ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าไม่กำหนดรู้ ใน ธาตุ ก็ไม่ถึงธาต ( คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ฉันเป็นผู้สอน )  (อ่าน 4014 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



( เล่มที่ 12 หน้า 2 )
[๒]    “ภิกษุทั้งหลาย    ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ    ไม่ได้พบพระอริยะ ทั้งหลาย    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ    ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้พบสัตบุรุษ ทั้งหลาย    ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ    ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ   
       หมายรู้ปฐวี (ดิน) อาโป เตโช วาโย  โดยความเป็น ปฐวี อาโป เตโช วาโย
       ครั้นหมายรู้ปฐวี อาโป เตโช วาโย โดยความเป็นปฐวี อาโป เตโช วาโย แล้ว   
      กำหนดหมายซึ่งปฐวี อาโป เตโช วาโย     
      กำหนดหมายในปฐวี อาโป เตโช วาโย   
      กำหนดหมายนอกปฐวี อาโป เตโช วาโย     
      กำหนดหมายปฐวี อาโป เตโช วาโย ว่าเป็นของเรา   
      ยินดีปฐวี อาโป เตโช วาโย
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร
       เรากล่าวว่า    ‘เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้'
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๑.  มูลปริยายวรรค]
                    ๑.  มูลปริยายสูตร



   ข้อควรจำและทำความเข้าใจ
  1.การกำหนด ปฐวี อาโป เตโช วาโย คือ ธาตุ
  2.  การกำหนดรู้ ปฐวี อาโป เตโช วาโย  คือ มนธาตุ
  3. การกำหนดรู้ส่วนประกอบ ปฐวี อาโป เตโช วาโย แห่งอากาศ ทั้งภายใน และ ภายนอก คือ มนายตนะธาตุ
    การกำหนดรู้ นี้เรียกว่า ญาตะปริญญา
   คือการกำหนด รู้ ที่เกิด ( กำเนิด )  ที่ตั้ง ( ที่อยู่ ) ที่ดับ ( เสื่อมไป ) รู้รูปธาตุและคุณธาตุ ( ลักษณะ )
   การกำหนดได้ส่วนนี้ จักทำให้เห็น รูปขันธ์

   เมื่อการภาวนาก้าวหน้า ก็สามารถจำแนก ธาตุ ( วิภังคธาตุ )
    ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ มี ความไม่เที่ยง 40 ประการ  อุปาทายรูปธาตุ และ อนุปาทินกรูปธาตุ
    ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ มี ความไม่คงที่ 40 ประการ สัญญารูปธาตุ และ บัญญัติธาตุ ( สมมุติ และ ปรมัตถ์ )
    เมื่อถึงตรงนิมิต  ก็ ได้สำเร็จ รูปนิมิต ( ลักษณะ + รัศมี ) เรียกว่ ธาตุนิมิต
    การกำหนดรู้ นี้เรียกว่า ตรีณปริญญา
   คือการกำหนด เห็นความจริง ความแปรปรวน ความไม่คงที่ของ รูป คือ นามกาย ( เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ )
   
   เมื่อการภาวนาก้าวหน้า สามารถ กำหนด ธาตุนิมิต ได้ คงเหลือ แต่เพียงส่วนรู้ เพราะตัวที่รู้จัก นามกาย ก็คือตัวรู้ ตัวรู้ ตัวนี้ เป็นเพียงแต่รู้ และ รับรู้ แต่ไม่มีอำนาจแห่งปัญญา หมายถึงรู้เห็น แต่ไม่สามารถเข้าไปจัดการตัวรู้ และตัวรู้ ( วิญญาณขันธ์ )ตัวนี้ คือ ตัวเรา ตัวกู ตัวจิต ตัว..... ( อันที่จริงถ้าใช้ศัพท์ ตอนนี้ ใช้อะไรก็ไม่ถูก ) ที่เวียนว่ายตายเกิด กัน ก็คือ ตัวนี้แหละนะ ที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ในภพา ในชาติ ที่คงมีสังโยชน์ อยู่ ก็ตัวนี้แหละนะ ดังนั้น เมื่อการภาวนาก้าวหน้า จนสามารถเห็น ธาตุนิมิต แล้ว ก็จะใช้ ธาตุนิมิต นี้แหละ เป็นองค์ วิปัสสนา ( มาถึงตรงนี้ เจโตวิมุมตติ ก็มีอำนาจสมาธิ ถึงขั้น อัปปนาสมาธิ แล้ว ) ส่วน ปัญญาวิมุตติ คงต้อง อาศัยอุปจาระสมาธิ ไม่สามารถใช้ธาตุนิมิตได้ แต่อาศัย ตรีณปริญญา อย่างต่อเนื่องเท่านั้นเอง เป็นอารมณ์วิปัสสนา

