ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ กับ นั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติสมาธิเหมือนกันหรือไม่คะ  (อ่าน 14575 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ กับ นั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติสมาธิเหมือนกันหรือไม่คะ

บางครั้งก็นั่งฟังสวดแบบธิเบต ที่ประกอบดนตรี รู้สึกใจเย็นมากขึ้น

การฟังสวดมนต์ และ สวนมนต์ เป็นการฝึกสมาธิหรือไม่คะ

และถ้าเป็นการฝึกสมาธิ จะให้ผลการภาวนาถึงขึ้นไหนคะ ในสมาธิ
 :25:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะเหมือนกันนะคะ สวดมนต์ จะเพลินได้ดีกว่า นั่งสมาธิ คะ

 :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
"สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน"

"สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา"
"มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย"

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

วิธีการสวดมนต์
สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา

การสวดมนต์เป็นนิจนี้ มุ่งให้จิตแนบสนิท ติดในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ จิตใจจะสงบเยือกเย็นเป็นบัณฑิต มีความคิดสูง ทิฏฐิมานะทั้งหลาย ก็จะคลายหายไปได้ เราจะได้รับอานิสงส์ เป็นผลของตนเองอย่างนี้ จากสวดมนต์เป็นนิจ

การอธิษฐานจิตเป็น ประจำนั้น มุ่งหมายเพื่อแก้กรรมของผู้มีกรรม จากการกระทำครั้งอดีต ที่เรารำลึกได้ และจะแก้กรรมในปัจจุบัน เพื่อสู่อนาคต ก่อนที่จะมีเวรมีกรรม ก่อนอื่นใด เราทราบเราเข้าใจแล้ว โปรดอโหสิกรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เราจะไม่ก่อเวรก่อกรรมก่อภัยพิบัติ ไม่มีเสนียดจัญไรติดตัวไปเรียกว่า เปล่า ปราศจาก ทุกข์ ถึงบรมสุข คือนิพพานได้ เราจะรู้ได้ว่ากรรมติดตามมา และเราจะแก้กรรมอย่างไร ในเมื่อกรรม ตามมาทันถึงตัวเรา เราจะรู้ตัวได้อย่างไร เราจะแก้อย่างไร เพราะมันเป็นเรื่องที่แล้ว ๆ มา


การอโหสิกรรม หมายความว่า เราไม่โกรธ ไม่เกลียด เรามีเวรกรรมต่อกันก็ให้อภัยกัน อโหสิกันเสีย อย่างที่ท่านมาอโหสิกรรม ณ บัดนี้ ให้อภัยซึ่งกันและกัน พอให้อภัยได้ ท่านก็แผ่เมตตาได้ ถ้าท่านมี อารมณ์ค้างอยู่ในใจ เสียสัจจะ ผูกใจโกรธ อิจฉาริษยา อาสวะไม่สิ้น ไหนเลยล่ะท่านจะแผ่เมตตาออกได้ เราจึงไม่พ้นเวรพ้นกรรมในข้อนี้ การอโหสิกรรมไม่ใช่ทำง่าย


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๔ เรื่อง แก้กรรมด้วยการกำหนด โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule04p0301.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html



สวดให้คล่องปาก
วิธีในการสวดมนต์พระเดชพระ คุณหลวงพ่อได้สอนไว้ว่า
"เอาตำรามาดูกันก็ไม่ได้ผล แต่ดูตำราเพื่อให้ถูกวรรคตอน และให้คล่องปาก แล้วจะได้คล่องใจ เป็นสมาธิ"

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html



การวางจิต
เมื่อสวดมนต์ได้ถูกวรรคตอน เป็นสมาธิดีแล้ว ก็วางจิตให้ถูกต้อง

สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)
อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตา... (ลิ้นปี่)
มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย (อุณาโลม)


“แผ่ส่วนกุศลทำอย่างไร อุทิศตรงไหน ทำตรงไหน และวาง จิตไว้ตรงไหน ถึงจะได้ อย่าลืมนะ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ สำรวม เวลาสวดมนต์นั้นน่ะ ได้บุญแล้ว ไม่ต้องเอาสตางค์ไปถวายองค์โน้น องค์นี้หรอก แล้วสำรวมจิต ส่งกระแสจิตที่หน้าผาก อุทิศส่วนกุศล..”


สวดมนต์เป็นนิจ (ลิ้นปี่)
"ลิ้นปี่ จะอยู่ครึ่งทางระหว่างจมูกถึงสะดือ"

“........อธิษฐานจิต หมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะ ไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมกาย วาจา จิตให้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจ สักครู่หนึ่ง แล้วก็อุทิศให้มารดา บิดาของเรา ว่าเราได้บำเพ็ญกุศล ท่านจะได้บุญ ได้กุศลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย ผมเรียนถวายนะ มิฉะนั้นผมจะอุทิศไปยุโรปได้อย่างไร..........”

อธิษฐานจิตเป็นประจำ (ลิ้นปี่)
แผ่เมตตากับอุทิศ มันต่างกัน ทำใจให้เป็น เมตตาบริสุทธิ์ก่อน ไม่อิจฉา ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ ทำใจให้แจ่มใส ทำให้ใจสบาย คือ เมตตาแล้วเราจะอุทิศให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูง สามารถจะอุทิศให้ คุณพ่อคุณแม่ ของเรากำลังป่วยไข้ให้หายจาก โรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น วีโก้ บรูน ชาวนอรเวย์ที่เคยมาบวชที่วัดนี้ เป็นต้น...

อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่เมตตา
“หายใจยาว ๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช จำนะ ที่ลิ้นปี่
เป็นการแผ่เมตตาจะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่ สู่หน้าผาก เรียกว่า อุณาโลมา ปจชายเต....”
แผ่เมตตา (ลิ้นปี่) อุทิศส่วนกุศล (อุณาโลม)


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๖ เรื่อง การอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule06p0101.html
จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html



ลำดับการสวดมนต์
“พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ บอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี

แล้วสวด “พาหุงมหากาฯ” หายเลย สติก็ดีขึ้น เท่าที่ใช้ได้ผล สวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว (อิติปิโส ภะคะวา จนถึง พุทโธ ภะคะวาติ) ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล”

•   ตั้งนะโม ๓ จบ
•   สวดพุทธัง ธัมมัง สังฆัง
•   สวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
•   สวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
•   สวดมหาการุณิโก
•   สวดพุทธคุณ อย่างเดียวเท่ากับอายุ บวก ๑
เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ อายุ ๕๔ ปี ให้สวด ๕๕ จบ เป็นต้น
•   แผ่เมตตา
•   อุทิศส่วนกุศ


จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๓ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณ โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html




เหตุใดต้องสวดพุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
"อาตมาเคยพบคนแก่อายุ ๑๐๐ กว่าปี มีคนเอากับข้าวมาให้ ก็สวด อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ๑ จบ ให้ตัวเองก่อน สวนอีกจบหนึ่งให้คนที่นำมาให้ เสร็จแล้วให้ถ้วยคืนไป อาตมาจับเคล็ดลับได้ จะให้ใครต้องเอาทุนไว้ก่อน ถึงได้เรียกว่า สวดพุทธคุณเท่าอายุเกินหนึ่งไงเล่า"

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง ทำความดีนี้แสนยาก โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03r0801.html



"ที่ว่าให้ว่าสวดเท่าอายุนี่ หมายความว่าอายุเท่าไหร่ ๒๐ ถ้าเราสวดแค่ ๑๐ เดียว มันก็ไม่เท่าอายุสวดไปเนี่ยเท่าอายุก่อนนะมันคุมให้มีสติ แล้วก็เกินหนึ่งเพราะอะไร ที่พูดเกินหนึ่งเนี่ยหมายความ คนมักง่ายมักได้ คือมันมีเวลาน้อย

ถ้าสวดแค่เกินหนึ่งทำอะไรให้มันเกินไว้ เหมือนคุณโยมเนี่ยไปค้าขาย ยังไม่ได้ขายได้สักกะตังค์เลย จะเอาอะไรไปให้ทาน ยังไม่ได้กำไรเลยต้องให้ตัวเองก่อนนะ นี่ต้องค้าขายต้องลงทุนนี่ ต้องลงทุนก็สวดไป แต่สวดมากเท่าไรยิ่งดีมาก ได้มีสมาธิมาก แต่อาตมาที่พูดไว้คือคนมันไม่มีเวลา ก็เอาเกินหนึ่งได้ไหม เกินหนึ่งได้ก็ใช้ได้นะ แต่ถ้าเกินถึง ๑๐๘ ได้ไหม ยิ่งดีใหญ่ ทำให้เกิดสมาธิสูงขึ้น"

