ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหาราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕  (อ่าน 10202 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คัดลอกมาจาก www.larndham.net
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 5
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค มหาราหุโลวาทสูตร

 
 

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
เรื่องพระราหุล
      [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
 เศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว
 ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
 อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น
 พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
 ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
 อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
      พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้น
 หรือ?
      พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.
      [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
 ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
 นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตรได้เห็น
 ท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
 บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
 ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น
 ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
 แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
 อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?

ธาตุ ๕
      [๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
 เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
 อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.
      [๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
 น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
 มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
      [๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
 ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
 สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
 ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
 จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
 เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
 คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
      [๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
 ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
 วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
 นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
 ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
      [๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
 ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
 ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
 หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
 ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
 เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
 ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
 เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
 ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ.

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕
      [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อ
 เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก
 ไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ
 เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ
 เจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
 ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ
 ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล
 เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
 น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด
 เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ
 อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลาย
 บ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอ
 จงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็น
 ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอ
 ได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้น
 ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย
 ลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ
 ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
 ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง
     [๑๔๕] ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
 จักละพยาบาทได้. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละ
 วิหิงสาได้. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.
 เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้. เธอจง
 เจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา
 ภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.

อานาปานสติภาวนา
      [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
 เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
 ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
 อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
 หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
 ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
 ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
 หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
 ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
 สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
 อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
 ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
 ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
 อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
 พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2010, 03:26:17 pm โดย ทินกร »
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แก่นแท้ของพรหมจรรย์





                             



http://www.oknation.net/blog/leozenith/page3
http://www.vcharkarn.com/vblog/92238
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2011, 11:50:30 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เปิดฟังแล้ว น้ำตาไหลเลย ถึงจะยังไม่ค่อยจะเข้าใจว่า แก่นแท้ทำอย่างไร ?

 :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
 พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
 มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์
 มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
 พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.


 ขอบคุณ คุณธรรมธวัช ที่ชี้นำให้ได้อ่านพระสูตรนี้ คะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เปิดฟังแล้ว น้ำตาไหลเลย ถึงจะยังไม่ค่อยจะเข้าใจว่า แก่นแท้ทำอย่างไร ?

 :25:

สาธุ สาธุ .......สาูธู..... สงสัยจะบรรลุแล้ว ยายกบ ค้นเรื่องนี้มาอ่านด้วย
อนุโมทนาด้วยจ้า ยามเช้านี้

 :)
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานิสงส์การประพฤติพรหมจรรย์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 19, 2011, 06:38:59 pm »
0
กามทั้งหลายมีโทษมาก มีทุกข์มาก มีความพอใจน้อย เป็นบ่อเกิดแห่งความทะเลาะวิวาทกัน ความชั่วเป็นอันมากเกิดขึ้นเพราะกามเป็นเหตุ...”   



อานิสงส์การประพติพรหมจรรย์
 
 ๑.ทำให้ปลอดโปร่งใจ ไม่ต้องกังวลหรือระแวง
 
 ๒.ทำให้เป็นอิสระ เหมือนนกน้อยในอากาศ
 
 ๓.ทำให้มีเวลามากในการทำความดี
 
 ๔.ทำให้เป็นที่สรรเสริญของบัณฑิตทั้งหลาย
 
 ๕.ทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญรุดหน้าไม่ถอยกลับ
 
 ๖.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย 



วิธีประพติพรหมจรรย์

 พรหมจรรย์ชั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น รักษาศีล ๕ ไม่นอกใจ

ภรรยา-สามี

 พรหมจรรย์ชั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน คือนอกจากรักษาศีล ๕ แล้ว ก็ให้รักษาศีล ๘ เป็นคราวๆ ไปและฝึก

ให้มีพรหมวิหาร ๔

 พรหมจรรย์ชั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล ๘ ตลอดชีวิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ

เรื่องเพศ หรือถ้าเป็นชายก็ออกบวชเป็นพระภิกษุ และปฏิบัติธรรมทุกข้อในศาสนาให้เต็มที่ 


