ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา กับความแตกต่าง .....  (อ่าน 7508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
“The Foolish The Clever The Wise – คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา” เขียนโดยคุณ ไชย ณ พล คือแนวทางในการพัฒนาคุณค่าแห่งตน ในระหว่างพฤติกรรมคนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา

เมื่อทราบถึง พฤติกรรมคนโง่ พฤติกรรมคนฉลาด และ พฤติกรรมคนเจ้าปัญญา แล้วทั้ง 96 ข้อ จงประเมินดูว่าตนเองอยู่ในจำพวกไหน ทำเครื่องหมายไว้แล้ว นับจำนวนรวมแต่ละประเภท แล้วหาอัตราส่วนระหว่างพฤติความโง่ พฤติความฉลาด พฤติความเจ้าปัญญาที่มีอยู่ในใจตน

จากนั้นจงตั้งใจลดความโง่ พร้อมทั้งเพิ่มความฉลาดในใจตนให้มากขึ้น และพัฒนาจากความฉลาดสู่ความเจ้าปัญญาให้มากยิ่งๆขึ้นไป แล้วประเมินใหม่ทุกเดือนภายในหนึ่งปี ควรขจัดความโง่ให้สิ้นไปไม่เหลือซาก แล้วจะพบว่าชีวิตนี้มีคุณค่า และมีความหมายขึ้นตามลำดับ


ว่าด้วยระบบธรรมะ

 

คนโง่ ปรับธรรมะเข้าหาคน
จึงได้คนจำนวนมากเดินตามธรรมะเทียม

 

คนฉลาด ปรับคนเข้าหาธรรมะ
จึงได้คนจำนวนน้อยอยู่รักษาธรรมะแท้

 

คนเจ้าปัญญา ปรับธรรมะและคนเข้าหากัน
ณ จุดแห่งประโยชน์สูงสุดที่เหมาะสมและเป็นไปได้
จึงได้คนจำนวนพอดีอยู่ รักษาธรรมะที่ดีพอ

 

 

ว่าด้วยสำนึกในส่วนรวม

 

คนโง่ คิดแต่เรื่องส่วนตัว

ทำอะไรก็เพื่อตนเอง

แม้อาจทำให้คนอื่นเสียหาย

จึงเป็นที่รังเกียจ สังคมไม่ต้องการ


คนฉลาด คิดแต่เรื่องส่วนรวม

ทำอะไรก็เพื่อส่วนรวม

แม้อาจทำให้ตนเสียหาย

สังคมต่างต้องการแต่ตนไม่อาจตั้งอยู่ได้


คนเจ้าปัญญา คิดแต่เรื่องคุณธรรม

ทำอะไรก็เพื่อประโยชน์สุขทุกฝ่ายในทุกกาลเวลา

จึงเป็นที่ต้องการของทุกฝ่าย

ในขณะที่เขาอาจจะไม่ต้องการใครเลย

 
ว่าด้วยความเป็นธรรม
คนโง่ ชอบเรียกหาความเป็นธรรม
จนบ่อยครั้งใช้กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมในการ เรียกหา
จึงยิ่งพาให้ห่างไกลความเป็นธรรม
คนฉลาด ชอบสร้างความเป็นธรรม
ปั้นแล้วปั้นอีก ปั้นอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมแท้ แม้พยายามถึงที่สุด
เพราะความเป็นธรรมแท้ไม่ได้อยู่ในโลกแห่งทวิลักษณ์
จึงเป็นความหวังดีที่ล้มเหลวเรื่อยไป
คนเจ้าปัญญา ชอบประพฤติธรรม
ดำรงอยู่และดำเนินไปโดยธรรม
จึงได้สิทธิพิเศษโดยธรรม
 
ว่าด้วยความสันโดษ
คนโง่ เอาสันโดษบำรุงความเกียจคร้าน
จึงตกต่ำ
คนฉลาด เอาสันโดษสรรหาคุณหาและความพอดี
จึงบริหารเก่งสำเร็จง่าย
คนเจ้าปัญญา เอาสันโดษเป็นมาตรการปล่อยวาง
จึงได้บุญมากและสำเร็จได้ด้วย บุญฤทธิ์
“สันโดษ” คือ ความยินดีพอใจตามมีตามได้ตามกำลังและความจำเป็นของตน
 
