วัดราชสิทธาราม  เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๖  โดยมี พระธรรมรัตนวิสุทธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูไพโรจน์กิจจาทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสิทธิ์วุธคุณ เป็นอนุศาสนาจารย์

บวชแล้วศึกษานักธรรม ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระครูปัญญาวุธคุณ ศิษย์สืบทอด พระกรรมฐาน ไก่เถื่อน ต่อมาได้ทำการฟื้นฟูพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

ผลงานในพระพุทธศาสนา
   
   ๑  ฟื้นฟูผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อนที่ได้สังคายนาไว้ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ อันเป็นแบบแผน การ ปฏิบัติกรรมฐานมาตั้งแต่ พระโสณเถระ พระอุตรเถระ ผ่านยุคผ่านสมัยมา

  ถึงยุคทวาราวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์ สมัยหลังมีการเรียนกรรมฐานไม่เป็นแบบแผน ไม่เป็นลำดับ ทำให้ผู้ศึกษากรรมฐานสับสน

   ๒. เรียบเรียงประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

   ๓. เรียบเรียงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามแบบ ที่
              สังคายนาใน  รัชกาลที่ ๒

   ๔.เรียบเรียง พระกรรมฐานจากพระไตรปิฏก ตามแบบพระ
              กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

   ๕. คัดลอก เรียบเรียงตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ
               ลำดับ

    ๖.เรียบเรียงประวัติปฏิปทา พระสังวรานุวง์เถร(ชุ่ม)

    ๗. จัดทำพิพิธภัณฑ์ พระกรรมฐาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่
                เถื่อน   ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
            ๘.รวบรวมพระคัมภีร์พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่า

ประวัติเกี่ยวกับการเดินธุดงค์

หุบเขาลม

 

15 กุมภาพันธ์

ในปี พ.ศ. 2529 ข้าพเจ้าได้พาคณะออก ธุดงค์ หลังจากที่เลยตรุษจีนแล้วข้าพเจ้าได้นำคณะพระธุดงค์ออกจากรุงเทพฯ เริ่มต้นที่วัดราชสิทธาราม และก็เดินทางเรื่อยๆ มาผ่านที่ช่องเขาขาด ล่วงวันล่วงคืนมาเรื่อยๆ ครั้นเวลา 17.00 น. ได้พาคณะเข้าพักที่กลางหุบเขาลม ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่าหุบเขาลม และได้เห็นคนเดินมาจึงเพ่งจิตไปที่ชายคนนั้น เห็นนิมิตในตัวชายคนนั้นเป็นพระพุทธรูปขาว อยู่ในตัวชายคนนั้น จึงรู้ว่าชายคนนี้ใจบุญและใจดี คณะของเราที่พักในหุบเขาลมนั้น 1 คืน ชายผู้นั้นก็เอาน้ำมาถวาย และต่อมาคณะของเราก็แขวนกลด พักอยู่ในหุบเขาลมนั้นเอง พอตกกลางคืนกลางดึกประมาณ 2 ยาม ลมในหุบเขาก็พัดอย่างแรง และก็แรงขึ้นเรื่อยๆ จนกลดที่แขวนอยู่แกว่งไปแกว่งมา และมุ้งกลดก็หลุดออกจากร่มกลด ด้วยแรงลมนั้น ข้าพเจ้าและคณะก็เลยนอนจำวัดโดยไม่มีมุ้งกลด และยุงก็ไม่มี เพราะลมแรงมากไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย ขณะเมื่อนอนอยู่นั้นในใจก็เกิดความกลัวเล็กน้อย พลันก็ปรากฏแสงสว่างสีเหลืองเรื่องๆ พุ่งมาจากยอดกลดมาคลุมร่างข้าพเจ้าที่นอนอยู่ ข้าพเจ้าก็รู้สึกอัศจรรย์ใจมาก และความกลัวที่มีอยู่หมดไปไม่มี พวกคณะของข้าพเจ้าที่ไปนั้น ต่างก็ปักแขวนกลดกันไกลห่างกันเกือบ 60 เมตร ต่อจากนั้นก็เลยลุกขึ้นนั่งพระกรรมฐาน เมื่อจิตนั่งเห็นนิมิตเป็นฤาษีอยู่บนยอดเขานั้น ฤาษีที่เห็นในนิมิตนั้นท่านบอกชื่อว่า ฤาษีวิษณุ เมื่อเลิกนั่งกรรมฐานแล้วจึงแผ่เมตตาไป แล้วสวดมนต์กรณีเมตตสูตร แต่หุบเขาลมที่พวกข้าพเจ้าปักกลดอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่โล่งราบไม่มีต้นไม้ใหญ่ ฤาษีที่เห็นอยู่ในบนภูเขานั้นในนิมิตก็เป็นป่าทึบมาก แต่ปัจจุบันเป็นเขาหัวโล้น นิมิตที่เห็นนั้นเป็นการเห็นภาพที่เป็นป่าสมบูรณ์ในอดีต ที่ๆ ข้าพเจ้าปักนี้เป็นจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นพวกเราก็นอนจำวัด เช้ามืดตื่นมากสวดมนต์ทำวัตร พอสว่างแล้วแผ่เมตตาแล้วก็ออกบิณฑบาตร มีคนใส่บาตรจนเต็มล้นบาตร เมื่อกลับจากบิณฑบาตรแล้วก็เตรียมตัวฉัน ก่อนฉันก็สวด ปัญจเวกพิจารณาอาหารก่อน ถวายข้าพระแล้วอนุโมทนา เมื่อขณะกำลังจะฉันมีคนเอาของมาถวายที่กลด และได้สนทนาธรรมกัน เมื่อฉันเสร็จญาติโยมก็ต่างคนพากันกลับไปประกอบอาชีพของตนต่อไป เมื่อการฉันเสร็จสิ้นโยมกลับไปแล้ว คณะของเราก็พากันเดินจงกรมพักหนึ่งแล้วก็เขาประจำกวด นั่งทำสมาธิภาวนาต่อไป ประมาณ ครึ่งชั่วโมงก็เตรียมเก็บกลดเก็บบาตรใส่ถุงย่าม เพื่อจะเดินทางต่ดอไป ก่อนจะไป พวกเราก็แผ่เมตราให้กับเหล่าสัพสัตว์ในที่นั้นสักพักหนึ่ง แล้วก็พากันเดินทางออกไปจากที่นั้นขณะเดิน ก็ภาวนาไปด้วย ว่า เมตตา สัพโส ภาวนาขณะที่เดินไปตลอดทาง ก็ถึงที่แห่งหนึ่งคือที่ลำนารายณ์เป็นป่าละเมาเป็นที่สงัดในเวลากลางวัน (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 29) ก็พักผ่อนกลางวัน ณ ที่นั้นโดยมิได้กลางกลด เพียงเอาผ้าอาบปูนอนพักเหนื่อยเมื่อหายเหนื่อยแล้ว ก็ลุกขึ้นมานั่งกรรมฐานประมาณ 40 นาทีเมื่อเลิกนั่งแผ่นเมตตาแล้วก็มีญาติโยมเอาน้ำมะพร้าวมาถวาย แล้วพวกญาติโยมก็สนทนาถามเรื่องต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติด้วย ประมาณสักครึ่งชั่วโมงญาติโยมก็กราบลาไปทำงานที่ไร่ ที่นาต่อ พอได้เวลาแดดร่มลมตกพวกคณะของเราก็เริ่มเดินทางต่อไป เดินไปเรื่อยๆ เดินไปก็ภาวนาแผ่เมตตาของทางไปด้วยจนถึงเวลาใกล้ค่ำ จึงเตรียมหาที่ปักกลด

