ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อุปสรรคของวิปัสสนา ที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ  (อ่าน 4155 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือได้ทราบว่า ต้องปฏิบัิติวิปัสสนา แต่อุปสรรคของวิปัสสนา นั้นมีอะไรบ้างคะ

ขอพระอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อุปสรรคของวิปัสสนา ที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2010, 07:53:38 am »
0
ยังไม่ได้ตอบคร้า...
:25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อุปสรรคของวิปัสสนา ที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 10:24:53 am »
0
อุปสรรค ของ วิปัสนา เรียกว่า วิปัสสนูกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง
มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก  มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง  มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ  เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต  นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร  ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ  พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี  มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง  ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว  นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง  จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย  ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญา เป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้  ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น  สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ  ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ  ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้  เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า  เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร  ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
•  โอภาส  เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ  ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือน กัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร  ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข  ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี  จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้  ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ  ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง
•  ปีติ  ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา  จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้ง คืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ  ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป  ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ
•  ปัสสัทธิ  ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก  จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว  ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด  จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง  เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น  จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา  นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว  ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด  เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน  มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ  จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย
•  สุขะ  เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน  นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว  อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย  นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น  ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุข ได้
•  ญาณะ  เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น  ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย  จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว  อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ  ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ  จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว  อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า  เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง  เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง  เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด  ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุ ธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข
•  อธิโมกข์  น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม  ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง  มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ  รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิด ขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว  ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า  อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที
•  ปัคคาหะ  มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก  ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว  จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ  จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ  จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ  ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก  หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย  ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว  ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายานะ  เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•  อุปัฏฐาน  มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น  ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด  ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร  ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ  ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด  ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา  ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ  ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•  อุเบกขา ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก  ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น  กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง  ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว  จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น  เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ  ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย
•  นิกันติ  มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด  ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ  ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน  ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป  และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา  ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว  ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง  ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง
 
ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้  เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ  ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ  ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว



ยาวนิดหนึ่ง copy เขามาขอบคุณเว็บนี้ด้วย
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara54.htm
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อุปสรรคของวิปัสสนา ที่ควรทราบมีอะไรบ้างคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 02:01:35 pm »
0


      วิปัสสนู  อุปสรรคแห่ง    วิปัสสนา :welcome:
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา