ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนับของอานาปานสติ แบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบเข้าใจง่าย และ ทำได้ง่ายๆ  (อ่าน 7142 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การนับของอานาปานสติ แบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบเข้าใจง่าย และ ทำได้ง่ายๆ

 มีวิธีการนับอย่างไรค่ะ รบกวนท่านผู้่รู้ช่วย ชี้แนะด้วยค่ะ 

 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับผู้มาใหม่อย่างข้าพเจ้า

 ที่เพิ่งย่างก้าวเข้าเส้นทางสายธรรม...ขอขอบพระคุณมา ณ.ที่นี้ค่ะ
 :25:
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แบบอนุบาล นะครับ กลัวเอามะพร้าวห้าว มาขายสวน ครับ

   
ความคิดเห็นที่ 2    [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

พระสารีบุตรท่านอธิบายขยายความพระพุทธพจน์เรื่องอานาปาน สติไว้ในพระไตรปิฎกจะปรากฎคำอธิบายเรื่องนี้โดยตรงอยู่ ประมาณ 3 จุด คือ 1.วินัยปิฎกต้นบัญญัติ(กำเนิดอานปานัสสติ)ท้ายข้อปาราชิกข้อฆ่ามนุษย์  2.สุตตันตะปิฎก เป็นคัมภีร์ที่เป็นผลงานโดยตรงของพระสารีบุตรชื่อว่า ปฏิสัมภิทามรรค  3.กล่าวโดยอ้างถึงคำขยายความของพระสารีบุตรปรากฎในที่ต่างๆ  รวมทั้งนอกพระไตรปิฎกอย่าง คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยพระพุทธโฆษาจารย์

หากจะถามว่าท่านพระสารีบุตรสอนอย่างไร เอาแบบสรุปเข้าใจง่ายๆ สรุปได้ดังนี้

หลังจากทำกิจเป็นเบื้องต้นแล้ว เช่น ตัดปลิโพธะ ตรวจศีล ระลึกคุณพระรัตนตรัย พิจารณาโทษของกาม .....

เข้าที่(ป่า เป็นต้น) ตั้งกายตรง รู้ลมออก-เข้า  ที่จุดเดียวปลายจมูกหรือริมฝีปากบน

สำหรับผู้ใหม่นับในใจของลมออก-เข้า ว่า

1-1  2-2  3-3  4-4  5-5
1-1  2-2  3-3  4-4  5-5  6-6
1-1  2-2  3-3  4-4  5-5  6-6  7-7
1-1  2-2  3-3  4-4  5-5  6-6  7-7  8-8
1-1  2-2  3-3  4-4  5-5  6-6  7-7  8-8  9-9
1-1  2-2  3-3  4-4  5-5  6-6  7-7  8-8  9-9  10-10

นับ อย่างนี้ไปจนกระทั้งไม่หลง  คือมีผิดน้อยลงๆ เรื่อยๆ จนกระทั้งจิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมีปริมาณมากขึ้น  จะปรากฎอาการคือ ไม่พลาดเลย  และลมหายใจจะเร็วขึ้น  ให้เปลี่ยนรูปแบบการนับ

นับ ใหม่ดังนี้ หายใจออกนับ 1 หายใจเข้านับ 2 สลับกันไป โดยกำหนดที่จุดเดิมอย่าตามลมเข้าออก  อย่างที่ท่านเปรียบไว้เหมือนกับ นายช่างกลึง  หรือ การเลื่อย  หรือ นายทวารประตู  โดยมีลำดับดังนี้

1  2  3  4  5
1  2  3  4  5  6
1  2  3  4  5  6  7
1  2  3  4  5  6  7  8
1  2  3  4  5  6  7  8  9
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10

