ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครรู้สึกว่าเบื่อแล้วกับการเกิด เกิดชาตินี้ขอเป็นชาติสุดท้ายเถอะ  (อ่าน 7221 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใครรู้สึกว่าเบื่อแล้วกับการเกิด เกิดชาตินี้ขอเป็นชาติสุดท้ายเถอะ

พอแล้วขอไปนิพพานดีกว่า

มีใครรู้สึกว่าขอเกิดชาตินี้ชาติสุดท้ายพอ ตายแล้วขอไปนิพพานดีกว่า ไม่เอาแล้วการเกิดถ้ามี

คุณคิดแบบนี้เพราะอะไรครับ ?

สำหรับ ผม ผมก็คิดว่า ชาตินี้เกิดมามีแต่ทุกข์ ถ้าเกิดใหม่มันก็คงจะทุกข์อีก
ต่อให้ชาติหน้าเกิดมาหน้าตาดีมาก ฐานะชาติตระกูลดีมาก สุขสบายมาก แต่จริงๆ มันก็ทุกข์อยู่ดี

ที่สำคัญ เกิดมาชาตินี้ยังทุกข์ขนาดนี้ ชาติก่อนทำบุญไว้อาจจะมากกว่าที่ทำชาตินี้ 
แล้วถ้าชาตินี้ทำบุญน้อยกว่าชาติที่ผ่านๆมา ชาติหน้าคงเกิดมาลำบากมากขึ้นกว่านี้อีกเป็นแน่

สุดท้าย ไปนิพพานดีกว่า (คิดจริงๆนะ)
ผมไม่ได้เป็นพระโสดาบัน หรืออะไรนะ แค่เห็นว่าการเกิดเป็นทุกข์ไม่สุขจริงเท่านั้น

ถ้าคิดอย่างนี้ พอหรือยัง กับเส้นทางการเป็น สาวกภูมิ ครับ ถ้ายังต้องเพิ่มอะไรอีกครับ โปรดชี้แนะด้วยครับ

ร้องไห้ หรือ

หัวเราะ

มีสุข หรือ

มีทุกข์






:25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2011, 09:14:13 pm โดย สายฟ้า »
บันทึกการเข้า

The-ring

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องมาทำความเข้าใจคำว่า กิเลส ก่อนครับ
เช่น การหิวอาหาร เป็นกิเลส หรือไม่
การป่วยไข้ เป็นกิเลสหรือไม่
การอยากนั่งสมาธิ การอยากนิพพาน เป็นกิเลสหรือไม่

กิเลส คือ เครื่องร้อยรัด หรือเครื่องเศร้าหมองที่บดบังพุทธะในจิตใจของเราอยู่เป็นชั้นๆจากชั้นนอกคือ กิเลสหยาบ ชั้นกลางกิเลสค่อนข้างละเอียด ชั้นในสุดคือกิเลสละเอียดประณีต การปราบกิเลสประเภทต่างๆมีดังนี้
1.กิเลสหยาบ(ชั้นนอก)-ใช้ศีลปราบ...... ได้แก่กายทุจริต 3 คือฆ่าสัตว์- ลักทรัพย์- ผิดกาม และวจีทุจริต 4 คือ พูดเท็จ-คำหยาบ-เพ้อเจ้อ-ส่อเสียด(บางกรณีอนุโลมเสพของมึนเมาเข้าไปในกาย ทุจริตได้อีก1ข้อก็ได้เหมาะสมในยุคสมัยนี้)
2.กิเลสชั้นกลาง(ค่อนข้าง ละเอียด)-ใช้สมาธิปราบ....ได้แก่ นิวรณ์5(เครื่องปิดกั้นความดี)-เป็นธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี หรือสิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หมายถึง1)พยาบาท-ปองร้ายผู้อื่น คิดร้ายผู้อื่น2)อุทธัจจะกุกกุจจะ-ฟุ้งซ่าน และรำคาญ 3)วิจิกิจฉา-ลังเลสงสัย ไม่ตกลงได้ 4)ถีนมิทธะ-จิตใจหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ความหดหู่ซึมเซา 5)กามฉันทะ-พอใจ รักใคร่ พอใจในกามคุณ
3.กิเลส ชั้นใน(ละเอียดประณีต)-ใช้ปัญญาปราบ ได้แก่ อนุสัย 7(ราคะ-ปฏิฆะ-อวิชชา) หมายถึง กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานชั้นในสุด คือ 1)กามราคะ-ความกำหนัดในกาม 2)ปฏิฆะ-ความหงุดหงิด 3)ทิฏฐิ-ความเห็นผิด 4)วิจิกิจฉา-ความลังเลสงสัย 5)มานะ-ความถือตัว 6)ภวราคะ-ความกำหนัดในภพ 7)อวิชชา ความไม่รู้จริง หรือรู้แต่ไม่แจ้ง(แทงตลอด)

วิธีการปฏิบัติ สมาธิภาวนาเป็นขั้นเป็นตอนไป แต่สุดท้ายต้องใช้วิปัสสนาญาณ(ปัญญา)ในขั้นฌาน3(ตติยฌาน-อุปจาระ สมาธิ)พิจารณาตัดกิเลสละเอียดชั้นในสุดให้หมดไปสิ้นเชิงด้วยมหาปัญญา(ปัญญา ญาณ)อย่างเดียวที่เรียกว่า มหาสติปัฏฐาน4 เป็นทางสายเอกสายเดียว สายอื่นไม่มีครับ......