ว่าด้วยปัญญาสัมพันธ์
คนโง่ ยึดถือความรู้
จึงได้แต่แท่งเทียนที่ไร้แสง
คนฉลาด ยึดถือปัญญาญาณ
จึงได้แสงเทียน ส่องทาง
คนเจ้าปัญญา ยึดถือความบริสุทธิ์
จึงได้ประโยชน์จากแสงแห่งชีวิต
“ปัญญาญาณ” คือ ปัญญาที่เกิดความรู้ขึ้นจากความรู้สึกภายในลึกๆของเราเอง ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ เหมือนมีเสียงภายในคอยกระซิบบอก เป็นการหยั่งรู้ได้เองโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม และไม่ต้องใช้การไตร่ตรองใดๆ
ว่าด้วยการสั่งสอน
คนโง่ ชอบสอนความโง่ของคน
ด้วยการก่นด่าส่วนที่โง่ของเขา
ยิ่งสอนจึงยิ่งโง่ทั้งคนสอนและคนถูกสอน
คนฉลาด ชอบสอนความฉลาดของคน
โดยการกระตุ้นให้คิด พูด ทำ อย่างชาญฉลาด
จึงเกิดบรรยากาศสร้างสรรค์ ได้สิ่งใหม่ๆ เสมอ
ยิ่งสอนจึงยิ่งแตกฉานและสนุกสนานทั้งคนสอนและคนถูกสอน
คนเจ้าปัญญา ชอบสอนโดยไม่สอน
ด้วยการนำ ผู้ถูกสอนไปสู่แหล่งกำเนิดปัญญาแท้ๆ เพื่อให้รู้เอง
จนรู้จริงและรู้ ยิ่งๆขึ้นไปถึงที่สุด
ยิ่งสอนจึงยิ่งล้ำค่า และร่าเริงในสัจจะอันยิ่ง
และได้มหาปราชญ์เป็นเพื่อร่วมทางอีกมากมาย
ว่าด้วยความรักและศรัทธา
คนโง่ หลงไหลได้ปลื้มกับความรัก ความศรัทธาที่ผู้อื่นมอบให้
จึงเหลวไหลไปกับสิ่งเร้าอันฉายฉวยเนืองนิตย์
ใจมักตกเป็นทาสผู้รักและศรัทธาจึงเสียความศรัทธาโดยง่าย
คนฉลาด ไม่ใส่ใจในความรัก ความศรัทธาที่ผู้อื่นมอบให้
จึงแข็งกระด้าง และหยิ่งยะโส
แม้ดูเหมือนน่าศรัทธา แต่ไม่น่าคบหา
คนเจ้าปัญญา ไม่หวั่นไหวต่อความรักและความศรัทธาที่ผู้อื่นมอบให้
แต่ใช้ให้เกิด ประโยชน์ในการพัฒนาผู้ที่รักและหลั่งศรัทธาแล้ว
ยกระดับจนเขามีคุณสมบัติ ดั่งตน
จึงได้ผองชนเป็นทายาทมหาศา
ว่าด้วยการบริหารศรัทธา
คนโง่ รู้อะไรใหม่ ก็เชื่อไว้ก่อนว่าจริงหรือไม่จริง
จึงงมงายอย่างยิ่ง
คนฉลาด รู้อะไร ก็ไม่เชื่อไว้ก่อนว่าจริงหรือไม่จริง
แต่เอามาทดลอง จนเห็นชัด จึงเชื่อ
จึงมีเหตุผลอย่างยิ่ง
คนเจ้าปัญญา รู้อะไร ก็ไม่สนว่าจะจริงหรือไม่จริง
สนใจเพียงว่ามีประโยชน์และมีโทษเพียงใด
แล้ว สกัดโทษทิ้ง บริโภคเฉพาะประโยชน์
จึงได่คุณค่าแห่งการรู้ในทุกสิ่ง
ว่าด้วยค่าของคน
คนโง่ ประเมินค่าคนจากปริญญา
จึงเห็นแค่ตรายี่ห้อปะติดชีวิต
คนฉลาด ประเมินค่าคนจากความสามารถ
จึงรู้จักคุณภาพของชีวิต
คนเจ้าปัญญา ประเมินค่าคนจากความเอื้อประโยชน์
จึงได้ประโยชน์แท้แห่งชีวิตจริง
ว่าด้วยความคิด

คนโง่ : ทำก่อนแล้วจึงคิด จึงผิดพลาดอยู่เนืองๆ ต้องเปลืองเวลาและความรู้สึก ตามแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด

คนฉลาด : คิดมากก่อนแล้วจึงทำ จึงเพ้อเจ้ออยู่เป็นประจำ แม้ประสงค์จะทำดีทากแต่ทำได้น้อย เพราะเขม่าความคิดปิดกั้นความกล้าหาญ

