ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมโอสถ... อาการสามสิบสอง ธรรมกรรมฐานที่ใช้รักษาโรค ๓๒ ชนิด  (อ่าน 4500 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมโอสถ... อาการสามสิบสอง ธรรมกรรมฐานที่ใช้รักษาโรค ๓๒ ชนิด

คัดลอกข้อมูลจากกรรมฐานโบราณ จากหนังสือ " วิชากัมมัฏฐาน และคำสอนหลวงปู่ "เพื่อไขข้อข้องใจ และข้อเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับคำโบราณ "ธรรมโอสถ" ซึ่งใช้ธรรมะ(กรรมฐาน) เป็นโอสถในการรักษาโรคจริงๆ มิได้เป็นเพียงการปลงใจได้ในการรักษาใจตามที่เข้าใจกันอยู่เดิมเท่านั้น

อนึ่ง บทความต่อไปนี้เป็นเพียงหลักฐานยืนยันการมีอยู่จริงของวิชา ส่วนการฝึกฝนนั้น เนื่องจากเป็นวิชาที่มีรายละเอียดแยบคายมาก ผู้ฝึกจึงจำเป็นต้องมีครูกรรมฐานที่เข้าถึงแล้ว(ตั้งแต่ ห้อง 5 เป็นต้นไป) ทำการฝึกฝนให้ เพื่อป้องกันอุปาทาน และป้องกันอาการจิตวิปลาศ ซึ่งปัจจุบันพบจำนวนมากในประเทศ

อาการสามสิบสอง
ใช้รักษาโรค ๓๒ ชนิด


ธาตุดิน ๒๐ เกศา ผม โลมา ขน นะขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นะหารูเอ็น อัฏฐิ กระดูก อัฏฐิมิญชัง เยื้อในกระดูก วังกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต ปัปผาสัง ปอด อันตัง  ใส่ใหญ่ อันตุคุนัง ใส่น้อย อุททะริยัง อาหารใหม่  กะรีสัง อาหารเก่า มัตถะรุงคัง สมองศรีษะ
ธาตุน้ำ ๑๒  ปิดตัง น้ำดี  เสมหัง เสลด  ปุพโพ หนอง โลหิตัง เลือด เสดท เหงือ เมโท มันข่น อัสสุ น้ำตา
วะสา มันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงหานิกาน้ำมูก   ละสิกาไขข้อ มูตตัง น้ำมูต
กสิณ๑๐
๑. ปฐวี หม้อใหม่ เดินน้ำ
๒. อาโป น้ำใส ดำดิน
๓. เตโชเนื้อไป รักษาโรค
๔. วาโย ลมข้าวเปลือก บังหวน
๕. นีลัง เขียว
๖. ปิตัง เหลือง
๗. โลหิตัง แดงดอกชบา
๘. โอทาตะ ขาวน้ำเงิน
๙. อาโลก  ขาวเหมือนเงาน้ำต้องแดด  ทำให้สว่าง
๑๐. อากาศ เปล่าไม่มีอันใด  ผ่านฝากำแพง
อสุภกรรมฐาน ๑๐
๑. อุทธุมาตะกะ ซากผีพอง ทำใหญ่ ทำมาก
๒. วินิลกะ ซากผีเขียว กำบัง
๓. วิปุพพกะ ซากผีน้ำหนองไหล กำบัง เป็นน้ำท่วม
๔. วิทฉิททกะ เขาสับฟัน เป็นท่อนๆ ผีขาดสองท่อน แบ่งตัว แยกร่าง
๕. วิกขายิตะกะ กา หมา แร้ง กัดกินซากผี เสกเป็นแร้ง เป็นหมา ไล่ข้าศึก
๖. วิกขิตตกะ แยกเป็นท่อน หัวขาด ตีนขาด แยกมากๆ
๗. หตวิกขิตตกะ ขาดกระจัดกระจาย เขาเชือดเลือดทั้งตัวผี
๘. โลหิตกะ เขาเชือดเลือดทั้งตัวผี
๙. ปุฬุวะกะ หนอนกินซากผี ตามทวารทั้ง ๙
๑๐. อัฏฐิกะ ปรากฏ แต่กระดูกขาว   ปากประกาศิต
๗-๘-๙-๑๐ เป็นอนุโลม ปฏิโลม เป็นวาจาสิทธิ์ ถอยหลัง เล็กใหญ่
หตวิกขิตตกะ  โลหิตกะ ปุฬุวกะ  ถึงอัฎฐิกะ เข้าปฐมฌาน แล้วตรึกไป คือพูดเสียงที่เกิดในใจ
ตรึก(นึกความเป็นไป แล้ววางเฉย) แล้วจึงพูดออกมาเป็นวาจา  ให้เป็นธรรมชาติ เป็นมัชฌิมา
จึงเป็นประกาศิตแล
๑-๑๐ แก้ปัญหา แก้ความ ทำน้ำมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งหน้าผี ด้ายมัดผี ล้างหมดทำนิมิตจึงถึงกระดูก
ให้เป็นกระดูกผุหมดกระจายหายไปตามลม
๑๐-๑ ชนะหมด ล้างหมด   แก้คุณใส ทุกชนิด  แก้กระทำ
๑-๑๐, ๑๐-๑ แก้คุณใส
๑-๕ แก้อาถัน อาเพศ
๕-๑ แก้ที่อาถัน
๑-๕,๕-๑ เปิดกรุ
๕-๑๐ แก้บ้า
๑๐-๕  กันพายุ กันลม เสกด้วย เห เห ปฏิเสวามิ กันไฟ เสกนกคุ้ม กันลม กันฟ้า เสกลูกสะกด
๕-๑๐, ๑๐-๕ เมตตาเป่าเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:30:30 am โดย chatchay »
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อุเบกขา