ถ้ำแก้วกายสิทธิ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

เมื่อคณะของเราเดินทางมาเรื่อยๆ ในตอนเย็นวันนั้นเห็นข้างทาง เขียนบอกทางว่า ไปถ้ำแก้วกายสิทธิ์ พวกเราก็เดินเข้าทางไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็พักต้มน้ำกลางทางที่ศาลากลางทุ่ง ก่อนถึงถ้ำแก้วกายสิทธิ์ประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำนี้อยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อพักต้มน้ำชาและดื่มแก้กระหายและพักผ่อนเรียบร้อยแล้ว และในคณะพระของเรากับพวกเราไม่รู้จักทางไปถ้ำแก้วกายสิทธ์ ก็นั่งสมาธิถามเทวดา ก็เห็นเทวดาในนิมิตนั้ชี้บอกทางให้ไปทางเขาลูกหนึ่งซึ่งในที่นั้นมีเขาหลายลูก พวกเราจึงเดินไปตามทางที่เทวดาบอกจนถึงถ้ำแก้วกายสิทธิ ที่นี้เป็นวัดร้างไม่มีพระอยู่จำพรรษา เรียกว่าสำนักสงฆ์

เมื่อชาวบ้านทราบก็พากันมา และบอกให้คณะของเราพักอยู่ที่นี่ และขอให้พวกเราจำพรรษาที่นี่เลย พวกชาวบ้านก็พากันขอร้องให้คณะของพวกเราจำพรรษาอยู่ที่นี่ แต่พวกเราก็นิ่งไม่รับปาก พวกชาวบ้านก็พากันเอาข้าวสารมาใส่ไว้เต็มโอ่ง พร้อมทั้งของแห้ง พริก หอม กระเทียม ไว้เป็นอันมาก พอตกกลางคืนพวกเราก็นั่งเข้าทีทำสมาธิในถ้ำแก้วกายสิทธิ์ เห็นพระในสมาธิ ท่านบอกว่าให้ทำสมาธิให้มากๆ แล้วจะดีเองพวกเราพักอยู่ที่ถ้ำแล้วกายสิทธิ์หลายคืน เมื่อถึงตอนเช้าก็มีพวกชาวบ้านพาพวกเราออกบิณฑบาตร ด้วยอยากจะให้พวกเราจำพรรษาอยู่ที่นี่ วันนั้นเป็นวันใกล้มาฆะบูชา คือวันโกน พวกเราจึงพากันปลงผมที่ถ้ำนั้น และคืนพรุ่งนี้ก็เป็นวันเพ็ญอาจมีลูกแก้วออกมาให้เห็นก็ได้ ชาวบ้านบอกอย่างนั้น และบอกอีกว่า ลูกแก้วนี้จะออกมาในเวลาเที่ยงคืน ตกกลางคืนพวกเราก็พากันเวียนเทียนและนั่งสมาธิ อยู่ ณ. ถ้ำนี้ เมื่อเลิกนั่งพระกรรมฐานแล้ว ก็คอยจนถึงเที่ยวคืนเพื่อคอยดูลูกแกล้วออกจากถ้ำ จนเลยเที่ยงคืนแล้วก็ไม่เห็นลูกแก้วลอยออกจากถ้ำ เมื่อคณะของเราพักอยู่ที่ถ้ำแก้วกายสิทธิ์อยู่นั้น พวกชาวบ้านก็มารบเร้าขอหวยกันมาก และมีชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่า คนที่นี่บ้าหวยกันมากชอบขอพระจนพระอยู่ไม่ได้เลยกลายเป็นวัดร้าง เมื่อชาวบ้านกลับไปแล้วคณะของเราก็นั่งทำสมาธิในเวลากลางคืนนั้น ในคืนนั้นก็นั่งสมาธิเห็นพระธุดงค์ เดินสะพายบาตรแกกลดฝ่าดงหญ้าคาไป และพระธุดงค์ในนิมิตก็บอกว่า ในสมัยท่านเดินทางไม่มีถนนอย่างนี้ ต้องเดินไปในป่าบ้าง เดินไปตามดงหญ้าคาบ้าง และระหว่างทางก็มีสัตว์ร้ายมากมาย ถ้าไม่เก่งพอตัวก็เอาชีวิตไม่รอด พอถึงเวลาเช้ามืดพวกคณะของเราก็รีบเก็บกลด และรีบออกจากที่นั้นเพื่อหนีชาวบ้าน ที่มาขอร้องให้จำพรรษาอยู่ที่นี่ พวกเราเดินออกจากถ้ำมาตามทางลูกรัง มีหมาเห่าตลอดทางที่พวกเราเดินทาง ไปสว่างที่กลางทางใกล้กับหมู่บ้านหนึ่ง ที่ตำบลจรเข้สามพัน ก็เลยบิณฑบาตรที่หมู่บ้านนี้ แล้วก็หาที่พักฉันอาหารเช้ากัน พอตกกลางคืนก็เดินไปให้ห่างหมู่บ้านประมาณ 500 ชั่วธนู หาที่ปักกลด ณ ที่นั้นเอง

