ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติบางอย่างของพระสงฆ์ เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือไม่คะ  (อ่าน 5986 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในวิชาชีพ ที่ต้องสงเคราะห์ดูแลผู้ป่วยมาหลายเป็นสิบปี ก็ได้ทำสถิติการรักษากับพระสงฆ์มาทุกปี
จนสรุปได้ว่า โรคที่พระสงฆ์ เป็นกันส่วนใหญ่ สำหรับพระที่มีพรรษามากกว่า 3 พรรษาขึ้นไป
มีโรคดังนี้  อันดับ 1.โรคกระเพาะ
            อันดับ 2. โีรคทางเดินหายใจ
            อันดับ 3. โรคความดันสูง และต่ำ มีไมเกรน ด้วย
            อันดับ 4  โรคไส้เลื่อน
            อัีนดับ 5 โรคเบาหวาน
            อันดับ 6 โรคไขข้อเสื่อม เป็นกับพระที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่

เมื่อพิจารณา อันดับแล้ว จะเห็นว่าโรคกระเพาะ จะเป็นกันเยอะมาก
 ซึ่งมีสาเหตุหลัก ก็คือการขาดสารอาหารในมื้อที่เหมาะสม
 และ ความเครียด วิตก กังวล อีกส่วนหนึ่ง

 

 เมื่อวิเคราะห์ แล้ว จะเห็นว่า พระสงฆ์ควรทานอาหาร สัก 2 มื้อแต่ควรจะเป็นเวลา 7 โมงเช้า และ บ่าย 2
ซึ่งการฉันสองมื้ออย่างนี้น่าจะทำให้พระสงฆ์ไม่เป็นโรคกระเพาะได้

 แต่วิจัยกันตามความเป็นจริง จากที่เคยเข้าไปเก็บข้อมูลในวัด ในวันพระ วันธรรมสวนะ ที่วัดใกล้ รพ.

 พระสงฆ์จะฉันเช้าที่ 8.50  - 9.30 น.หลังจากทำพิธีเสร็จ ซึ่งพระสงฆ์จะต้องฉันมื้อต่อไป ที่ 11.00 - 11.45 น. ซึ่งระยะห่างไม่เหมาะสม เพราะอาหารชุดแรก ยังไม่ทันย่อยก็ต้องฉันอีก นี่เป็นสาเหตุที่พระสงฆ์
เป็นโรคกระเพาะ เพราะมีจำนวนหนึ่ง ยุติการฉันมื้อที่สอง กับ อีกกลุ่มฉันแต่น้อย

 ข้อบัญญัติ ดูเหมือนเป็นการทรมานตน แทนที่จะเป็นการบำเพ็ญ และ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมิดศีล
ของพระสงฆ์เอง เป็นต้นเหตุของความเครียด มีลูกคนข้างบ้าน พ่อ แม่ บอกให้บวช แต่สิ่งเขาเป็นห่วงมาก
ก็คือการฉัน เพราะบวช 1 พรรษา เขาไม่มีความั่นใจในการอดมือ้ค่ำได้

เพื่อน ๆ สมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ คะ

ลองมามองตามมุม กันบ้างดีไหมคะ มาร่วมกันวิเคราะห์ความน่าจะเป็นกันดีหรือไม่คะ
เนื่องด้วยตอนที่ดิฉัน ทำการส่งข้อมูลประกวดวัดสุขภาพ พระไม่ฉันหวาน เพราะต้านเบาหวาน แต่ความเป็น
จริงก็ทำได้ยาก เพราะญาติโยมก็ชอบถวายหวาน จนเกิดประเพณี ฉันคาว ฉันหวาน มาตลอด ซึ่งแตกต่าง
จากฆราวาส การทานคาว ก็ไม่จำเป็นต้องทานหวาน ดังนั้นจะเห็นพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันจะออกอ้วน ๆกัน
ในเมืองเมื่อมีอายุสัก 38 ปีขึ้นไปก็จะลงพุงกันหลายรูป พระพวกนี้ไม่เป็นโรคกระเพาะแต่มาเป็นเบาหวาน
แทน

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ RATCHANEE ถ้าจะเป็นคุณหมอ นะครับ

  เหตุว่า พระสงฆ์ เป็นโรคกระเพาะ กันมาก น่าจะมีหลายสาเหตุ นะครับ

  มองแบบวิทยาศาสตร์ ก็ต้องมองสุขภาพ พื้นฐานใช่หรือไม่ครับ

  แต่ถ้ามองแบบ พุทธศาสน์ ก็จะเ้ห็นว่า ปัจจะเวกขะณะ ของพระสงฆ์ ที่เป็นไม่เพียงพอครับ

 ผมติดใจอีกโรค โรคไส้เลื่อน น่าจะเป็นเพราะว่าพระไม่ใส่ กกน. ใช่หรือไม่ครับผมว่า น่าจะอนุโลม ไ้ด้ครับอันนี้