อหัง  กัมมัสโก  โหมิ  เรามีกรรมเป็นของตน  สุขก็เป็นของตัว  ทุกข์ก็เป็นของตัว (เวทนา ทั้งหมด)ให้อยู่กลางๆเป็นอุเบกขา
อหัง  กัมทายาโท โหมิ   เรามีกรรมเป็นมรดก  มรกดกรรมคือ กรรมดี กรรมชั่ว  ให้ทำจิตเป็นอุเบกขา
อหัง กัมโยนิ โหมิ  เรามีกรรมเป็นกำเนิด    กรรมผูกมัดเรามาตั้งแต่ ปฏิสนธิ พร้อมเรา มีรูปสวยงาม จากกรรมดี รูปไม่สวย กรรมไม่ดี ให้ทำจิตเป็นอุเบกขา
อหัง กัมพันธู โหมิ  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์   เผ่าพันธุ์ของกรรมคือ กิเลส กรรม วิปาก  ให้ทำจิตอุเบกขา
อหัง กัมปฏิสรโณ โหมิ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  กาย อาศัยจิต  รูปอาศัย ธาตุ และจิตด้วย  ทำอุเบกขา
แก้ให้ขาดรสราคะ  จะให้ขาดรส ราคะ ปฏิสนธิ อย่าให้กายชีวิตเนื่องกัน ยกชีวิตให้พ้นกาย  คือยกจากที่ ๒ (สะดือ)ไปสู่ที่ ๓(หะทัย) ไม่ถึงที่ ๓ ก็ได้ พอพ้นที่ ๒
เข้าธาตุทั้ง ๔  แก้สารพักโรคทั้งปวง ได้สิ้น  โรคปุราณ ก็แก้ได้ แต่ช้าหน่อย ไม่ต้องภาวนา   ให้อธิฐาน ให้แผ่ซ่าน เข้าไปทางสายเลือด ทุกอนุของกาย
     อาราธนาว่า   ข้าขอเข้าธาตุทั้ง ๔ อินทรีย์ทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗  ขอให้ระงับจิต ระงับกายให้สบาย  ข้าจะขอเข้าเป็นนิคคหะที่ ๑ ข้าจะขอเข้าเป็นปัคคาหะที่ ๑
     อันนิคคหะ คือข่มลงไปในที่ ๑ (สะดือ)  อันปักคาหะ คือ ยกจากที่ ๑(สะดือ) มาที่ ๒ (เหนือสะดือ) มาที่ ๓ (หทัย)   ทำไปจนกว่าจะได้สุข
แก้ปวดศรีษะ  เส้นกำเริบ ธาตุวิปริต ให้ตั้งแต่ที่ ๙ (ปลายจมูก)มาที่ ๑ (สะดือ)  แล้วอธิฐานว่า