                   

(พรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก)



http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk32.htm
http://www.intania.com/forum/forum_postpop.asp?FID=3&TID=652&PN=1&TPN=39
http://www.belongtothetruth.com/Holy/meditation/meditation01.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/16394
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2011, 07:28:36 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



สำหรับภิกษุประเภทต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ ได้แก่


- ภิกษุอุจจาระ พระองค์ตรัสว่า นักบวชที่เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่

ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็อ้างตัวว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คน

ประพฤติพรหมจรรย์ ก็อ้างว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่า เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะ

มูลฝอย นักบวชชนิดนี้ คือ คนที่ทุกๆคน ควรขยะแขยง ไม่ควรคบหาสมาคม ไม่ควรเข้าใกล้ เปรียบเหมือนงู

ตกลงไปในหลุมอุจจาระ กัดไม่ได้ก็จริง แต่ก็ทำให้คนที่เข้าไปช่วยยกมันขึ้น เปื้อนอุจจาระไปด้วย และถ้าอยู่

ใกล้ แม้จะไม่ประพฤติแบบเดียวกัน แต่คนก็จะร่ำลือว่า มีมิตรหรือเพื่อนเลวทรามเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรเข้า

ใกล้ หรือคบสมาคมกับนักบวชพวกนี้



- ภิกษุชอบหญิง พระองค์ว่าพราหมณ์ หรือสมณะใดที่อ้างว่า เป็นผู้รักษาพรหมจรรย์โดยชอบ แม้จะไม่ได้เสพ

เมถุนกับหญิง แต่หากยินดีกับการพูดจา เล่นหัวสัพยอกกับหญิง ปลาบปลื้มในลักษณะดังกล่าว หรือชอบสบตา

กับหญิง หรือยังชอบฟังเสียงผู้หญิงพูดจา ขับร้อง หัวเราะ ร้องไห้อยู่ก็ดี หรือยังชอบระลึกถึงเรื่องเก่าๆ ที่เคยเล้า

โลม เล่นหัวกับหญิงอยู่ก็ดี หรือยินดีปลาบปลื้มกับการที่เศรษฐี หรือบุตรเศรษฐีที่ได้รับการบำเรอด้วยกามคุณก็ดี

หรือประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหวังไปเกิดเป็นเทพยดา พวกใดพวกหนึ่งก็ดี พระพุทธองค์ว่า สิ่งเหล่านี้คือความขาด

ความทะลุ และความด่างพร้อยแห่งพรหมจรรย์ หรือประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังเกี่ยวพันกับเมถุน ดังนั้น

จึงย่อมไม่พ้นจากทุกข์ไม่ว่าจะเป็นความเกิด แก่ เจ็บ และตายได้



- ภิกษุแหวกแนว หมายถึง ภิกษุที่ทำการชักชวนมหาชน ให้ทำกายกรรม วจีกรรม และการบำเพ็ญทางจิต ให้ผิด

แนวทางแห่งการทำให้พ้นทุกข์ในพระศาสนา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้มหาชนเสื่อมเสีย หมดสุข ทำให้เกิดความ

ฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และสร้างทุกข์ทั้งแก่มนุษย์และเทวดา พูดง่ายๆ ก็คือ ภิกษุที่ชอบชัก

ชวน ให้คนประพฤติปฏิบัติผิดจากที่พระพุทธเจ้าสอน ทำให้หลงงมงาย เชื่อในสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ



- ภิกษุเนื้อนา ที่ไม่เกิดบุญ หมายถึง ภิกษุที่ประกอบเหตุ 5 อย่าง คือ ภิกษุที่ไม่อดทนต่อรูป รส กลิ่น เสียง

และสัมผัสทั้งหลาย ที่ก่อให้เกิดความกำหนัดยินดี ไม่อาจตั้งจิตเป็นกลาง (จิตว่าง) อยู่ได้ หรือจะเรียกอีกอย่าง

ว่า ภิกษุติดบ่วงกามคุณ ก็ได้ คือหมกมุ่น มัวเมาในกามคุณทั้ง 5 จนไม่เห็นโทษ และไม่เห็นอุบายออกไปจาก