เมื่อถึงตอนหัวค่ำชาวบ้านก็เอาน้ำปานะมาถวาย เมื่อชาวบ้านกลับไปแล้วพวกเราก็พากันนั่งสมาธิกันในสมาธินั้นเห็นหลวงปู่ของวัดพลับท่านมาต่อว่าดุเอา ว่า มีอย่างที่ไหนเป็นพระรุขมูลมาปักกลดอยู่ใกล้หมู่บ้านคนพวกเอ็งกลัวอดหรือ พอรุ่งเช้าพวกเราก็เก็บกลดออกบิณฑบาตรแล้วก็เดินต่อไป แต่ครั้งนี้มิกล้าที่จะปักกลดใกล้หมู่บ้านเลย เพราะกลัวหลวงปู่ท่านจะมาต่อว่าอีก  เมื่อมาถึงกลางทางใกลเย็นจึงหาที่ปักกลด เมื่อจะปักกลดนั้นได้มีพวกชาวบ้านมาบอกว่า มีที่พักอยู่ที่หนึ่งเป็นที่พักที่ชาวบ้านทำไว้สำหรับพระธุดงค์ ว่าแล้วก็นำคณะของพวกเราเดินทางไปประมาณ 1 กิโลเมตร จนถึงที่พัก เลยถนนมามากและเป็นที่เงียบสงัด ล้อมไปด้วยป่า ที่นั้นชาวบ้านเรียก บ่อน้ำทิพย์
 

บ่อน้ำทิพย์

 

วันที่ 27 – 27 กุมภาพันธ์ 2529

เมื่อมาถึงที่ บ่อน้ำทิพย์ มีศาลาเล็กๆ หลังหนึ่งที่ชาวบ้านสร้างไว้ และก็มีชาวบ้านมาช่วยกันตักน้ำกินน้ำใช้มาใส่โอ่งไว้ที่ใต้ศาลา พอตกกลางคืนพวกคณะของเราก็รวมตัวกันสวดมนต์เย็นบนศาลานั้น แล้วก็นั่งเจริญกรรมฐาน รุ่งเช้าพวกคณะของเราก็ออกบิณฑบาตรกัน เมื่อฉันเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีหญิงชราอายุประมาณ 80 ปี เข้ามาหาคณะของเราบนศาลาบ่อน้ำทิพย์ และได้สนทนาเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องธรรมด้วย แล้วหญิงชรานั้นก็เล่าว่า เมื่อแกยังเป็นอายุประมาณ 10 กว่าขวบ ที่ตรงนี้ยังเป็นป่ารกมากกว่านี้ และมี ธารน้ำไหลตลอดทั้งปี แต่มาเดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีน้ำเลย เพราะคนตัดไม้ทำลายป่ากันมาก แกยังเล่าต่อไปอีกว่า เมื่อก่อนแม่ใช้ให้ไปหาฟืนมาหุงต้ม มักจะสั่งว่าให้เก็บแต่ฟืนแห้งๆ มา ห้ามไปตัดไม้ที่ยังไม่แห้งมา ถ้าเอาไม้ไม่แห้งมาถือว่าไม่รักป่า แกบอกว่าสมัยก่อนโน้น เขาฮักนับถือป่ากันมาก พวกคณะของเราก็ถามแกว่า หมายความว่าอย่างไร แกก็บอกว่า คนสมัยนั้นหวงแหนป่ามาก มักสอนให้ลูกหลานไม่ให้ทำลายป่า เพราะกลัวจะไม่มีน้ำทำนา ไม่มีปลาจะกิน แกบอกว่าเขาสอนเป็นคำกลอนดังนี้
บ่นับถือป่า         บ่มีคงคา             บ่มีปลาทอง        บ่มีแม่โพสพ

หมายความว่าคนสมัยก่อนโน้นถ้าไปตัดไม้ทำลายป่าแล้ว เรียกว่าเป็นคนเนรคุณ ไม่รู้จักคุณของป่าเมื่อป่าไม้หมด น้ำก็จะไม่มี เมื่อน้ำไม่มีก็ไม่มีปลาจะกิน เมื่อไม่มีน้ำก็จะปลูกข้าวไม่ได้ และจะไม่มีข้าวกินนี่เป็นคำสอนของคนไทยโบราณแถวเพชรบูรณ์ สอนกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว เรียกว่าคนสมัยเมื่อร้อยปีก่อนทราบดีว่าป่าเป็นต้นกำเนิดของน้ำ เมื่อมีป่าก็มีน้ำ เมื่อไม่มีน้ำก็ไม่มีป่า ขาดน้ำก็ขาดปลา ทำนาก็ไม่ได้ข้าวไม่มีกิน ฉะนั้น คนสมัยก่อนจึงรักป่ากันมาก หรือที่เรียกว่า “นับถือป่า”

แกยังเล่าต่อไปอีกว่าคนสมัยก่อนนับถือพระแม่โพสพมาก และบอกว่าแม่โพสพนั้นท่านมีบริวารมาก เช่นแม่ยายกะลา แม่ตากะลี แม่สีจำปา แม่แจ่มจันทร์เทวี นางสร้อยมณีลัญ นางจันมณีลา แกบอกว่าคนเหล่านี้คือบริวารของพระแม่โพสพ

ต่อมาแกยังเล่าอีกว่าเมื่อชาวนาดำนา และข้าวงอกงามดีแล้ว เรียกว่าเวลาข้าวเขียว ก็จะมีการนำของไปเลี้ยงไปแต่ง แม่โพสพ โดยมี ปลาตะเพียนทำด้วยใบมะพร้าว กล้วยอ้อย น้ำมัน ส้ม ไปเลี้ยง แม่พระโพสพ มีการแต่งธาตุด้วยคือการทำให้ธาตุทั้ง 4 สมดุลกัน เมื่อแกเล่าจบก็ได้เพลาเย็นแกก็กลับไป