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2011, 09:22:20 pm โดย The-ring »
บันทึกการเข้า

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ในเมืองนิพพานนั้น-ไม่ รู้จักเจ็บไข้และหนาวร้อน ความอนาทรร้อนใจไม่มี หนีพ้นจากความเฒ่าชรา ความมรณาไม่กล้ำกราย เมื่อปรารถนาสิ่งใด ไม่ต้องไปแสวงหา จะปรากฏมีมาส่องหน้า ทั้งผืนผ้าและเงินทอง ข้าวของสมบัติมีหลวงหลาย ทุกข์ใดๆไม่แผ้วพาน ไม่มีการร้อนด้วยแดดและหนาวฝน บนเมืองนิพพาน แต่ละท่านอยู่เสวยบุญไม่ขาด ในปราสาทแก้ว 7 ประการ เป็นเวียงนิพพานอันมั่นเที่ยง ไม่เบนเบี่ยงไปมา ไม่มีโศกาโศกเศร้า เมืองนั้นเต็มไปด้วย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีมากมายอนันต์เอนก เต็มไปด้วยพระปัจเจกและอรหันตา เต็มไปด้วยขีนาสาวกชาติ ผู้เป็นนักปราชญ์และเจ้าตนบุญ ทุกตนพ้นจากทุกข์ สุขในเมืองนิพพาน ยิ่งกว่าเมืองฟ้าแสนหน สุขกว่าในเมืองคนล้านเท่า พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ว่าเป็นเมืองอันวิเศษ เหตุว่าเป็นเมืองอันพ้นจากทุกข์ สุขที่เป็นเขตอันพ้นแล้วจากสงสาร เข้าสู่เวียงนิพพานเป็นที่แล้ว(ในที่สุด)เข้าสู่เวียงแก้ว อันเป็นยอดอมตะมหาเนรปาน จึงกล่าวขานว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง กล่าวยังพระธรรมคำสอนวิปัสสนากรรมฐาน ก็จบลงด้วยประการดังกล่าวมานี้แลฯ......
ที่มา ธรรมสวณีย์ ครูบาเจ้าชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=2456.0
บันทึกการเข้า

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิพพาน
นิพพานเป็นอายตนะ หนึ่ง ซึ่งแตกต่างออกไปจากโลกายตนะและอายตนะทั้ง ๖ ทั้ง ๑๒ นั้น เป็นอายตะนี่สูงกว่า วิเศษกว่า และประณีตกว่าอายตนะอื่น แต่ก็ทำหน้าที่ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ โลกายตนะทำหน้าที่ดึงดูดสัตว์โลกที่ยังมีความผูกพันอยู่กับโลกไว้ ไม่ให้พ้นไปจากโลกได้ ส่วนอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ทำหน้าที่ดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ตามหน้าที่ของตน ๆ และในทำนองเดียวกัน อายตนะนิพพานก็มีหน้าที่ดึงดูดพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เข้าไปสู่อายตนะของตน สถานที่อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าเรียกว่า อายตนะนิพพาน ส่วนพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในอายตนะนิพพานนั้น เรียกว่า “พระนิพพาน”



ในปาฏลิคามิวัคคอุทาน ฯ กล่าวไว้ว่า “อตถิ ภิกขเว ตทายตนํ ฯลฯ”. 


