ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ  (อ่าน 3648 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


       ถ้ามีช่วยนำลงให้อ่านด้วยครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2015, 08:55:08 am »
0

ขอบคุณภาพจาก http://download-picture.wunjun.com/

วิธีเจริญสมถภาวนา ถึงธรรมกาย

1. วิธีเจริญสมถภาวนาถึง 18 กาย - ถึงธรรมกาย

คำบูชาพระกัมมัฏฐาน(ว่าก่อนนั่งภาวนา) ดูหลักการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ

เมื่อท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล เพื่อให้กาย วาจา สงบ และบริสุทธิ์แล้ว ก็ตั้งใจชำระจิตใจให้สะอาดด้วยการเจริญภาวนาธรรมต่อไป เบื้องต้นให้วางภารกิจทางกายให้หมดเสียก่อน แล้วนั่งขัดสมาธิ เอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางอยู่บนมือซ้าย ให้นิ้วชี้มือขวาจรดพอดีกับหัวแม่มือซ้ายพอดี ตั้งกายให้ตรง สูดลมหายใจยาวๆ แล้วปล่อยกายตามสบาย อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้เมื่อยเร็ว

    เมื่อกายพร้อมแล้ว ก็ตั้งใจวางภารกิจทางใจเสียทั้งหมดอีกเหมือนกัน  โดยตั้งจิตอธิษฐานลงไปที่ศูนย์กลางกายว่า
    "ณ บัดนี้ เราจะตั้งใจเจริญภาวนาธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อความหลุดพ้นจากอาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน และเพื่อมรรคผลนิพพาน จะขอสละเวลาเพียงชั่วครู่นี้เพื่อปฏิบัติกิจอันมีค่าสูงที่สุดในชีวิต ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด เราก็จะไม่สนใจ หวั่นไหว หรือยินดียินร้ายใดๆทั้งสิ้น จะยอมเสียสละแม้แต่ชีวิต เพื่อพระธรรมอันวิเศษสุดนี้ทีเดียว"

     ans1 ans1 ans1 ans1

    เมื่อวางภารกิจทางกาย วาจา และใจได้เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานต่อไปที่ศูนย์กลางกายอีก น้อมรำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณบิดามารดาและบุญบารมีทั้งหลาย ที่เคยได้สร้างสมอบรมมา ให้มาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง และเกิดปัญญา ได้ดวงตาเห็นธรรม พร้อมด้วยขอให้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองสรรพอันตราย  อย่าได้มากล้ำกราย ขัดขวางการเจริญภาวนาของเรา



เมื่อตั้งใจมั่นคงดีแล้ว ก็ค่อยๆหลับตาลงเบาๆ และกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมาย ดวงแก้วกลมใส เหมือนกับเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่าแก้วตา  จุดศูนย์กลางข้างในโตเท่าเมล็ดพุทธรักษา ใสขาวเหมือนกระจกส่องเงาหน้า แล้วบริกรรมภาวนาคือท่องในใจเพื่อประคองบริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ.."

รูปแสดงที่ตั้งของดวงนิมิต จากฐานที่ 1 ถึงฐานที่ 7

                   ฐานที่ 1  ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา
                   ฐานที่ 2  เพลาตา  หญิงซ้าย ชายขวา  ตรงหัวตาพอดี
                   ฐานที่ 3  กลางกั๊กศีรษะ ระดับเดียวกับเพลาตา
                   ฐานที่ 4  ช่องเพดานปาก
                   ฐานที่ 5  ปากช่องลำคอ
                   ฐานที่ 6  ศูนย์กลางกาย ระดับสะดือ
                   ฐานที่ 7  ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

ฐานที่ 1 : ปากช่องจมูก หญิงซ้าย ชายขวา
การกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใสนั้น หญิงกำหนดขึ้นที่ปากช่องจมูกซ้าย ชายกำหนดที่ปากช่องจมูกขวา แล้วบริกรรมภาวนาคือท่องในใจเพื่อประคองบริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง พร้อมด้วยตรึกนึกให้เห็นดวงที่ใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส นี่เป็นฐานที่หนึ่ง


ฐานที่ 2 : เพลาตา หญิงซ้าย ชายขวา ตรงหัวตาพอดี
เมื่อเห็นเครื่องหมายใสสว่างชัดดีพอสมควรแล้ว ก็ค่อยๆเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปหยุดอยู่ที่หัวตาด้านใน หญิงให้เลื่อนไปอยู่ทางหัวตาด้านซ้าย ชายด้านขวา และบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง นี่เป็น ฐานที่สอง


ฐานที่ 3 : กลางกั๊กศีรษะ ระดับเดียวกับเพลาตา
แล้วค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นช้าๆ ไปหยุดอยู่ที่กึ่งกลางกั๊กศีรษะข้างใน พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง นี่เป็นฐานที่สาม


ฐานที่ 4 : ช่องเพดานปาก
ทีนี้ จงเหลือบตาไปข้างหลัง เหมือนคนกำลังชักจะตายอย่างนั้น ในขณะที่หลับตาอยู่ ก็ช้อนตาขึ้นข้างบน โดยไม่ต้องแหงนหน้าขึ้นตาม พอตาค้างแน่นอยู่ ความเห็นจะกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้ความเห็นนั้นกลับเข้าข้างใน พร้อมๆ กับค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นลงไปตรงๆช้าๆ ไปหยุดอยู่ที่เพดานปาก พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง นี่เป็นฐานที่สี่


ฐานที่ 5 : ปากช่องลำคอ
ค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายใสสว่างนั้นลงไปหยุดอยู่ที่ปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือก ตั้งเครื่องหมายไว้นิ่งอยู่ที่ปากช่องลำคอนั่นแหละ  พร้อมด้วยบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง นี่เป็นฐานที่ห้า

ฐานที่ 6 : ศูนย์กลางกาย ระดับสะดือ
ค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นลงไปตรงๆ ช้าๆ ตามเส้นทางลมหายใจเข้าออก เหมือนกับเรากลืนดวงแก้วลงไปในท้องยั้งงั้นแหละ  ลงไปหยุดนิ่งอยู่ตรงสุดลมหายใจเข้าออก ตรงระดับสะดือพอดี แล้วบริกรรมประคองนิมิตนั้นไว้ว่า "สัมมาอะระหังๆๆ"  3 ครั้ง นี่เป็นฐานที่หก


ฐานที่ 7 : ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ
แล้วจึงค่อยๆ เลื่อนเครื่องหมายนั้นขยับสูงขึ้นมาตรงๆ มาหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือ นี่เป็นฐานที่เจ็ด


ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org/

นี่เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คนเราเวลาจะเกิด จะดับ(ตาย) จะหลับ จะตื่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์นี้ เพราะฉะนั้นศูนย์นี้จึงสำคัญนัก จะเข้ามรรคผลนิพพาน ก็ต้องเข้าที่ศูนย์นี้   

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ก็จงทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางนี้ทีเดียว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน ไม่ไปทั้งนั้น  เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งแน่นหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้น เท่าฟองไข่แดงของไก่ อย่างเล็กเท่าดวงดาวในอากาศ อย่างโตเห็นเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เลยทีเดียว ดวงธรรมที่เห็นนี้เป็นหนทางเบื้องต้นไปสู่มรรค ผล นิพพาน จึงเรียกว่า ดวงปฐมมรรค และเป็นที่ตั้งของ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกายพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


ลักษณะของฐานที่ 7
               1. ศูนย์ด้านหน้า   ธาตุน้ำ
               2. ศูนย์ด้านขวา   ธาตุดิน
               3. ศูนย์ด้านหลัง   ธาตุไฟ
               4. ศูนย์ด้านซ้าย   ธาตุลม
               5. ศูนย์กลาง   อากาศธาตุ
               6. ศูนย์กลางของอากาศธาตุ  วิญญาณธาตุ

เมื่อเห็นดวงใสแจ่มบังเกิดขึ้นอย่างนี้ละก็ เลิกบริกรรมภาวนาได้  ทีนี้รวมใจให้หยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางดวงนี้แหละ จะเห็นที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ที่กลางดวงนั้น ให้วางใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางนั้น พอถูกส่วนเข้า ดวงใสเดิมนั้นก็จะว่างหายไป แล้วก็จะเกิดดวงใหม่ขึ้นมาอีก ใสละเอียดหนักยิ่งกว่าเก่า คือ ดวงศีล อันเป็นปัจจุบันศีลในทางปฏิบัติ ของผู้มีกาย วาจา และใจ บริสุทธิ์ ด้วยการกล่าวแต่วาจาที่ชอบ การประกอบกรรมที่ชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ 

หยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงศีลจะว่างหายไป แล้วจะเห็น ดวงสมาธิ ผุดลอยขึ้นมาแทนที่  เป็นสมาธิของผู้มีจิตอันพร้อมด้วยความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ อันเป็นจิตที่ควรแก่งานวิปัสสนาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรม

รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงสมาธิ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงสมาธิจะว่างหายไป แล้วปรากฏดวงใสสว่างเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดกว่าเดิม มีรัศมีสว่างยิ่งนัก คือ ดวงปัญญา เป็นปัญญาที่พร้อมด้วยความเห็นชอบ และดำริชอบ

หยุดในหยุดอยู่ที่กลางดวงปัญญาต่อไปอีก เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงปัญญาจะว่างหายไป แล้วปรากฏดวงใสสว่างเกิดขึ้นมาใหม่ คือ ดวงวิมุตติ ใสละเอียดกว่าเดิม  มีรัศมีสว่างยิ่งนัก เป็นปัจจุบันธรรมของจิตที่สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสของมนุษย์ ได้แก่ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐินั่นเอง การหลุดพ้นดังกล่าวนี้ เป็นเบื้องต้น คือเป็นการหลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การหลุดพ้นอย่างถาวร ที่เรียกว่า สมุจเฉทวิมุตติ ต่อไป

หยุดในหยุดลงไปที่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ


 :25: :25: :25: :25:

เมื่อรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็จะถึง กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน  มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับผู้ปฏิบัติทุกประการ แต่สวยละเอียดประณีตกว่าการมนุษย์หยาบ  นั่งในท่าขัดสมาธิ หันหน้าไปทางเดียวกับเรา 

ถ้าเห็นแล้วอย่างลังเลสงสัย สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายใหม่นั้นเลย ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบนี้ สวมความรู้สึกเข้าเป็นไปกายมนุษย์ละเอียด ใสละเอียด อยู่นั่นแหละ หยุดในหยุดกลางของหยุด ให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายทั้งองค์ฌาน  ทำอย่างนี้เรื่อยไปทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียดถึงธรรมกาย  โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกาย ไม่ถอยคืนออกมา (คือไม่ถอนออกจากสมาธิ)

บางท่านอาจจะเห็นข้ามขั้นตอน ไปเห็นธรรมกายเลยก็มี กายพระพุทธรูปขาวใส บริสุทธิ์ เกตุดอกบัวตูม ปรากฏขึ้นมา ณ ศูนย์กลางกายนั้นเอง

ให้รวมใจหยุดลงไป ณ ศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดนั้นต่อไปอีก ก็จะเห็นดวงธรรม ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ตามลำดับ แล้วก็จะถึง กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด ตามลำดับ ใตใหญ่ใสสว่างกว่าเดิม แพรวพราวสวยงาม ก็ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายทิพย์นั้นต่อไป


 st12 st12 st12 st12

โดยวิธีเจริญภาวนาให้ใจหยุดในหยุด ผ่านดวงธรรม ดวงศีล ฯลฯ ของทิพย์ละเอียด หลุดพ้นจากกิเลสกลางของทิพย์ ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ  แล้วก็จะถึง กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ตามลำดับ ก็จะเห็นกายและดวงธรรมของรูปพรหม ใสสะอาด บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าของกายทิพย์ แต่รูปพรหมยังมีกิเลสที่ค่อนไปทางละเอียดอยู่อีก คือ ราคะ โทสะ และโมหะ

ให้ใจของรูปพรหมหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกาย ผ่านดวงธรรม ดวงศีล ฯลฯ ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสเหล่านี้ แล้วก็จะถึง กายอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ซึ่งใสละเอียด มีรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปอีก แต่รูปพรหมยังมีกิเลสที่ละเอียดอยู่ คือ ปฏิฆะ กามราคะ และอวิชชา

เมื่อรวมใจหยุดนิ่งลงไป ณ ศูนย์กลางกายอรูปพรหม เจริญภาวนาผ่านดวงธรรมต่างๆอีก ก็จะหลุดพ้นจากกิเลสของกายโลกิยะทั้งหมด ก็จะเข้าถึงกายธรรม คือ ธรรมกาย เริ่มตั้งแต่ ธรรมกายโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด ซึ่งธาตุธรรมยังอ่อนอยู่  จึงต้องเจริญภาวนาต่อไปตามแนวเดิมนี้อีก ก็จะถึง
    - ธรรมกายพระโสดาหยาบ-พระโสดาละเอียด
    - ธรรมกายพระสกิทาคาหยาบ-พระสกิทาคาละเอียด
    - ธรรมกายพระอนาคาหยาบ-พระอนาคาละเอียด
    - ธรรมกายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียด


    ซึ่งช่วยให้หลุดพ้นจากสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกเป็นชั้นๆไป จากหยาบไปหาละเอียด เมื่อถึงกายพระอรหัตละเอียดแล้ว เจริญภาวนาต่อไปก็จะสามารถวิมุตติหลุดพ้นจากอาสวะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นการถาวร เป็นสมุจเฉทปหานได้.