     ข้าขอเข้าธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗  อธิฐานแล้วจึงมาที่ ๒ (เหนือสะดือสองนิ้ว)  จึงชุมนุม ธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ในที่ ๒(เหนือสะดือ) นั้น  แล้วแบ่งสมาธิออกตามฐานเท้าทั้งสองข้าง แล้วยกแต่ที่ ๒(เหนือสะดือ) ไปถึงที่ ๓ (หทัย)  ถึงหทัยแล้ว ขอจะขอสัมปยุตธาตุทั้ง ๔  โพชฌงค์ทั้ง ๗  ในที่ ๓ นั้นเล่า แล้วจึงแบ่งสมาธิออกไปตามเท้าทั้งสองข้าง   แล้วยกสมาธิไปสู่ที่ ๔(คอกลวง) ให้เป็นสุขหน่อยหนึ่งแล้วจึงยกไป ๙(ปลายจมูก) ๘ ระหว่างตา  ๗ ระหว่างคิ้ว  ๖  (กลางกระหม่อม) ๕ (ท้ายทอย)  มาที่ ๔(คอกลวง) แบ่งสมาธิออกไปมือสองข้าง
     ถ้าโรคไม่หนัก อย่าเข้าธาตุ อย่าชุมนุมธาตุ อย่าแบ่งธาตุ

แก้ปวดมวนท้อง
ถ้า แม้ว่าปวดมวนท้องให้แก้ด้วยปิติประวัติ ตั้งคอเวียนลงไปก่อน ครั้นถึงที่มวนจึงรัดเข้าให้น้อยให้กลมเข้าที่มวนนั้น แล้วเวียนซ้ายหน่อยนึง เวียนขวาหน่อยหนึ่ง แล้วเข้าตั้งหลักทั้ง 3 คือ 1-2-3 นั้นที่ไหนก็ได้ ถ้ามิฟังให้ไขเสียทวารเบื้องต่ำ

จะมีที่ไปให้ดูธาตุ
ถ้า จะไปแห่งใดให้ดูธาตุทั้ง 4 ก่อนจะไปแห่งใดหาอันตรายมิได้ ดูวาโย คือเอามือจุกหูดังอื้ออยู่นั้นปรกติ ดูอาโป คือกลืนเขฬะดังเอือกนั้น ปรกติ ดูปถวี คือลูบเนื้องดังสากนั้น ปรกติ ดูเตโช คือหิ่งห้อย ตาเห็นแววนั้นอยู่ปรกติ ดูวิญญาณ คือเอามือพาดหน้าผากดูข้อมือ ถ้าเห็นมิขาดเป็นปรกติ อันธาตุทั้ง 4 นี้ ถ้าปฐวีดับ ดาโปดับ แล้วคืนมีบ้าง แม้นเตโชดับแล้วมิรอดเลย แต่ช้า 3-4 วัน อันวาโยนี้ให้ยิ่งกว่าธาตุทั้ง 3 นั้น แม้นวาโยดับ ชีวิตก็ดับด้วยพร้อมกันแล

แก้เสียดสีข้าง
ถ้า เสียดสีข้างก็ดี ให้ตึงราวคางก็ดี ขัดก็ดี จะให้แก้ให้นั่งเอนตัว เอาข้างตึงนั้นไว้ให้ตรง แล้วให้ตั้งที่ 9 ก่อน จึงลงไปตามไหปลาร้า ลงไปเอาราวข้าง ตามที่เจ็บที่ตึงนั้น แล้วกวาดให้ตลอดถึงปลายเท้า แล้วมาตั้งที่ 9 เล่า ส่งลงไปปลายเท้าเล่า แล้วให้เอาเผาเสียที 7 บ้าง แล้วกวาดลงไปปลายเท้าเล่า ทำ 3-4 คราวหลายแล
[/SIZE]


อ้างถึง

แก้ปวดศรีษะ แก้พบสัตว์ร้าย
ข้า จะขอเข้าธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 ขอให้ระงับจิตตระงับกายให้สบาย  จะขอเข้าเป็นนิคคหะที่ 1 จะขอเป็นปัคคาหะที่2 อันนิคคหะคือข่มลงไปถึงที่ 1 และปัคคหะคือยกแต่ที่ 1 มาที่ 2-3 ให้ทำไปจนกว่าจะได้สุขนั้น นี้แก้โรคสารพัด ทั้งปวงได้สิ้นทุกประการ าอย่างบุราณแก้โรคทั้งปวงด้วยกันแต่ช้า