    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์



    อายตนะในที่นี้ ก็หมายถึง “อายตนะนิพพาน” ดังได้กล่าวแล้วว่า อายตนะนิพพานนั้น ต่างหากออกไปจากอายตนะพวกอื่น อายตนะนิพพานนี้มีอยู่ สูงขึ้นไปจากภพ ๓ นี้ เลยอกไปจากขอบเนวสัญญานาสัญญายตนะภพ พ้นออกไปจากวิถีภพนี้ ตรงขึ้นไปทีเดียว จะคำนวณระยะทาง ก็เห็นว่าหาประมาณไม่ได้ทีเดียว ไม่ได้มีอยู่ในดิน น้ำ ไฟ ลม และ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่มีอยู่ในนิพพาน ในอรูปภพทั้ง ๔ ก็ไม่ใช่ แม้นิพพานก็ไม่ได้มีลักษณะของอรูปภพทั้ง ๔ นี้เลย ในโลกนี้ โลกอื่นก็มิใช่ เพราะเหตุที่อายตนะนิพพานพ้นไปจากโลกจากภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพเหล่านี้สิ้นแล้ว นิพพานก็ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ แม้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็เป็นสิ่งที่อยู่ในภพนี้ นิพพานจึงไม่ใช่สิ่งทั้งสอง และในที่สุดสิ่งทั้งสองนี้ ก็มิได้มีอยู่ในนิพพานเลย อนึ่ง อายตนะนิพพานก็ไม่มีการไป การมา การยืน การจุติ หรือการเกิด แต่ประการใดประการหนึ่ง ซึ่งแสดงว่า ไม่สามารถจะติดต่อกันได้โดยอาการปกติ แม้ที่สุดกำลังของอรูปฌานก็ไม่อาจไปถึงได้ เพราะว่านิพพานจัดเป็นสูงสุด เกินกำลังของผู้ที่อยู่ในภพจะไปถึงได้ และอายตนะนี้ก็หาที่ตั้งอาศัยมิได้ ไม่มีวัตถุหรืออารมณ์ชนิดใดเป็นที่ตั้งที่อาศัยทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้เองเป็นเครื่องยืนยันว่า อายตนะนิพพานนั้นมีจริงและไม่เกี่ยวข้องอยู่ในภพเลย พ้นออกไปต่างหากทีเดียว



    อนึ่ง นิพพาน ๓ คือ
  กิเลสนิพพาน ๑
  ขันธนิพพาน ๑
  ธาตุนิพพาน ๑
    มีความหมายดังนี้ คือ



    เมื่อวันเพ็ญวิสาขมาส (กลางเดือน ๖) ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี พระสิทธัตถกุมารทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ ตัดกิเลสได้ขาดจากใจสิ้น บรรลุถึงซึ่งพระโพธิญาณ ณ ภายใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ครั้งนั้น กิเลสาสวะทั้งปวงที่เคยประจำคอยกีดกันพระองค์ ให้ทรงว่ายเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารมานับจำนวนหลายหมื่นหลายแสนชาติเป็นอันมาก ไม่อาจจะกลับมาสู่พระองค์ได้อีก ความสิ้นไปแห่งกิเลสาสวะ อันเป็นเครื่องเสียบแทงพระองค์ตลอดมานั้นเรียกว่า   “กิเลสนิพพาน”


    ความแตกทำลายแห่งขันธ์ของพระองค์ ซึ่งแม้ชาติใด ๆ ก็ตาม ขันธ์ในภพ ๓ นี้ ก็ต้องสวมพระองค์ตลอดมา ความแตกทำลายแห่งขันธ์ในชาติที่สุดนี้ ขันธ์เหล่านี้ก็มิอาจจะสวมพระองค์ได้ และพระองค์ก็มิกลับมาสวมขันธ์เหล่านี้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงพ้นไปจากขันธ์เหล่านี้แล้ว ความแตกทำลายแห่งขันธ์นี้เรียกว่า   “ขันธนิพพาน”


    พระพุทธเจ้าองค์ที่สุดนี้คือ พระสมณโคดม ปัจจุบันนี้พระบรมธาตุของพระพุทธองค์ยังคงอยู่ ไม่สูญสิ้นไป ก็ยังไม่เรียกว่าธาตุนิพพาน ต่อเมื่อใดเสร็จพุทธกิจของพระองค์ ที่จะต้องทำในภพนี้แล้ว ขณะนั้น พระบรมธาตุของพระองค์ก็จะสูญไปจากภพนี้ ความสิ้นไปแห่งพระบรมธาตุนี้เรียกว่า   “ธาตุนิพพาน”


    ส่วนนิพพานที่ท่านจำแนกเป็น ๒ ประเภทนั้น คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ๑ สำหรับพวกทำสมาธิปัจจุบันเรียกกันง่าย ๆ อีกแบบหนึ่ง คือ นิพพานเป็น อันตรงกับ สอุปาทิเสสนิพพาน และ นิพพานตาย อันตรงกับ อนุปาทิเสสนิพพาน



    นิพพานที่เป็นสถานที่อยู่ของกายธรรมนั้น อยู่ในศูนย์กลางของกายธรรมนั้นเอง ที่กล่าวนี้หมายความถึง เวลาที่กายมนุษย์ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ ใช้กายธรรมเดินสมาบัติ ๗ เที่ยว ตามแบบวิธีเดินสมาบัติที่เคยกล่าวไว้แล้วนั้น กายธรรมก็จะตกสูญ เข้าสู่นิพพานในศูนย์กลางกายธรรมนั้น นิพพานนี้ชื่อว่า นิพพานเป็น หรือ สอุปาทิเสสนิพพาน เพราะเป็นนิพพานที่อยู่ในศูนย์กลางของกายธรรมที่ซ้อนอยู่ในกลางกายอรูป พรหม-กายรูปพรหม-กายทิพย์-และกายมนุษย์ เป็นลำดับเช่นนี้ ยังอยู่ในกลางของกายที่ยังหมกมุ่นครองกิเลสอยู่ตามสภาพของกายนั้น ๆ ความบริสุทธิ์ของนิพพานที่อยู่ในท่ามกลางกิเลสเหล่านี้เอง ที่เรียกว่า “สอุปาทิเสส นิพพาน” สภาพของนิพพานนี้มีลักษณะกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก แต่ทว่านิพพานนี้ เป็นนิพานประจำกายของกายธรรม จึงมีพระนิพพานหรือพระพุทธเจ้าประทับอยู่เพียงพระองค์เดียว ความจริงถ้าจะกล่าวตามส่วนและตามลักษณะ ตลอดจนที่ตั้งแล้ว ก็จะเห็นว่านิพพานเป็นหรือสอุปาทิเสสนิพพานนี้ เป็นที่เร้นอยู่โดยเฉพาะของกายธรรม ในเวลาที่ยังมีขันธ์ปรากฏอยู่


นอก จากนั้น สอุปาทิเสสนิพพานยังเป็นทางนำให้เข้าถึง “อนุปาทิเสสนิพพาน” หรือ “นิพพานตาย” อีกด้วย คือเวลาที่ขันธ์ซึ่งรองกายธรรมอยู่นั้นจะสิ้นไป พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ย่อมจะต้องเดินสมาบัติทั้ง ๘ และเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ขณะนี้เอง เป็นเวลาที่กายธรมเข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพาน ทรงดับสัญญาและเวทนาสิ้นแล้ว จึงเดินสมาบัติปฏิโลมอีก คราวนี้กายธรรมก็จะตกสูญ เข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งมีลักษณะของรูปพรรณสัณฐานและขนาดดังที่กล่าวแล้วมาข้างต้นนั่นเอง


    ส่วน “พระนิพพาน” นั้นคือ กายธรรมที่ได้บรรลุอรหัตต์ผลแล้ว กายเหล่านี้มี กาย, หัวใจ, ดวงจิต, และดวงวิญญาณ วัดตัดกลาง ๒๐ วา เท่ากันทั้งสิ้น หน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏ พระนิพพานนี้ประทับอยู่ในอายตนะนิพพาน บางพระองค์ที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทรงประทับอยู่ท่านกลางพระอรหันตสาวกบริวาร เป็นจำนวนมาก บางพระองค์ที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มิได้เคยสั่งสอนหรือโปรดผู้ใดมาก่อน ในสมัยที่ยังมีพระชนม์อยู่ องค์นั้นก็ประทับโดดเดี่ยวอยู่โดยลำพัง หาสาวกบริวารมิได้ ส่วนรังสีที่ปรากฏ ก็เป็นเครื่องบ่งให้รู้ถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหล่านั้น ว่า มากน้อยกว่ากันเพียงไร แค่ไหน แต่ส่วนกว้าง ส่วนสูง และลักษณะของพระวรกายนั้น เสมอกันหมด มิได้เหลื่อมล้ำกว่ากันเลย พระนิพพานนี้ทรงประทับเข้านิโรธ สงบกันตลอดหมด เพราะความนิโรธนี้เป็นความสุขอย่างยิ่ง และความที่อยู่ในนิพพาน มีกายอันยั่งยืนนี้เอง ท่านจึงได้กล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ”

ภาพทั้ง ๓ นี้ เป็นภาพที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเทียบลักษณะและสถานที่อยู่ของภพ ๓ นิพพาน และโลกันต์ (ลักษณะผ่าครึ่ง เพื่อให้เห็นชัด เพราะความจริงต่างก็มีสัณฐานกลมรอบตัว และมีขอบนอกกลมรอบตัวเช่นเดียวกัน) ภพ ๓ นี้เป็นสถานที่อันดึงดูดสัตว์ที่เวียนว่ายทำความดีและชั่วในชั้นปานกลาง ดีที่สุดของภพ ๓ ก็ถูกอายตนะของอรูปภพดึงดูดเข้าไป ชั่วที่สุดของภพ ๓ ก็ถูกอายตนะของอเวจีดึงดูดเข้าไป แต่ถ้าหากดีจนเกินความดีในอรูปภพเสียแล้ว ก็จะต้องถูกอายตนะนิพพานดึงดูดเข้าไป เป็นอันว่าพ้นไปจากภพ ๓ นี้ทีเดียว สูงขึ้นไปเหนือภพ๓ นี้หาประมาณมิได้ พ้นการติดต่อกับภพ ๓ นี้ด้วยประการทั้งปวง กลมรอบตัวและใสบริสุทธิ์ยิ่ง นั่นแหละคือ นิพพาน แต่ก็พึงเข้าใจว่า ในนิพพานหาที่ตั้งที่อาศัยมิได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ฉะนั้น ในนิพพานซึ่งหาพื้นที่และที่อาศัยมิได้ นอกจากความว่างและสว่าง พระนิพพานจึงประทับอยู่ในนิพพานได้ ด้วยความเบาความบริสุทธิ์ของพระวรกายประดุจดังปุยนุ่นในอากาศ หาได้เหมือนบุคคลอาศัยอยู่ในพื้นพิภพนี้ไม่


    ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากความสงสัยว่า เมื่อนิพพานมีสัณฐานกลม แล้วพระนิพพานจะทรงประทับอยู่ได้อย่างไร จึงนับเป็นปัญหาอจินไตย คือ ปุถุชนไม่ควรคิด


    และเมื่อมีที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำดีมากที่สุดแล้ว พึงทราบว่า ในภาวะที่ตรงกันข้ามกับความดีที่สุด ซึ่งหมายถึงผู้ที่ทำชั่วที่สุด ก็ต้องมีที่อาศัยเช่นเดียวกัน และอายตนะที่สำหรับดึงดูดผู้ทำชั่วที่สุด ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากนิพพานและภพ ๓ นี้ ต่ำลงไปจากภพ ๓ พ้นออกไปจากภพ ๓ นี้ ลงไปหาประมาณมิได้ พ้นจากการติดต่อจากภพ ๓ นี้ด้วยประการทั้งปวง ลักษณะกลมรอบตัว มืดจนดำสนิทนั่นแหละ คือ อายตนะโลกันต์ เป็นที่สถิตอยู่ของผู้ที่ทำความชั่วที่สุด (หาได้อยู่ในระหว่างเขาจักรวาล ตามความเข้าใจของบางท่านไม่)


    แต่ผู้ที่อยู่ในอายตนะโลกันต์นั้น ขณะใดจิตใจสูงขึ้น คือ ความชั่วร้ายที่มีอยู่ในผู้นั้นจางลงไป จนพ้นจากภาวะของอายตนะโลกันต์แล้ว ผู้นั้นก็จะกลับมาสู่ภพนี้ได้อีก หรืออาจจะทำความดี จนกระทั่งสร้างบารมีบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ได้ ที่กล่าวนี้หมายถึง ผู้ที่อยู่ใน โลกันต์นั้น จนนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วน แล้วในที่สุดของภาวะผู้นั้นก็กลับมาสู่ภพอีก แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ในระหว่างที่มีภาวะอยู่ในโลกันต์นั้น จะอาจติดต่อกับภพ ๓ นี้ได้โดยอาการปกติธรรมดาเช่นนั้น หามิได้.


     อนึ่งความสงสัย อาจเกิดขึ้นว่า ไฉนทั้งภพ ๓ ทั้งนิพพานและโลกันต์ จึงมีสัณฐานกลมเหมือนกันหมด ทั้งนี้จะเทียบได้ว่า ธรรมดาสิ่งที่เกิดขึ้นมา โดยปราศจากบุคคลเสกสรรขึ้นแล้ว เบื้องต้นทีเดียว สิ่งนั้นจะต้องมีสัณฐานกลม เช่น กะละรูปหรือฟองไข่แดงของเป็ดหรือไก่ เป็นต้น แม้ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว และภพตามที่คำนวณทางวิทยาศาสตร์ ก็ปรากฏว่ามีสัณฐานกลมด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้น ภพ ๓ นิพพานและโลกันต์ที่กล่าวว่ามีสัณฐานกลม จึงนับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุด


    (ที่ได้กล่าวถึง ภพ ๓ และโลกันต์ในบทของนิพพานเช่นนี้ ก็เพื่อแก้ความข้องใจบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่สรุปแล้วทั้งเรื่องภพ ๓ โลกันต์และแม้นิพพานที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็เป็นเพียงเรื่องย่อที่สุด สำหรับจะเป็นเครื่องนำให้ผู้ปฏิบัติธรรม ได้เรียนและได้พอรู้เป็นเค้าไว้บ้าง แต่ความจริงหากจะต้องการรู้ให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว การปฏิบัติธรรมให้เป็นให้เห็นเอง แล้วตรวจดู ก็คงเห็นแจ่มชัดหมดข้อกังขาใด ๆ ทั้งสิ้น หากจะอธิบายมากไปกว่านี้ ก็เห็นว่าจะทำให้เลอะเลือนไป เพราะเรื่องของพระอริยเจ้า ย่อมเป็นเรื่องที่ละเอียดประณีต เหลือวิสัยปุถุชนที่จะตามทำความเข้าใจให้กระจ่างได้ตลอด)

ที่มาเนื้อหา
http://gotoknow.org/blog/dhammakaya-17/215435
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2011, 09:32:54 pm โดย อัจฉริยะ »
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าไล่ตามลำดับ วิปัสสนาญาณ แล้วความเบื่อหน่ายต่อสังสารวัฏจะมีได้ ก็ต้องผ่านวิปัสสนา ถึง ญาณที่ 8 เลยนะคะสำหรับผู้ที่ปรารถนาการไม่อยากกลับมาเกิดอีก