พอตกเย็นพวกเราก็รวมกันทำวัตรเย็นแล้วก็แยกย้ายกันไปนั่งเจริญภาวนา เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิก็เห็นก้อนอิฐในป่าแถบนี้ มีรูปพระสงฆ์นั่งพระกรรมฐานอยู่ในก้อนหิน ก็ส่งจิตไปคุยกับท่านถามว่าท่านชื่ออะไร ท่านบอกว่าจะเรียกท่านอะไรก็ได้เพราะทุกอย่างเป็นของสมมุติ แล้วท่านก็บอกว่าท่านเป็นพระเมื่อสมัยพันปีมาแล้ว ท่านบอกว่าพะรสมัยนั้นได้มรรคได้ผลกันมาก และส่วนมากก็จะมีอภิญญาด้วย และท่านยังบอกอีกว่าคนในสมัยนั้นนับถือพระรัตนตรัยยิ่งชีวิต ท่านบอกว่าพระส่วนใหญ่เล่าเรียนกันในทางปฏิบัติ สมถะ – วิปัสนากันมาก อย่างต่ำที่สุดก็ได้อภิญญาสมาบัติ เมื่อพวกเราออกจากสมาธิแล้วก็ไปฉันน้ำชา ที่ทำจากใบไม้ที่คนมาเก็บให้ เอามาย่างไฟ แล้วก็เข้ากลดนั่งทำสมาธิต่อ เลิกนั่งสมาธิแล้วก็เข้าจำวัด ตอนเช้ามืดพวกคณะของเราก็มารวมตัวกันทำวัตรสวดมนต์ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็พากันแยกย้ายออกบิณฑบาต แล้วกลับมาฉัน เมื่อฉันเสร็จพักผ่อนเล็กน้อยก็เก็บกลดออกเดินทางต่อไป แล้วพักกลางวันที่กลางทาง เมื่อแดดร่มลมตกก็ออกเดินทางต่อไป
 

ปักกลดที่ป่าช้าผีดิบ

2 มีนาคม พ.ศ. 2529

เมื่อเดินไปนั้นคณะของเราก็เดินภาวนาไปด้วย คำภาวนาว่า “เมตตาสัพพะโส” เป็นการเดินแผ่เมตตาที่ท่านโบราณจารณ์ท่านสอนไว้อย่างนี้ เป็นการเดินภาวนาขอทางและแผ่เมตตาให้กับสัพพะสัตว์ทั้งหลาย และเป็นการทำสติปัฏฐานไปในตัวด้วย เมื่อแดดร่มลมตกเวลาประมาณ 5 – 6 โมงเย็น พวกคณะของเราก็หาที่ปักกลดเพื่อจะค้าแรม เมื่อกำลังเดินหาที่ปักกลดอยู่นั้นก็มีชายคนหนึ่งมาบอกว่า ท่านอาจารย์จะหาที่ปักกลดหรือ พวกเราก็บอกว่าใช่ ชายผู้นั้นก็บอกว่า ให้ไปปักกลดที่ป่าช้าเพราะเป็นที่เงียบสงัด เลยจากถนนนี้ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อคณะของเราเดินไปถึงที่นั้นก็เห็นเป็นป่าเงียบสงัด มีต้นไผ่ล้อมรอบในป่านั้นมีหลุมศพมากมายทั้งที่ขุดไปแล้วทั้งที่ยังมิได้ขุด ยิ่งเข้าไปลึกก็รู้สึกวังเวง เพราะห่างไกลบ้านผู้คนมาตั้ง 2 กิโลเมตร มีศาลาเล็กๆ สำหรับตั้งศพอยู่หลังหนึ่ง และเลยไปประมาณ 20 เมตร ก็มีเมรุแบบโบราณสี่เสา เสานั้นใหญ่สองคนโอบ ตรงกลางมีเชิงตะกอนก่อด้วยอิฐ ในสถานที่นั้นล้อมรอบด้วยป่าไม้ต่างๆ มีต้นยางสูงตระหง่าน ต้นงิ้ว มีต้นไผ่ล้อมรอบป่า พวกคณะของเราก็ไปแขวนกลดที่ศาลาตั้งผีนั้นซึ่งเป็นศาลาเก่าๆ เมื่อแขวนกลดแล้วก็กางมุงกลด แล้วก็พากันไปเก็บเอาก้อนอิฐที่เมรุมาทับตีนมุ้งกลดเรพาะลมแรงมากและอากาศก็หนาว ลมพักใบไผ่ดังหวีดหวิว เหมือนคนร้องน่าสะพึงกลัว เสร็จแล้วพวกเราก็รวมตัวกันทำวัตรเย็น เมื่อทำวัตรเสร็จแล้วก็ไปเก็บอิฐที่หล่นกระจายข้างเมรุมาสามก้อนวางเป็นสามเส้าสำหรับต้มน้ำชาดื่มกัน เพราะมีคนมาถวายมาเมื่อตอนกลาววัน เมื่อดื่มน้ำชาเรียบร้อยก็เข้ากลดนั่งเจริญกรรมฐานกัน ยิ่งดึกลมยิ่งพัดจัดและแรงมาก และก็หนาวมากขึ้นจน ตี 1 กว่าพวกเราก็ตื่นเพราะนอนไม่หลับเพราะมันหนาวมาก ยิ่งดึกเสียงลมพัดต้องใบไผ่ดังหวีดหวิวมากกว่าตอนหัวค่ำ เลยต้องลุกขึ้นมานั่งสมาธิกัน พอใกล้สว่างก็พากันทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วต่างคนต่างก็เดินจงกรม พอรุ่งเช้า 6 – 7 โมง หมอกลงจัด ยังมืดอยู่พวกเราคอยจน 8 โมงเช้า หมอกก็ยังไม่จางซ้ำฝนยังตกปรอยๆ อีกด้วย 8 โมงเช้าแล้วท้องฟ้านั้นก็ยังไม่สว่าง แต่พวกเราเห็นสายมากแล้วจึงออกบิณฑบาตรปรากฎว่า เวลานั้นหนาวมากชาวบ้านยังไม่มีใครตื่น จึงไม่มีใครมาใส่บาตร เราก็กลับมาที่ศาลาด้วยบาตรเปล่า จึงต้มน้ำชาฉันกัน เพราะไม่มีข้าวจะฉัน นึกในใจว่าวันนี้ต้องอดข้าวแน่ พอดีกันนั้นเองก็มีชายหนุ่มคนหนึ่ง เดินตรงมาที่ศาลาที่เราพักอยู่ เมื่อมาถึงชายคนนั้นก็ถามคณะของเราว่า เห็นวัวผมไหม พวกเราบอกว่าไม่เห็น แล้วชายผู้นั้นก็ถามว่าท่าฉันข้าวเช้าหรือยัง พวกเราก็บอกว่าวันนี้ออกบิณฑบาตรแต่ไม่ได้ข้าวสักเม็ด ชายคนนั้นจึงบอกว่า ที่นี่อากาศแบบนี้ 8 – 9 โมงเช้าเขายังไม่ตื่นกันเพราะหนาวมากและหมอกลงจัดด้วย เมื่อชายผู้นั้นรู้ว่าพระยังไม่ได้ฉันข้าว ก็วิ่งกลับไปบ้านสักครู่ใหญ่ ชายผู้นั้นจึงมาพร้อมด้วยปิ่นโตประมาณ 5 ชั้น แล้วชายผู้นั้นก็นำปิ่นโตมาถวายพระ เมื่อพวกเราเปิดปิ่นโตออก ในนั้นก็มีข้าวเหนียว 2 ชั้น ผักดองชนิดต่างๆ 2 ชั้น อีกชั้นหนึ่งมีน้ำปลากใส่พริกป่น เมื่อประเคนแล้วเราจึงสวดอนุโทนาให้พรโยม แล้วสวดพิจารณาอาหาร แล้วจึงฉันอาหารมื้อนี้โยมได้อานิสงฆ์มากเพราะพวกเรากำลังหิวมาก เพราะวันหนึ่งฉันมื้อเดียว เมื่อชายคนนั้นจะกลับก็บอกกับพวกเราว่า ให้เอาปิ่นโตไว้ที่ศาลานี้ เดี๋ยวเขามาเก็บเอง เมื่อเราฉันเสร็จแล้ว สักครู่ก็พากันนั่งสมาธิสักครู่จึงพากันเก็บกลดแล้วเริ่มเดินทางไปหาที่สงบวิเวกต่อไป เราเดินทางมาหลายวันจึงเข้าพักที่อำเภอหล่มสัก หนึ่งคืน จากหล่มสักพวกเราก็คิดว่าจะเดินทางไปค้างที่ ศูนย์พัฒนาศาสนา แคมป์สน เพราะเป็นที่สงบเวียบและอากาศดี เขาเรียกกันว่า สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย  พวกเราเดินทางมาหลายวันพักกลางทางมาเรื่อยๆ เหลือระยะทางอีกไม่ไกลก็จะถึง แคมป์สน ดินแดนแห่งความสงบเงียบ
 