ที่มา www.dhammakaya.org/ธรรมปฏิบัติ/วิชชาธรรมกาย/2.-วิธีเจริญสมถภาวนา-ถึงธรรมกาย
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2015, 09:14:17 am »
0

ภาพแสดง ๑๘ กาย

         ๑) กายมนุษย์
         ๒) กายมนุษย์ละเอียด
         ๓) กายทิพย์
         ๔) กายทิพย์ละเอียด
         ๕) กายรูปพรหม
         ๖) กายรูปพรหมละเอียด
         ๗) กายอรูปพรหม
         ๘) กายอรูปพรหมละเอียด
         ๙) กายธรรม (ปัจจุบันเรียก กายธรรมโคตร)
       ๑๐) กายธรรมละเอียด(ปัจจุบันเรียก กายธรรมโคตรภูละเอียด)
       ๑๑) กายพระโสดา
       ๑๒) กายพระโสดา ละเอียด
       ๑๓) กายพระสกิทาคา
       ๑๔) กายพระสกิทาคาละเอียด
       ๑๕) กายพระอนาคา
       ๑๖) กายพระ อนาคาละเอียด
       ๑๗) กายพระอรหัต
       ๑๘) กายพระอรหัตละเอียด


อ้างอิง : ภาพและข้อมูลจากหนังสือหนังสือ “ทางมรรคผล วิธีไหว้พระ บูชาพระ ก่อนเวลาภาวนา” หรือ “หนังสือ ๑๘ กาย” สนใจวิชชา ๑๘ กาย ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tsongphol&group=8  หรือที่นี้ก็ได้ แนบไฟล์มาให้แล้ว
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2015, 08:31:17 pm »
0
ท่าน aaaa ชอบปฏิบัติ แนวนี้ หรือ คะ

 :49:
บันทึกการเข้า

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2015, 08:34:51 pm »
0
ถ้าจะวิเคราะห์ ตามผัง การเดินจิต แล้ว ก็จะเป็น ฐาน ธาตุไฟ คือ พระขณิกาปีติ เหนือจากสะดือสองนิ้ว มีการเข้าธรรมถึง ดวงนิพพาน ซึ่งอ่านแล้ว ขัดจาก ฐานจิต ที่ปฏิบัติใน นวหรคุณ และ สติปัฏฐานสันโดด เพราะฐานจิต ที่สุดของ โลกุตตระ นั้น ระบุว่า เหนือจากคอกลวง  โดยเฉพาะเวลเข้าธรรม ใช้ ฐานสุดท้าน อยู่ที่ มหาสูญ

   ถ้าอ่านดูให้ดี ก็ขัดหลักการกรรมฐาน เดิม ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

   ยิ่งได้อ่าน วิชา 18 กายใน บอร์ดศิษย์สายตรงแล้ว นับว่า ในบอร์ดศิษย์สายตรง นั้น ดูจะเข้าใจง่ายกว่า

    :58:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2015, 10:04:08 pm »
0
         ก็ชอบทุกอย่าง  ที่เป็น  สายมรรคผลนิพพานครับ เพราะเราเลือกกรรมฐานสายนี้ครับ

         แต่ก็ไม่เปลี่ยนสายครับ   เพราะศรัทธามากในครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน

          ขออนุโมทนาสาธุ ท่าน....  ระพลสัน  ศิษย์พี่

          หลวงพ่อสด ท่านก็ศึกษาจากวัดพลับครับ   แต่ท่าน เลือกภูมิ เป็นพุทธภูมิ

           ก็เลยมีแค่นี้ที่ท่านสอน    แต่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  จากธรรมกาย....ต้องไป ธรรมจักรต่อครับ

        ครูอาจารย์ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าเลือกสาย สาวกภูมิ   จะมีกรรมฐานต่อจากนี้ไปอีกยังไม่จบครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2015, 10:07:30 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 07:30:22 am »
0
 st11 st12 st12 like1
 ท่าน aaaa นี่ แน่นอน ในเรื่องความเคารพครูอาจารย์ นะคะ

 
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ...เนื้อหา เรื่อง สิบแปดกาย กายสิบแปด ครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 09:15:47 am »
0
ทำไม ต้องมีกาย ให้วุ่นวาย มาก อย่างนี้ ครับ
เอาแค่ กายใจ ก็พอ จะง่าย กว่าไหม ครับ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า