วิปัสสนาญาณ 16
     
            1. นามรูป ปริจเฉทญาณ ปัญญารู้รูปนาม แน่ใจว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่างคือ รูปธรรม สิ่งที่แสดงให้รู้ นามธรรม สิ่งที่เข้าใจรู้ โดยอาศัย ทวารประตูทั้งหก ขณะอารมณ์จากภายนอกมากระทบ
            2. นามรูป เป็นปัจจยปริคคหญาณ ปัญญารู้จัก เป็นปัจจัย ของนาม รู้ว่านาม-รูป ต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
            3. สัมมสนญาณ ได้เป็น อนัตตา บังคับไม่ได้จะต้องเป็นไปตามกฎของมัน เพราะรูป-นาม รวมกันเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป เป็นธรรมชาติเสมอ เมื่อผู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วมีสติตั้งมั่นอยู่ โมหะก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถูกสติบังคับควบคุมอยู่ตลอด
            4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นรูป-นาม ทั้งหลาย เกิด-ดับ พร้อมกัน ผู้ทำวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ รูปดับ นามดับพร้อมกัน ปัจจุบันไม่เอาไป ผสมกับอดีต อนาคตให้กำหนดรู้รูปนาม แจ้งชัดทำให้รู้เห็นไตรลักษณ์ ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย รู้แต่ปรมัตถ์ ไม่มีสติสืบเนื่องเลยไปถึงบัญญัติเหล่านี้ เป็นต้น
           5. ภังคานุปัสสนาญาณ มีปัญญาเห็นแตกดับไปอย่างละเอียดขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจความเกิดขึ้นดับไป ทั้งรูปและนาม พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง อุปมาคือ 2 คนกอดคอกันลับหายไป กำลังศรัทธา วิริยะ ความเพียร ทำให้สมาธิสติปัญญาแก่กล้าขึ้นไป
          6. ภยตูปัฏฐานญาณ มีปํญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นไฟน่ากลัว เมื่อทำวิปัสสนา เห็นรูปนามดับไป เพราะไม่ปราศจากสติ มีความเพียรติดต่อกัน เป็นปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาปรากฏติดอยู่กับรูปนามเสมอ ย่อมเห็นความดับไปของรูปนามเป็นกองไฟใหญ่ เห็นแล้วน่ากลัว ถ้าไม่รู้วิปัสสนา ก็ไม่รู้ที่จะพิจารณามัน
           7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นทุกข์ เป็นโทษ ไม่มีความปรารถนายึดมั่นในรูปนาม แม้แต่น้อยนิด
           8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามดับไปน่าเบื่อหน่าย ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึงนิพพิทาญาณ เห็นรูปนามเกิดดับ ไม่มีความยินดี   เหมือนกับบุคคลผู้แต่งกายสะอาดแล้วย่อมเบื่อหน่ายสะอิดสะเอียนต่อของสกปรก ย่อมยินดีอยู่กับของสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น

           9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ผู้มีปัญญาเห็นรูปนามเกิดดับ อยากจะไปให้พ้นจากรูปนาม ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็อยากจะพ้น จากรูปนามที่ดับไปสิ้นไปนั้น
          10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามเกิดดับ หาทางหนีจากรูปนาม เมื่อวิปัสสนาสามารถเห็นรูปนามเกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ปรากฏ ติดอยู่กับรูปนาม มีรูปนามเป็นของรับรองไว้ เมื่อนั้นย่อมเห็นไฟ เห็นโทษ เป็นที่น่าเบื่อหน่าย อยากจะหนีให้พ้นโดยอนุโลม แล้วพิจารณาทางที่เป็นอุบาย ที่วางรูปนาม อุปมาก็คือบุคคลคิดจะจับปลาตามสุ่ม จับได้ก็มีแต่ความดีใจ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อรู้รูปนามแจ้งชัดก็ไม่ถือว่าเป็นตนเป็นตัว ก็คือ บุคคลที่จับ สุ่มอยู่ในน้ำ สำคัญนักหนาดีอกดีใจแล้วว่าจะได้ปลา แต่เมื่อดูรูปนามไปจนเห็นเกิดดับไม่เที่ยง เป็นทุกข์บังคับไม่ได้ ก็มีแต่ความตกใจเห็นโทษ น่าเบื่อหน่าย   เหมือนบุคคลที่ยกมือขึ้นจากสุ่มไม่ได้ปลานั่นละ อยากจะกลับบ้าน หนีพ้นจากหนองน้ำเสียที
          11. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาเห็นว่าไม่มีเป็นของตน คงจะมีแต่ความว่างเท่านั้น ส่วนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของ เขา ถ้าหากว่าเราปลงได้แล้วก็ไม่มีทุกข์ แต่ยังไม่ทันหมดทุกข์ได้ยังมีทุกข์อีก คือ ทุกข์มาจากธรรมชาติ คือ เกิด, แก่, เจ็บ, และตาย   นี่คือความทุกข์อันแท้ จริง   เป็นแหล่งสุดท้ายของความทุกข์ที่เรามี อาตมากล่าวมานี้เป็นความจริงทั้งนั้น ถ้าอยากรู้ก็พากันทำวิปัสสนาดูแล้วก็จะรู้ด้วยตนเองว่า จริงหรือไม่ก็ จะรู้เอง เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนไว้ว่า “โอปนยิโก” แปลว่า น้อมเข้ามา ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนคนเดียวเท่านั้น คนอื่นหารู้ได้ไม่ ใครปฏิบัติ ธรรมคนนั้นย่อมรู้เอง รู้ว่าสังขารรูปนามนั้น ถ้าหากว่าเราได้สงบแล้วก็จะเห็นแจ้งแห่งพระนิพพาน ถ้ายังไม่รู้แจ้งพระนิพพาน ก็เพราะเราหลงอยู่ในรูป นาม ว่างามอย่างนั้น สวยอย่างนี้ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้
          12. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ มีปัญญาเห็นรูปนามดับไปจะมีกำลังดียิ่งขึ้นได้ตามอำนาจของอริยสัจ สามารถกำจัดความมืดที่มา ปกคลุมอยู่ให้หมดไป รู้อริยสัจได้ก็ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณเจริญยิ่งๆขึ้นตามลำดับ โดยอนุโลม ปฏิโลมกลับไปและกลับมาตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ รู้รูปนาม รู้ทุกข์อริยสัจชัดแจ้งเป็นความจริงที่ไกลจากกิเลส เห็นรูปนามดับไปเป็นอารมณ์ ดังที่อาตมาได้อธิบายมาแล้วนั้น เป็นความจริงตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้ง 3 พระคัมภีร์
         13. โคตรภูญาณ ปัญญาที่รู้นิพพานทำลายโคตรปุถุชน ความรู้น้อมไปสู่พระนิพพาน ความดับ รูปนามไม่เกิด อนุโลมญาณเป็นปัญญาที่สามารถ ทำลายกิเลสที่ปิดบังความจริงไว้ได้ แต่ไม่สามารถเห็นนิพพานได้เป็นปัจจัยส่งให้โคตรภูญาณ โคตรภูญาณนี้สามารถน้อมไปสู่นิพพานได้แต่ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้ ทำหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชน ไปสู่อริยโคตรได้โดยมีวิปัสสนาเป็นปัจจัย เมื่อโคตรภูญาณเกิดขึ้นทำหน้าที่ของตนหมดแล้วก็ดับไป ญาณ ในโลกุตตระ คือ มรรคญาณ ผลญาณโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ซึ่งไม่มีระหว่างขันธ์ตามลำดับแห่งมรรคชวนะวิถี อุปมาเหมือน บุรุษจะข้ามคลองน้ำ วิ่งมาด้วยกำลังแรงจับเถาไม้ที่ผูกติดอยู่กับต้นไม้ แล้วเหวี่ยงตัวให้ข้ามไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง แล้วปล่อยเถาไม้เสีย แล้วมาตั้งตัวให้เป็น ปกติก็สบาย รู้สึกว่าตัวเองได้ข้ามพ้นคลองน้ำสำเร็จแล้ว การปล่อยเถาไม้นั้นก็คือ ตัดเชื้อชาติปุถุชน การตั้งตัวให้เป็นปกติก็เท่ากับได้ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
          14. มรรคญาณ ปัญญาในโสดาปฏิมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหันตมรรค กำจัดกิเลสตามฐานะของตน โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนกัน
          15. ผลญาณ ปัญญาในโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหันตผล ซึ่งเกิดขึ้นติดกันกับมรรคจิตของซึ่งกันและกัน โดยไม่มีระหว่างขันธ์ และนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนกัน
          16. ปัจจเวกขณญาณ  ปัญญาที่เกิดขึ้น พิจารณามรรคผลนิพพานกิเลสที่ละได้แล้วและยังเหลืออยู่ตามอำนาจของมรรคผลนั้นๆ อานิสงส์ของ การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างต่ำก็ทำให้คนเลวกลายเป็นคนดีได้ ทำให้คนที่มีความดีอยู่แล้วนั้น ให้ทำความดียิ่งๆขึ้นไป ทำให้คนโง่กลายเป็นคนฉลาด รู้แจ้ง ในกรรมเลว แล้วเลิกอบายมุขทั้งหลาย จะเกิดเป็นคนขยันหมั่นเพียรต่อการงาน อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นพร้อมด้วยสังคม และพระพุทธศาสนา มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้มีพระคุณ มีสติมั่นคงในการทำคุณงามความดี มีอุปนิสัยแก่กล้าก็สามารถเข้าถึงมรรคผล และรู้แจ้งแห่งทางไปพระนิพพาน ได้ตามวินิจฉัยของตน