 :58:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

จะคุยเป็นเพื่อนนะครับ โรคที่คุณรัชนีระบุมา ผมไม่เป็นอยู่ ๒ โรค

คือ เบาหวานกับไส้เลื่อน แต่ผมกินสามมื้อเป็นปรกติ

ขอตั้งประเด็นว่า "กินเยอะ โอกาสเป็นโรค ก็เยอะตามไปด้วย"

คนส่วนใหญ่ กินตามใจอยาก ไม่ค่อยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารมากนัก



โรคที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน ในคติทางพุทธ ก็ต้องบอกว่า

"เกิดจากกรรมที่ทำร้ายสัตว์เป็นส่วนใหญ่"

เจ้ากรรมนายเวร จะดลจิิตดลใจ ให้อยากกินอาหารที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เป็นการจองเวร



พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ตัวพระองค์มีอายุแค่ ๘๐ ปี

ในขณะที่พระอานนท์ เป็นสหชาติกับพระพุทธองค์ (เกิดวันเวลาเดียวกันกับพระพุทธเจ้า)

มีอายุถึง ๑๒๐ ปี สิ่งที่เหมือนกันก็คือ พระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ ไม่สามารถเลือกฉันได้

ต้องฉันตามที่ญาติโยมถวาย เพื่อเป็นการสงเคราะห์ให้คนถวายได้บุญ



เอาล่ะครับ ยิ่งพูดยิ่งออกไปนอกเรื่อง กับคำถามที่ว่า เป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือไม่

ขอติดไว้ก่อน หิวข้าวแล้วครับ เดี๋ยวโรคกระเพาะกำเริบ

 ;) :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
     โรคที่พระสงฆ์ เป็นกันส่วนใหญ่ สำหรับพระที่มีพรรษามากกว่า 3 พรรษาขึ้นไป มีโรคดังนี้ 

                อันดับ 1. โรคกระเพาะ
                อันดับ 2. โีรคทางเดินหายใจ
                อันดับ 3. โรคความดันสูง และต่ำ มีไมเกรน ด้วย
                อันดับ 4  โรคไส้เลื่อน
                อัีนดับ 5  โรคเบาหวาน
                อันดับ 6  โรคไขข้อเสื่อม เป็นกับพระที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่

     เมื่อพิจารณา อันดับแล้ว จะเห็นว่าโรคกระเพาะ จะเป็นกันเยอะมาก ซึ่งมีสาเหตุหลัก ก็คือการขาดสารอาหารในมื้อที่เหมาะสม และ ความเครียด วิตก กังวล อีกส่วนหนึ่ง

     ข้อบัญญัติ ดูเหมือนเป็นการทรมานตน แทนที่จะเป็นการบำเพ็ญ และ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมิดศีล
ของพระสงฆ์เอง เป็นต้นเหตุของความเครียด

     เพื่อน ๆ สมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ คะ ลองมามองตามมุม กันบ้างดีไหมคะ มาร่วมกันวิเคราะห์ความน่าจะเป็นกันดีหรือไม่คะ

                                         


        ผมขออนุญาติวิเคราะห์ต่างมุมอย่างนี้ครับ!


      สำหรับโรคภัยในข้อที่ 1,2,4 และ 6 นั้น เป็นด้วยข้อจำกัดในธรรมวินัยสงฆ์ ที่ให้พระภิกษุอยู่อย่างสมถะ

สันโดษ มีข้อวัตรปฏิบัติที่ต้องปัจจเวกขณะ (พิจารณาเครื่องอยู่อาศัยเนื่องๆ) ดังนั้นสังขารธาตุขันธ์ ซึ่งมีข้อ

จำกัด กล่าวคือ สังขารเป็น "ทุกข์" สังขารเป็น "ของหนัก" สังขารมีความ "ไม่งาม" สังขารเป็น "รังแห่งโรค"

ที่กล่าวมาเป็นความจริง เป็นสิ่งที่พระสงฆ์หยิบยกเป็น "วิปัสสนา" ดังนั้นบัญญัติวินัยสงฆ์จึงไม่ให้พระภิกษุอยู่

สบาย และก็ให้ไม่ลำบาก เพียงแต่ยังอัตภาพอยู่ได้เท่านั้น


      สำหรับโรคภัยในข้อที่ 3 และ 5 นั้น เข้าใจว่า พระสงฆ์ฝ่ายข้างนี้จะเป็น พระคามวาสี คันถธุระ(ปริยัติ)

กล่าวคือ เป็นพระสงฆ์ในเืมืองร่ำเรียนธรรม/บาลี ขาดการภาวนาและอยู่สบาย จึงเป็นเหตุให้คาดเดาได้ในทุกข์

โทษโรคภัยดังกล่าว แต่ในสงฆ์ข้างฝ่ายอรัญวาสี(ปฏิบัติ) จะไม่ค่อยพบเจอทุกข์โทษอย่างนี้นัก


      นี่ก็เป็นแนววิเคราะห์อย่างคร่าวๆเพียงพอในความกังขาแด่เพื่อนๆนักภาวนาทั้งหลาย....ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2011, 12:01:14 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา