ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เอกัคคตา" ในฌาน ๔. ชื่อว่า "สัมมาสมาธิ" เป็นโลกิยะในเบื้องต้น  (อ่าน 2133 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"เอกัคคตา" ในฌาน ๔. ชื่อว่า "สัมมาสมาธิ" เป็นโลกิยะในเบื้องต้น ภายหลังเป็นโลกุตระ

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ (บาลีข้อ ๑๗๐)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป.

ฌาน ๔. มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ในส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจแห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ ๒ เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น.

ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรคเป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่าประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง ๔ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันบ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบางอย่าง ด้วยอำนาจฌาณ.

@@@@@@

ส่วนความแปลกกันของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดังต่อไปนี้.

ว่าด้วยนิยาม(การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคลผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ย่อมเป็นธรรมบริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี ๗ องค์

เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วยตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี ๗ โพชฌงค์มี ๖. นับตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ.

ถามว่า : ในอธิการนี้เป็นอย่างไร.?
ตอบว่า : ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจากฌานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูปสมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค ๓ (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌานนั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั่นเอง ย่อมกำหนดมรรค.


@@@@@@

แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนา บทภาชนีย์ว่าด้วยโลกุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า เอกัคคตา(สมาธิจิต) ในฌาน ๔ เหล่านี้ เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.


ข้อความบางตอนใน อรรถกถา วิภังคปกรณ์ สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=144&p=2&h=พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมา#hl
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=2637&Z=2865


       :25: :25: :25:

      [๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

      ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
      บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
      บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
      บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุขอยู่
      บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"

      สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



ที่มา : สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ , พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=2637&Z=2865


คำว่า “เอกัคคตา” แล้วไปวงเล็บว่า “สมาธิจิต” ผู้ฟังก็งง เพราะไม่ได้บ่งบอกว่า คืออะไรแน่ แต่ถ้าวงเล็บว่า “เอกัคคตาเจตสิก” ก็เป็นอันสิ้นความ…
เอกัคคตาเจตสิก (คือความตั้งมั่นในอารมณ์เดียว) เป็นชื่อของสมาธิ
ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ก็ได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่ในโสภณจิต มีมหากุศลจิตเป็นต้น…
แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ ก็ได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่ในอกุศลจิต 12

เอกัคคตาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศล หรือมหัคคตกุศล (รูปาวจร-อรูปาวจร) ในขณะเจริญสมถะหรือวิปัสสนา ที่ยังไม่ถึงมรรคจิต ผลจิต… จัดเป็นสมาธิที่เป็นโลกียะ …แต่ถ้าอยู่ในมรรคจิต หรือผลจิตแล้ว เอกัคคตา (สมาธิ) นั้น ก็จัดเป็นโลกุตตระ

@@@@@@

องค์มรรคทั้ง ๘ (ปัญญาเจตสิก,วิตกเจตสิก,สัมมากัมมันตะเจตสิก,สัมมาวาจาเจตสิก,สัมมาอาชีวะเจตสิก,วิริยะเจตสิก,สติเจตสิก, และเอกัคคตาเจตสิก) มีปริยายการเกิดกับมรรค-ผลจิต ดังนี้

     – ถ้ามรรคทั้ง ๔ หรือผลทั้ง ๔, เกิดขึ้นพร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (ปฐมฌาน) องค์มรรคทั้ง ๘ ก็จะเกิดได้ครบ
     – แต่ถ้ามรรคทั้ง ๔ หรือผลทั้ง ๔ เกิดพร้อมด้วยองค์ฌาน ๔,๓,๒ (เว้นวิตก,วิจาร,ปีติ) เป็นทุติยฌาน,ตติยฌาน,จตุตถฌาน และปัญจมฌานตามอภิธรรมนัย องค์มรรค ๘ ก็จะเกิดได้แค่ ๗ เว้นวิตกเจตสิก ที่เป็น สัมมาสังกัปปะมรรค

@@@@@@

สำหรับในโพชฌงค์ ๗ ซึ่งมีองค์ธรรม ๗ ได้แก่ สติ, ปัญญา, วิริยะ, ปีติ, ปัสสัทธิ,เวทนา,เอกัคคตา มีปริยายในการเกิดกับมรรค-ผลจิต ดังนี้

    – ถ้ามรรคทั้ง ๔ (โสดา,สกทาคา,อนาคา,อรหัตต) เกิดพร้อมด้วยจตุตถฌาน,หรือปัญจมญาน ในอภิธรรมนัย หรือตติยฌานในสุตตันตนัย องค์ของโพชฌงค์ก็จะเหลือเพียง ๖ เว้นปีติสัมโพชฌงค์ออกไป เพราะปีติที่เป็นองค์ฌานและเป็นองค์ของโพชฌงค์ จะไม่เกิดในจตุตถฌาน,ปัญจมญาน ในอภิธรรมนัย หรือตติยฌานในสุตตันตนัย



ขอบคุณที่มา : dhamma.serichon.us/พุทธศาสน์ในตำนาน/พุทธธรรม/เอกัคคตาในฌาน-๔-เรียกชื่/ 
Author : admin. ,พฤษภาคม 18, 2018
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2019, 09:21:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