ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กัญจนมาณพ กัจจายนะปุโรหิต มหากัจจายนเถระ (โดยพิสดาร) ๑.  (อ่าน 1851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เคล็ดบูชา "พระสังกัจจายน์" พระอินทร์ท่านบอกมา ดอกบัว 1 ดอก ธูป 3 ดอก และทองคำเปลว 3 แผ่น ให้โชคลาภมากมายแน่นอน

คาถาบูชา "พระสังกัจจายน์" พร้อมวิธีบูชาด้วยจากพระอินทร์ ดอกบัว 1 ดอก ธูป 3 ดอก และทองคำเปลว 3 แผ่น จะให้โชคลาภ ร่ำรวย

เคล็ดบูชาพระสังกัจจายน์ให้มีโชคลาภร่ำรวย

ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล ๓ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้

๑. โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี รูปลักษณ์ท่านแสดงถึงความมีลาภพูนทวี

๒. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลม

๓. ความงามและความมีเสน่ห์เป็นเมตตามหานิยม เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำและมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม



เคล็ดการบูชา

ในการบูชาพระสังกัจจายน์นั้นบูชาด้วยธูป ๓ ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมต่างๆ หรือดอกบัว ๗ ดอก มิว่าจะบูชาด้วยดอกใดให้ใช้ ๗ ดอก และควรบูชาสองเวลาคือเช้าก่อนไปทำงานและเย็นก่อนนอน เพื่อขอให้ท่านประสาทพรโชคลาภพูนทวี และมีเคล็ดอย่างหนึ่งว่าพระสังกัจจายน์นั้นหากบูชาไว้ในบ้านให้ปิดทองที่พุงของท่านเชื่อว่าจะมีลาภไหลมาไม่ขาดสาย ในตอนเช้าให้กล่าวคำบูชาท่านดังนี้

คาถาบูชา

กัจจานะ จะ มหาเถโร พุธโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะ สุภา สิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะ โชตัง นะ มามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะ มุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะ มามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมามะฯ

และขอให้พรว่าจะไปทำงานให้อะไรก็ว่าไปตามใจปรารถนา และเมื่อกลับบ้านก่อนอนให้สวดบูชาท่านด้วยบทนี้



คาถาบูชาขอลาภ (สวดบทนี้ได้ทุกวันก่อนนอนเพื่อสิริมงคล)

กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตะโมโหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทาโสตถิ ภะวันตุ เม
และขอท่านว่าเราประสงค์สิ่งใด

ในส่วนการไปไหว้พระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ที่วัด นั้นควรมี ดอกบัว๑ดอก ธูป ๓ ดอก และทองคำเปลวสามแผ่น แผ่นที่๑ปิดที่หน้าผากขอพรให้มีปัญญาเฉียบแหลมแบบท่าน แผ่นที่๒ปิดที่ปากท่านเพื่อขอให้เกิดเมตตามหานิยม แผ่นที่๓ปิดที่พุงเพื่อขอลาภไหลมาพูนทวีแล้วกล่าวคาถา

คาถาบูชาขอลาภ (สวดบทนี้ได้ทุกวันเพื่อสิริมงคล)

กัจจายะนะ มะหาเถโร เทวะตานะระ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม ลาเภนะ อุตะโมโหติ โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง สัพพะลาภา สะทาโสตถิ ภะวันตุ เม

เสร็จแล้วให้เอามือบีบเข่าท่านและขอพร


พระอินทร์

ทำไมต้องบีบเข่าพระสังกัจจายน์

เพราะมีเรื่องเล่าว่าพระอินทร์จะหมดบุญจากเทวโลก ไม่อยากลงมาเกิดอีก ไปกราบพระโมคคัลาน์ท่านก็แนะนำไม่ให้พระอินทร์ลงมาเกิดไม่ได้จะไปถามพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงไปปลีกวิเวกส่วนพระองค์ พอดีพระอินทร์นึกขึ้นได้ว่าพระสังกัจจายน์ท่านมีปัญญาเฉียบแหลมต้องรู้แน่ๆๆ จึงเสด็จไปหาพระสังกัจจายน์
 
พอพบท่านพระอินทร์ก็ตรงไปบีบเข่าถวายแก้ปวดเมื่อยท่าน พระสังกัจจายน์ท่านใช้ญาณดูก็รู่ว่าพระอินทร์มาด้วยเรื่องอะไร ท่านเห็นว่าพระอินทร์เป็นผู้นอบน้อม จึงแนะให้พระอินทร์ต่อบุญด้วยการใส่บาตรพระมหากัสสปะขณะออกจากนิโรธสมาธิเพราะอานิสงส์แรงมาก พระอินทร์กราบลาและไปทำตามปรากฏว่าพระอินทร์ก็ต่อบุญได้อีกไม่ต้องจุติจากสวรรค์มาเกิดอีก จึงเป็นเคล็ดที่เวลาไปกราบพระสังกัจจายน์ใหญ่ๆๆตามวัดต้องบีบเข่า

สำหรับเคล็ดและประวัติพระอินทร์ในการบีบเข่าพระสังกัจจายน์นั้นได้ตำรับ มาจากหลวงพ่อสุรินทร์ (ศิษย์ครูบาเจ้าเกษม)เจ้าอาวาส วัดปราสาทนครหลวง ท่านได้เมตตาบอกเคล็ดแล้วเล่าให้ฟัง ส่วนตัวผู้เขียนทำแล้วรู้สึกดีเลยบอกต่อครับ ส่วนเคล็ดการไหว้พระสังกัจจายน์ที่บ้าน หลวงปู่แย้ม ฐานยุตโตบอกว่าหลวงปู่เต๋ คงทองท่านได้บอกญาติโยมครับ






ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
www.buddhakhun.org , http://palungjit.org/
ที่มา : https://www.tnews.co.th/variety/471354
15 ก.ค. 2561 , เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:42:29 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
รูปภาพของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์


พระมหากัจจายนะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระมหากัจจายนะ (บาลี : มหากจฺจายน, สันสกฤต : มหากาตฺยายน) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"

พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษาพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



อ้างอิง :-
- Chandra, Lokesh (2002). Dictionary of Buddhist Iconography. Aditya Prakashan. pp. 1652–1653. ISBN 8177420496.
- Keown, Damien (2003). A Dictionary of Buddhism. Oxford University Press. p. 140. ISBN 0198605609.
- หน้า 3, พระพุทธรูปหัวร่อ โดย กิเลน ประลองเชิง. "ชักธงรบ". ไทยรัฐปีที่ 69 ฉบับที่ 21933: วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา
ขอบคุณที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/พระมหากัจจายนะ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:42:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
(ซ้าย) ประติมากรรมพระสังกัจจายน์ ไม่ระบุวันที่ และสถานที่ (pixabay), (ขวา) พระพุทธรูปใหญ่บนเกาะลันเตา ฮ่องกง ไม่ระบุวันที่ (AFP PHOTO / PETER PARKS)


Smiling Buddha : “พระสังกัจจายน์” หรือ “พระพุทธเจ้ายิ้ม” กันแน่.?

สวัสดีค่ะ คุณแอดมิน Silpa-Mag ดิฉันได้เห็นบทความเรื่อง “18 พฤษภาคม 1974: อินเดียประกาศความสำเร็จการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ‘พุทธะแย้มสรวล’” แล้วก็อดสงสัยเหมือนกับคุณ Pun Surapun ไม่ได้เหมือนกันว่า คำว่า “Smiling Buddha” ทำไมคุณแอดมินถึงเอามาแปลว่า “พุทธะแย้มสรวล” ตรงตัวไปแบบนั้น เพราะคำนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าหมายถึง “พระสังกัจจายน์”

คุณแอดมินมาอธิบายว่า “คนอินเดียใช้คำว่า ‘Buddha’ เพื่อสื่อถึง พระพุทธเจ้าครับไม่ใช่พระสังกัจจายน์ที่เป็นสาวกของพระองค์ หากเป็นผู้ที่รู้พุทธประวัติย่อมรู้ว่า พระสังกัจจายน์กับพระพุทธเจ้าไม่ใช่คนๆ เดียวกัน แต่ชาวตะวันตกอาจเข้าใจผิดว่า พระสังกัจจายน์เป็นพระพุทธเจ้าได้ จึงเรียกพระสังกัจจายน์ว่า ‘Buddha’ ด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด แต่ไม่ใช่กับกรณีนี้”



ดิฉันเห็นว่า คำอธิบายแบบนี้ยังไม่เคลียร์นะคะ เพราะคนไทยรู้จักพระพรหมดี แต่เวลาอธิบายกับฝรั่งต่างชาติ หรือคนจีน คนมาเลย์กลับเรียกว่า “Four Faces Buddha” ซะอย่างนั้น คนอินเดียเขาอาจจะรู้จักพระพุทธเจ้าและพระสังกัจจายน์ แต่อยากจะเรียกพระสังกัจจายน์ง่ายๆ ว่า “Smiling Buddha” ก็ได้ แม้ว่ามันจะผิดก็ตาม

