ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บรรพชนคนบุรีรัมย์-คนอีสานมาจากไหน.? กินอะไรกันยุคแรกเริ่ม.?  (อ่าน 317 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์


บรรพชนคนบุรีรัมย์-คนอีสานมาจากไหน.? กินอะไรกันยุคแรกเริ่ม.?

ก่อนที่บุรีรัมย์จะได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด และถูกพัฒนาเป็นเมืองกีฬาและการท่องเที่ยว หากย้อนกลับไปถึงรากเหง้าในอดีตกับคำถามว่าคนบุรีรัมย์มาจากไหน เชื่อว่าเป็นคำถามที่หลายคนยังสงสัยกันว่าเมื่อหลายพันปีก่อน คนบุรีรัมย์และชาวอีสานมาจากไหน

ข้อมูลจากสุจิตต์ วงษ์เทศ ในหนังสือ “บุรีรัมย์ มาจากไหน.?” อธิบายว่า บรรพชนบุรีรัมย์ เป็นพวกเดียวกับบรรพชนคนสุวรรณภูมิ, อีสาน และคนไทย มีอายุราว 5 แสนปีมาแล้ว

ผู้เขียนหนังสืออธิบายว่า “มีคำสมมติเรียกว่า มนุษย์ลำปาง (Lampang Man) เพราะพบหลักฐานบริเวณหน้าปากถ้ำ อ.เกาะคา จ.ลำปาง ต้องนับเป็นบรรพบุรุษคนสุวรรณภูมิและคนไทยด้วย”

สำหรับหลักฐานที่พบนั้นเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของโฮโมอีเรคตัส (Homo Erectus) มีอายุราว 5 แสนปีมาแล้ว แม้หลักฐานนี้อาจต้องนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความชัดเจนให้มากขึ้น แต่สุจิตต์ เชื่อว่าหลักฐานเหล่านี้ชี้ชวนให้เห็นว่า “บรรพชนคนสุวรรณภูมิและคนไทยร่อนเร่ตามแนวชายขอบเทือกเขาด้านตะวันตกตั้งแต่ยูนนานลงมาถึงพม่า-ไทย ต่อเนื่องไปถึงมาเลเซีย สิงค์โปร์ และพื้นที่ “ซุนดา” ถึงฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตั้งแต่ 5 แสนปีมาแล้ว”

หากย้อนกลับไปมากกว่า 10,000 ปีมาแล้วก็อาศัยอยู่ตามเพิงผาที่บ้านไร่ (ไฮ่) ต.สบป่อง กับถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เลือกตั้งถิ่นฐานตามถ้ำหรือเพิงผา

ลักษณะของบรรพชนในยุคนี้มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายหลักแหล่งไปตามแหล่งทรัพยากร มีเครื่องมือหินกะเทาะ และเครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์ ฝังศพในเพิงผาด้านใน โดยหลักฐานทางโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกท่างอตัว

เมื่อมาถึงยุค 5,000 ปีก่อน บรรพชนคนบุรีรัมย์รวมถึงคนอีสานจึงเริ่มมีหลักแหล่งถาวร ตั้งหมู่บ้านชุมชนกระจายอยู่ตามพื้นที่ทางตอนบนและตอนล่างของเทือกเขาภูพาน มีทั้งจุดอ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และอ.โนนสูง อ.สูงเนิน และอ.สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา

@@@@@@@

จากข้อมูลของสุจิตต์ ยังระบุว่า คนกลุ่มนี้เริ่มรู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะดินเผา หล่อสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือ และช่วง 5,000-7,000 ปีที่แล้ว คนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิ บรรพชนของคนบุรีรัมย์และคนอีสานเริ่มปลูกข้าวเหนียว รับประทานข้าวนึ่งเนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นเปลือกข้าวที่ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน และที่โนนนกทา ต.บ้านโคก อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น โดยความเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารของคนกลุ่มนี้ จากเดิมก่อนหน้านี้กิน “ของป่า” ที่หาได้ เมื่อรู้จักข้าวป่า และรู้ว่าข้าวป่ากินได้ จึงนำมาปลูกด้วยการหว่านเมล็ดหรือหยอดเมล็ดข้าวลงในรูดิน เมื่อน้ำค้างหรือฝนตกลงมาก็เติบโตไปตามธรรมชาติ

สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้าวพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่คนสุวรรณภูมิได้กินในช่วงแรก ปัจจุบันเรียกกันว่า “ข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่” ซึ่งเติบโตบนที่สูง และ “ข้าวเหนียวเมล็ดป้อม” บนที่ลุ่ม

บรรพชนคนบุรีรัมย์ยังมี “คนภายนอก” ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งจนเป็นชาวบุรีรัมย์และคนอีสาน สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายว่า การเคลื่อนย้ายมาจากทั้งพื้นที่ใกล้และไกล และทั้งทางบกและทางทะเล เมื่อช่วง 3,000 ปีที่แล้ว

ส่วนบรรพชนคนพื้นเมืองดั้งเดิมของอีสาน สุจิตต์ ระบุว่า ไม่มีหลักฐานพอให้ระบุชัดเจนว่าบรรพชนคนอีสานพวกแรกเป็นเผ่าพันธุ์ใด แต่โดยคร่าวๆ ถือเป็นคน 2 พวก คือ พวกบนที่สูงอยู่ในป่าเขาซึ่งชำนาญการถลุงโลหะ และพวกที่ราบในที่ราบลุ่มในหุบเขา ชำนาญทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม

ทั้งสองพวกติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน จนกระทั่งพวกที่อยู่บนที่สูงลงมาอยู่ที่ราบ ทำให้วัฒนธรรมและสังคมเริ่มผสมกลมกลืนกัน มีร่องรอยในนิทานปรัมปราหลายเรื่อง เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีคนเรียกกลุ่มคนที่มาจากการผสมผสานนี้ว่า “ชาวสยาม”


 


อ้างอิง : สุจิตต์ วงษ์เทศ. บุรีรัมย์ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : แม่คำผาง, 2553
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2564
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 9 มกราคม 2562
ขอบคุณ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_25643
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