พวกโอปะปาติกะทีแคมป์สน

4 มีนาคม 2529

พวกเราทั้งคณะเมื่อฉันอาหารบิณฑบาตรแล้ว ก็เดินทางมาอีกระยะประมาณ 2 – 3 กิโลเมตรจนถึงแคมป์สน อยู่ระหว่างหล่มสักไปพิษณุโลก จะไปแคมป์สนนั้นเดินลำบาก เพราะทางที่ไปมีแต่ภูเขา

เมื่อคณะของเรามาถึงปากทางเข้าแคมป์สนนั้น ก็มีเรื่องแปลกประหลาดมากมาย ดังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

เมื่อคณะของเราเดินทางมาถึงปากทางเข้าแคมป์สน ศูนย์พัฒนาศาสนา ก็ได้ยินเสียงๆ หนึ่งดังลอยลมมาว่า “ขอเชิญพวกท่านเข้ามาพักในสถานที่นี้ให้สบายเถิด” พวกคณะของเราก็ได้ยินกันก็ถามกันว่าได้ยินอะไรไหม ก็นึกประหลาดใจ พวกเราเดินเลี้ยวเข้าไปในทางที่จะเลี้ยวเข้าแคมป์สน ก็เห็นรูปปั้นพ่อขุนผาเมือง ก็ส่งกระแสจิตไปที่ พระรูปปั้นพ่อขุนผาเมือง ก็ทราบได้ทันที่ว่าเสียงที่ได้ยินเมื่อครู่นี้มาจากวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ภายในรูปปั้นนั้น เป็นเสียงที่นิมนต์ให้พักในที่นี้ เมื่อเดินมาถึงรูปปั้นพ่อขุนผาเมือง จึงนั่งพักดื่มน้ำเมื่อหายเหนื่อยแล้ว จึงพากันเดินลึกเข้าไปที่เจดีย์อิสรภาพ พระนเรศวรมหาราช ที่พวกเรามองเห็นแต่ไกลๆ เมื่อมาถึงเจดีย์นั้น พลันก็ได้เยินเสียงลอยลมมาว่า “ขอเชิญท่านญาณทั้งสองพักที่นี่ให้สบาย” คือคณะของเราเมื่อมาถึงแคมป์สน เหลือเพียง 2 ท่าน นอกนั้นแยกกันเดินทางไปตามอัธยาศัย ด้วยประสพการณ์เราจึงรู้ว่าเสียงนี้มาจากเทพที่สิงสถิตอยู่ในเจดีย์อิสรภาพ พระนเรศวรมหาราชนั้นเอง จากนั้นพวกเราก็เดินไปยังศาลาโรงอาหาร เมื่อมาถึงโรงอาหารก็พบพระชรารูปหนึ่ง พวกเราก็เข้าไปกราบท่านๆ ก็พูดกับเราว่า “ฉันนั่งคอยท่านมาตั้งครึ่งชั่วโมงแล้วคอยฉันข้าวพร้อมกัน” เมื่อเราฟังแล้วก็รู้สึกประหลาดใจ ว่าท่านรู้ได้อย่างไรว่าเราจะมากัน แต่ก็ยังไม่กล้าถามอะไรมาก ก็เลยฉันข้าวกับท่าน ต่อมาเมื่อคุ้นเคยกันดีแล้วก็ได้สนทนากับท่าน ท่านจึงเล่าว่า ก่อนที่ท่านทั้งสองจะมานั้น อาตมาได้นั่งกรรมฐานอยู่ก็เกิดนิมิตว่า “พรุ่งนี้ตอนเพลจะมีพระมาที่นี่สองรูป” ฉะนั้นตอนเพลวันนี้ท่านจึงนั่งคอย เมื่อท่านคุยให้เราฟังเราจึงทราบ และท่านยังบอกอีกว่าเหมือนเทพยดามาบอกอย่างนั้นแหละ เมื่อพักอยู่แคมป์สนนั้นพวกเราได้สนทนาธรรมกับ อาจารย์พร รัตนสุวรรณ ผู้ริเริ่มก่อตั้งแคมป์สน แล้วต่อมายกให้อยู่ในความดูแลของ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และที่นั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ “ศรีเพ็ญ” เก่งทางด้านจิตรกรรมฐานมาก เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์พร  รัตนสุวรรณ พวกคณะของเราได้อาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ที่แคมป์สนหลายราตรี