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นดิฉันก็เลยลองไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า “Buddha” (The one who was smiling) ที่คนอินเดียใช้ในบริบทนี้ เพื่อเรียกโครงการระเบิดปรมาณูลูกแรกของพวกเขานั้นหมายถึงใครกันแน่ ระหว่างพระพุทธเจ้า หรือพระสังกัจจายน์

พอดิฉันได้เริ่มคิดแบบคริติคอลขึ้นมา ก็เริ่มเห็นคล้ายๆ คุณแอดมินเลยค่ะ เพราะคำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวของดิฉันก็คือ ถ้าอินเดียจะตั้งชื่อระเบิดปรมาณูลูกแรกของตัวเองซึ่งก็ต้องมีความสำคัญมาก หากเทียบกันระหว่างพระสังกัจจายน์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมมีความสำคัญกว่าอยู่แล้ว หากคิดในแง่นี้พวกเขาก็คงอยากจะเอามันไปเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้ามากกว่า

แล้วพอไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมดิฉันก็จึงได้รู้ว่า วันที่ 18 พฤษภาคม 1974 ที่เป็นวันทดลองจุดชนวนระเบิดนั้น ยังเป็นวันพุทธชยันตีของทางอินเดียที่เขาฉลองวันประสูติของพระพุทธเจ้า เหมือนวันวิสาขบูชาบ้านเราอีกด้วย (วันเวลาอาจจะคลาดกันเล็กน้อย) วันนี้จึงมีความสัมพันธ์ “โดยตรง” กับพระพุทธเจ้า โอกาสที่พวกเขาจะใช้คำว่า “Smiling Buddha” เพื่อสื่อถึง “พระสังกัจจายน์” จึงน้อยลงไปอีก

@@@@@@@

เท่านั้นยังไม่พอค่ะคุณแอดมิน ทางอินเดียเขาโปรโมตระเบิดลูกนี้เป็นหนักหนาว่าเป็นระเบิดเพื่อสันติเพราะอะไรรู้มั้ยคะ? คุณวินัย สิทธะปาตี (Vinay Sitapati) นักวิชาการท่านหนึ่งของอินเดียแกไปค้นคว้ามาจึงได้รู้ว่า คุณราชา รามันนา (Raja Ramanna) นักฟิสิกส์คนดังที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้แกรู้จักพุทธประวัติเป็นอย่างดีค่ะ และแกก็รู้เรื่องสงครามระหว่างแคว้นวัชชีกับแคว้นมคธด้วย

ชาวพุทธอย่างเราย่อมรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีแล้วล่ะค่ะ แต่ดิฉันขอเท้าความนิดนึงว่า ในช่วงปลายชีวิตของพระพุทธองค์เนี่ยพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งมคธทรงมีดำริที่จะยึดเอาแคว้นวัชชีให้จงได้ พระองค์จึงทรงให้วัสสการพราหมณ์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลถามหยั่งเชิงว่า พระนครไพศาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชีในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นอย่างไร? ด้วยหวังว่าจะได้คำพยากรณ์อันจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายของพระองค์

ปรากฏว่า พระพุทธองค์ท่านไม่ทรงตอบวัสสการพราหมณ์ แต่ได้หันไปถามพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ปัจจุบันนี้ชาววัชชียังประพฤติอปิหานิยธรรมกันดีอยู่หรือ”

พระอานนท์ทูลตอบว่า “ยังประพฤติกันดีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธองค์จึงตรัสต่อไปว่า หมู่คณะใดประพฤติอปริหานิยธรรมเป็นอันดี โดยชอบให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทแล้ว หมู่คณะนั้นพึงหวังได้แต่ความเจริญเพียงฝ่ายเดียว

ปรากฏว่า วัสสการพราหมณ์ แกปัญญาเฉียบแหลมตีความว่า พระองค์ทรงแนะอุบายในการทำศึกว่า ต้องยุยงให้แคว้นวัชชีแตกกันเสียก่อน ถึงจะเอาชนะได้


@@@@@@@

แต่จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ใฝ่สันติย่อมมิได้ประสงค์จะให้มีการทำสงครามเข่นฆ่ากันอยู่แล้ว พระดำรัสของพระองค์จึงเป็นเหมือนการทัดทานมิให้มีการทำสงครามกันมากกว่า และคำตอบของพระองค์ก็ได้ชะลอเวลาการทำสงครามออกไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปได้สองปี แคว้นมคธก็สามารถยึดครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ ด้วยอุบายยุยงให้ผู้นำวัชชีแตกสามัคคีกันนั่นเอง

แล้วมันเกี่ยวกับ “Smiling Buddha” ยังไง? เกี่ยวสิคะคุณแอดมิน เพราะอะไร? ก็อย่างที่บอกว่า พระองค์มิได้ประสงค์ให้เกิดสงคราม ทีนี้คุณรามันนา ผู้พัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุคสงครามเย็นแกก็เปรียบเทียบสิคะว่า อินเดียเนี่ยก็เป็นเหมือนแคว้นเล็กๆ ที่ถูกจ้องเบียดเบียนจากรัฐใหญ่ เปรียบดั่งแคว้นวัชชีก็ไม่ปาน หากแคว้นเล็กๆ จะสามารถยับยั้งไม่ให้รัฐใหญ่มาใช้กำลังข่มเหงได้ ก็ต้องมีไม้เด็ดไว้ป้องกันตนเอง

เมื่ออินเดียสามารถสร้างนิวเคลียร์ได้สำเร็จ รัฐใหญ่ที่ไหนก็ไม่กล้ามาแหยมง่ายๆ ทำให้อินเดียไม่ต้องเจอกับชะตากรรมเช่นเดียวกับแคว้นวัชชี ด้วยเหตุนี้เมื่อคณะนักวิทยาศาสตร์ส่งรหัสยืนยันความสำเร็จของโครงการนี้ต่อนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี จึงใช้คำว่า “Buddha is smiling” เพราะพวกเขาเชื่อว่า พระพุทธองค์จะทรงยินดี ที่อินเดียสามารถสร้างเครื่องมือที่จะยับยั้งสงครามที่จะอาจขึ้นในอนาคตได้สำเร็จนั่นเอง

ถึงตรงนี้ก็คงจะไม่ต้องอธิบายต่อแล้วมั้งคะ ว่าทำไมโครงการระเบิดปรมาณูของอินเดียจึงอ้างว่าเป็น “ระเบิดเพื่อสันติ” และทำไมจึงถูกเรียกว่า “Smiling Buddha”

      ขอแสดงความนับถือ
          สาวบางกุ้ง





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน   : สาวบางกุ้ง
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2560
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_9882


ภาพพระสังกัจจายน์ ที่วัดบำเพ็ญจีนพรต เยาวราช กทม.

คำบรรยายภาพ : พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ท่านคือพระโพธิสัตว์ ได้รับความเคารพนับถือมากในพุทธศาสนานิกายมหายาน (ที่คนจีนนับถือ)ลักษณะคล้าย พระสังกัจจายน์ ต่างกันที่พระเศียร(หัว) ไม่มีพระเกศา(ผม) ครองจีวรเปิดด้านหน้า (เห็นพุง) มือข้างหนึ่งถือถุงย่าม ข้างหนึ่งถือลูกประคำ พระสังกัจจายน์หรือพระมหากัจจายนะเถระ ท่านคือพระอรหันต์ ได้รับความเคารพนับถือมากในพุทธศาสนานิกายเถรวาทหรือหินยาน (ที่คนไทยนับถือ)

ขอบคุณที่มา : www.chinatownyaowarach.com/articles/42053155/วัดบำเพ็ญจีนพรต_ไชน่าทาวน์_เยาวราช.html


พระสังกัจจายน์

“พระสังกัจจายน์” หรือพระยิ้ม หรือที่เรียกทั่วไปว่า พระถุงย่าม เป็นพระทางศาสนาพุทธที่ทั้งชาวจีนในไทยและชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อเข้าไปในวัดจีน เช่น วัดบำเพ็ญจีนพรต ที่เยาวราช วัดมังกรกมลาวาส ที่เจริญกรุง หรือวัดโพธิแมนคุณาราม ที่สาธุประดิษฐ์ ในตำหนักหน้าสุดที่เรียกกันว่า ตำหนักท้าวจตุโลกบาล ก็จะเห็นพระสังกัจจายน์มองออกไปทางหน้าประตูใหญ่ของวัด

พระสังกัจจายน์ หรือหมีเล่อโฝว หรือหมีเหล็กฮุก เป็นพระที่ทุกคนกราบไหว้เพราะเชื่อว่าเป็นพระที่นำโชค ความอ้วนพุงยุ้ยหมายถึงความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง ใบหน้ายิ้มแย้มเป็นการนำโชค