คนเจ้าปัญญา : คิดไปทำไป จึงทำได้อย่างที่คิด และคิดพอดีที่ทำประหยัดพลังงานและบริหารเวลาได้เหมาะสม ลดความหลอนป้องกันความผิดพลาดขื่นขมและประสบความสำเร็จโดยไม่เหน็ดเหนื่อย

****************

ว่าด้วยทัศนคติ

คนโง่ : ดูหมิ่นความดี มองโลกในแง่ร้ายด้านเดียว จึงได้รับแต่สิ่งชั่วร้ายมาพาชีวิตตกต่ำ กลายเป็นทาสสถานการณ์ ยามพบสิ่งดีจะไม่เข้าใจจึงพลาดโอกาสใหญ่

คนฉลาด : ชอบทำดีและคิดดี มักมองโลกในแง่ดีด้านเดียว จึงได้แต่สิ่งดีโดยมาก ครั้นพบสิ่งชั่วร้าย จะทนไม่ได้ ทำใจไม่เป็น ต้องถอยหนีสถานการณ์ดวงใจแตกร้าว ชีวิตจึงมีแต่ความระคายเคืองและปฏิฆะเร้นลึก

คนเจ้าปัญญา : ละชั่วเด็ดขาด และทำดีเป็นนิสัย โดยไม่ติดดี แล้วละแม้ความดีเข้าสู่ความบริสุทธิ์ จึงเห็นที่สุดแห่งความเป็นจริงแท้แห่งโลกว่าทุกสิ่งในโลกมีทั้งคุณ โทษ และความเป็นกลางอยู่ จึงบริหารสถานการณ์ได้ และทำใจได้ในทุกภาวการณ์

*****************

ว่าด้วยความโง่และความฉลาด

คนโง่ : ชอบคิดว่าตนฉลาดแล้ว จึงดักดานอยู่กับความโง่ของตนตามที่เป็น

คนฉลาด : ชอบคิดว่าตนโง่ จึงชอบแกล้งโง่ และมักโง่ได้สมปรารถนาในที่สุด

คนเจ้าปัญญา : ย่อมเห็นความโง่และความฉลาด ที่ซ้อนกันอยู่ และวิธีที่จะยกจิตสู่ปัญญายิ่งๆขึ้นไป จึงค่อยๆ หายโง่ และเลิกฉลาดโดยลำดับ

********************

ว่าด้วยการพูดจา

คนโง่ : ชอบเถียง เขาจึงได้การทะเลาะ และความบาดหมางแทนความรู้

คนฉลาด : ชอบถาม เขาจึงได้ความรู้ และมิตรภาพมากกว่าความแตกแยก

คนเจ้าปัญญา : ชอบเฉยสังเกตลึก เข้าใจสิ่งต่าง อย่างลึกซึ้งแล้วจึงนำเสนออย่างเหมาะสม

**************************

ว่าด้วยการจัดการกับปัญหา

คนโง่ : พอพบกับปัญหาอะไรก็โวยวาย ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และความสัมพันธ์อีกหลายชั้น จึงยิ่งเสียหาย......

คนฉลาด : พอพบปัญหาก็วิเคราะห์ เป็นการใช้ความคิดแก้ปัญหา จึงมักติดบ่วงความคิด วนไปวนมา......

คนเจ้าปัญญา : พอพบปัญหาอะไรก็วางก่อน พอเป็นอิสระมีอำนาจเหนือกว่าปัญหาแล้ว จึงจัดการกับปัญหานั้นอย่างเหนือชั้น.......

**********************

ว่าด้วยการบริหารและการปกครอง

คนโง่ : พยายามบริหารคน จึงวุ่นวายสับสนตามธรรมชาติของคน

คนฉลาด : พยายามบริหารประโยชน์สัมพันธ์ จึงยุ่งยากซับซ้อนตามปรารถนาอันไม่สิ้นสุด

คนเจ้าปัญญา : พยายามบริหาระบบธรรม จึงสงบลงตัว ณ จุดพอดี.....

*********************

ว่าด้วยความคิด!!!

คนโง่ : เห็นแต่ความชั่วร้ายของคนอื่น และโยนความผิดให้ผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นการทำมิตรให้กลายเป็นศัตรู ชีวิตจึงอยู่ในท่ามกลางอันตราย

คนฉลาด . : เห็นแม้ความชั่วร้ายในตนเอง จึงกล้ายอมรับความจริงและแก้ไขตัว ทำให้ตนดีขึ้น ทำให้แม้ศัตรูก็ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิตจึงเจริญและผาสุกโดยลำดับ

คนเจ้าปัญญา : เห็นความชั่วร้ายสากล จึงเข้าใจทุกคนในทุกสถานการณ์ เห็น***ส่วนการบริหารคนที่เหมาะสม โดยไม่ทำร้ายคน แต่จะทำลายความชั่วสากลให้สิ้นไป จึงสนุกสนานในการบริหารเรื่อยไป......