เมื่อคณะของเราพักอยู่ที่แคมป์สนปฏิบัติธรรมเพราะเป็นที่ร่มเย็น เงียบสงัด และสนทนาธรรมกับอาจารย์พร เกือบอาทิตย์ และได้ลาเจ้าของสถานที่กลับ

ขากลับได้เดินทางมาถึงรูปปั้นพ่อขุนผาเมือง ก็กล่าวลาที่รูปปั้นท่านว่า “ลาก่อนนะพ่อขุน” พลันก็ได้ยินเสียงลอยลมมาว่า “ขอให้เจริญในธรรมนะท่าน” พวกเราก็รู้เพราะประสพการณ์  ที่ผ่านมาว่าเสียงนี้เป็นเทพวิญญาณที่อยู่ในรูป พ่อขุนผาเมือง และจากนั้นพวกเราที่เหลือสององค์ก็เดินทางต่อไปเพื่อไปนมัสการพระพุทธชินราช ที่ จังหวัดพิษณุโลก เดินพักแรมมาเรื่อยๆ เพราะทางที่มานั้นเป็นภูเขาเดินลำบาก
 

ศาลเจ้าพ่อขุนเณร

วันที่ 14 – 16 มีนาคม 2529

ต่อมาเมื่อพวกเราเดินทางมาใกล้ศาลเจ้าพ่อขุนเณร และในระหว่างทางเกิดปวดท้องเบา จึงจะไปหาที่จะไปเบาจึงพบต้นมะขามใหญ่อยู่ใกล้จากริมทางประมาณ 50 เมตร จึงตรงไปที่ต้นมะขามยักษ์นั้นหมายจะเบา เมื่อมาถึงที่ต้นมะขามนั้น จะเข้าไปนั่งเบาพลันก็ได้ยินเสียงลอยลมออกมาว่า “ขอนิมนต์ท่านทั้งสองพักที่ร่มเงาไม้นี้ให้สบายเถิด” เมื่อพวกเราได้ยินเสียงนั้นก็รูว่าเป็นรุกขเทวดา ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นมะขามยักษ์นี้เลยไม่กล้าไปเบาที่โคนต้นมะขามนั้น เลยหันออกไปหาที่เบาใหม่ เมื่อเบาแล้วจึงมาพักที่ใต้ต้นมะขาม กลางทางระหว่างเมืองเพชรบูรณ์ และเมืองพิษณุโลก พักสังครู่ก็มีโยมนำเอาน้ำดื่มมาให้ดื่มเมื่อดื่มแล้วก็ให้พรโยมแล้วก็เดิน ทางต่อไป จนถึงศาลเจ้าพ่อขุนเณร ก็ส่งกระแสจิตสมาธิไปที่ศาลเจ้าขุนเณร ก็มีเสียงบอกมาว่าเมื่อท่านทั้งสองจะเข้าไปพัก ให้ระวังเจ้าอาวาสหน่อยเพราะท่านพูดเสียงดัง เพราะหูท่านตึง เมื่อเข้าไปหาที่เจ้าอาวาสก็จริงอย่างที่ โอปะปาติกะ พ่อเจ้าขุนเณรว่า เราก็พักค้างแรมที่นั้นหนึ่งราตรี ตอนเช้าเราก็ออกเดินบิณฑบาตรและแถวที่เราพักอยู่มีสำนักวิปัสสนามากมาย และระหว่างศาลเจ้าพ่อขุนเณรจะไปเมืองพิษณุโลกก็ตกประมาณ 20 กิโลเมตร พวกเราก็กะว่าจะเดินให้ถึงวันเดียว เมื่อฉันอาหารแล้วก็เริ่มเดินทางเมื่อเริ่มเดินทางไปได้ 10 กิโลเมตร เราก็หาที่ร่มรื่นเข้าพักกลางวันพอใกล้บ่าย 2 – 3 โมงแดดร่มลมตกแล้ว เราก็เริ่มเดินทางต่อเดินไปพักไปจนถึงเมืองพิษณุโลก และได้เข้าบิณฑบาตรโดยสะดวกในตัวเมือง แล้ว ก็เลยไปกราบนมัสการหลวงพ่อพระพุทธชินราช ที่พระธุดงค์ทุกองค์ปรารถนาจะไปกราบไหว้ เมื่อพวกเราเดินออกไปห่างเมือง 1 กิโลเมตร ก็หาที่เงียบสงบปักกลดค้างแรมอยู่ 1 ราตรี พอใกล้รุ่งเราก็ตื่นขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วจึงเก็บมุ้งกลดมุ่งหน้าเข้าเมืองพิษณุโลกเพื่อบิณฑบาตร ในตัวเมืองเราบิณฑบาตรได้ข้าวมากมาย ก็เดินออกจากตัวเมืองมาหาที่ฉัน เสร็จแล้วก็เดินทางมาที่องค์พระพุทธชินราชอีก แล้วก็สวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสงฆคุณ เสร็จแล้วก็นั่งเข้าสมาธิต่อเฉพาะพระพักตร สมเด็จพระพุทธชินราช นั่งอยู่ภายในวิหารจิตสงบดีมาก ทั้งนี้เป็นด้วยอำนาจพระพุทธคุณในองค์พระพุทธชินราช เมื่อแดร่มลมตกแล้ว เราจึงเดินทางต่อไป จุดหมายปลายทางของเราก็คือ เมืองสุโขทัย เพื่อเดินทางไปนมัสการ วัดพระธาตเก่าเมืองสุโขทัย และไหว้พระอัจจะยะ พระใหญ่ที่วัดศรีชุม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดฤาษีชุม
 