@@@@@@@

เรื่องเล่าของพระสังกัจจายน์

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระรูปนี้ ว่าท่านชื่อฉีฉื่อ เป็นชาวเฝิ่งหว้า แห่งมณฑลเจ้อเจียงในปลายสมัยราชวงศ์ถัง ท่านมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจั่งทิงจื่อ เป็นพระที่รูปร่างอ้วนเตี้ย พุงยุ้ย มักใช้ไม้เท้าที่ทำจากไม้ไผ่เกี่ยวถุงผ้าแล้วแบกไว้บนบ่า มักปรากฏกายไปบิณฑบาตในตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลา พูดจาผิดจากคนทั่วไป ค่ำที่ไหน นอนที่นั่น มักจะบอกเล่าและทำนายเรื่องในอนาคตที่จะเป็นอันตรายต่อผู้คน ราวกับเป็นผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ความจริงแล้วสิ่งที่ติดตัวของท่านก็มีเพียงถุงย่ามใบเดียว

ท่านมักจะนำของที่บิณฑบาตมาได้เทรวมลงไปในถุงย่าม ผู้คนเข้ามามุงดู ท่านจะพูดกับคนเหล่านั้นด้วยคำพูดที่เปรียบเทียบให้คนรู้เห็นธรรมอันแท้จริง บางคนบอกว่าท่านเป็นเทพเจ้า บางคนก็ว่าท่านเป็นบ้า ในวันที่ท่านมรณภาพก็มีเรื่องแปลกเกิดขึ้น ในวันที่ท่านมาถึงวัดเอี้ยนหลินซื่อ ของเมืองเฟิงหว้าที่เป็นบ้านเกิด นั่งอยู่บนหินแบนๆ ก้อนหนึ่ง แล้วสวดคำสวดที่แปลว่า “พระหมีเล่อนี้เป็นพระหมีเล่อองค์จริง แปลงกายได้หลากหลายกาย ปรากฏกายให้คนในยุคนั้นเห็นบ่อยครั้ง แต่ผู้คนกลับไม่รู้จัก” หลังจากท่านสวดจบก็มรณภาพ

ต่อมาผู้คนเข้าไปพิจารณาดูแล้วรู้ว่าที่แท้พระรูปนี้คือกายแปลงของพระหมีเล่อ จึงได้นำร่างของท่านไปยังทางตะวันตกของเอี้ยงหลินซื่อ แล้วก็สร้างเป็นวัดขึ้น ณ ที่นั้น เรียกว่าวัดหมีเล่ออัน หลังจากนั้นก็มีการสร้างรูปเคารพ ตามรูปรางลักษณะของพระยิ้มหรือพระถุงย่ามเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ แล้วประดิษฐานไว้ที่กลางตำหนักท้าวจตุโลกบาล เพื่อให้ผู้คนกราบไหว้




ที่มาข้อมูล : นิตยสารศิลปวัฒนธรรม
รวบรวมและเรียบเรียงบทความ : ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ
URL : www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=พระสังกัจจายน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:43:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธรูปหัวร่อ

เย็นย่ำวันอาทิตย์ ผมอ่านเรื่อง พระสังกัจจายน์ จากหนังสือฝรั่ง มหัศจรรย์แห่งสัญลักษณ์ เครื่องราง และเคล็ดลับนำโชค (ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล แปล สำนักพิมพ์ซีเอ็ดฯ) เป็นเรื่องสุดท้าย ไปถึงงานแต่ง ได้ของชำร่วยเป็นพระสังกัจจายน์ รูปพรรณเหมือนกันเป๊ะ ถึงกับอมยิ้ม เป็นเรื่องบังเอิญ แต่ก็อยากรู้ คู่บ่าวสาว เขาซ่อนนัยความคิดอะไรไว้

ธรรมเนียมงานแต่งสมัยใหม่ เขาก็ฉายหนังบอกเล่าเรื่องราว...หนุ่มนุ่งกางเกงขาสั้น นัดสาวไปไหว้พระที่วัด สาวเสี่ยงเซียมซีได้ใบที่ 16 แต่ไม่รู้คำทำนาย เพราะใบเซียมซีหมด

บทกุ๊กกิ๊กหนุ่มสาว เดินต่อไป เรียกเสียงหัวเราะ เสียงฮาเป็นระยะ ปมปริศนาใบเซียมซีไม่มีก็ค่อยคลี่คลาย หนุ่มเป็นนักค้นทางอินเตอร์เน็ตตัวเก่ง ช่วยเพื่อนได้สารพัด

เรื่องตอนท้าย เมื่อสาวบ่นหาใบเซียมซี หนุ่มก็หยิบ “ใบที่ 16” จากกระเป๋าสตางค์ยื่นให้ “เราเคยเสี่ยงได้ใบนี้เมื่อสองปีที่แล้ว” โอกาสดีมาถึง หนุ่มออกปากขอแต่งงาน สาวอ่านใบเซียมซี ถึงบท “จะพบเนื้อคู่สู่สมภิรมย์พักตร์” ก็ “ตกลง” ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อ เรื่องทุกเรื่อง ช่างสมพงษ์ลงตัวได้ถึงปานนั้น

@@@@@@@

หนังรักโรแมนติกในจอจบ ผมจึงนึกออก ความรักความใคร่ของบ่าวสาวคู่นี้มีขึ้นและงอกงามในวัด เขาตั้งใจเลือกพระสังกัจจายน์ เป็นสื่อเล่าอีกเรื่อง กลับถึงบ้าน ผมเปิดหนังสืออ่านต่อ พระสังกัจกัจจายน์ พุทมหายาน นิกายเซน ของจีน คือพระภิกษุอ้วนพลุ้ยร่างสูงใหญ่เปลือยพุง สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะเบิกบานตลอดเวลา ข้างกายมีกระสอบใบใหญ่ ในกระสอบเต็มไปด้วยขนมและของหวานสำหรับเด็กๆและคนจน

บางตำนานว่า ท่านคือ อันกิดาอรหันต์ จีนเรียก อาซือตัวหล่อฮั่น มีชื่อเสียงเลื่องลือในการจับงูและรีดพิษงู ก่อนที่มันจะเพ่นพ่านไปทำร้ายมนุษย์ กระสอบหลายใบที่ท่านพกไปด้วย มีไว้สำหรับใส่งู

ความเชื่อพระสังกัจจายน์ใจดี ให้โชคลาภ ทำให้มีคนมากมาย ต้องการไปลูบท้องอ้วนใหญ่ของท่าน ขอให้ความสุขทั้งหลายเข้าไปสู่ตัว ความเชื่อเรื่องท่านช่วยจับงู ป้องกันภัย ก็ลูบท้องขอให้ความทุกข์ทั้งหลายทะลักไปเข้ากระสอบข้างตัวท่าน เรียกว่า ขอได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง

พุทธนิกายมหายานจีน เรียกท่าน “ปู้ไต้” ญี่ปุ่นเรียก โอเทอิ ถือเป็นหนึ่งใน 7 เทพเจ้านำโชค ทางตะวันตก เรียกท่านว่า พระพุทธรูปหัวร่อ


@@@@@@@

อ่านเรื่องพระสังกัจจายน์จบ...ผมจึงต้องประเมินบ่าวสาวคู่นี้ใหม่...ผมรู้จักเจ้าบ่าวตั้งแต่ยังเล็กๆ ชื่อเล่นโจ้ ชื่อจริงเปิดการ์ดเชิญดู ธัชชัย ภิรมย์อนุกูล มีเหตุผลด้านดวงดาวตำราพยากรณ์จีน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องชง ผู้พ่อจูงมือมาไหว้ผมปีละครั้ง สั่งให้เรียกผมว่าพ่อ ผมจึงมีลูกชายที่ไม่ต้องเลี้ยงเอง อีกหนึ่งคน

ไม่แปลกใจแล้ว... มุกเซียมซีใบที่ 16 ไม่ทิ้งลายสายเลือด น.นพรัตน์ นักแปลนิยายจีนระดับตำนาน หาของชำร่วยมงคลวันแต่งงาน ให้ความรู้สึกลึกซึ้งคมคายถึงใจผมจริงๆ.




ขอขอบคุณ :-
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ : ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง ,8 ก.พ. 2561, 05:01 น.
URl : https://www.thairath.co.th/news/politic/1197803
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:44:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
.
:25: :25: :25:

ตำนานพระสังกัจจายน์ คือ ใครกันแน่ | ในวัดไทยและวัดจีน คือ คนเดียวกันหรือไม่.?

พระสังกัจจายน์คือใครกันแน่ ในวัดไทยและวัดจีนคือคนเดียวกันหรือไม่.?