*********************

ว่าด้วยการบริหารธรรม

คนโง่ : ดูหมิ่นธรรมะ ชีวิตจึงหายนะ

คนฉลาด : ศึกษาธรรมะ จึงรู้ลึก และดำเนินชีวิตด้วยดี

คนเจ้าปัญญา : ใช้ธรรมะ จึงดำเนินชีวิตอย่างเหนือชั้น!!.......

*********************

ว่าด้วยการทำงาน

คนโง่ : ทำงานเพื่อเงิน จึงได้เงินมาอย่างยากเย็นและมักไม่ได้คุณค่าอื่นๆของงาน

คนฉลาด : ทำงานเพื่องาน จึงได้ผลงานที่ยิ่งใหญ่และได้เงินตามมาโดยง่าย

คนเจ้าปัญญา :.ทำงานเพื่อหยิบยื่นคุณค่าแก่สังคม เขาจึงได้ผลงานที่น่าชื่นชม เงิน ชื่อเสียงและมิตรมหาศาลย่อมตามมาเสมอ......

********************

ว่าด้วยการสนองตอบผู้มีพระคุณ

คนโง่ : เนรคุณผู้มีบุญคุณ จึงไม่มีใครอยากทำดีกับเขาอีก

คนฉลาด : กตัญญูผู้มีพระคุณ จึงมีคนอยากทำดีกับเขามากมาย ซึ่งต้องตามชดใช้บุญคุณกันไม่รู้จบ

คนเจ้าปัญญา : ยกระดับผู้มีบุญคุณให้สูงส่งขึ้น จึงทดแทนบุญคุณกันได้หมด และผู้มีพระคุณกลายเป็นหนี้บุญคุณ และพร้อมที่จะให้พระคุณที่ยิ่งกว่า เกิดวงจรการให้ และการรับที่พัฒนาต่อเนื่องทุกฝ่ายจึงได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง

******************

ว่าด้วยความเพียร

คนโง่ : มัวขยันในเรื่องไร้สาระ จึงมักพบปะแต่เรื่องไร้ประโยชน์ แล้วมักตัดพ้อว่า ทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี

คนฉลาด : มักขยันในเรื่องที่มีคุณมากมีโทษน้อย จึงได้ประโยชน์มากและมีโทษแทรกบ้าง แล้วมักบ่นว่าอุตส่าระวังอย่างสุดแล้วยังพบเรืองร้ายๆ อีก

คนเจ้าปัญญา : ขยันทำตนให้เหนือคุณและโทษ จึงบริหารสถานการณ์อย่างอิสระ ไม่ปรากฏเสียงตัดพ้อหรือบ่นว่าอีกต่อไป

***************

ว่าด้วยความจริงจัง
คนโง่ : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องจริงจัง จึงเครียดแทบบ้า

คนฉลาด : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานจนไร้สาระ

คนเจ้าปัญญา : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว

*****************

ว่าด้วยความประสบความสำเร็จ

คนโง่ : รอให้ความสำเร็จมาหา อาจต้องรอหลายชาติกว่าจะพบซักครั้ง

คนฉลาด : เดินไปหาความสำเร็จ จึงอาจมีโอกาสพบบ้างแม้เหนื่อยยาก

คนเจ้าปัญญา : ปักหลักสร้างความสำเร็จ หากสร้างความสำเร็จแน่ๆ และเหนื่อยน้อยกว่า

ขอขอบคุณสาระ ดีดี จาก
ธรรมะดิลิเวอร์รี่
บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา กับความแตกต่าง .....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 07:49:34 am »
0
เรื่องนี้อ่านดี จริง ๆ คะ
 ชี้แจงความแตกต่าง ทุกแง่มุม ซึ่ง ความเป็นคนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา นั้นแท้ที่จริง ก็อยู่ในตัวเราทั้งหมด
บางครั้งเราก็โง่ บางครั้งเราก็ฉลาด บางครั้งเราก็เจ้าปัญญา ทุกครั้งที่ทำก็มีผลมาให้ใจต้องรับ จะหนัก จะเบา
ขึ้นอยู่กับว่าเรา โง่ ฉลาด มีปัญญา

  ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจารี ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์

 เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

 ยืมสำนวนพระมาใช้หน่อยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า