ทุกข์ รังแต่จะถึงความพินาศย่อยยับ พระพุทธองค์ว่า ภิกษุที่ประกอบเหตุ หรือติดบ่วงกามคุณ 5 อย่างนี้ ย่อมไม่

ควรแก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำความเคารพ และไม่เป็นเนื้อนาบุญของ

โลกอย่างดีเยี่ยม



- ภิกษุทำศาสนาเสื่อม มี 4 ประเภท คือ

1. ภิกษุที่เล่าเรียนพระสูตรอันถือกันมาผิดๆ ด้วยคำและสำเนียงที่ใช้กันผิด ทำให้ความหมายคลาดเคลื่อน

2. ภิกษุที่ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือน โดยความเคารพหนักแน่น

3. ภิกษุเรียนรู้มาก คล่องแคล่วในหลักพระพุทธศาสนารู้ธรรม รู้วินัย รู้แม่บท แต่ไม่เอาใจใส่ ที่จะบอกจะสอนใจ

ความพระสูตร แก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านี้ล่วงลับ พระสูตรทั้งหลายก็ขาดอาจารย์ที่จะถ่ายทอดต่อ

4. ภิกษุเถระที่สะสมเครื่องอุปโภค บริโภค ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่

สนใจในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ทำความเพียรเพื่อบรรลุ ทำให้ผู้บวชภายหลัง นำไปประพฤติเป็นแบบอย่าง ไม่สนใจ

จะทำสิ่งที่ไม่แจ้งให้แจ้ง (นิพพาน) มูลเหตุทั้งสี่ประการข้างต้นจะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญ

ไปในที่สุด



ที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน จากหนังสือดังกล่าว ซึ่งเพียงแค่นี้ ก็คงทำให้พุทธศาสนิกชนพอเห็น

แล้วว่า “ภิกษุ” หรือสาวกของพระพุทธองค์ควรเป็นเช่นไร แบบไหนที่เราควรทำบุญ เพื่อสืบทอดพระศาสนา หรือ

ควรห่างไกล เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้นได้เคยกล่าวว่า “อานนท์ เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ

อย่างทนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อที่มันยังเปียก ยังดิบอยู่ อานนท์ เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มี

หยุด อานนท์ เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด ผู้ใดหวังมรรคผลเป็นวัตถุประสงค์ ผู้นั้นจักทนอยู่ได้เองแล


 
นอกจากนี้ ยังทรงตรัสว่า การที่พระองค์ออกบวช เป็นบรรพชิตมิใช่เพราะจีวร มิใช่เพราะบิณฑบาต มิใช่เพราะที่

อยู่อาศัย มิใช่เหตุเพราะขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ หรือจะให้ร่ำรวยด้วยสิ่งเหล่านี้ แต่เพราะพระองค์ ต้องการแสวงหา

ทางหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ต่างหาก ดังนั้น พระองค์จึงเตือนภิกษุที่มาบวช ให้สำเหนียกว่า การมาบวช

แล้วกลับไปแสวงหากามที่ละแล้ว (คือรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสที่ทำให้เจริญราคะ) ย่อมเป็นของต่ำทราม

และไม่สมควรปฏิบัติ และที่สำคัญคือ พระองค์ได้ตรัสสอนไว้ว่า “พวกเธอ (ภิกษุ) ทั้งหลาย จงเป็นธรรม

ทายาท (คือรับมรดกธรรม) ของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท (คือรับมรดกสิ่งของ) เลย”





http://variety.mcot.net/V2278
http://www.korat4you.com/index.php?topic=2395.0;prev_next=next
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2011, 09:59:19 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พรหมจรรย์ นี้ช่างหอมหวลด้วย ความสดชื่น

พรหมจรรย์ นี้งดงามด้วยกาย วาจา

พรหมจรรย์ นี้บริสุทธิ์ ด้วยจิต

พรหมจรรย์ นี้อยู่จบสิ้นแล้ว ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

 :49:
บันทึกการเข้า