คนไทยทุกคนน่าจะเคยเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เป็นพระร่างอ้วน และมีใบหน้ายิ้มตลอดเวลา พอมองดูแล้วก็จะมีความสุข เพราะเหมือนว่าท่านกำลังยิ้มให้กับเรา โดยทั่วไปแล้วคนไทยเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า "พระสังกัจจายน์" ไม่ว่าพระพุทธรูปลักษณะนี้จะอยู่ที่วัดไทยและวัดจีน คนไทยมักจะเรียกรวมกันทั้งหมดว่า “พระสังกัจจายน์”

แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระพุทธรูปร่างอ้วนใบหน้ายิ้มในวัดไทย กับพระพุทธรูปลักษณะคล้ายกันที่อยู่ในวัดจีน มีที่มาที่แตกต่างกัน หรือเป็นคนละกันเลยด้วยซ้ำไป หรือเอาง่ายๆ พระสังกัจจายน์ในวัดไทยกับวัดจีนคือคนละองค์กันนั่นแหละครับ


พระสังกัจจายน์ ในวัดบางน้ำผึ้งนอก พระประแดง สมุทรปราการ ขอบคุณที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/

พระสังกัจจายน์ในวัดไทย

ในวัดไทย ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เชื่อว่าพระสังกัจจายน์ คือ *พระมหากัจจายนะ* พระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล พระมหากัจจายนะผู้นี้เป็นพระที่มีความสามารถมาก เขาสามารถย่อธรรมะของพระพุทธเจ้าให้สั้นลง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก พระพุทธเจ้ายกย่องพระมหากัจจายนะเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร

แต่สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระมหากัจจายนะ คือ รูปร่างที่อ้วนใหญ่ จริงๆ แล้วพระมหากัจจายนะไม่ได้อ้วน แต่เขาจงใจทำให้ตนเองอ้วน เพราะว่าพระมหากัจจายนะ เป็นคนที่มีใบหน้างดงาม งามจนถึงขนาดที่มีชายหนุ่มยังหลงใหล ผิวพรรณก็ผ่องใสเหมือนทองคำ ด้วยเหตุนี้พระมหากัจจายนะจึงเนรมิตตนเองให้กลายเป็นพระอ้วน เพื่อที่จะได้ไม่มีผู้ใดมาหลงใหลในกายของเขาอีกต่อไป

บ้างว่าใบหน้าและร่างกายของพระมหากัจจายนะงดงามทัดเทียมพระพุทธเจ้า พระมหากัจจายนะเห็นว่าไม่สมควร เขาจึงทำตนเองให้อ้วน หลังจากนั้นชาวพุทธจึงได้สร้างพระพุทธรูปของพระมหากัจจายนะ ในร่างอ้วนเสมอมา


พระสังกัจจายน์จีน Budai (พระสังกัจจายน์) By Milei.vencel, Hungary, CC BY-SA 3.0,

พระสังกัจจายน์ในวัดจีน

ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทั้งสามประเทศมีศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัชรยาน ดังนั้นความเชื่อจึงแตกต่างออกไป ชาวจีนเรียกพระรูปนี้ว่า ปู้ไต้ (布袋) เกาหลีเรียกว่าโพแด (포대) ส่วนญี่ปุ่นเรียกว่าโฮเทย (ほてい)

ที่มาของพระสังกัจจายน์ในวัดจีน จึงไม่ใช่พระมหากัจจายนะเหมือนในวัดไทย แต่คือพระอีกรูปหนึ่งชื่อปู้ไต้ พระชาวจีนที่ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 9-10 พระรูปนี้มีรูปร่างอ้วนใหญ่และหัวล้านโดยไม่มีผมเลยสักเส้นเดียว เขาจะใส่อัฐบริขารทั้งหมดไว้ในย่ามเล็กๆ เขาเป็นพระที่ยากจนแต่มีความสุข โดยเขาจะยิ้มอยู่ตลอดเวลา

ปู้ไต้ชอบเล่นกับเด็ก และตีท้องอันอ้วนใหญ่ของตนไปด้วย เมื่อใดที่ปู้ไต้เหนื่อย ปู้ไต้จะล้มตัวลงนอนทันที โดยไม่สนใจสิ่งใด ไม่ว่าอากาศเย็นสักเท่าไรปู้ไต้ก็มิได้กลัวเกรง ว่ากันว่าที่เป็นเช่นนั้น เพราะปู้ไต้มีพลังพิเศษที่ทำให้เขาไม่หนาว และยังสามารถพยากรณ์อากาศ รวมไปถึงโชคชะตาได้อย่างแม่นยำ

ก่อนจะเสียชีวิต ปู้ไต้ได้เขียนจดหมายสั้นๆ ไว้ว่า แท้จริงแล้ว ตนเองเป็นพระเมตไตรย(Maitreya)  พระพุทธเจ้าในอนาคต นักประวัติศาสตร์จีนได้ค้นพบจดหมายดังกล่าว และตรวจสอบอายุพบว่า มันมีอายุย้อนไปถึง ปี ค.ศ.916

ถึงแม้จริงๆ แล้วปู้ไต้จะเป็นพระที่ยากจน แต่ด้วยความที่เขายิ้มอยู่ตลอดเวลา และรูปร่างที่อ้วนพี ทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความมั่งคั่ง ความเชื่อดังกล่าวแพร่กระจายไปยังทั่วดินแดนจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปแทนตัวปู้ไต้จึงมาสักการะบูชามากมายมาจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาปู้ไต้ยังถูกเรียกว่า พระพุทธเจ้าอ้วน (พั่งโฝ) และพระพุทธเจ้าหัวเราะ (เซี่ยวโฝ) ด้วยเช่นกัน


Glazed ceramic sculpture of Budai. China, Ming dynasty, 1486. ขอบคุณภาพพระปู้ไต้ จากวิกิพีเดีย

ความแตกต่าง

ด้วยความที่เป็นคนละคนกัน พระสังกัจจายน์ไทยและจีนจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน พระพุทธรูปของพระมหากัจจายนะจะมี “ผม” อยู่บ้าง (เหมือนพระพุทธเจ้า) ส่วนปู้ไต้ไม่มีเลยศีรษะของเขาจะล้านทั้งหมด

ผ้าไตรของพระมหากัจจายนะจะครบถ้วนสมบูรณ์ มีสบง จีวร สังฆาฏิพร้อมแบบเถรวาท ส่วนปู้ไต้จะสวมใส่ผ้าไตรแบบจีน (มหายาน) และจะใส่แบบหลุดลุ่ยหน่อย

อ่านเรื่องพระปู้ไต้ ได้ที่ : https://en.wikipedia.org/wiki/Budai





ขอบคุณ : -https://victorytale.com/th/fat-buddha/-
Updated : สิงหาคม 20, 2020
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:44:16 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระสังกัจจายน์


ประวัติพระสังกัจจาย์

พระสังกัจจายน์ เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่วรำรวย เทพเจ้าจีน พระยิ้ม เทพเจ้าโชคลาภ

“พระสังกัจจายน์” หรือ “หมีเล่อฝอ(弥勒佛)” หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า “พระสังกัจจายน์โพธิสัตว์” เป็นคำเรียกกันทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับคำเรียกทางพุทธศาสนาฝ่านหินยานคือ “พระอาริย์” (พระศรีอารยเมตไตรย)อันเป็นคติความเชื่อทางพุทธศาสนาที่หมายถึงพระพุทธเจ้า องค์ใหม่ ที่จะบังเกิดมาในอนาคตกาล ณ เวลานั้น เชื่อกันว่า สันติสุขอันแท้จริงจะบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ

รูปลักษณะของพระสังกัจจายน์ (พระศรีอาริย์)ตามแบบคติแบบจีนนั้น จะเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะอ้วนพลุ้ยเปลือยอก มีใบหน้าที่สดชื่นร่าเริง สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และมักหัวเราะเริงร่าอยู่เสมอ สองหูยาวจรดบ่า มักเห็นท่านในลักษณะท่าทางนั้งอย่างสบายอารมณ์ และปรากฏรูปเด็ก ๆ วิ่งรายล้อม อยู่รอบตัวพระสังกัจจายน์ เด็ก ๆ ที่ปีนป่ายอยู่รอบตัวท่านจะต้องเป็นเด็กผู้ชายจำนวน 5 คน เด็กชาย 5 คนเป็นความหมายแฝงที่หมายถึง “อู่ฝู” (五福)หรือความสุข 5 ประการ อันถือเป็นความสุขที่เที่ยงแท้ของชีวิตมนุษย์

ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์ กล่าวว่า พระสังกัจจายน์ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา

ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนี


@@@@@@@

กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า

"ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน"

พระกัจจายนะจึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม

หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร

นับจากนั้นมาพระสังกัจจายน์ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก

@@@@@@@

พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง

พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก

มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์  สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส

เรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์

เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่า คือ  "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"


@@@@@@@

ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องโรคทางใจมากกว่าเรื่องโรคทางกายพระองค์สรุปว่า "ผู้ที่ไม่มีโรคทางกายเป็นเวลาหลายปีนั้นพอหาได้ แต่ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงชั่วเสี้ยวนาที ก็หาได้ยาก" จึงมีคำกล่าวตามมาที่ว่า "ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ" เช่นกัน