แก้ปวดศรีษะ
ถ้า ปวดศรีษะหนักก็ดี เส้นกำเริบก็ดี ธาตุวิปริตก็ดี โรคอันหนักจะแก้ให้คลายนั้นให้ตั้งแต่ที่ 9 ลงไป เอาที่ 1 แล้วจึงอธิฐานว่า ข้าขอเข้าธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 แล้วจึงยกมาที่ 2 จึงขอชุมนุมธาตุทั้ง 4 อินทรีย์ทั้ง 5 โพชฌงค์ทั้ง 7 นั้นในที่ 3 นั้นเล่าแล้วจึงแบ่งสมาธิชักออกตามเท้าทั้ง 2 นั้นเล่า แล้วยกสมาธิขึ้นมาสู่ที่ 4 ให้เป็นสุขหน่อยหนึ่งแล้วจึงยกไปที่ 9-8-7-6-5 แล้วจึงชักมาสู่ที่ 4 แล้วจึงแบ่งสมาธิไปมือทั้ง 2 ข้างให้ทำไปกว่าจะคลาย ถ้าโรคนั้นมิหนัก ก็อย่าให้เข้าธาตุอินทรีย์ เลยให้แบ่งแต่สมาธิออกก็ได้ อย่าชุมนุมสัมปยุตอย่างแบ่งธาตุนั้นเลย อย่างหนึ่งเร็ว แต่จำศึกษาให้เจนก่อนจึงจะแบ่งได้



ที่มา
1. วิธีการรักษาตัวและเที่ยวกรรมฐาน http://www.somdechsuk.com/download/witeraksato_alae_teawkammathan.doc

มาร่วมสนับสนุน เว็บไม่อยากให้เว็บนี้หายไป เข้าไม่ได้ 4 วัน รู้สึกอึดอัดมากครับ
ว่าเว็บที่ดี ๆ มีคนเข้าอ่านมาก ๆ อย่างนี้จะหายไป

เป็นกำลังใจให้ทีมงาน ครับ


บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
อันนิคคหะ คือข่มลงไปในที่ ๑ (สะดือ)  อันปักคาหะ คือ ยกจากที่ ๑(สะดือ) มาที่ ๒ (เหนือสะดือ) มาที่ ๓ (หทัย)   ทำไปจนกว่าจะได้สุข
แก้ปวดศรีษะ  เส้นกำเริบ ธาตุวิปริต ให้ตั้งแต่ที่ ๙ (ปลายจมูก)มาที่ ๑ (สะดือ)  แล้วอธิฐานว่า

     ข้าขอเข้าธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗  อธิฐานแล้วจึงมาที่ ๒ (เหนือสะดือสองนิ้ว)  จึงชุมนุม ธาตุทั้ง ๔ อินทรีทั้ง ๕ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ในที่ ๒(เหนือสะดือ) นั้น  แล้วแบ่งสมาธิออกตามฐานเท้าทั้งสองข้าง แล้วยกแต่ที่ ๒(เหนือสะดือ) ไปถึงที่ ๓ (หทัย)  ถึงหทัยแล้ว ขอจะขอสัมปยุตธาตุทั้ง ๔  โพชฌงค์ทั้ง ๗  ในที่ ๓ นั้นเล่า แล้วจึงแบ่งสมาธิออกไปตามเท้าทั้งสองข้าง   แล้วยกสมาธิไปสู่ที่ ๔(คอกลวง) ให้เป็นสุขหน่อยหนึ่งแล้วจึงยกไป ๙(ปลายจมูก) ๘ ระหว่างตา  ๗ ระหว่างคิ้ว  ๖  (กลางกระหม่อม) ๕ (ท้ายทอย)  มาที่ ๔(คอกลวง) แบ่งสมาธิออกไปมือสองข้าง
     ถ้าโรคไม่หนัก อย่าเข้าธาตุ อย่าชุมนุมธาตุ อย่าแบ่งธาตุ

วิธีการ อ่านเข้าใจยากครับ แต่ดูเหมือนฝึกขั้นต้นเลยครับ
 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อาการสามสิบสอง
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา