ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในครั้งพุทธกาล มีพระบรรลุธรรมในระหว่างเดินจงกรม หรือไม่คะ  (อ่าน 5944 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pimpa

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบประวัติพระที่บรรลุธรรมเนื่องด้วยการเดินจงกรม มีบ้างไหมคะ

เพื่อทราบปฏิปทาของท่าน เพราะเห็นมีการสอนเดินจงกรมกัน จึงไม่แน่ใจว่า

ในการเดินจงกรม แท้ที่จริงมีพระบรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะเดินจงกรมมากหรือไม่ในสมัยนั้น


 :25:
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้....ร้อยคนพูดก็ร้อยลักษณะ เพราะมันเป็น นามธรรม เป็นเนรมิตนามกาย(อธิสมาสกาย-กายทิพย์)....แปลเปลี่ยนไปได้ขึ้นอยู่กับทั้งผู้รับรู้(มีญาณทัศนะ,ตบะ,ฌาณ,ระดับสมาธิ,มีบุญญาบารมีที่มากน้อยเพียงไหน,คลืนที่จูนได้กับเทพเทวาชั้นไหน)และ ปัจเจกปัจจัยในผู้เนรมิตนามกาย(อธิสมาส-กายทิพย์)นั้นว่ามีบุญญาบารมีมากน้อยเพียงใดอยู่ภพภูมิใดและต้องการให้ผู้รู้ผู้เห็น เห็นเป็นรูปนามกายใด.........
............................................................
จึงมีคำกล่าวที่ว่ารูปลักษณ์นั้น สำคัญไฉน...........ตราบใดที่เรายังต้องมาเกิดอยู่ ก็ยังต้องวนเวียนในขันธ์๕นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าขันธ์๕ ขันธ์๔ หรือขันธ์๑ ก็ยังต้องเสวยขันธ์อยู่ดี...........มีพระปฎิบัติรูปหนึ่งท่านบอกว่า " ขันธ์น่ะมันไม่ดี-ทิ้งมันเสีย"ซึ่งปัจจุบันท่านมรภาพไปแล้ว......ท่านพูดง่ายๆ...แต่ทำได้นั้นแสนยาก........ (สำหรับป้า)...
                                          :34: :bedtime2: :015:

(รับทราบ จาก moderate ต้องการให้ย้ายไปห้วข้อไหน ?)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 05:58:37 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทรงโปรดสุภัททะปริพาชก


ในราตรีนั้นได้มีนักบวชปริพาชกนอกพระพุทธศาสนาผู้หนึ่งชื่อ สุภัททะ ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์จึงขอร้องวิงวอนว่า อย่าได้รบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ซึ่งปริพาชกสุภัททะก็ยังกล่าววิงวอน ขอเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการ พระอานนท์ได้ห้ามว่า

          “อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว
           พระองค์ประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน”
           ท่านสุภัททะยังได้วิงวอนต่อว่า
          “โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดู
            โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระศาสดาเถิด”
           พระอานนท์ทัดทานอย่างเดิม และสุภัททะก็อ้อนวอนเช่นเดิมครั้งแล้วครั้งเล่า
           จนได้ยินถึงพระพุทธองค์ จึงรับสั่งว่า
          “อานนท์ ! ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด”


เมื่อสุภัททะได้เข้าเฝ้าพระศาสดานั้น ก็ขอประทานโอกาสกราบทูลถามข้อข้องใจบางประการ ซึ่งพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้ถาม โดยสุภัททะได้กราบทูลถามว่า
           
          “พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจายนะ
            สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก
            ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสหรือประการใด”

            พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
           “เรื่องนี้หรือสุภัททะที่เธอดิ้นรนขวนขวายมาหาเราด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด”

            พระศาสดาตรัสทั้งยังหลับพระเนตรอยู่ แล้วทรงตรัสแก่สุภัททะว่า
           “อย่าสนใจกับเรื่องนี้เลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว
            จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด”
 
 
           "ถ้าอย่างนั้น... ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่
             สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่"

             พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
           “สุภัททะ ! รอยเท้าในอากาศนั้น ไม่มี ศาสนาใดไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะผู้สงบถึงที่สุด
             ในสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ ก็ไม่มีในศาสนานั้น
             ศาสนาใดมีอริยมรรคมีองค์ ๘  ในศาสนานั้นมีสมณะผู้สงบถึงที่สุดทั้ง ๔ ประเภทนั้น
             สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย สุภัททะ  ปัญหาของเธอ มีเท่านี้หรือ" 
           "มีเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า

             พระพุทธองค์ทรงทราบอุปนิสัยของสุภัททะจึงตรัสว่า
            “สุภัททะ !  ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังแต่โดยย่อ
             ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐ
             สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึง     
             ซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ
 
             ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐ
             ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”


สุภัททะปริพาชก เมื่อได้ฟังพระดำรัสนี้แล้วเกิดความเลื่อมใส ทูลขออุปสมบทบรรพชา พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่าผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ “ติตถิยปริวาส” คือ บำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจ เป็นเวลา ๔ เดือนก่อนแล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ สุภัททะทูลว่าตนเองพอใจอยู่บำรุงปฏิบัตพระภิกษุ ทั้งหลาย ๔ ปี
 
ในข้อที่เรียกว่าสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น คือพระอริยบุคคลระดับพระโสดาบันทั้ง ๔ คู่ ๘ บุรุษ คือ

      ๐  พระโสดาบัน    ๑  คู่   ๒ บุรุษ  คือ พระโสดาปฏิมรรค ๑ พระโสดาปฏิผล ๑
      ๐  พระสกทาคามิ  ๑ คู่   ๒ บุรุษ คือ พระสกทาคามิมรรค ๑ พระสกทาคามิผล ๑
      ๐  พระอนาคามิ    ๑ คู่   ๒ บุรุษ คือ  พระอนาคามิมรรค ๑ พระอนาคามิผล ๑
      ๐  พระอรหันต์      ๑ คู่   ๒ บุรุษ คือ  พระอรหัตมรรค ๑ พระอรหัตผล ๑


ลัทธิของครูทั้ง ๖
ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตในชมพูทวีป หรือ อินเดียสมัยก่อนพุทธกาลได้มีเจ้าลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยตั้งเป็นสำนักหรือคณะปรากฏใน พรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธมรรค แห่งพระสุตตันต ปิฎก ว่ามีทิฐิ ถึง  ๖๒  ประการ  แต่เมื่อกล่าวโดยย่อ มีที่สำคัญอยู่  ๖  ลัทธิ เรียกโดยทั่วไปว่า ลัทธิของครูทั้ง ๖

๑.   อกิริยทิฐิ   เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ทำก็ไม่เชื่อว่าทำ เช่นบุญบาปไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
      เจ้าลัทธินี้คือ บรูณกัสสปะ


๒.   อเหตุกทิฐิ  เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยสัตว์ทั้งหลายจะได้ดี ได้ชั่ว
      ได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง ไม่ใช่เพราะทำดีหรือทำชั่ว อนึ่งสัตว์ทั้งหลายหลังจากท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
      แล้วก็บริสุทธิ์ได้เอง ลัทธินี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังสารสุทธิกวาท เจ้าลัทธินี้ คือ มักขลิโคศาล

๓.  นัตถิกทิฐิ  (รวมทั้งอุจเฉททิฐิ ด้วย) ลัทธินี้มีความเห็นว่าไม่มีผล คือการทำบุญทำทานการบูชาไม่มีผล
      เจ้าลัทธินี้คือ  อชิตะเกสกัมพล  ท่านผู้นี้สอนเรื่องอุจเฉททิฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ


๔. สัสสตทิฐิ  ลัทธินี้มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น โลกเที่ยง จิตเที่ยง
      สัตว์ทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้นต่อไปตลอกกาล ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นของเที่ยง
      การฆ่ากันนั้นไม่มีใครฆ่าใคร เพียงแต่เอาศาสตราสอดเข้าไปในธาตุ (ร่าง) ซึ่งยั่งยืนไม่มีอะไรทำลายได้
      เจ้าลัทธิคือ ปกุธะกัจจายนะ

๕.  อมราวิกเขปิกทิฐิ  ลัทธินี้ความเห็นไม่แน่นอน ซัดส่ายไหลลื่นเหมือนปลาไหล เพราะเหตุหลายประการ
     เช่น เกรงจะพูดปด เกรงจะเป็นการยึดถือ เกรงจะถูกซักถาม เพราะโง่เขลา จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่
     อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่ยอมรับและไม่ยืนยันอะไรทั้งหมด เจ้าลัทธินี้คือ สัญชัย เวลัฏฐบุตร
     ซึ่งเคยเป็นอาจารย์เดิมของพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร


๖.  อัตตกิลมถานุโยค และ อเนกานตวาท  ลัทธินี้ถือการทรมานกายว่าเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์
     มีความเป็นอยู่เข้มงวดกวดขันต่อร่างกาย เช่น อดข้าว อดน้ำ ตากแดด ตากลม ไม่นุ่งห่มผ้า
     เช่น พวกนิครนถ์ ตัวอย่างเจ้าลัทธินี้ คือ นิครนถ์นาฏบุตร หรือ ท่านศาสดามหาวีระ
     ศาสดาองค์ที่ ๒๔ ของศาสนาเชน

ศาสนาเชนเป็นคู่แข่งที่สำคัญของพระพุทธศาสนา และเป็นเพียงลัทธิเดียวในจำนวนลัทธิของครูทั้ง  ๖  ที่ยั่งยืนสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อยู่ในฐานะเป็นศาสนาหนึ่งของอินเดีย แต่เนื่องจากเคร่งครัดเกินไป เช่นนักบวชจะขึ้นรถลงเรือไม่ได้ จึงไม่แพร่หลายในต่างประเทศ

 

ปัจฉิมสาวก สุภัททะภิกษุ

พระตถาคตเห็นความตั้งใจของสุภัททะ จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาอุปสมบท พระอานนท์ทรงทำตามรับสั่ง นำสุภัททะปริพาชกไปปลงผม โกนหนวด บอกกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ศีล สำเร็จเป็นสามเณร บรรพชาแล้วนำมา เฝ้าพระตถาคตซึ่งทรงตรัสบอกกรรมฐาน อีกครั้งหนึ่ง
   
ตลอดราตรีนั้น พระภิกษุสุภัททะได้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำกรรมฐาน เดินจงกรมอย่างไม่ยอมย่อท้อ ไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยเพื่อบูชาคุณแห่งพระบรมศาสดาผู้จะปรินิพพานใน ปัจฉิมยามนี้ ในขณะที่เดินจงกรมอยู่ภายใต้แสงจันทร์เต็มดวง ในคืนวิสาขปุรณมีนั้น พระจันทร์ที่สุกสกาวเจิดจรัส เต็มท้องฟ้านั้น กลับถูกเมฆก้อนใหญ่ดำ

ทมึนเคลื่อนคล้อยเข้าบดบัง จนมิดดวงไป แต่ไม่นานนักก้อนเมฆนั้นก็เคลื่อนคล้อยออก แสงจันทร์นวลสุกสกาวกลับสว่างตามเดิมนั่นเป็นเหตุให้ดวงปัญญาของพระภิกษุสุ ภัททะบังเกิดขึ้น เมื่อท่านเปรียบเทียบแสงจันทร์และก้อนเมฆนั้น


            “โอ.. จิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใส มีรัศมีเหมือนดวงจันทร์แต่อาศัยกิเลศที่จรมาเป็นครั้งคราว
             จิตนี้จึงเศร้าหมอง เหมือนก้อนเมฆบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง”


 


แล้ววิปัสนาญานก็บังเกิดแก่พระภิกษุสุภัททะ สามารถขจัดอาสวะกิเลสทั้งมวล บรรลุอรหัตผลในคืนนั้น จึงนับเป็น พระอัครสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงประทานบวชให้

ที่มา  http://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ทรงโปรดสุภัททะปริพาชก
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘

              ๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก [๑๙๓]              
              ข้อความเบื้องต้น             
               พระศาสดาผทมแล้วบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ในสาลวัน ของเจ้ามัลละทั้งหลาย อันเป็นที่แวะพัก ใกล้พระนครกุสินารา ทรงปรารภปริพาชกชื่อว่าสุภัททะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อากาเสว ปทํ นตฺถิ" เป็นต้น.

               บุรพกรรมของสุภัททะ               
               ได้ยินว่า ในอดีตกาล สุภัททปริพาชกนั้น เมื่อน้องชายให้ทานอันเลิศถึง ๙ ครั้ง ในเพราะข้าวกล้าครั้งหนึ่ง ไม่ปรารถนาเพื่อจะให้ ท้อถอยแล้ว ได้ให้ในกาลเป็นที่สุด.

               เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ทั้งในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล, แต่ว่าในปัจฉิมโพธิกาล ในเวลาเป็นที่ปรินิพพานแห่งพระศาสดา คิดว่า


               "เราถามความสงสัยของตน ในปัญหา ๓ ข้อกะปริพาชกทั้งหลายซึ่งเป็นคนแก่ ไม่ถามกะพระสมณโคดม ด้วยความสำคัญว่า "เป็นเด็ก"

               ก็บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น วิปฏิสารพึงบังเกิดแก่เราในภายหลัง เพราะเหตุไม่ถามพระสมณโคดม"

               แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แม้ถูกพระอานนทเถระห้ามอยู่ เข้าไปแล้วสู่ภายในม่าน เพราะความที่พระศาสดาทรงกระทำโอกาสแล้ว

               ตรัสว่า "อานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะเลย สุภัททะจงถามปัญหากะเรา"
               จึงนั่งใกล้ข้างล่างเตียง ทูลถามปัญหาเหล่านี้ว่า "ข้าแต่พระสมณะผู้เจริญ ชื่อว่ารอยเท้าในอากาศ มีอยู่หรือหนอแล? ชื่อว่าสมณะภายนอกแต่ศาสนานี้มีอยู่หรือ? สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยง มีอยู่หรือ?"


               พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ               
               ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกความไม่มีแห่งรอยเท้าในอากาศเป็นต้นเหล่านั้นแก่เขา จึงทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
                        ๑๑.    อากาเสว ปทํ นตฺถิ       สมโณ นตฺถิ พาหิโร
                            ปปญฺจาภิรตา ปชา       นิปฺปปญฺจา ตถาคตา.
                            อากาเสว ปทํ นตฺถิ       สมโณ นตฺถิ พาหิโร
                            สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ       นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.
                            รอยเท้าในอากาศนั่นเทียว ไม่มี; สมณะภายนอก ไม่มี;
                            หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้า,
                            พระตถาคตทั้งหลายไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า.
                            รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี, สมณะภายนอก ไม่มี,
                            สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า) เที่ยง ไม่มี,
                            กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหวไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

               แก้อรรถ               
              บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทํ ความว่า ชื่อว่ารอยเท้าแห่งสัตว์ไรๆ อันบุคคลพึงบัญญัติว่า "มีรูปอย่างนี้" ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐานในอากาศนี้ ไม่มี.

               บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผลภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี.
               บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น.

               บทว่า นิปฺปปญฺจา ความว่า ส่วนพระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ชื่อว่าไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะความที่พระองค์ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวงได้ขาดแล้ว ที่ควงแห่งไม้โพธิ์นั่นแล.

               ขันธ์ ๕ ชื่อว่าสังขาร, ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ขันธ์อย่างหนึ่งชื่อว่าเที่ยง ไม่มี.
               บทว่า อิญฺชิตํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายพึงถือเอาว่า "สังขารทั้งหลายเป็นสภาพเที่ยง" ด้วยบรรดากิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว คือตัณหา มานะ และทิฏฐิอันใด, แม้กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหวนั้นอย่างหนึ่งมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

               ในเวลาจบเทศนา สุภัททปริพาชกตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล.
               พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.


               เรื่องสุภัททปริพาชก จบ.               
                 
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=28&p=12
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะมี พระอีก 2 รูปนะคะ

  1.น่าจะเป็นพระจักขุบาล ที่ชอบเดินจงกรม และ ปฏิบัตเนสัชชิกะ

  2.พระโสณโกฬวิสะ อีกรูป

    เดินจงกรม คลานจงกรม จนเท้าเข่ามือแตกเลือดไหล ก็ยังไม่บรรลุ

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.0

 อ่านปฏิปทา แล้ว ยอมแพ้ใจท่านเลยคะ กับการสละชีวิต เพื่อธรรมคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะมี พระอีก 2 รูปนะคะ

  1.น่าจะเป็นพระจักขุบาล ที่ชอบเดินจงกรม และ ปฏิบัตเนสัชชิกะ

  2.พระโสณโกฬวิสะ อีกรูป

    เดินจงกรม คลานจงกรม จนเท้าเข่ามือแตกเลือดไหล ก็ยังไม่บรรลุ

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.0

 อ่านปฏิปทา แล้ว ยอมแพ้ใจท่านเลยคะ กับการสละชีวิต เพื่อธรรมคะ

  :25: :25: :25:

กรณีของพระจักขุปาลเถระนั้น ผมได้อ่านประวัติแล้ว  น่าจะสำเร็จอรหันต์ท่านั่งมากกว่า

เนื่องจากขณะที่ท่านทำความเพียรอยู่นั้น ตาท่านมองไม่ค่อยเห็น

เหตุการณ์ที่ ท่านเดินจงกรมเหยียบแมลงต่างๆนั้น เกิดหลังจากท่านบรรลุอรหันต์แล้ว

ประวัติท่านอยู่ลิงค์นี้ครับ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