           
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ผมคิดว่า กิเลสมันฉลาดกว่าเรามาก  อนุสัยที่สั่งสมมาหลายภพหลายชาตินับไม่ถ้วน

มันถอนได้ยากมาก กิเลสมันอาจหลอกคุณอยู่ คุณสายฟ้าเบื่อจริงรึเปล่า

นิพพิทาญาน ที่หมวยกนีย์ยกขึ้นมานั้น ถึงแม้คุณจะได้ญานนี้

แต่มันเป็นเพียงแค่ "โลกียญาน" มันเสื่อมได้ง่ายมาก


การปรารถนา "สาวกภูมิ" เป็นเรื่องน่ายินดี

แต่ขอให้พิจารณามรรคมีองค์๘ ให้กระจ่าง

โดยเฉพาะข้อสุดท้าย "สัมมาสมาธิ" คุณมีหรือยัง

ถ้ายังไม่มี กรรมฐานมัชฌิมา จะช่วยคุณได้

กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สอนสัมมาสมาธิเป็นลำดับแรก

สมาธิเป็นบาทของวิปัสสนา ถ้าคุณไม่มีสัมมาสมาธิ

เปรียบเสมือนการขาดอาวุธ ที่จะนำไปประหารกิเลส

 ;) :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราเป็นชาวพุทธเถรวาท จะคุ้นเคยกับแนวคิดแบบ "ปุั๊บแรก" ที่เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ความคิดแรกๆเลย ที่มัน pop-up ขึ้นมาคือ
- ถ้าช่วยสรพสัตว์แล้ว คือการเป็นพระพุทธเจ้า เอาสองเรื่องมาโยงกันค่ะ แล้วโยงกันอย่าแน่นหนา
- เส้นทางโพธิญาณ ยาก หินๆๆๆๆ สุดๆ
- ดูเหมือนจะไกลเกิน เอื้อม
- แถมยกตัวอย่างในพระไตรปิกฏ มา อ่านแล้ว เกิดความท้อใจมาก่อน กำลังใจมาที่หลัง
  จะเห็นว่าตรงนี้ถ้าอ่านของมหายานหรือวัรชยาน เรื่องราวของโพธิจิต จะเกิดแรงบันดาลใจว่า อยากจะเดินทางตามรอยเท้าพระพุทธเจ้าและพระมหาโพธิสัตว์
ส่วนเรื่องความคิดว่า การสร้างบารมียากนั้น ถ้าอ่านเรื่องราวของมหายานแล้ว ความรู้สึกนั้นจะแทบไม่เกิดขึ้นเลยค่ะ

  รู้สึกทางมหายาน เขาจะเขียนให้แรงบันดาลใจ เพื่อให้คนเดินทางใหญ่น่ะค่ะ

  พอเริ่มคุ้นเคยกับพระลามะ เมื่อท่านอธิษฐาน ขอให้การรู้ธรรมนั้นคือการ enlinghtenment แปลแบบไทย คือตรัสรู้ และช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ก็รู้สึกเหมือนที่เรารู้สึกในแบบแรกๆที่อธิบายมาแล้วค่ะ

   แต่พอคุยหรือเห็นพระลามะบ่อยเข้า เรารู้สึกเองว่า
- เป้าหมายการปฏิบัติธรรมคือการบรรลุธรรม พ้นทุกข์ ระหว่างทางเดินนั้นจะช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ไปด้วย
- ไม่ได้รู้สึกว่าสรรพสัตว์อื่นเป็นภาระ
- ไม่ได้แบ่งแยกว่าการบรรลุธรรมนั้นเรียกว่าตรัสรู้ อรหันต์ คือเรามีความรู้สึกว่า สำหรับท่านแล้ว ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม เป้าหมายเพื่อการพ้นทุกข์ และช่วยเหลือสรรพสัตว์
- ไม่ได้มองโลก หรือสังสารวัฏ ว่ายากลำบากสำหรับการสร้างบารมี แต่สังสารวัฏน่ากลัวสำหรับการไม่รู้อะไรเลย คล้ายๆการกระโจนลงหน้าผา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วย
- การกระโจนลงในสังสารวัฎมีอุปกรณ์นิรภัยคือมีไตรสรณคมน์เป็นสรณ
- ที่เหนืออื่นใด ประโยชน์สุขของคนอื่น มาก่อนตนเองค่ะ
- ฯลฯ

จริงๆทิเบตก็มองเหมือนเราค่ะ มองสังสารวัฏน่าเบื่อ น่ากลัว ไม่ควรจะมาเกิด ควรจะเข้าถึงธรรมให้เร็วที่สุดเช่นกัน เพียงแนวทาง หรือแนวคิด มอง "เป้าหมาย" ผ่านเลนส์คนละสี

จากคุณ พยัคฆ์ น้อยครับ
บันทึกการเข้า