ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก “ไก่” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ชมภาพ)  (อ่าน 1960 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รู้จัก “ไก่” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
โดย โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์  Tokyo University of Foreign Studies

สวัสดีปีไก่ด้วยใจคึกคัก ปีนี้ไทยเรียก “ปีระกา” ญี่ปุ่นเรียกว่า “โทะริ-โดะชิ” (酉年; tori-doshi) โบราณญี่ปุ่นท่านว่า ปีไก่หมายถึงปีที่ “ดอกผลจะสุกงอม อยู่ในสภาพพร้อมให้เก็บเกี่ยว” ด้วยเหตุนี้จึงตีความได้ว่า “การค้าจะรุ่งเรือง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป
       
       เมื่อนึกถึงไก่ ใครๆ ก็รู้ว่านี่คือสัตว์ที่ใกล้ตัวมนุษย์มาก แต่ถึงแม้ใกล้ขนาดเข้าปากปีละไม่รู้กี่ครั้ง ก็ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่ทราบว่าขาไก่หนึ่งข้างมีกี่นิ้ว อย่ากระนั้นเลย ในโอกาสเปิดศักราชปีไก่ ขอเชิญมาทำความรู้จักกับไก่ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอีก 3 มุม ได้แก่ หน้าที่ไก่ด้านความเชื่อ จิตรกรภาพไก่ และไก่ไทยในญี่ปุ่น
       
       หากว่ากันถึง “หน้าที่ไก่” ไก่ไทยกับไก่ญี่ปุ่นซึ่งมี 4 นิ้วเหมือนกัน (บางพันธุ์มี 5 นิ้ว) ต่างก็ทำหน้าที่คล้ายๆ กัน คือ มีชีวิตเพื่ออุทิศทั้งเนื้อและไข่เป็นอาหารให้มนุษย์ หรือไม่ก็อวดขนงามๆ กับความน่ารักให้ผู้ชมได้เพลินใจ แต่ไก่ในญี่ปุ่นมีหน้าที่มากกว่านั้นอีกหน่อย



        บางครั้งคนต่างชาติไปเยี่ยมชมศาลเจ้าของญี่ปุ่นและเห็นไก่ นึกสงสัยขึ้นมาว่าเลี้ยงไว้ทำไม? เอาไว้กินไข่?...ก็อาจจะใช่ แต่ถือว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า หรือเอาไว้กินเนื้อ?...อันนี้มีความเป็นไปได้ต่ำ หรือว่าเลี้ยงไว้ดู?...อันนี้คงใช่ แต่ก็มีนัยที่ลึกกว่านั้น ศาลเจ้าญี่ปุ่นหลายแห่งเลี้ยงไก่เพราะถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งตามคติชินโต และเพราะอิทธิพลของชินโตนี่เอง จึงไม่ใช่แค่ไก่ แต่สัตว์อะไรๆ ที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์ คนญี่ปุ่นก็มักถือว่าศักดิ์สิทธิ์แทบทั้งนั้น ถ้าลองสืบค้นดู เดี๋ยวจะเจอตำนานเทพที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจนได้ แต่สิ่งเหล่านี้เชื่อไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะอย่างน้อยก็ทำให้มนุษย์สนใจและเมตตาสัตว์มากขึ้น
       
        “ไก่” คือ “ชินชิ” (神使;shinshi) แปลว่า “ผู้นำสารของเทพเจ้า” หรือ “ทูตแห่งเทพ” สาเหตุที่คนญี่ปุ่นเชื่อเช่นนี้มีรากเหง้ามาจากตำนานต้นกำเนิดญี่ปุ่น กล่าวคือ สุริยเทวีผู้เป็นต้นตระกูลจักรพรรดิ ถูกน้องชายรังควานและไม่สบอารมณ์ขึ้นมา จึงหลบหน้าไปอยู่ในถ้ำ เมื่อนั้นตะวันก็ลาฟ้าก็มืด เกิดความระส่ำระสายยาวนานเพราะเทวีผู้ดูแลดวงอาทิตย์ไม่ย่างกรายออกมา ทวยเทพองค์อื่นๆ จึงมารวมตัวกัน และคิดหาวิธีให้เทวีออกมาจากถ้ำ
       
       กระบวนการเบื้องต้นคือ นำไก่ที่ขันได้ยาวนานมาไว้ใกล้ๆ ปากถ้ำ และให้มันขันนำ ส่งเสียงกระตุ้นเตือนให้ตระหนักว่านี่เช้าแล้ว ออกมาเถิด พอได้เวลา ไก่ก็ขัน “โคะ-เกะ-กก-โก, โคะ-เกะ-กก-โก” สุริยเทวีเริ่มเอะใจ แต่ก็ยังไม่ยอมออกมา เทพเจ้าทั้งหลายจึงดำเนินการขั้นต่อไป โดยจัดดนตรีมาเล่น และพากันหัวเราะเสียงสนั่น ทำทีเหมือนมีงานครื้นเครงจริงๆ



        สุริยเทวีสงสัยหนักกว่าเดิมว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่ภายนอก ครั้นอดใจไม่ไหวจึงแง้มประตูถ้ำออกมา ปรากฏว่าเทพยดาจัดเตรียมกระจกเงาไว้คอยท่า พอสุริยเทวีเยี่ยมหน้าออกมา ก็เห็นหน้าตัวเองเข้า ประหลาดใจหนักหนาว่านั่นหน้าใคร (สมัยโบราณไม่มีกระจากเงา) จึงออกมาทั้งตัว เป็นอันว่าโลกก็กลับมามีแสงสว่างดังเดิม
       
       (ติดตามรายละเอียด “ตำนานต้นกำเนิดญี่ปุ่น” ได้ที่ www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000091447)
       
       ด้วยที่มาเช่นนี้ ไก่จึงเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับเทพเจ้า ถ้าเป็นไก่ที่เลี้ยงอยู่ในบริเวณศาลเจ้า ก็จะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยๆ และไม่ได้เลี้ยงไว้กิน แต่เลี้ยงไว้ดู หรือถ้าพูดให้ตรงยิ่งขึ้นคือเลี้ยงไว้บูชาเสียมากกว่า หากใครมีโอกาสได้ไปศาลเจ้าญี่ปุ่นและเห็นไก่ ก็คงจะเลิกสงสัยแล้วว่าเลี้ยงไว้ทำไม โดยเฉพาะที่ศาลเจ้าอิเซะในจังหวัดมิเอะ ซึ่งถือว่าเป็นศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดแห่งจักรพรรดิวงศ์ของญี่ปุ่น
       
       อีกมุมหนึ่งที่น่ารู้ไว้คือ “ศิลปินภาพไก่” ช่วงนี้ถ้าแวะเข้าร้านหนังสือ จะพบเห็นหนังสือรวมจิตรกรรมไก่หลายเล่ม เป็นภาพที่แลดูสะดุดตาด้วยสีสันสดใสและมีการลงลายอย่างละเอียดลออ หลายสำนักพิมพ์ออกหนังสือแนวนี้มาเตรียมรับปี 2560 ล่วงหน้าหลายเดือนแล้ว ซึ่งก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่คนรุ่นหลังของญี่ปุ่นเองก็จะได้รู้จักจิตรกรคลาสสิกผู้โดดเด่นเรื่องภาพไก่



        ในญี่ปุ่น ศิลปินที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างกว้างขวางเป็นพิเศษในปีไก่ก็คือ จะกุชู อิโต (伊藤若冲;Itō, Jakuchū ; พ.ศ. 2259 – 2343) จะกุชูเกิดที่นครเกียวโต ฝีมือวาดภาพได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน สร้างผลงานไว้มากมาย แต่ภาพธรรมชาติและสัตว์ โดยเฉพาะภาพไก่และนก โดดเด่นกว่าอย่างอื่น และแน่นอนว่าเมื่อพูดถึงจะกุชู คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงภาพไก่ก่อน เมื่อประจวบกับปีไก่ ชื่อของจะกุชูจึงกลับมาแพร่หลายบนแผงหนังสืออีกระลอก สำหรับผู้รักงานศิลปะตะวันออก ผมคัดสรรภาพเด่นๆ อันหาชมนอกญี่ปุ่นได้ยากมาชวนกันทัศนา
       

ไก่สองตัวกับอะจิไซ (ดอกไฮเดรนเยีย) (紫陽花双鶏図;Ajisai sōkei zu)

ไก่สีขาวกับสนเก่าแก่ (老松白鶏図;Rōshō hakkei zu)

ฝูงไก่ (群鶏図;Gunkei zu)

พ่อไก่ในดงค้อดอย (棕櫚雄鶏図;Shuro yūkei zu)

พ่อไก่แม่ไก่ร่างใหญ่ (大鶏雌雄図;Taikei shiyū zu)

พ่อไก่กลางหิมะ (雪中雄鶏図;Setchū yūkei zu)

พ่อไก่ยามอาทิตย์อุทัย (旭日雄鶏図;Kyokujitsu yūkei zu)
       
พ่อไก่ในพุ่มนันเต็ง (บาร์เบอร์รี) (南天雄鶏図;Nanten yūkei zu)
       
ฝูงไก่กลางตะบองเพชร (仙人掌群鶏図;Saboten-gun kei zu)

        และอีกหนึ่งมุมที่ใกล้ตัวคนไทยเข้ามาหน่อย คือ “ไก่จากไทยในญี่ปุ่น” ถ้าเอ่ยถึงไก่ไทย หลายคนอาจนึกถึง “ไก่ชน” ขึ้นมา เมื่อถามว่าที่ญี่ปุ่นมีไก่ชนหรือไม่ คำตอบคือมี ในญี่ปุ่นมีไก่ชนพันธุ์หนึ่งซึ่งชื่อภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ไก่ทหาร” ทั้งตัวไก่และชื่อไก่ต่างก็ได้มาจากไทยเรานี่เอง ญี่ปุ่นนำเข้าไก่ชนจากไทยในช่วงต้นสมัยเอะโดะ เมื่อก่อน ไทยคือสยาม คนญี่ปุ่นเรียก “สยาม” ตามสำเนียงญี่ปุ่นว่า “ชะมุ” (シャムหรือ暹羅;Shamu) แล้วเอาตัวอักษร 軍(ทหาร)กับ 鶏 (ไก่) แปะเข้าไป และให้ออกเสียงเรียกไก่ชนิดว่า “ชะโมะ” (軍鶏;shamo) ไก่ชนของไทยจึงได้ชื่อใหม่ในญี่ปุ่นว่า “ชะโมะ” ด้วยประการฉะนี้


        สมัยก่อน จุดประสงค์ของการเลี้ยงไก่ชนในญี่ปุ่น หลักๆ แล้วเหมือนของไทยคือ นำมาชนเพื่อความสนุกสนาน และเลยเถิดไปถึงการพนันขันต่อ แต่พอถูกทางการสั่งห้าม การเลี้ยงเพื่อชนจึงซบเซาลง และเนื่องจากว่ากันว่าเนื้อไก่ชนมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันจึงมีการเลี้ยงอยู่บ้างเพื่อใช้เป็นอาหาร จังหวัดที่เลี้ยงแพร่หลาย เช่น อะโอะโมะริ อะกิตะ โตเกียว อิบะระกิ ชิบะ โคจิ ไม่ใช่แค่ไก่ชนเท่านั้นที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทย แต่ไก่ที่คนญี่ปุ่นกินกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากไทย แม้ไก่ไทยเคยถูกห้ามนำเข้าหนึ่งทศวรรษจนถึงปลายปี 2556 เพราะโรคไข้หวัดนก แต่ในช่วง 3 ปีมานี้ อนาคตของไก่ไทยก็กลับมาสดใสเพราะญี่ปุ่นยอมกลับมานำเข้าอีก
       
       ดูเหมือนอนาคตอันเกี่ยวเนื่องกับไก่ไทยจะสดใสยิ่งขึ้นนับจากนี้ต่อไป สังเกตได้จากการที่หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ “นิกเก” ของญี่ปุ่นให้ความสนใจกลุ่มซีพี ถึงกับลงบทสัมภาษณ์คุณธนินทร์ เจียรวนนท์และบทความว่าด้วยซีพี ติด ๆ กันมาพักใหญ่ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2559 ดูท่าไก่ไทยคงจะสยายปีกการค้าได้แกร่งกล้าตามโฉลกปีไก่เป็นแน่แท้
       
       ปีใหม่นี้ ญี่ปุ่นเบิกฟ้าด้วยอากาศแจ่มใสตลอดช่วงสัปดาห์แรก ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับการค้า แล้วก็เป็นไปตามความคาดหมาย อย่างน้อย ๆ วันที่ 1-3 ผู้คนในโตเกียวก็พากันหลั่งไหลออกไปซื้อ “ถุงโชคดี”—ฟุกุบุกุโระ (福袋;fukubukuro) อย่างคึกคัก ตามร้านค้าในย่านใหญ่ก็มีเสียงภาษาไทยลอยมาให้ได้ยินเป็นระยะอีกด้วย คาดว่าคงเป็นคนไทยที่เดินทางไกลมารับปีใหม่กันถึงญี่ปุ่น ก็หวังว่า ในปีไก่นี้ การค้าทั้งของไทยและญี่ปุ่นจะรุ่งเรืองยิ่งขึ้น และขอให้ผู้อ่านได้พานพบแต่สิ่งประเสริฐตลอดปี

       

คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000000216
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2017, 11:03:39 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รู้จัก “ไก่” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ชมภาพ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 04, 2017, 04:44:01 pm »
0
  ปีไก่ ..ขอให้อย่ามีอุปสรรค

   หากินคล่อง ดั่งไก่  เงินทองหลั่งไหลไม่ขาดมือ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รู้จัก “ไก่” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ชมภาพ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2017, 07:52:19 pm »
0
 :smiley_confused1:
เรื่องของไก่ ให้นึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "กกุกสันโธ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2017, 07:53:53 pm โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รู้จัก “ไก่” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ชมภาพ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 05, 2017, 11:38:02 pm »
0
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