ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การบรรลุธรรม ของ "คนมีกิเลสหนา" เรื่องน่าคิดจาก..พระพุทธพจน์  (อ่าน 812 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การบรรลุธรรม ของ "คนมีกิเลสหนา" เรื่องน่าคิดจาก..พระพุทธพจน์

หลายคนมักกล่าวว่า “คนกิเลสหนา บรรลุธรรมไม่ได้” และเชื่อกันแบบนี้หลายคน แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ในพระสูตรที่มีชื่อว่า วิตถารสูตร ถึง การบรรลุธรรมของคนมีกิเลสหนา ไว้ว่า

     บุคคลบางคนในโลกนี้ ตามปกติเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีในกาม(ราคะ) ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากความกำหนัดยินดีในกามตลอด

    - เป็นผู้มีความโกรธ(โทสะ) รุนแรง ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส ที่เกิดจากความโกรธตลอด
    - เป็นผู้ที่มีความหลง(โมหะ) รุนแรง ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส ที่เกิดจากความหลงตลอด
    แต่อินทรีย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เหล่านี้มีความแรงกล้า เขาย่อมบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน

    แต่หากคนผู้นั้นมีกิเลสเป็นราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง ไม่ได้มีความทุกข์โทมนัสจากราคะ โทสะ และโมหะ แต่อินทรีย์ทั้ง 5 ประการนี้อ่อน เขาย่อมได้บรรลุมรรคผลล่าช้า
    การบรรลุธรรมจึงขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 5 ประการ


@@@@@@

ระดับของการบรรลุธรรม

การบรรลุธรรมของคนที่มีกิเลสหนาถึงจะขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 5 แต่ก็มีความช้าและความเร็วแตกต่างกันไป พระพุทธเจ้าจัดระดับไว้ 4 ระดับคือ

        1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
        2. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
        3. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
        4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

- ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หมายถึง ผู้ที่มีกิเลสหนา แต่มีอินทรีย์ 5 ประการบาง จึงบรรลุธรรมได้ช้า
- ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หมายถึง ผู้ที่มีกิเลสหนา แต่มีอินทรีย์ 5 ประการแรงกล้า จึงบรรลุธรรมได้ไว
- สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หมายถึง ผู้ที่ไม่มีกิเลส มีอินทรีย์ 5 ประการบาง จึงบรรลุธรรมช้า
- สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หมายถึง ผู้ที่ไม่มีกิเลส มีอินทรีย์ 5 ประการแรงกล้า จึงบรรลุธรรมได้ไว

@@@@@@

ทำไมการบรรลุธรรม จึงเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ 5.?

อินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เป็นองค์ธรรมที่ช่วยให้ลาภะ โทสะ และโมหะ ลดลง เมื่อมีความเชื่อมั่น (ศรัทธา) ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเกิดความเพียร (วิริยะ) การระลึกรู้ได้ก็จะตามมา (สติ) เมื่อเกิดการระลึกได้สมาธิก็จะตามมา เมื่อมีสมาธิผลที่ได้คือปัญญา ผู้บรรลุอรหันต์ล้วนผ่านองค์ธรรม 5 ประการนี้

ตัวอย่างเช่น เจ้าหญิงอภิรูปนันทา เป็นสตรีชนชั้นสูงที่มีความงามเป็นเลิศ จึงมีอุปนิสัยรักสวยรักงาม พอผนวชเป็นภิกษุณี ก็ยังไม่ทรงละอุปนิสัยรักสวยรักงามอยู่ดี พระพุทธเจ้าทรงต้องการโปรดเจ้าหญิงอภิรูปนันทาให้ทราบถึงโทษของการรักสวยรักงาม

พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตสตรีนางหนึ่งขึ้นมาให้มีความงามประดุจนางฟ้า เจ้าหญิงทรงหลงใหลแล้วชมว่า สตรีนางนี้มีความงดงามมากกว่าสตรีใดใดที่้คยพบเห็นมา ไม่นานสตรีนางนี้ก็ค่อย ๆ แก่ลง แล้วตายกลายเป็นศพ และเน่าส่งกลิ่นเหม็น แล้วกลายเป็นโครงกระดูกในที่สุด

@@@@

เมื่อเจ้าหญิงอภิรูปนันทาทอดพระเนตรดังนั้นแล้วทรงเชื่อ (ศรัทธา) ในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วว่าการยึดติดในความงามเป็นสิ่งที่เที่ยง แท้ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เมื่อเจ้าหญิงทรงพิจารณาร่างของสตรีนางนั้นด้วยตั้งใจ (วิริยะ) เมื่อทรงสังเกตจนถึงตอนที่สตรีนางนั้นสิ้นลม การระลึกรู้ (สติ) ถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าก็บังเกิดขึ้นในบัดนั้นทันที

พอทรงมีสติพิจารณาใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนดีแล้ว จึงบังเกิดความสงบ(สมาธิ)ขึ้น เจ้าหญิงอภิรูปนันทาเกิดความเข้าพระทัยว่า สิ่งที่พระนางหลงใหล (โลภะ) ในความงามนั้น เป็นความเขลาเบาปัญญา ทำให้พระนางตรึงอยู่ในกระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป

พระนางทรงข้ามฝั่งแห่งน่านน้ำอวิชชามาถึงฝั่งแห่งวิชชา อันเกิดจากการพิจารณาร่างของสตรีเนรมิต จนกระทั่งทำให้พระนางบรรลุธรรม

เจ้าหญิงอภิรูปนันทา เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าคนที่มีกิเลสหนา บรรลุธรรมได้นั้นมีอยู่จริง แต่อินทรีย์ 5 ของพระนางพร้อม พระพุทธเจ้าทรงเห็นจึงได้โปรดพระนางด้วยวิธีนี้จนพระนางบรรลุธรรม


 

ที่มา : วิตถารสูตร
ขอบคุณที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/118542.html
By nintara1991 , 17 October 2018
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2018, 06:00:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า