ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาการที่จิต เป็นสมาธิ นั้นเป็นอย่างนี้ใช่หรือป่าวคะ  (อ่าน 4522 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาภาวนาไป รู้สึกได้ว่า จิตหยุดบริกรรม

 และ ปล่อยวางจิต รู้ ได้ยิน แต่ นิ่ง ๆ อยู่ อย่างนั้น

 ใช่เป็นอาการที่จิตเป็นสมาธิ หรือ ป่าวคะ

  :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้ ถ้าเบื้องต้นเคยฟังพระอาจารย์ บอกว่า ตกอยู่ในข้างฝ่าย นิวรณ์ คือเพลินกับ

เวทนา คือ อทุกขมสุขเวทนา

 อาการ ก็คือ ภาวนาไปสักพักหยุดภาวนา แล้วปล่อยจิตนิ่ง เหมือนนอนหลับไป ไม่มีความก้าวหน้าทางจิต

ไม่ใช่เป็นอาการของฌานจิต คะ

 ( คุยกันก่อนนะ ก่อนพระอาจารย์มาตอบ )
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ยังไม่มี ใครตอบ คะ

ขอให้ทีมมัชฌิมา ช่วยตอบด้วยคะ


 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ภาวนาไป รู้สึกได้ว่า จิตหยุดบริกรรม ปล่อยจิต รู้ นิ่ง อยู่ อย่างนั้น ใช่อาการที่จิตเป็นสมาธิ หรือป่าว คะ


นั่งบริกรรมภาวนา แล้ว "พุท-โธ" หายไปเอง ทั้งที่ระลึกรู้ตัวพร้อม เหลือไว้แต่เพียงความรู้สึกสุขแบบบอกไม่ถูก แล้ว

เกิดนิกันติหยุดพึงใจไว้เพียงนั้น ผมนั้นยังต้องหาคำอธิบาย หากแต่นั่งภาวนานิ่งแช่ไม่บริกรรม แม้รู้ตัวก็ให้เข้าใจ

ว่านั่นเป็น "อทุกขมสุขเวทนา" สมองโล่งว่างวางความคิด จิตไม่มีงานผิดหลักการภาวนาทำสมาธิ ครับ!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 09:33:30 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยฟัง พอจ.คึกฤทธิ์ ท่านบอกว่า อาการอย่างนี้ เป็นอาการของจิต เข้า ฌานแล้วนะคะ

 คือ ถ้าจิตเป็น ปีติ ก็เป็น ฌานหนึ่ง
     ถ้าจิตเป็น สุข ก็เป็น ฌาน 2
     ถ้าจิตเป็น มีอารมณ์เดียวว่าง ก็เป็น ฌานที่ 3
     นิ่งว่าง อยู่อย่างนั้น ก็เป็น ฌาน ที่ 4


 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 หมวยนีย์ไม่ได้บอกว่า ฝึกอะไรอยู่ ?
 หากฝึกกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในส่วนของอุปจารสมาธิ
 โดยใช้พุทธานุสติ ในห้องพระธรรมปิติธรรมเจ้า เพื่อจะเอายังพระลักษณะแล้ว
 การที่คำบริกรรมหลุดไปหรือไม่มี แสดงว่าขาดสมาธินิมิต และการไม่กำหนดฐานจิต ก็จะไม่มีปัคคาหนิมิต
 สิ่งที่มีอยู่ก็คือ อุเบกขานิมิต ผลที่ได้ก็คือ จิตจะไม่ตั้งมั่น ขอให้ิพิจารณาสมุคคสูตร


สมุคคสูตร
ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ  พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิ หรือ ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).


ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้, 
ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งสร้านได้.
ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .


ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร,   พรมน้ำโดยกาลอันสมควร,   วางเฉยโดยกาลอันสมควร.


ที่มา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4908.msg17895#msg17895


    สำหรับการตั้งคำถามในห้องนี้ ขอให้เป็นกรรมฐานมัชฌิมาฯ อย่างเดียวนะครับ
    การถามกรรมฐานแนวอื่นๆ ขอให้ไปถามในห้อง"สนทนาธรรม หรือ ส่งจิตออกนอก"


    ไหนๆก็ถามแล้ว เห็นแก่หมวยนีย์สักครั้ง จะเล่าให้ฟังเรื่องหนึ่ง ผมเคยฝึกอาปานสติ บริกรรมพุทโธ
    ถึงจุดหนึ่ง คำบริกรรมหายไป ตอนแรกก็ตกใจ พยายามจะบริกรรมต่อ แต่จิตไม่ยอมรับ
    รู้สึกคล้ายๆกับว่า คำบริกรรมเป็นส่วนเกิน อึดอัดที่จะบริกรรม แต่ในตอนผมไม่มีครูอาจารย์เลย
    ไม่รู้จะไปถามใคร การที่ขาดกัลยาณมิตรไม่ดีอย่างนี้นี่เอง
 
    ทางที่ถูกต้องควรมีครูอาจารย์ครับ การสอบอารมณ์กรรมฐาน ต้องใช้อารมณ์ปัจจุบัน
    ดังนั้น การจะให้ครูอาจารย์สอบอารมณ์ ควรทำกรรมฐานต่อหน้าครูอาจารย์ 
    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :49:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2011, 06:33:35 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาการที่จิต เป็น สมาธิ วัดดังนี้ นะจ๊ะ

 เมื่อใดจิต สามารถดับ นิวรณ์ ได้ ชั่วขณะ หนึ่ง วินาทีหนึ่ง หรือ มาก แต่หายไปโดยไว ขณะนั้นเรียกว่า เข้าถึง ขณิกะสมาธิ

 เมื่อใดดับ นิวรณ์ได้ เป็นเวลานาน จิตอิ่มเอมด้วยความสุข เมื่อนั้น จิตถึง อุปจาระสมาธิ ตั้งแต่ หยาบ กลาง ละเอียด

 เมื่อใดจิตดับ นิวรณ์ได้ อย่างมั่นคง ก้าวล่วงพ้นจากสุข อันเป็นทิพย์ เมืื่อนั้น จิตย่อมตั้งมั่นอย่างยิ่ง จิตถึง อัปปนาสมาธิ เป็น ปฐมฌาน ขึ้นไป


 เมื่อใดจิตดับ ตั้งมั่น ในสติ มีธรรมะคือ ทุกข์อริยสัจจะ เป็นที่พินิจอยู่ กำหนดได้ มีความเพียร คือการสั่งสม รักษากุศลอยู่อย่างนั้น สามารถเห็นธรรมคือ ธรรมสังเวช และ จิตก้าวล่วงพ้นความเกาะเกี่ยว ด้วยอำนาจแห่งตัณหา เพราะจางคลายจากความกำหนัด และ ละอวิชชา จิตถึงสุข อันเป็น บรมสุข ตั้งมั่นในสุขนั้นไม่หวั่นไหว เมื่อนั้น จิตเข้า สมาธิโลุกตตระ ซึ่งเป็น สมาธิ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสสรรเสริญมากที่สุด

  ก็มีเท่านี้นะจ๊ะ ลอง เทียบเคียงดู

  เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