      สำหรับ ปัญญาวิมุตติ นั้น ก็กำหนด ที่ นามกาย ว่า นามกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เท่านั้นแหละ เดี๋ยวตัว วิญญาณขันธ์ ( ตัวรู้ )ก็จะจดจำบันทึกว่า ไม่มีเรา ไม่ของเรา ไม่ตัวตนของเรา ดับกิเลสไปตามลำดับชั้น อย่างนั้น ตามอารมณ์ ที่ใช้การภาวนา เมื่อดับกิเลสได้ ก็จะเข้า ผลสมาบัติ ทำการ ทบทวนอนุโลมญาณ ตามลำดับชั้น แห่งพระอริยะเช่นเดียวกันทั้งหมด ใช้เวลาเท่ากัน ในการทบทวน ไม่มีแตกต่างกัน นอกจากได้รับการพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้า โดยตรง จึงไม่ต้องทบทวน การกำหนดรู้เช่นนี้เรียกว่า ปหานปริญญา


     สำหรับ เจโตวิมุตติ นั้น เมื่อจิตเป็นอัปนาสมาธิ สามารถกำหนด ธาตุนิมิต ว่าไม่เที่ยง 50 ประการ กำหนดวิราคะ 50 ประการ กำนหด วิมุตติ 50 ประการ กำหนด วิญญาณฐิติ 7 เมื่อกำหนดได้ จะละรูปราคะ และ อรูปราคะ

    จากนั้น กำหนด ธาตุนิมิต ที่ว่างจาก รูปราคะ และ อรูปราคะ ด้วยการกำนหนดละ มานานุสัย 9 ประการ เพื่อละ มานาานุสัย
     
    จากนั้น กำหนด ธาตุนิมิต อันปราศจาก รูปราคะ อรูปราคะ และ มานานุสัย ด้วยการกำหนด ละอุปาทานกุศล 4 ประการ( ไม่ใช่อกุศล ) เพื่อละ อุทธัธจจะ

    มาถึงตรงนี้ จะได้อำนาจ ตัวรู้ ในระดับ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ( สำคัญมาก )
   
    กำหนด  ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ที่มหาสูญ จากนั้นเจริญภาวนา ปฏิจจสมุปบาท ขั้นพระอนาคามี ( ตอนนี้เป็น อรหัตตมรรค ) แบ่งการภาวนาเป็น 3 ระดับ คือ ( เพื่อละ อวิชชานุสัย )

      ปฏิจจสมุปปบาท รอบที่ 1 ทำความรู้แจ้ง อริยสัจจะ สี่ประการ
      ทุกข์ มีเห็ตุ มีปัจจัยย มาจาก .......
     
      ปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 2 ทำความรู้แจ้ง กาล ทั้ง 3
       ทุกข์ ดับ ภพ ดับ ..........

      ปฏิจจสมุปบาท รอบสุดท้าย  ทำความรู้แจ้ง ใน อิทัปปัจยาตา
      เพราะ อวิชชา ไม่มี นามรูป ก็ไม่มี .........

   ถึงตรงนี้ ก็ได้ รับ อรหัตตผล ต้องเข้า ผลสมาบัติ 24 ชม. ด้วยอำนาจที่จิต ประหารกิเลสได้ ทบทวน ปฏิจจสมุปบาท อย่างเดียว เท่านั้น 3 รอบ ( ไม่ใช่ไปทบทวน วิปัสสนาญาณ 9 10 หรือ 15 ) ส่วนใหญ่ พระอริยะเจโตวิมุตติ จะเข้า นิโรธสมาบัติ หลังจากทบทวน ปฏิจจสมุปบาท 3 รอบ


สำหรับรายละเอียดส่วนนี้ แบบละเอียด จะนำถ่ายทอดไว้ ในหัอง วิชชา ศิษย์สาย ตรง เท่านั้น นะจ๊ะ
ไม่สามารถบอกเป็น สากล แก่ท่านที่ไม่ได้เป็นศิษย์ในสายกรรมฐาน นี้ได้

ชีวิตฉันอาจจะไม่มีเวลา ที่จะรอใครมารับสืบทอด ดังนั้นขอฝากข้อความนี้ไว้กับผู้มีบุญบารมีร่วมกันไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติ สืบต่อไป เทอญ

 



( เล่มที่ 12 หน้า 14 )
         กำหนดภูมิตามนัยที่ ๖ ว่าด้วยพระขีณาสพ
            [๑๑]    ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ    อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ปลงภาระได้แล้ว    บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว    สิ้นภวสังโยชน์แล้ว    หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ    แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี  ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว   
     ไม่กำหนดหมายซึ่งปฐวี    ไม่กำหนดหมายในปฐวีไม่กำหนดหมายนอกปฐวี    ไม่กำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา    ไม่ยินดีปฐวี
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เรากล่าวว่า    ‘เพราะเขาปราศจากโมหะ    เนื่องจากโมหะสิ้นไป’
 
           ฯลฯ    รู้ยิ่งอาโป  ...  เตโช  ...  วาโย  ...  ภูต  ...  เทวดา  ...  ปชาบดี  ...  พรหม
...    อาภัสสรพรหม  ...  สุภกิณหพรหม  ...  เวหัปผลพรหม  ...  อภิภูสัตว์    ...
อากาสานัญจายตนพรหม  ...  วิญญาณัญจายตนพรหม  ...  อากิญจัญญายตนพรหม
...    เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม  ...  รูปที่ตนเห็น  ...  เสียงที่ตนได้ยิน  ...  อารมณ์
ที่ตนทราบ  ...  อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง  ...  ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน
...    ความที่กามจิตต่างกัน  ...  สักกายะทั้งปวง  ...  รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว    ไม่กำหนดหมายซึ่งนิพพาน    ไม่กำหนด
หมายในนิพพาน    ไม่กำหนดหมายนอกนิพพาน    ไม่กำหนดหมายนิพพานว่าเป็น
ของเรา    ไม่ยินดีนิพพาน
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เรากล่าวว่า    ‘เพราะเขาปราศจากโมหะ    เนื่องจากโมหะสิ้นไป’   
 
  กำหนดภูมิตามนัยที่ ๖ ว่าด้วยพระขีณาสพ จบ
   พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  (๑.  มูลปริยายวรรค)
                 ๑.  มูลปริยายสูตร

[/color][/b]




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2015, 02:04:23 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

  เป็นพระธรรม ที่ มีแบบการภาวนา แบบคาดไม่ถึง และ ยิ่งอ่าน รู้สึก ย่ิงสนใจมากขึ้น คะ

  like1
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ แสดง ถึง ลำดับ กรรมฐาน ที่พระอาจารย์ สอน และปฏิบัติ ใช่หรือไม่ คะ
  อยากทราบเนื้อหา รายละเอียด เพิ่มเติม คะ

  st11 st12 like1 like1
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้ อ่านแล้ว รู้สึกว่า ลึกล้ำ ลึกซึ้ง คอยติดตาม ในห้อง วิชชาศิษย์ สายตรง อยู่ครับ ถ้ามีเรื่องนี้โพสต์ ลงไปแล้ว กรุณา กระซิบบอกกันบ้างนะครับ

  st11 st12 st12 st12 like1 like1
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้ ฟังแล้ว เหมือน เป็นลำดับ ที่พระอาจารยื สอนที่ศาลา วัดแก่งขนุน เลยครับ
 ผมจำได้

    1. ธาตุ
    2. มนธาตุ
    3. มนายาตนะธาตุ
    4. อุปทายรูปธาตุ
    5. อนุปาทินกรูปธาตุ
    6. สัญญาบัญญัติธาตุ
    7. ปรมัตถบัญญัตธาตุ
    8. ...... ไม่รุ้แล้ว ครับ

   ถ้าจับใจความที่พิมพ์อยู่ให้อ่านนี้ ก็คิดว่า น่าจะเป็น ลำดับที่พระอาจารย์ เตรียมสอนศิษย์ ถึงแม้ผมจะสนใจในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ก็จริงอยู่ แต่ อ่านแล้วรู้ได้ทันทีว่า ยังไม่ถึง .... ระดับนั้น คงวนเวียนอยู่ แค่ 7 ระดับนี้

   :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