ไปไหว้พระใหญ่ ที่วัด ศรีชุม

25 มีนาคม 2529

กล่าวว่าในสมัยก่อนที่นี่เป็นที่ชุมนุมของฤาษี สถานที่เหล่านี้พวกพระรุกขมูลชอบเดินทางมานัสการกันมาก เพราะถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และปูชณียสถานเก่าแก่

เมื่อเดินทางออกจากศาลเจ้าพ่อขุนเณรรอนแรมมาได้ 3 – 4 วัน ก็ลุถึงเมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองใหม่ เราก็ค้างแรมห่าออกตัวเมืองไปประมาณ 2 กิโลเมตร ปักกลดแล้วก็ทำกิจปกติ รุ่งเช้าก็เดินทางเรื่อยๆ มาเพื่อบิณฑบาตรในตัวเมืองสุโขทัยแต่มาไม่ถึงตัวเมืองบาตรก็เต็มก่อนพวกเรา จึงกลับที่พักฉันอาหาร เสร็จแล้วพวกเราก็เดนทางไปยังสุโขทัยเก่า ห่างออกจากสุโขทัยใหม่ไปประมาณ 12 กิโลเมตร เดี๋ยวนี้เป็นวนอุทยาน เดินไปพักไปประมาณ 2 วันก็ถึง สุโขทัยเมืองเก่า พวกเราก็พักค้างแรมอยู่ในวนอุทยานเมืองสุโขทัยเก่านั้น พอตกเย็นก็มาทำวัตรหน้าวัดพระธาตุเก่าเมืองสุโขทัย รุ่งเช้าก็ออกบิณฑบาตรหน้าเมืองเก่าสุโขทัย ฉันแล้วก็นั่งเจริญกรรมฐานในกลด พอสายหน่อยพวกเราก็จะเดินทางไปไหว้พระใหญ่ที่วัดศรีชุม หรือวัดฤาษีชุม เหตุที่เรียกวัดฤาษีชุมเพราะที่นี่เมื่อก่อนเป็นที่อยู่ของฤาษีมากมาย มีฤาษีเป็นหัวหน้าใหญ่สี่ตน นัยว่า เป็นคนในาชวงศ์พระร่วง มาออกบวช ฤาษีทั้ง 4 ตนชื่อดังนี้

1.       ฤาษีสุกันตะ

2.       ฤาษีสุกันทะ

3.       ฤาษีสุชน

4.       ฤาษีสุริย์

เหตุนี้วัดนี้จึงชื่อว่าวัดฤาษีชุม ต่อมาเพี้ยน เป็นวัดศรีชุม เมื่อคณะของเราเดินทางออกจากอุทยานกรุงเก่า พวกเราเดินทางเรื่อยๆ มาก็ถามคนมาเรื่อยๆ ว่าวัดศรีชุมไปทางไหน เพราะเราไม่เคยมา เพราะเป็นครั้งแรก เมื่อพวกเราเดินมาถึงปากทางเข้าวัดศรีชุม เมื่อเดินมาได้เล็กน้อยก็ปรากฏมีเสียงลอยลมมาจากวัดศรีชุม ดังนี้ “มีเสียงพระชะยันโต มีเสียงฆ้องชัย และเสียงไชโยโห่ร้องของผู้คนมากมายดังมาก” พวกเราจึงถามว่าที่นี่มีงานหรือไง จึงมีเสียงพระชยันโต เสียงไชโยโห่ร้อง พวกเราเดินมาเรื่อยเมื่อใกล้วัดศรีชุมเสียงนั้นก็หายไป เมื่อเข้าไปในวัดก็ไม่เห็นมีงานอะไร ไม่มีผู้คนไม่มีงาน จึงแปลกใจกันว่าเสียงนั้นมาจากไหน แล้วก็เก็บความสงสัยไว้ในใจ ก็เข้าไปในวิหารหลวงพ่ออัจจะยะ กราบนมัสการท่าน พักอยู่สักครู่เจอโยมคนหนึ่งอายุมากแล้วก็เข้ามาคุยกับโยม โยมแก่คนนั้นก็เล่าให้ฟังว่า สมัยโบราณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เคยมาทำนำพิพัฒสัตยาที่นี่ เมื่อเราฟังเช่นนั้นก็รู้ว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงในอดีตที่มาปรากฏให้ได้ยินเสียง ดังที่กล่าวในพงศวดารว่า ……….

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา ก็มีข่าวแจ้งมาว่าพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกเป็นกบฏ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ จึงเสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบเดินทางมาผ่านเมืองสุโขทัย ครั้นถึงเมืองสุโขทัยเมืองเก่า ก็เสด็จไปตั้งทัพรออยู่ที่วัดศรีชุม จึงมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ชาวพ่อพราหมณ์ ชุมนุมพรามณาจารย์ แล้วให้ไปเอาน้ำในบ่อพระสยมภูนาถ และเอาน้ำที่ตระพังโพยศรีมา มาตั้งบูชาต่อหน้าพระพักตรพระอัจจะยะ ทำพิธีกรรมสัตยาธิฐาน เอาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นประธาน ให้ท้าวพระยา -  เสนาบดี มุขมาตร์ ทหารทั้งหลายดื่มกินน้ำสัตยาแล้ว จึงยกทัพไป ณ วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 และนี่เป็นที่มาของเสียงนั้น ดังที่มีปรากฏในพงศวาดาร
 

     (จบการธุดงค์ประจำปี พ.ศ. 2529 คัดเอาเฉพาะเรื่องสำคัญ)

22 กุมภาพันธ์ 2533

ปีนี้พวกเราได้พาคณะออกะองค์อีกเช่นเคย โดยเริ่มเดินทางไปทางจังหวัดราชบุรี ถึงตำบล ชัฎป่าไม้ เห็นบ้านร้างหลังหนึ่งในเย็นวันนั้นคณะของเรา จึงได้พักที่บ้านร้างนั้น ปักกลดเรียบร้อยสักครู่ก็เห็นญาติโยมเดินมาเป็นทิวแถว ต่างคนต่างถือน้ำปานะมามากมาย ตั้งแต่เย็นถึงเวลาหนึ่งทุ่ม ญาติโยมขอให้สอนกรรมฐานเราก็บอกวิธีนั่ง แล้วให้ภาวนาว่า พุมโธ โยมนั่งกันเงียบสักครู่ประมาณสักหนึ่งชั่วโมง จึงเลิก และเล่าอารมณ์กรรมฐานให้พวกเราฟัง แล้วช่วยบอกวิธีแก้ไขให้แล้วญาติโยมก็ลากันกลับไป รุ่งเช้าก็นำอาหารมาถวายที่กลดจากนั้นควกคณะของเราก็เดินหาความสงบวิเวกต่อไป

23 กุมภาพันธ์ 2533

คณะของเราได้เดินทางมาเรื่อยๆ พอตกเย็นก็ถึงภูเขาสองลูกเล็กๆ ณ ตำบลทุ่งแหน ราชบุรี พวกเราก็พากันปักกลดอยู่ที่เชิงเขานั้น เวลาค่ำก็พากันสร้างน้ำที่ธารน้ำช้างภูเขา เวลานั้นได้มีตายายสองคนได้นำเอาน้ำปานะมาถวายและเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง โดยบอกว่าที่เขาสองลูกนี้มักมีพระธาตุลูกสีเขียวๆ ลอยออกมาและแกได้พบบ่อยๆ แล้วแกก็สนทนาธรรมกับเราจนใกล้ค่ำจึงกลับไป พวกคณะของเราก็พากันสวดมนต์ทำวัตรนั่งกรรมฐาน พอตอนเช้า สองตา – ยาย ก็นำเอาอาหารมาถวาย แล้วบอกว่า ตอนเพลขอพวกท่านอย่าเพิ่งไปจะมาถวายอีก คณะของเราก็อยู่คอย แล้วตอนบ่ายก็เดินทางต่อไป

24 กุมภาพันธ์ 2533

พวกเราเดินทางมาถึงป่าหวาย จึงหวัดราชบุรี ทันทีนั้นญาติโยมรู้ว่าเรามาจากวัดพลับ ก็เลยนำพระวัดพลับออกมาให้ดูแล้วถามพวกเราว่าแท้หรือไม่แท้ พวกเราก็บอกว่าแท้ไม่แท้ก็ใช้ได้ ขอให้ถือเอาองค์พระเป็นพุทธานุสสติ เอาพระกำไว้แล้วให้ภาวนาพุทโธ โยมก็ทำตามสั่งครู่เมื่อเลิกแล้ว พวกโยมก็พากันกลับบ้าน เราก็เดินทางกันต่อไป

25 กุมภาพันธ์ 2533

เมื่อเดินทางมาถึงท่าตะโกพักที่นั้น พวกโยมรู้ก็พากันตัดเอาอ้อยคั้นเอาน้ำมาถวาย พัก 1 คืน ก็เดินทางต่อ

28 กุมภาพันธ์ 2533

เมื่อเดินทางมาถึงอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้ปักกลดที่ป่าใกล้เขาพระศรีสรรเพชร ตอนเย็นก็มีชาวบ้านมาพบปะพูดคุยกัน ญาติโยมก็ขอให้พวกเราสอนการนั่งกรรมฐานให้ นั่งสักครู่ญาติโยมก็ให้เราทำน้ำพระพุทธ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2014, 02:50:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

The-ring

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
    • ดูรายละเอียด
เรื่องธุดงค์ น่าอ่าน มาก ๆ เลยครับ

มีเรื่อง จาริก ของพระอาจารย์ให้อ่าน  หรือป่าว ครับ

 :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2014, 02:51:23 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์


"หากไม่มีลูกศิษย์ คนใดที่ระลึกนึกถึงคุณของครูอาจารย์ที่สอนกรรมฐานให้เลย ก็แสดงว่าคุณธรรมไม่เกิด ประตูแห่งวิจิกิจฉา ยังปิดอยู่จึงไม่พบสัจจธรรมที่มีในคุณแห่งครู ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ เปรียบเหมือน พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติสายโลหิตท่านหนึ่ง พระสารีบุตรเป็นอัครสาวก แต่ก็ยังเคารพในพระอัสสชิ เสมอมา พระราหุล ผู้เป็นศิษย์ก็ปฏิบัติต่อ พระสารีบุตร เหมือนพระสารีบุตรปฏิบัติต่อพระอัสสชิ ฉันนั้น ศิษย์กรรมฐาน ย่อมให้ความเคารพต่อครูผู้บอกและสอนกรรมฐาน ในยุคนี้ถ้าไม่มีครูเช่นดั่งหลวงพ่อจิ๊ว เราก็ไม่สามารถที่จะรู้จักครูในสายกรรมฐานนี้ได้เลย ดังนั้นกล่าวได้ว่า หลวงพ่อจิ๋วท่านเป็นครูและเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ ที่รักและเคารพในครูอาจารย์ เราเห็นพิพิธภัณฑ์ ที่ท่านได้จัดทำและสร้าง ก็ปีติน้ำตาไหลเพราะครูเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ อย่างนี้นี่เอง ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงเคารพในครูผู้บอกกรรมฐาน อย่างงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ให้สมกับชื่อ ว่าได้เป็นศิษย์ในสายพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2014, 03:06:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ประวัติ พระครูสิทธิสังวร   พระอาจารย์ จิ๋ว   ครับ :s_good: :welcome: :035: :035: :035:
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา