ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 5 ‘ตามรอยโจร’ (ชมผังบรรจุสมบัติ)  (อ่าน 2669 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ข่าวลักลอบขุดกรุวัดราชบูรณะในหนังสือพิมพ์รายวัน เมื่อ พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นที่ฮือฮาไปทั่วประเทศ


ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 5 ‘ตามรอยโจร’ (ชมผังบรรจุสมบัติ)

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชโบราณสถาน อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีกครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว


 :25: :25: :25: :25:

เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน” สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง

เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง



เครื่องทองกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ


เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วมกันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้

 ans1 ans1 ans1 ans1

รายงานการเปิดกรุในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ
โดย นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร


ผมได้เดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 28 กันยายน 2500 เวลา 17.00 น. ถึงอยุธยาเวลา 19.00 น. ตั้งใจว่าจะไปหาผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน แต่ได้ทราบว่าผู้ว่าฯออกตรวจท้องที่ จึงไปพบผู้กำกับการตำรวจหารือว่าจะลงตรวจกรุที่ผู้ร้ายขุดในวันรุ่งขึ้นหรือประการใด ผู้กำกับการตำรวจขอร้องให้ลงตรวจในคืนวันนั้น เพราะได้ทราบจากปากคำของผู้ต้องหาที่จับมาได้ว่าในกรุยังมีของอีกมาก ถึงอย่างไรก็ต้องไปนั่งเฝ้าอารักขากันอยู่แล้ว ควรลงมือทำงานเสียเลย งานจะได้เสร็จไปเสียตอนหนึ่ง เพราะมีงานสืบสวนจับกุมเหลืออยู่อีกมาก

ฉะนั้นในคืนวันที่ 28 กันยายน 2500 เวลา 21.00 น. จึงไปทำการตรวจกรุกัน โดยผมกับเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรอยุธยา 2 คน ลงกรุเก็บสิ่งของ ผู้กำกับการตำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรับของอยู่ปากกรุ และในการดำเนินงานคราวนี้เราได้วางกติกากันไว้ด้วยว่า ผู้ที่ลงไปในกรุทุกคนแม้แต่ตัวผมเอง เมื่อขึ้นมาจากกรุจะต้องให้ตำรวจตรวจค้นร่างกายก่อนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่าจะไม่ได้ยักยอกสิ่งของอย่างใดไว้


 :96: :96: :96: :96:

ตามรอย ‘โจรขุดกรุ’

ที่ที่ผู้ร้ายขุดลงไปนั้น อยู่ตรงศูนย์กลางในห้ององค์พระปรางค์ ตรงกรุพอดี ผู้ร้ายเปิดขนศิลาแลงลงไปลึกประมาณ 3.60 เมตร ตรงปากหลุมกว้างประมาณ 2.50 เมตร แล้วหลุมค่อยๆ เล็กสอบจนถึงก้นหลุมเหลือกว้างประมาณ 0.70 เมตร ก็ถึงห้องกรุ ห้องที่ 1 ขนาดห้องกว้าง 1.40 เมตร ทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.50 เมตร ผู้ร้ายเจาะพื้นห้องกรุห้องที่ 1 ต่อลงไปเบื้องล่างอีกเป็นห้องกรุที่ 2 ทรงสี่เหลี่ยมขนาดห้องกว้าง 1.40 เมตร สูง 2.75 เมตร

ห้องนี้เป็นห้องเก็บเครื่องทองคำที่ผู้ร้ายขนไปมากมายนั้น มีซุ้มลึกเข้าไปในผนังประมาณ 37 ซม. ทั้ง 4 ด้าน ตามผนังและในซุ้มเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนาด้วยสีชาดเต็มทั้งผนังและภายในซุ้มที่เพดานห้องกรุก็มีเขียนลวดลายเต็มเพดาน ภายในซุ้มทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตกมีโต๊ะสำริดสูง 42 ซม. กว้างประมาณ 33-44 ซม. ยาวประมาณ 71-72 ซม. วางอยู่ซุ้มละ 1 ตัว คงจะเป็นที่วางสิ่งของ ส่วนซุ้มด้านทิศใต้ไม่มีโต๊ะ


 
จิตรกรรมในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

    “เมื่อผมลงไปถึงห้องนี้ ได้เห็นแหวน เครื่องทองคำชิ้นเล็กๆ พลอยและทับทิม คลุกเคล้าอยู่กับฝุ่นทรายพื้นห้องแพรวพราวไปหมด”

 :96: :96: :96: :96:

ตะลึง! เพชรนิลจินดาเคล้าฝุ่นทรายเต็มพื้น

ถัดซุ้มทั้งสี่ออกมา มีหินปูทำเป็นพื้นห้องเต็มทั้งห้อง หินที่ปูพื้นห้องหนา 17 ซม. การดำเนินงานลงเก็บของในกรุครั้งนี้ ได้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อสายและดวงโคมลงไป เมื่อผมลงไปถึงห้องนี้ ได้เห็นแหวน เครื่องทองคำชิ้นเล็กๆ พลอยและทับทิม คลุกเคล้าอยู่กับฝุ่นทรายพื้นห้องแพรวพราวไปหมด

ผมและเจ้าหน้าที่เลือกเก็บสิ่งของอยู่จนถึง 01.00 น. ของวันที่ 29 ส่งขึ้นมาให้ผู้กำกับการตำรวจประมาณ 1 กระป๋องตักน้ำหูหิ้ว ของก็ยังไม่หมด จำต้องหยุดไว้ชั่วคราวเพื่อพักผ่อน ผู้กำกับการตำรวจนำสิ่งของไปใส่กรงเหล็กรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในคืนวันนั้น แล้ววางกำลังเจ้าหน้าที่ คือ ตำรวจ 4 นาย พร้อมอาวุธปืน และเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากร 2 คนอยู่เฝ้ากรุ เรื่องห้องกรุนี้จากปากคำของผู้ต้องหาว่ากรุห้องที่ 1 มีพระพุทธรูปทองคำบรรจุอยู่ 3-4 องค์ นัยว่าองค์ใหญ่ขนาดหน้าตักประมาณ 1 ศอกแล้วก็ไม่มีอะไรอีก ผู้ร้ายเกือบจะเลิกขุดค้นอยู่แล้ว เผอิญคนหนึ่งไปกระทุ้งพื้นห้อง เสียงก้องดังเป็นโพรงอยู่ข้างล่าง จึงได้ขุดพื้นห้องไปพบห้องที่ 2 ที่บรรจุทองคำและเพชรนิลจินดา


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


เครื่องทองกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

แผนผังกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

"โต๊ะสัมฤทธิ์" ซึ่งปรากฏในบันทึกของนายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2500 ใช้วางสมบัติ เพชรนิลจินดา

“โต๊ะสัมฤทธิ์” ซึ่งปรากฏในรายงานการเปิดกรุของนายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2500 คาดว่าใช้วางสมบัติ เพชรนิลจินดา ของมีค่าต่างๆ ก่อนถูกโจรกรรมไป ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ ‘เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน’ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งแต่วันนี้ถึง 5 ธันวาคม 2559

 

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://www.matichon.co.th/news/98635
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2016, 09:15:03 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


          ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สิ่งที่หายไป อีกเช่นเดิม คือ บันทึก พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันต์ธาตุ
สำหรับพระสงฆ์ อย่างอาตมาไม่สนใจเรื่อง เพชร ทอง เงิน นาค พลอย พวกนั้นเลย สนใจเพียงสิ่งสักการะอันเป็น ฉายานามของพระพุทธเจ้า เท่านั้น

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา