ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตอนที่คุณเป็นทุกข์ ลำบาก จิตใจสับสนอลหม่าน ประหวั่นพรั่นพรึง  (อ่าน 2488 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ตอนที่คุณเป็นทุกข์ ลำบาก จิตใจสับสนอลหม่าน ประหวั่นพรั่นพรึง แก่มรณะภัยที่กำลังปรากฏอยู่เบื้องหน้า จิตใจอ่อนล้า มองไปทางใดก็มืดมนอันธกาล มีเพื่อนก็ไม่เห็น มีญาติก็หาย ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไซร้

พึงนึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด เมื่อนึกถึงแล้ว ก็สวด อิติปิโส ภควา เป็นต้น สิบหน ร้อยหน พันที เดี๋ยวก็พบหนทางสว่างเอง

เรียนธรรมไม่เข้าใจ จิตใจอ่านแล้วก็สับสน ไม่รู้ถูกรู้ผิด ไม่รู้เริ่มตรงไหน จะภาวนาอะไร มันก็หายไปหมด หัวข้อธรรมใด ๆ ที่ปรากฏก็ไม่มีสักอย่าง เวิ้งว้าง ว่างเปล่าเหมือนไม่ได้เรียนอะไรมาเลย นั่นเป็นเพราะว่า จิตถูกปิดจากพระธรรม ดวงตาเห็นธรรมจึงไม่ปรากฏ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไซร้

พึงนึกถึง พระธรรมอันเป็น ธรรมตรัสรู้ที่ องค์สมเด็จพระชินสีห์ ผู้เป็นสัพพัญญุตตญาณ ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ได้ทรงประกาศพระสัทธรรม ทั้ง 9 มี อริยมรรค 4 มีอริยผล 4 มีนิพพาน 1 ด้วยพระวาจาอันประกอบด้วยเมตตา อันแสดงปรากฏชัดในพระคัมภีร์ ชือว่า พระไตรปิฏก อันงามในเบื้องต้น ทั้งงามยิ่งท่ามกลาง และงดงามอย่าที่สุด เมื่อนึกถึงได้อย่างนี้ จงยังปีติให้ปรากฏใน น้ำจิตแห่งหทัย แล้วพึงสวด สวากขาโต เป็นต้น สิบหน ร้อยหน พันที เดี๋ยวก็พบหนทางส่ว่างกระจ่างแจ้งเอง

ภาวนาแล้ว เจ็บ มีปวดขบเมื่อย รู้สึกย่อท้อ ทำน้อยก็ไม่ได้ ทำมากก็ไม่ปรากฏ ไม่ทำเลยก็ไม่มี ยิ่งภาวนา เดี่ยวก็เจ็บ เดี่ยวก็ปวด เดี่ยวก็ไข้ เดี๋ยวก็อด เดี่ยวก็อยาก ยิ่งภาวนา ยิ่งรู้สึกโดดเดี่ยว เดียวดาย วิเวก วังเวง จนเหมือนตัวเองตกระกำลำบาก ทำให้ท้อแท้เหนื่อยหน่าย ย่อท้อต่อความลำบาก ยิ่งนึกยิ่งกระสับกระส่าย หนทางแห่งความสงบ มีเพียงแค่ ความเงียบรอบตัวเท่านั้น ปีติก็ไม่ปรากฏ สุขก็ไม่เกิด จิตที่แช่มชื่น เป็นเหมือนดั่งคนมีชีวิตที่ตายซาก เป็นเพียงแต่อยู่มีชีวิตเพียงปรุงแต่งจินตนาการ ว่าเป็นผู้ภาวนา เมื่อจิตหดหู่ย่อท้ออย่างนี้ ย่อมเป็นโอกาสแห่งมาร ให้มาเสกตัณหารัดรึง จิต ให้คลุกคลี คลุกเคล้า ย้อมรวบไปกับอุปาทานทั้งหลาย ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไซร้

พึงนึกถึงพระสงฆ์ แม้ผู้รัตตัญญู ผู้สืบทอด ผู้เป็นพระอนุพุทธะ ผู้เป็นเอตทัคคะ ผู้เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อญาณ ปฏิบัติชอบ ให้ระลึกถึงคุณแห่งพระสังฆะรัตนะอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก อันพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสแสดงไว้ชอบแล้ว ย่อมถึงแก่บุคคลผู้ปฏิญาณสัจจะแห่งพรหมจรรย์ ด้วยการตั้งตนไว้ขอบ ควรแก่สักกาะ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การทำอัญชลี อันสังฆรัตนะ ปรากฏแล้วด้วย ความเพียร ปัญญา ศรัทธา สัจจะ ขันติ ทมะ อันยอดเยี่ยมเป็นผู้ช่วยประกาศธรรมแห่งพระพุทธเจ้าให้รุ่งเรือง ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ขอท่านทั้งหลายจงหทัยให้เต็มด้วยสังฆรัตนะ นี้เถิด เชิญท่าน สวด สุปฏิปันโน สาวกสังโฆ เป็นต้น สิบหน ร้อยหน พันที เดี๋ยวก็พบหนทางส่ว่างกระจ่างแจ้งเอง

ผู้ใดมีจิตหวั่นไหว หวาดกลัว หวั่นเกรง แก่มาร แพ้มารบ่อยเมื่อจะะทำจิตให้ตั้งมั่นในองค์แห่งการภาวนา มี นิพพาน เป็นอารมณ์แล้วไซร้พึงสวด ธชัคคสูตร บทนี้ให้เป็นประจำ

อันว่า ความหวาดหวั่น หวาดกลัว ต่อภัย ทั้งหลายจักสิ้นไป หากแม้นผู้นั้น ระลึกถึง แห่งพระพุทธเจ้า แห่งพระธรรม แห่งพระอริยะสงฆ์

ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่านเถิด
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่านเถิด
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่านเถิด

เจริญธรรม / เจริญพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2018, 05:13:08 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;