เมื่อ ทำอย่างนี้จนชำนาญจิตจะมีกำลังมากขึ้นให้หยุดนับ  และให้ต่อด้วยการรู้ความยาวตามกาลของลมหายใจที่ปกติอยู่นั้นทำไปเรื่อยๆ  อะไรจะเกิดให้ประหลาดใจ อย่างไรไม่ต้องสนใจ  ลมจะสั้นจนเหมือนจะดับ  ให้พิจารณาว่า ตอนนั้นมีลมแต่ลมละเอียดมากจนไม่สามารถจับได้  และอย่าคิดไปว่านั้นคือ ฌาน 4  ยังไม่ใช่  ให้พยายามหาสภาวะออกเข้าให้เจอที่จุดเดิมนั้นและ  มีเหมือนไม่มี อย่างที่ท่าน พระสารีบุตรกล่าาวว่า อย่างเช่น เสียงของกังสดาล  คือเมื่อตีเสียงจะกังวาน เหมือนกับเสียงตีครั้งแรก แต่ไม่ได้ตี เกิดเหมือนสภาวะลมหายใจช่วงนี้คือ มีอยู่แต่เหมือนไม่มี  และอาจสั้นมากๆ  เมื่อเข้าถึงขั้นนี้จนชำนาญแล้ว กล่าวคือ เมื่อเข้านั่งหรือกำหนดลมก็เข้าไปถึงจุดนี้ได้  นั้นพร้อมที่จะขยับขั้นสู้การรู้กองลมทั้งปวง  คือด้วยสภาพสติสัมปชัญญะมีกำลังมาก ผู้ปฏิบัติสามารถรู้ทั้่วในกองลมทั้ง 3 จุดได้ด้วยอาการทั่วพร้อม(ไม่ตามดูลมแต่รู้ได้)  ปิตีจะเกิดขึ้นทันที...............เอาล่ะคงเป็นที่เพียงพอต่อการอธิบาย หลักเบื้องต้น อานาปานัสสติ  ตามนัยยะพระสารีบุตรแต่เพียงนี้

อนุโมทนา สาธุ
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อย่าไปว่า เป็นอนุบาล เพราะแค่นี้ บุคคลทั่วไปก็ทำได้ยากแล้ว สำหรับ คณนา การนับ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึกมีไฟล์ วีดีโอบรรยายเรื่อง อานาปานสติของพระอาจารย์ใครมีโพสต์ให้บ้างนะคร้า..
ทำไมเว็บนี้ จึงไม่มีให้ดาวน์โหลด เสียง หรือ วีดีโอ หนังสือ ที่พระอาจารย์จัดทำออกมาเลยคร้า...

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึกมีไฟล์ วีดีโอบรรยายเรื่อง อานาปานสติของพระอาจารย์ใครมีโพสต์ให้บ้างนะคร้า..
ทำไมเว็บนี้ จึงไม่มีให้ดาวน์โหลด เสียง หรือ วีดีโอ หนังสือ ที่พระอาจารย์จัดทำออกมาเลยคร้า...

 :smiley_confused1:

ทำอย่างไรถึงจะได้ ไฟล์วีดีโอ หรือไฟล์เสียงบรรยาย คะ หรือทำอย่างไรจะได้พบพระอาจารย์คะ
 :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เอาไว้มาร่วมพบกันในกลุ่มพบธรรม เดี๋ยวก็ได้นะจ๊ะ ในส่วนของสื่อ แต่พระอาจารย์ไม่นำมาให้
 
ดาวน์โหลด ตอนนี้ เพราะไม่อยากให้เกิดการมองว่ามาโปรโมทตัวเอง
 
ดังนั้นจะเห็นว่าในเว็บของพระอาจารย์ ไม่มีสื่อ หนังสื่อ เสียง วีดีโอ ให้ดาวน์โหลดนะจ๊ะ
 
ไฟล์เสียง มีเป็นร้อยที่บันทึกไว้ วีดีโอ มี 25 ชุด  หนังสือที่พระอาจารย์เรียบเรียงและแต่ง มี 8 เล่ม
 
ตอนนี้กำลังพิมพ์ หนังสือ ชุดธรรมปฏิบัติที่สำคัญทั่วไปอยู่
 
ดังนั้นใจเย็น ๆ อ่านของวัดราชสิทธาราม ให้หมดก่อน ของหลวงพ่อพระครู เรียบเรียงมาอ่านแถบจะไม่จบ
 
กันแล้ว
 
เจริญธรรม
 
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ห้องอานาปานสติกรรมฐาน

   พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูกร ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด  เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มา ดังนี้

              สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติกรรมฐาน อันบุคคลอบรมดีแล้ว เจริญให้มากแล้ว ทำให้ชำนาญ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ให้บริบูรณ์ได้ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน๔ให้บริบูรณ์ได้แล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ประการให้เจริญได้ โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมยัง วิชชา และ วิมุตติ ให้เกิดขึ้นได้ เป็นปทัฏฐานแห่งมรรค ผล นิพพาน เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ เปรียบดังผ้าขาวที่บริสุท
ธิ์

               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญอานาปานสติว่าเป็น อริยวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า พรหมวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม   และ ตถาคตวิหาร ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า อานาปานสติ ถือเอาทางลมกระทบถูก

            พระโยคาวจรเจริญพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จนบรรลุ  อุปจารสมาธิ แล้วเมื่อจะเลื่อนลำดับจิตสมาธิให้ประณีตขึ้นสู่  อัปปนาสมาธิ ท่านให้เปลี่ยนเอาพระกรรมฐานที่มีปฏิภาคนิมิต, อัปปนาสมาธิ โบราณจารย์ มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น ท่านกำหนดให้เจริญเอายัง อานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นยอดของพระกรรมฐาน ในชั้นแรกกำหนดให้เจริญไปในทางสมถะกรรมฐานก่อน เพื่อทำให้จิตประณีตขึ้น เป็นบาทฐาน ของวิปัสสนาต่อไป

            เมื่อจะเจริญสมถะ ในห้อง อานาปานสติกรรมฐาน ท่านให้กำหนดรู้โดยย่อดังนี้

             ๑.คณนา ได้แก่การนับ เพราะอานาปานสติกรรมฐานนี้ เป็นพระกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจ เริ่มด้วยลมหายใจออก และ ลมหายใจเข้า หายใจออกให้นับ ๑-๒-๓-๔-๕ เป็น อนุโลม เดินหน้า หายใจเข้าให้นับ ๕-๔-๓-๒-๑ เป็น ปฎิโลม ถอยหลัง

              ๒.อนุพนฺธนา ได้แก่การติดตามลม เมื่อนับแล้วซึ่งลม ก็ให้มีสติกำหนดหมายตามลมหายใจเข้า – ออก อย่างต่อเนื่อง

             ๓.ผุสนา ได้แก่การกระทบ เมื่อนับลมแล้วเอาสติกำหนดตามลมหายใจเข้า-ออก แล้วจึงกำหนดว่า ลมหายใจเข้า-ออก ไปกระทบที่ไหนบ้าง เช่นที่ขื่อจมูก ปลายจมูก นี้เรียกว่าการกระทบ

             ๔.ฐปนา ได้แก่การตั้งมั่น นับลมแล้วจึงกำหนดสติ ติดตามลมว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกไปกระทบ (ผุสนา) ที่ไหนบ้าง เมื่อรู้ว่าลมหายใจเข้าออกกระทบที่ไหนแล้ว ควรกำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ที่ ลมกระทบนั้น ทำนิมิตให้มั่นคงเช่นลมกระทบที่ปลายจมูก ก็กำหนดจิตให้ตั้งมั่นคงไว้ที่ปลายจมูก

คณนา การนับ  ย่อมระงับวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
อนุพันธนา การติดตามย่อมระงับความวิตกที่หยาบและทำอานาปานสติเกิดขึ้นไม่ขาดตอน     
ผุสนา การกระทบ ย่อมกำจัดความฟุ้งซ่าน  และทำให้สัญญามั่นคง
ฐปนา การตั่งมั่น ย่อมทำให้จิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ


              การเจริญอานาปานสติข้างฝ่ายสมถะ ต้องเจริญการนับลม การติดตามลม การกระทบของลม การตั้งมั่น ให้กำหนดไปพร้อมกัน ตามกาล ตลอดกาล การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะจึงจะสำเร็จถึง อัปปนาสมาธิ
 
             แต่เพราะจุดกระทบของลมหายใจเข้า  ลมหายใจออก มีจำนวนนับไม่ถ้วนทำให้พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับนิมิตต่างๆ(จุดที่ลมกระทบ) ทำให้พระโยคาวจรสับสน การเจริญอานาปานสติฝ่ายสมถะจึงล้มเหลว และเพื่อกำจัดความสับสน โบราณจารย์แต่ปางก่อนจึงกำหนดจุดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กระทบ ให้เหลือไว้เพียงเก้าแห่ง เพื่อความชัดเจนในนิมิตต่างๆ และไม่สับสน ดังนี้

๑.สูญน้อยกลางนาภี (สะดือ) เป็นจุดตั้งมั่น
๒. จะงอยริมฝีปากบน
๓.ขื่อจมูก
๔. ปลายนาสิก
๕.ระหว่างตาทั้งสอง
๖.ระหว่างคิ้วทั้งสอง
๗.กลางกระหม่อมจอมเพดาน
๘.โคนลิ้นไก่ 
๙. หทัยวัตถุ  จุดสุดท้าย


คำอาราธนาสมาธินิมิต ห้องอานาปานสติ
        ข้าฯขอภาวนาอานาปานสติกรรมฐานเจ้า เพื่อจะขอเอายัง อุคคหนิมิต (ปฏิภาคนิมิต) ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระอริยสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่ พระมหาอัญญาโกญทัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระอริยสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิด

       อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอเชิญปฏิบัติบูชาตาม คำสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง อุคคหนิมิต (ปฏิภาคนิมิต) ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิด

      อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร   ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ

สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ
อรหํ     อรหํ     อรหํ
(หายใจออกภาวนาว่า ๑ -๒-๓-๔-๕ หายใจเข้าภาวนาว่า ๕- ๔ -๓ -๒ -๑)

อ้างอิง
คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