ในทางพุทธศาสนามหายานนั้น คติการสร้างรูปเคารพพระสังกัจจายน์ หรือ “หมีเล่อฝอ” เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง(ซ้อง) ซึ่งเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางด้านศิลปะหัตถกรรมจีน รูปเคารพทางพุทธศาสนาจึงถูกนำมาใช้ในความหมายที่ดีแก่ราชสำนักและคหบดีทั่วไป

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ภาพวาด จิตรกรรมจีน ประเพณี ประติมากรรมพระสังกัจจายน์ หรือ “หมีเล่อฝอ” จึงถูกนำมาใช้วัฒนธรรมมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสมหวังและมีความหมายที่ดีสำหรับใช้เป็นภาพอวยพรให้ แก่กันและกัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตใดๆ สำเร็จสมประสงค์และเพียบพร้อมด้วยปิติสุขตลอดไป

    - ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"
    - วิธีขอพลัง คือ ตั้งจิตอธิฐาน ใช้มือข้างขวา ลูบที่พุงวนขวาตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ
    - ปางที่ดีที่สุดคือ ปางที่เมื่อเราเห็นแล้วเรารู้สึกรัก รู้สึกชอบ เห็นแล้วรู้สึกดี
    - พระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม นั่งมังกรหมายถึงให้มีอำนาจวาสนา เป็นผู้ปกครองคน
         
@@@@@@@

ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้

    1. โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี
    2. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฎิภาณเฉียบแหลม
    3. ความงามและความมีเสน่ห์ เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำและมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม






ขอบคุณที่มา : www.richystar.com/ประวัติเทพเจ้าจีน-เทพเจ้าโชคลาภ-กวนอู-กวนอิม-ไฉ่ซิ่งเอี้ย-ฮกลกซิ่ว-พระสังกัจจายน์/ประวัติเทพเจ้าจีน-พระสังกัจจาย์.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:44:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ยังไม่จบครับ มาได้เพียงครึ่งทาง ต่อไปจะนำข้อมูลข้อธรรมจากเว็บ https://84000.org/ มานำเสนอโดยละเอียด ปัญหาในตอนนี้ก็คือ ผมหาที่มาของคำว่า "สังขกัจจายน์" ไม่ได้ ท่านใดทราบ ช่วยแจ้งด้วยครับ


 st12
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:44:59 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงพ่อกัจจายน์ ที่ วัดสังข์กระจายวรวิหาร กรุงเทพฯ

ที่มาของคำว่า "สังข์กระจาย" อยู่ที่ วัดสังข์กระจายวรวิหาร กรุงเทพฯ ครับ จะนำเสนอโดยละเอียดต่อไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:45:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงพ่อกัจจายน์


วัดสังข์กระจายวรวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อสามัญ : วัดสังข์กระจายวรวิหาร
ที่ตั้ง : เลขที่ 504 ซอยอิสรภาพ 21 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
ประเภท : พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกาย   : มหานิกาย
เจ้าอาวาส : พระพิศาลพิพัฒนพิธาน (อรุณ อริยวํโส ป.ธ.๖)

วัดสังข์กระจายวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย(1) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนอิสรภาพ บนฝั่งเหนือคลองบางกอกใหญ่ ใกล้สะพานเจริญพาศน์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร



ประวัติ

ตำแหน่งที่วัดตั้งอยู่นี้แต่เดิมเป็นที่ลุ่มราบ น่าจะเป็นด้วยอยู่ริมคลองน้ำขึ้นท่วมถึงได้ มีต้นไม้ขนาดคนสามคนโอบ เช่น ต้นไทร ต้นตะเคียน ต้นยาง ยืนต้นเคียง ยืนต้นมากมาย ไม่ผิดกับป่าลึกดงร้าง ก่อนสร้างวัดขึ้นใหม่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดสังข์กระจายเป็นวัดโบราณมาก่อน ได้เคยขุดพบลูกนิมิตหลายลูกฝังอยู่ทางด้านนอกกำแพงแถบเหนือพระอุโบสถ

มีข้าราชการตำแหน่งนายสารบบ (ในกรมพระสุรัสวดี) ชื่อนายสังข์ ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝั่งห่างจากปากคลองบางวัวทอง มีจิตศรัทธา ดำริจะสร้างวัด จึงได้ไปปรึกษากับนายพลับ เพื่อขอไม้ซุงมาสักต้นหนึ่ง เมื่อตอนล่องซุงในคลองบางวัวทอง นายสังข์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า หากซุงที่ข้าพเจ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดล่องไปตามลำคลองนี้ลอยไปติด ณ ที่ใด ก็จะสร้างวัดขึ้นที่นั้น ซุงได้ลอยมาติดตรงหน้าวิหารในปัจจุบัน จึงได้สร้างวัดที่ตำแหน่งนี้ โดยค่อย ๆ สร้างวัด ค่อยทำค่อยไปตามกำลังทรัพย์และเวลา

ต่อมาเจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 ได้ส่งข้าหลวงสนิทคนหนึ่งเป็นหญิงชื่อ จ่าย ให้ไปเฝ้าสวนของตนซึ่งมีเนื้อที่ติดกับที่ของนายสังข์ ภายหลังนางสังข์สนิทชอบพอกับหญิงคนนี้ จึงดำริร่วมใจกันที่จะสร้างวัดนี้ต่อไป นางจ่ายถึงกับขันอาสาไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าจอมแว่น เจ้าจอมแว่นได้มอบทุนให้มาจำนวนหนึ่ง เมื่อจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ผู้สร้างก็เกิดทะเลาะเกี่ยงแย่งกันจะเอาชื่อตนมาเป็นชื่อวัด

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำรัสว่า วัดที่นายสังข์ นางจ่ายสร้างขึ้นนั้น ไม่สมเกียรติกับพระสนมเอกเช่นเจ้าจอมแว่น ทรงรับจะสร้างพระราชทานใหม่ ยังโปรดเกล้าให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตมาเป็นนายงานควบคุมสร้างพระอุโบสถขึ้น พร้อมกับได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่(2)

เมื่อแรกขุดพระอุโบสถนั้น พบพระกัจจายน์หนึ่งองค์ กับสังข์หนึ่งตัว เฉพาะสังข์ชำรุดเพราะแรงจอบเสียมที่ขุด ส่วนพระกัจจายน์ได้เก็บรักษาคู่อาราม พอสร้างสำเร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงพระราชทานนามว่า วัดสังข์กระจาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์วัด(3)

วัดสังข์กระจายเป็นสำนักที่ให้กำเนิดวรรณคดี เช่น มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ชูชก กล่าว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อทรงนิพนธ์มหาเวสสันดรชาดก ได้ทรงนิพนธ์กัณฑ์อื่น ๆ ใหม่เป็นส่วนมาก แต่กัณฑ์ชูชกไม่ทรงนิพนธ์ โดยรับสั่งว่าให้ใช้ของเก่าที่สำนักวัดสังข์กระจายแต่งไว้


หลวงพ่อกัจจายน์ องค์จริง กล่าวกันว่า ขุดพบตรงบริเวณที่สร้างพระอุโบสถ ในสมัยรัชกาลที่ ๑.
ขอบคุณภาพจากหนังสือ ประวัติวัดสังข์กระจาย ของ ธนิต อยู่โพธิ์ กรมศิลปากร

ปูชนียวัตถุ

พระอุโบสถขนาดย่อม ประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีรูปเทพแกะสลักไม้นั่งบนดอกบัว ล้อมด้วยลายก้านขดปิดทอง ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นแบบหน้าบันประดับกระจกปิดทองมีเครื่อง ดินเผาปน มีหลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปเทวดายืนประนมมือบนแท่น มีพญาวานรแบกภาพเขียนสีที่ผนังทั้ง 4 ด้าน

ด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ และหุ้มกลองด้านหลังพระประธาน เป็นภาพพุทธประวัติตอนเปิดโลก ผนังด้านขวาเป็นภาพเวสสันดรชาดก ด้านซ้ายเป็นภาพพุทธประวัติ ชั้นบนของผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพเทพชุมนุม พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอก บนชุกชีหน้าพระประธานมีพระอัครสาวกทั้งขวาและซ้าย

กำแพงแก้ว มีประตูเข้าออก 4 ด้าน ซุ้มประตูเป็นแบบรัชกาลที่ 3 ตรงประตูด้านหน้าพระอุโบสถนอกกำแพงแก้วมีตุ๊กตาหินสีเขียว เป็นรูปหมูข้างละตัว ภายในกำแพงแก้วมีตุ๊กตาหินชนิดเดียวกันที่เชิงบันไดหน้าพระอุโบสถมีตุ๊กตาจีนข้างละ 2 ตัว และที่เชิงบันไดหลังพระอุโบสถอีกข้างละตัว ด้านนอกอุโบสถมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

พระวิหารหลวงพ่อกัจจายน์ มีพระพุทธรูปทั้งยืนและนั่งรวมด้วยกัน 24 องค์ หลวงพ่อกัจจายน์ องค์ที่ขุดได้เมื่อคราวสร้างวัด เดิมประดิษฐานไว้ที่พระวิหาร แต่เมื่อมีคนร้ายขโมยหลวงพ่อกัจจายน์ ไป แต่นับว่าโชคดีที่ได้กลับมาคืน จึงได้หล่อองค์จำลองขึ้นใหม่ประดิษฐานแทนไว้ในพระวิหาร(4)


รายนามเจ้าอาวาส

    ๑. พระเทพมุนี (ด้วง)
    ๒. พระเนกขัมมุนี (แสง)
    ๓. พระสังวรวิมล (มา)
    ๔. พระปรากรมมุนี (นวล)
    ๕. พระอริยศีลาจารย์ (เอี่ยม)
    ๖. พระอริยศีลาจารย์ (แสง)
    ๗. พระอริยศีลาจารย์ (วรรณ)
    ๘. พระราชศีลาจาร (เกษม พฺรหฺมสิริ)
    ๙. พระพิศาลพิพัฒนพิธาน (อรุณ อริยวํโส)

ชมภาพวัดสังข์กระจายได้ที่ : https://th.worldorgs.com/แคตตาล็อก/เขตบางกอกใหญ่/ที่จอดรถ/วัดสังข์กระจายวรวิหาร





อ้างอิง :-
1. "วัดสังข์กระจาย วรวิหาร". พระสังฆาธิการ.
2. "วัดสังข์กระจาย". ระบบฐานข้อมูลพระกฐินพระราชทาน.
3. "วัดสังข์กระจายวรวิหาร". สำนักงานเขตบางกอกใหญ่.
4. "ประวัติวัดสังข์กระจายวรวิหาร".

thank to : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดสังข์กระจาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:45:30 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระอ้วนจีน ไม่ใช่พระสังกัจจายน์ แต่เป็นพระศรีอริยเมตไตรย

ความเชื่อเรื่องพระอ้วนในเขตประเทศไทยเป็นความเชื่อในระดับท้องถิ่นของภาคกลาง และเป็นความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนานเท่าที่ค้นพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 สมัยทวารวดี พบพระพิมพ์ดินเผาขนาดเล็กรูปพระอ้วน หรือพระสังกัจจายน์นั่งขัดสมาธิมือวางทาบไว้ที่ท้อง ต่อมาในยุคสมัยหลังก็ยังนิมสร้างพระสังกัจจายน์ให้มีลักษณะอ้วนมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนในเรื่องของคติความเชื่อก็เป็นไปได้สองลักษณะ คือ ในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งเรื่องทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเป็นความเชื่อโดยทั่ว ๆ ไป และในอีกกรณีหนึ่งคือ ด้านปริศนาธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของกายสังขาร และความไม่หลงไหล ไม่ยึดติดกับความเป็นรูปลักษณ์ภายนอก


พระอ้วนจีน หรือศรีอริยเมตไตรย ถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ

ในขณะเดียวกันประเทศจีนบนแผ่นดินใหญ่ความเชื่อเรื่องของพระอ้วนก็มีคล้ายกับคนไทย ความแตกต่างระหว่างพระอ้วนจีนกับพระอ้วนไทยหรือพระสังกัจจายน์นั้นมีความแตกต่างกันคือ พระอ้วนจีนชาวจีนนับถือกันในลักษณะของผู้สืบทอดพุทธภูมิคือ พระศรีอริยเมตไตรยหรือพระเมตตรัยยะ แต่ในส่วนของพระอ้วนไทยหรือพระสังกัจจายน์ เป็นหนึ่งในพระอัครสาวกผู้บรรลุอรหันต์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามในคัมภีร์พระไตรปิฎก ในส่วนของความเชื่อเป็นไปในลักษณะที่คล้ายกันทั่วไปคือในเรื่องของความมั่งคั่งร่ำรวย

พระอ้วนจีน หรือศรีอริยเมตไตรย ถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ

ประวัติความเป็นมาของพระอ้วนจีนเรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยยุค 5 ราชวงศ์ พ.ศ. 1459 มีพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึ้งมีลักษณะอ้วนท้วน มีวาจาสุภาพ ร่าเริง เที่ยวจารึกเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเป็นที่รักของผู้คน อีกทั้งยังเชื่อว่าท่านเป็นพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป

เมื่อท่านมรณะภาพแล้วประชาชนได้สร้างรูปของท่านไว้เป็นตัวแทนกราบไหว้บูชา โดยสร้างให้มีลักษณะอ้วนตามที่ท่านมีชีวิตอยู่ และได้แต่งเติมคติสัญลักษณ์เข้าไปในยุคหลัง ๆ อีกด้วย  นอกจากเป็นรูปบุคคลแล้วยังมีถุงหรือย่าม เป็นสัญลักษณ์ถึง ความสุข ความมั่งคั่งมั่งมี และการให้บุตร ซึ่งชาวจีนจะเรียกว่า ปู่ไถ้ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โบได หรือ สุโบได แปลว่า ย่าม ซึ่งก็คือพระศรีอริยเมตไตรย


พระอ้วนจีน หรือศรีอริยเมตไตรย ถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ

พระอ้วนจีนหรือพระศรีอริยเมตไตรย ชาวจีนยกให้ท่านเป็นตัวเเทนแห่งความสมบูรณ์มั่งคั่ง และความสุขความอิ่มใจ ด้วยรูปของท่านที่ถูกสร้างจะมีลักษณะให้ท่านยิ้ม หรือหัวเราะ โดยอีกบริบทหนึ่งที่คนไทยรู้จักคือ แป๊ะยิ้ม นั้นเอง




ขอบคุณ : https://intrend.trueid.net/bangkok/พระอ้วนจีน-ไม่ใช่พระสังกัจจายน์แต่เป็นพระศรีอริยเมตไตรย-trueidintrend_90150   
27 มี.ค. 2020
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:45:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


พระปิดตาและพระสังกัจจายน์...ตามคติการสร้างพระเครื่อง และเรื่องราวในพระไตรปิฎก

"พระภควัมบดี เป็นคติการสร้างรูปจำลองแห่งพุทธสาวก คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของ พระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอตทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์.พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณพราหมณ์ ณ กรุงอุเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่เกิด จึงได้นามว่า "กาญจนะ" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้)

พระมหาสังกัจจายนะ มีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง พระมหาสังกัจจายนะมีรูปร่างและผิวกายงดงามมากและด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง ก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิง จนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดสิ้น

ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่า การมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกายเป็นต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน.แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งผลให้ "พระสังกัจจายน์" เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ

@@@@@@@

ในพุทธประวัติกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นเลิศ ในด้านลาภสักการะของพระสังกัจจายน์ไว้ว่า
       
ครั้งหนึ่ง พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวก ๕๐๐ รูป เดินทางธุดงค์เรื่อยมาจนถึงทางสามแพร่งแห่งหนึ่ง ก็เป็นเวลาพลบค่ำพอดี ทางสามแพร่งแห่งนี้มีอยู่ ๒ เส้นทางสำคัญที่จะไปยังจุดหมาย.เส้นทางแรก เป็นระยะทางอันสั้น จัดเป็นเส้นทางลัดที่ใช้เวลาเพียงน้อยนิด ไปสู่จุดหมายได้รวดเร็ว.เส้นทางที่สอง เป็นเส้นทางที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากกว่าเส้นทางแรกหลายเท่า กว่าจะไปถึงจุดหมายเส้นทางแรก เป็นเส้นทางลัดก็จริง

ในระหว่างทางแทบจะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย จัดเป็นเส้นทางที่แห้งแล้งทุรกันดาร ถ้าเดินทางธุดงค์ผ่านไปก็จะเดือดร้อนเรื่องของขบฉัน.ครั้นพอตกกลางคืน สมเด็จพระบรมศาสดาได้แสดงพระธรรมเทศนาตามกิจวัตรของพระธุดงค์ ซึ่งเมื่อตกกลางคืนก็จะมาสนทนากัน และในเวลานี้ก็มีพรหมเทพเทวดาทั้งหลายได้พากันมาสดับพระธรรมเทศนาของพระองค์ ด้วย.ณ ที่ประชุม พระศาสดาทรงมีพุทธดำรัสตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า จะใช้เส้นทางใดในการเดินทางธุดงค์ไปยังจุดหมาย ในที่ประชุมสงฆ์นั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าจะใช้เส้นทางใด.

พระศาสดาจึงมีรับสั่งถามว่า "ในที่ประชุมนี้พระสีวลี (หรือพระฉิมพลี-ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ) เดินทางมาด้วยหรือไม่" พระสาวกทั้งหลายกราบทูลตอบว่า "พระสีวลีมิได้เดินทางมาด้วย"
       
พระศาสดาจึงตรัสถามต่อไปว่า "หากว่าพระสีวลีไม่มาแล้วพระสังกัจจายน์มาด้วยหรือไม่" พระสาวกทั้งหลายกราบทูลตอบว่า "มาด้วย" พระศาสดาจึงทรงมีพุทธบัญชาให้ใช้เส้นทางลัด อันเป็นเส้นทางทุรกันดาร เป็นเส้นทางในการเดินทางไปสู่จุดหมาย หลังจากเลือกใช้เส้นทางลัดดังกล่าวเป็นข้อยุติแล้ว พระศาสดาจึงมีพุทธบัญชาปิดประชุม พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย ต่างแยกย้ายกันไปจำวัดยังกลดของตน

       
@@@@@@@

การประชุมสงฆ์ดังกล่าว ทำให้พระสังกัจจายนะบังเกิดความพิศวงเป็นยิ่งนักว่า ทำไม.? พระศาสดาจึงต้องเลือกเสด็จไปทางลัดอันทุรกันดาร โดยให้มีท่านเดินทางไปด้วย.? ท่านนั้นมีดีอะไรหรือ.? คิดดังนั้นแล้ว จึงตั้งจิตอธิษฐาน ยกมือทั้งสองปิดหน้า เรียกว่า เข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ เพื่อจะตรวจดูตัวท่านเองว่า มีความโดดเด่นอะไรหรือ.?
       
และท่านก็ได้ประจักษ์กับความจริงว่า ท่านเคยเป็นหมอยา (ในอดีตชาติ) รักษาโรค ได้บำเพ็ญทานบารมีด้วยการแจกยารักษาโรคให้ผู้คนทั่วไป โดยมิได้คิดค่ารักษา ด้วยอานิสงส์ผลบุญจากทานบารมีดังกล่าว ทำให้ท่านเป็นผู้มีความบริบูรณ์ในโภคทรัพย์ และลาภสักการะ
       
ครั้นพอรุ่งเช้า พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังจุดหมาย โดยใช้ทางลัดที่ทุรกันดาร ซึ่งปรากฏว่า ด้วยบารมีธรรมของพระสังกัจจายนะ ทำให้มีทั้งมนุษย์และอมนุษย์ (เทพยดาพรหมทั้งหลาย) พากันมาใส่บาตรถวายแด่พระศาสดา และพระสาวกกันมากมาย ทำให้พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลายไม่เดือดร้อนเรื่องภัตตาหาร ของขบฉันต่างๆ จนสามารถเดินทางถึงยังจุดหมายโดยสวัสดิภาพ
       
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคติความเชื่อว่า พระสังกัจจายนะมีความโดดเด่นทางด้านโภคทรัพย์และลาภสักการะ จึงมีการสร้างรูปจำลองของพระมหากัจจายนะในปาง "เข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ" ซึ่งมีลักษณะเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย มือทั้งสองปิดอยู่ที่หน้า(ตา) ปางที่เป็นรูปของพระสังกัจจายนะนั่งสมาธิแบมือบ้าง มือทั้งสองกุมอยู่ที่ท้องบ้าง ขึ้นมาบูชาเป็นสัญลักษณ์ของพระแห่งโชคลาภ จนแพร่หลายอยู่กระทั่งทุกวันนี้
       
โบราณาจารย์ได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดี ในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า".......เรื่องเล่าจากเซียนท่านแรก

@@@@@@@

เรื่องเล่าจากเซียนท่านที่สอง

"พระปิดตาหลวงพ่อ.. วัด...เป็นการสร้างตามแบบของพระภควัมบดี แปลว่าผู้มีความงามละม้ายคล้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นพระนามหนึ่งของพระมหากัจจายนะ ซึ่งมีความเด่นด้านผู้มีลาภสักการะ เมตตามหานิยม เกจิอาจารย์จึงได้สร้างรูปลำลองของพระมหากัจจายนะในปางเข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ

พระปิดตาหลวงพ่อ...เนื้อผงนั้นมีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน คือ
    1.พิมพ์ใหญ่ หลังแบบ
    2.พิมพ์ใหญ่ หลังเรียบ หลังยันต์
    3.พิมพ์กลาง
    4.พิมพ์เล็ก



ที่มาของคำว่า พระมหากัจจายนเถระ พระควัมปติเถระ ภควัมปติ ภควัมบดี สังกัจจายน์

สำหรับพระมหากัจจายนเถระ.....เท่าที่ค้นดูก็ไม่ปรากฎว่าในพระไตรปิฎกกล่าวถึงรูปร่างของท่านว่าอย่างไร มีแต่การกล่าวถึงว่าเป็นพระอสีติมหาเถระที่เป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร จะมีเพียงวรรคเดียวตอนที่โปรดธิดาเศรษฐีผู้มีผมงาม ดังนี้
       
"ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมดกนั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระมีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้เดินไปบาตรเปล่าทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี" จึงรู้เพียงว่าท่านนั้นมีผิวดังทอง

"ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ในวันตั้งชื่อเขา มารดาคิดว่า ลูกของเรามีสีกายดุจทองคำ เขาถือเอาชื่อของตนเองมา (แต่เกิด) ดังนี้จึงตั้งชื่อเขาว่ากัญจนมาณพทีเดียว. "....ตามที่มาดังนี้ อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ ๕๔. กัจจายวรรค ๑. มหากัจจายนเถราปทาน ๕๓๑. อรรถกถากัจจายนเถราปทาน

ผมหาไม่เจอว่า....มีตอนไหนที่ท่านต้องแปลงรูปให้อ้วน มีแต่เรื่องของลูกชายโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนครที่พูดถึงรัศมีจากกายท่านที่เปล่งดั่งทอง จนอยากได้ท่านมาเป็นภริยาจนถูกกรรมเปลี่ยนให้เป็นหญิง...มีแต่การเขียนเล่าเป็นเรื่องเป็นราว ผมพยายามหาในพระไตรปิฎกด้วยการป้อนคำค้นหาว่า "โสเรยยะ" "โสไรยย".....ก็ปรากฏแต่คำว่า"เมืองโสเรยยะ" มันน่าแปลกว่าในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการแสดงฤทธิ์ของพระอรหันต์ไว้หลายองค์ อย่างพระภควัมปติก็มีพระสูตรพูดถึงการที่พระพุทธองค์ทรงให้พระภควัมปติแสดงฤทธิ์ในการหยุดน้ำในแม่น้ำไม่ให้ท่วม แต่กลับไม่มีบันทึกเรื่องนี้ หรือว่ามีแต่ผมค้นหาพระสูตรไม่เจอ

สำหรับพระควัมปติเถระ ผมก็หาอ่านดูก็ไม่พบว่ามีตรงไหนที่ระบุรูปร่างว่าคล้ายกับพระพุทธองค์ และไม่ได้มีการอ้างถึงการเข้านิโรธสมาบัติด้วยอาการยกมือปิดหน้า....
       
สำหรับพระภควัมนั้นกล่าวอ้างในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน ตามที่ผมอ่านเจอตามเรื่อง พระภควัม: พระปิดตา - มหาอุตม์ กฤษฎา พิณศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เขียนในวารสารเมืองโบราณ ปี 2550 ฉบับที่33
       
เป็นที่เข้าใจว่าการสร้างพระปิดตาด้วยการอ้างถึงตำราหรือความเข้าใจว่า พระควัมปติเถระนั้นเป็นพระรูปเดียวกับพระมหากัจจายนเถระ จึงน่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ยังมีคำว่า"พระภควัมบดี"ที่ให้ความหมายว่า"พระปิดตา".....ผมอ่านเอกสารนี้แล้วเข้าใจว่าการสร้างพระปิดตาน่าจะเป็นคติตามการสร้างพระเครื่อง เช่นเดียวกับคติการสร้างพระพุทธรูปตามยุคต่างๆที่มีลักษณะยุคต่างๆไม่เหมือนกัน

@@@@@@@

จากข้อความนี้ลองมาวิเคราะห์กันดูครับ
       
คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของ พระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอตทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์.พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณพราหมณ์ ณ กรุงอุเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่เกิด จึงได้นามว่า "กาญจนะ" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้)
       
พระมหาสังกัจจายนะ มีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง

ผมลองสืบค้นดูจากคำว่า"พระมหาสังกัจจายนะ"ก็ไม่พบในพระไตรปิฎก....มีแต่พระมหากัจจายนะเถระ พระอสีติมหาเถระที่เป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร แล้วคำว่า"สังกัจจายน์"มาจากไหน ผมไปอ่านเจอข้อความในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ได้คัดลอกมาดังนี้

"ส่วนที่มาของชื่อ "สังกัจจายน์" นั้น สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่มาเรียกกันภายหลังในสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการขุดพื้นเพื่อฝังรากอุโบสถแห่งหนึ่งในวัดแถบธนบุรี ปรากฏว่าพบประติมากรรมพระมหากัจจายนะกับหอยสังข์ในบริเวณดังกล่าว ต่อมาภายหลังวัดแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า "วัดสังข์กระจาย" เพราะฉะนั้นชื่อ "สังกัจจายน์" น่าจะเป็นการกร่อนเสียงมาจากชื่อวัด เดิมทีแรกคงเรียกันว่า "พระวัดสังข์กระจาย" นานเข้าก็นำชื่อท่านคือ "กัจจายนะ" มาเรียกรวมกัน เลยกลายเป็น "พระสังกัจจายน์" ไปในที่สุด
       
อ้างอิงจาก:ศุภวิทย์ ถาวรบุตร. "พระอ้วนจีนและพระอ้วนไทยคือใครกัน?", ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545.........."

ส่วนคำว่า"ภควัม"นั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายดังนี้ว่า
"ภควัม ความหมาย [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น."

ส่วนคำว่า"บดี"มีความหมายคือ "บดี คำแปล [บอ-ดี] (มค. ปติ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว, ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความว่า นาย หรือผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคำท้ายด้วย หมายความแต่ผัว. "
       
      ตัวอย่าง..คำว่า"อธิการบดี"มาจาก"อธิการ"+"บดี"
     "อธิการ"หมายถึงตําแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในวิทยาลัย
     "อธิการบดี"จึงหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในวิทยาลัย
      เช่นเดียวกับ คำว่า"คห" หมายถึงเรือน "คหบดี"จึงหมายถึง ผู้เป็นเจ้าของเรือน ,ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน

       คำว่า"ธน"ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สิน,ทรัพย์,เงินตรา
      "ธนบดี"ก็ย่อมหมายถึง เจ้าของทรัพย์ หรือผู้มีทรัพย์เป็นทุน
       แต่คำว่า"ภควัมบดี" ไม่ได้มีความหมายใดๆ จะหมายถึงก็คือ ผู้เป็นเจ้าของพระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙

เมื่อมาดูอีกคำหนึ่ง"ควัมปติ" หมายถึง"พระควัมปติเถระ"ซึ่งเป็นพระอสีติมหาเถระ โดยไม่ได้รับการยกให้เป็นเอตทัคคะในด้านใดสักด้านหนึ่ง และนามเดิมของท่านคือ"ควัมปติ" เป็นนามตั้งแต่ก่อนจะเข้ามาบวชกับพระพุทธศาสนา แถมในบันทึกประวัติท่านก็ไม่มีการเขียนกล่าวถึงรูปลักษณ์ที่คล้ายพระพุทธองค์เลย

ดังนั้นคำว่า"ภควัมบดี"....จึงเป็นเฉพาะเท่านั้น ไม่ได้หมายถึง "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"


@@@@@@@

เมื่อลองค้นหาดูว่ามีการกล่าวถึงใครบ้างที่มีรูปลักษณ์คล้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พบว่า

1. พระนันทะเถระ เอตทัคคะ:ผู้คุ้มครองอินทรีย์
เป็นพระอนุชาต่างมารดาของพระพุทธเจ้า ครั้นทรงเจริญวัยแล้ว เจ้าชายนันทะมีรูปร่างสง่างามผิวพรรณดังทองคำ รูปพรรณสัณฐานคล้าย พระพุทธเจ้า องค์สมณโคดม ยิ่งนัก เพียงแต่ต่ำกว่า พระพุทธองค์แค่ ๔ นิ้วเท่านั้น
       
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นันทะจะมีราคะกล้า แต่เป็นผู้มีกำลัง เป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใส นันทะเป็นผู้ เลิศยอด ในสาวก ของเรา ที่คุ้มครองสำรวมอินทรีย์ ทั้งหลาย ทั้งรู้จัก ประมาณในโภชนะ กระทำความเพียรใ ห้ตื่นอยู่ มีสติ สัมปชัญญะ อยู่เสมอ เหล่านี้ เป็นเหตุให้นันทะ สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้"

2. พระสารีบุตร จากกามนิต-วาสิฏฐี ได้เขียนไว้ว่า
พระภิกษุทั้งหลายก็ทราบได้ในขณะนั้น ว่าไม่ต้องไปตามหาพระพุทธเจ้าที่ไหนอีกพระศาสดาคงได้เสด็จแรมอยู่ในบ้านช่างหม้อ เพราะสาวกที่มีรูปลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้าก็คือ พระสารีบุตร ซึ่งใครๆ ทราบกันอยู่ ผมหาไม่เจอว่ามีตรงไหนที่ระบุถึงพระมหากัจจายนเถระหรือพระควัมปติเถระว่ามีรูปกายคล้ายพระพุทธองค์
       
สำหรับการโยงเรื่องที่พระควัมปติ หรือพระมหากัจจายนเถระเข้านิโรธสมาบัติปิดตาอธิษฐานลาภ ตรวจดูแล้วว่าอดีตชาติเป็นหมอยามาก่อน ก็ไม่ตรงตามพระไตรปิฎก พระควัมปติเถระนั้นเป็นหัวหน้าเด็กเลี้ยงโค ในมนุษย์โลก ในชาติก่อน พระมหากัจจายนเถระนั้นในชาติก่อนๆ เป็นดาบส เป็นคฤหบดี เป็นอำมาตย์ ไม่ปรากฎบันทึกว่าเป็นหมอยา
       
สำหรับเหตุการณ์ที่ต้องเป็นเหตุให้ต้องนั่งอธิษฐานนั้น ช่างไปพ้องกับเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงทดสอบความเป็นเอตทัคคะในทางผู้มีลาภมากของพระสีวลี โดยเฉพาะการเลือกเส้นทาง.....ลองเข้าไปอ่านที่ลานธรรมจักรพระสีวลี http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7500&sid=a0376dce40822136daa6fd22d36aae02

สำหรับการสร้างพระปิดตานั้น น่าจะเป็นเรื่องของปริศนาธรรมมากกว่าที่โบราณจารย์เขียนไว้ ดังนั้นผมเชื่อว่าการสร้างพระปิดตานั้นเป็นความเชื่อของโบราณจารย์ เช่นเดียวกับที่เราเห็นพระสังกัจจายน์ กรุวัดเชิงท่า นนทบุรี ซึ่งเป็นพระที่คาดว่าสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายต่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือแม้แต่พระปิดตายุคเก่าอย่างพระกรุ เช่นพระปิดตากรุท้ายย่าน หรือพระปิดตาพังพกาฬทางนครศรีธรรมราช ซึ่งก็คาดว่าน่าจะสร้างตอนยุคอยุธยา ผมขอเดาว่า คติการสร้างพระปิดตาหรือพระสังกัจจายน์นั้นน่าจะเริ่มมาในยุคอยุธยา เช่นเดียวกับตำราสร้างพระเครื่องที่สืบสายมาจากทางอยุธยา ก็มีการพูดถึงพระภควัมปติเช่นกัน

การสร้างพระสังกัจจายน์ให้มีรูปร่างอ้วนท้วนก็น่าจะเป็นคติว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์

สำหรับพระสังกัจจายน์ที่มีการสร้างเป็นพระจีน ใบหน้ายิ้มแย้มถือถุงนั้น ก็เป็นการสร้างตามความเชื่อของคนจีน โดยที่มีของพระรูปนี้คือท่านชีฉือ เป็นพระนิกายฉานจง(เซน)ท่านจะแบกย่ามใหญ่รับบริจาคได้แล้วจะไปแจกคนจน ชรา เด็กกำพร้า ใครไปขอธรรมท่านก็จะเทศน์สั้นๆแต่ความหมายลึกซึ้ง ท่านจะเตือนพยากรกรณ์อากาศล่วงหน้าไม่มีพลาด บางทีก็ทักทำนายชตาชีวิตให้กับคนที่ท่านอยากทัก จนท่านนั่งมรณภาพ มีผู้พบลายมือท่านเขียนไว้ว่า เมตตรัยเมตตรัย บังเกิดกายนับแสนหมื่น แพร่ธรรมให้คนตื่น คนแสนหมื่นไม่รู้ว่าเมตตรัย ครับกวนอิมก็คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์องค์เดียว
       
ทั้งหมดนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวครับ ถ้าท่านไหนมีข้อมูลที่พอจะเชื่อมโยงเชื่อถือได้ก็แลกเปลี่ยนกันได้ครับ

     



ที่มา : http://www.amulet2u.com/board/q_vie...64&PHPSESSID=3df51ebd8ba6d08b516b107d7c96968c
ตามอ่านเอกสารหลักในวารสารเมืองโบราณได้ที่ bhttp://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=153
         
ขอบคุณ : https://palungjit.org/threads/พระปิดตาและพระสังกัจจายน์-ตามคติการสร้างพระเครื่องและเรื่องราวในพระไตรปิฎก.183173/ 
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 18 เมษายน 2009.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 11:46:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 :25: :25:
แนะนำ กระทู้ที่เกี่ยวข้อง :-
กัญจนมาณพ กัจจายนะปุโรหิต มหากัจจายนเถระ (โดยพิสดาร) ๒.
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=31160.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2023, 01:40:43 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