จากบทสัมภาษณ์ในรายการ “ชีวิตไม่สิ้นหวัง” ทางช่อง ๓


การ เปลี่ยนจาก “เต” เป็น “เม” ในบทสวดมนต์
“เม” คือ ข้า หมายถึง ผู้สวดนั่นแหละ ส่วน “เต” คือท่าน
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้เทศน์ตอบผู้ให้สัมภาษณ์จากเทปธรรมบรรยาย “สวดมนต์จนหายป่วย” และ “มารไม่มี บารมีไม่เกิด”

เราสามารถเลือกสวดได้ทั้ง “เม” และ “เต” แต่ขอฝากย้ำคำสอน ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเรื่องการแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล มาให้พิจารณาดังนี้

“ท่านไปขุดน้ำกินเสียบ้านเดียว ท่านจะได้อะไรหรือ ขุดบ่อน้ำสาธารณะกินได้ทุกบ้าน ใครมาก็กิน ใครมาก็ใช้ ท่านได้บุญมาก มีถนนส่วนบุคคล ท่านเดินได้เฉพาะบ้านเดียว ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป ท่านจะได้บุญน้อยมาก มีอานิสงส์น้อยมาก นี่เปรียบเทียบถวาย เรื่องจริงเป็นอย่างนั้น”

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html



วิธีการแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
วันนี้จะขอฝากญาติโยมไว้ การอุทิศส่วนกุศล และการแผ่ส่วนกุศลไม่เหมือนกัน การแผ่คือการแพร่ขยาย เป็นการเคลียร์พื้นที่ แผ่ส่วนบุญออกไป เรียกว่า สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกว่าการแผ่แพร่ขยาย

แต่การอุทิศให้ เป็นการให้โดยเจาะจง ถ้าเราจะให้ตัวเองไม่ต้องบอก ไม่ต้องบอกว่าขอให้ข้าพเจ้ารวย ขอให้ข้าพเจ้าดี ขอให้ข้าพเจ้าหมดหนี้ ทำบุญก็รวยเอง เราเป็นคนทำ เราก็เป็นคนได้ และการให้บิดามารดา นั้นก็ไม่ต้องออกชื่อแต่ประการใด ลูกทำดีมีปัญญา ได้ถึงพ่อแม่ เพราะใกล้ตัวเรา พ่อแม่อยู่ในตัวเรา เราสร้างความดีมากเท่าไรจะถึงพ่อแม่ มากเท่านั้น เรามีลูก ลูกเราดี ลูกมีปัญญา พ่อแม่ก็ชื่นใจโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปบอก

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๖ เรื่อง การอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule06p0101.html



ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต พึงปลูกด้วยการคิดแผ่ ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อน ในบุคคลที่ชอบพอ มีมารดา บิดา ญาติมิตร เป็นต้น โดยนัยว่าผู้นั้น ๆ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุขสวัสดี รักษาตนเถิด เมื่อจิตได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไปโดย
ลำดับดังนี้

ในคนที่เฉย ๆ ไม่ชอบไม่ชัง ในคนไม่ชอบน้อย ในคนที่ไม่ชอบมาก ในมนุษย์และดิรัจฉานไม่มีประมาณ เมตตาจิต เมื่อคิดแผ่กว้างออกไปเพียงใด มิตรและไมตรีก็มีความกว้างออกไปเพียงนั้น เมตตา ไมตรีจิตมิใช่อำนวยความสุขให้เฉพาะบุคคล

ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมตั้งแต่สองคนขึ้นไป คือ หมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกัน ย่อมหมดความระแวง ไม่ต้องจ่ายทรัพย์ จ่ายสุข ในการระวังหรือเตรียมรุกรับ มีโอกาสประกอบการงาน อันเป็นประโยชน์แก่ตนเอง และหมู่เต็มที่ มีความเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขโดยส่วนเดียว

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๑๓ เรื่อง สุจริตธรรมเหตุแห่งความสุขที่แท้จริง โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule13p0303.html



สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เราไปสร้างกรรมมาครั้งอดีต รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง รู้เท่าทันหรือไม่เท่าทันก็ตาม ถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นนี้แล้ว ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า มันก็จะน้อยลงไป

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๓ เรื่อง กรรมฐานแก้กรรมได้อย่างไร โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule03p0201.html



“ตั้งสติหายใจยาว ๆ ตอนที่กรวดน้ำเสร็จแล้วอธิษฐานจิตไว้ก่อน อธิษฐานจิตหมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมกาย วาจา จิต ได้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจสักครู่หนึ่ง แล้วก็ขอ อุทิศให้บิดามารดาของเราว่า เราได้บำเพ็ญกุศล ท่านจะได้บุญได้ผลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย...”

“หายใจยาว ๆ ตั้งสติก่อน หายใจลึก ๆ ยาว ๆ แล้วก็แผ่เมตตาก่อน มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้ว เราก็อุทิศเลย อโหสิกรรม ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่พยาบาทใครอีกต่อไป และเราจะขออุทิศให้ใคร ญาติบุพเพสันนิวาสจะได้ก่อน ญาติเมื่อชาติก่อนจะได้มารับ เราก็มิทราบว่าใครเป็นพ่อแม่ในชาติอดีตใครเป็นพี่น้องของเราเราก็ไม่ทราบ

แต่ แล้วเราจะได้ทราบตอนอุทิศส่วนกุศลนี้ไปให้ เหมือนโทรศัพท์ไป เขาจะได้รับหรือไม่ เราจะรู้ได้ทันที”
“นี่ก็เช่นเดียวกัน เราจะปลื้มปีติทันทีนะ เราจะตื้นตันขึ้นมาเลย ถ้าท่านมีสมาธิ น้ำตาท่านจะร่วงนะ ขนพองสยองเกล้าเป็นปีติเบื้องต้น ถ้าท่านมาสวดมนต์กันส่งเดช ไม่เอาเหนือเอาใต้ ท่านไม่อุทิศ ท่านจะไม่รู้เลยนะ... ”


“วันนี้ท่านทำบุญอะไร สร้างความดีอะไรบ้าง ดูหนังสือท่องจำบทอะไรได้บ้าง ก็อุทิศได้ เมืองฝรั่งเขาไม่มีการทำบุญ เราไปทอดกฐิน ผ้าป่า ถวายสังฆทาน เขาทำไม่เป็น แต่ทำไมเขาเป็นเศรษฐี ทำไมเขามีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทำไมถึงเจริญด้วยอารยธรรมของเขา เพราะเขามีบุญวาสนา เขาตั้งใจทำ มีกิจกรรมในชีวิตของเขา

จะยกตัวอย่าง วันนี้เขาค้าขายได้เป็นพันเป็นหมื่นด้วยสุจริตธรรม เขาก็เอาอันนั้นแหละอุทิศไป วันนี้เขาปลูกต้นไม้ได้มากมาย เขาก็เอาสิ่งนี้อุทิศไป ว่าได้สร้างความดีในวันนี้ ไม่ได้อยู่ว่างแต่ประการใดเขาก็ได้บุญ ไม่จำเป็นต้องเอาสตางค์มาถวายพระเหมือนเมืองไทย ถวายสังฆทานกันไม่พัก ถวายโน่นถวายนี่แต่ใจเป็นบาป อุทิศไม่ออก บอกไม่ได้อย่างนี้เป็นต้น จะไม่ได้อะไรเลยนะ ... ”

“...ที่ผมแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล ไปเข้าบ้านลูกสาวญวนที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ทำอย่างนี้นะ เวลาสวดมนต์ อิติปิโส... ยาเทวตา... ตั้งใจสวดด้วยภาษาบาลีเช่นนี้ ที่หยุดเงียบไปน่ะ ผมสำรวมจิตตั้งสติ แผ่เมตตา จิตสงบดีแล้วจึงอุทิศไป”

“… ที่ท่องจำโคลงให้ได้น่ะเพื่อให้คล่องปาก ว่าให้คล่องปาก แล้วก็จะคล่องใจ คล่องใจแล้วถึงจะเป็นสมาธิ เป็นสมาธิแล้วถึง จะอุทิศได้ ไม่อย่างนั้นไม่ได้นะ”

“เอาตำรามาดูกันก็ไม่ได้ผล แต่ดูตำราเพื่อให้ถูกวรรคตอน และให้คล่องปาก แล้วจะได้คล่องใจ เป็นสมาธิ ถึงจะมีกำลังส่งอุทิศ ไม่อย่างนั้นไม่มีกำลังส่งเลยนะ”

“การอุทิศส่วนกุศล นี่สำคัญนะ แต่ต้องแผ่เมตตาก่อน แผ่เมตตา ให้มีสติก่อน แผ่เมตตาให้มีความรู้ว่าเราบริสุทธิ์ ใจมีเมตตาไหม และอุทิศเลย มันคนละขั้นตอนกันนะ แผ่เมตตากับอุทิศมันต่างกัน ทำใจให้เป็นเมตตาบริสุทธิ์ก่อน ไม่อิจฉา ไม่ริษยา ไม่ผูกพยาบาทใครไว้ในใจ ทำให้แจ่มใส ทำใจให้สบาย คือเมตตา


แล้วเราจะอุทิศให้ใครก็บอกกันไป มันจะมีพลังสูง สามารถจะอุทิศให้คุณพ่อคุณแม่ของเรากำลังป่วยไข้ ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น วีโก้ บรูน ชาวนอรเวย์ ที่เคยมาบวชที่วัดนี้ เป็นต้น”

“เรามาสวดมนต์ไหว้พระกันว่า โยโสภะคะวา.... ใจเป็นบุญไหม สวากขาโต... สุปฏิปันโน... ใจเป็นบุญไหม ท่านจะฟุ้งซ่านไปทางไหน สำรวมอินทรีย์ หน้าที่คอยระวัง เอาของจริงไปใช้ อย่าเอาของปลอมมาใช้เลย ...


ท่านทำประโยชน์อะไรในวันนี้ เอามาตีความ สำรวมตั้งสติไว้ก่อน ว่าขาดทุนหรือได้กำไรชีวิต และจะไปเรียงสถิติในจิตใจเรียกว่า เมตตา แปลว่าระลึกก่อน เมตตาแปลว่าปรารถนาดีกับตนเอง สงสาร ตัวเองที่ได้สร้างความดีหรือความชั่วเช่นนี้”

“หายใจยาว ๆ ตั้งกัลยาณจิตไว้ที่ลิ้นปี่ ไม่ใช่พูดส่งเดช จำนะ ที่ลิ้นปี่เป็นการแผ่เมตตา จะอุทิศก็ยกจากลิ้นปี่สู่หน้าผาก เรียกว่า อุณา โลมา ปจชายเตนะอยู่หัว สามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหน ตามเอามา แล้วก็อุทิศทันที จึงถึงตามที่ปรารถนา ไม่ว่าเป็นโยมพ่อ โยมแม่ จะให้น้องเรียนหนังสือ จะให้พี่เรียนหนังสือ หรือจะให้บุตรธิดาของตน จะได้ผลขึ้นมาทันที”


“ลูกว่านอนสอนยาก ลูกติดยาเสพติด ถ้าทำถูกวิธีแล้ว มันจะหันเหเร่มาทางดีได้ พ่อแม่กินเหล้าเมายา เล่นการพนัน ลูกจะไปสอนพ่อแม่ไม่ได้ มีทางเดียวคือ เจริญพระกรรมฐาน สำรวมจิตแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
นะอยู่หัว สามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหนตามเอามาให้ได้ หมายความว่ากระไร ถ้าท่านทำกรรมฐาน ท่านจะทายออก นะตัวนี้สำคัญ

นะ มีทั้งเมตตามหานิยม
นะ แปลว่า การกระทำอกุศลให้เป็นกุศล
นะ แปลว่า ทำศัตรูให้เป็นมิตร สร้างชีวิตในธรรม


แล้วก็อุทิศส่วนกุศลไป”
“… อย่าทำด้วยอารมณ์ อย่าทำด้วยความผูกพยาบาท อาฆาตต่อกัน ละเวรละกรรมเสียบ้าง แล้วจิตจะโปร่งใส ใจก็จะสะอาด แล้วก็อุทิศไป

จิตมันไม่ติดไฟแดง จิตไม่เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา จิตมันทะลุฝาผนังได้ ท่านเข้าใจคำนี้หรือยัง จิตมันตรงที่หมาย จิตไม่มีตัวตน จิตคิดอ่านอารมณ์ มีจิตโปร่ง ท่านจะทำอะไรก็โล่งใจ สบายอกสบายใจ นะอยู่หัว สามตัวอย่าละ เอานะไปอุทิศให้ได้ ถ้าท่านมีครอบครัวแล้วโปรดตั้งปฏิญาณในใจว่า ให้บุตรธิดาของเรารวยสวยเก่ง เร่งเป็นดอกเตอร์ อย่างนี้ซิถึงจะถูกวิธีของผม”

“ท่านไปขุดน้ำกินเสียบ้านเดียว ท่านจะได้อะไรหรือ ขุดบ่อน้ำสาธารณะกินได้ทุกบ้าน ใครมาก็กิน ใครมาก็ใช้ ท่านได้บุญมาก มีถนนส่วนบุคคล ท่านเดินได้เฉพาะบ้านเดียว ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป ท่านจะได้บุญน้อยมาก มีอานิสงส์น้อยมาก นี่เปรียบเทียบถวาย เรื่องจริงเป็นอย่างนั้น”

“…อย่าลืมนะ ที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ สำรวมเวลาสวดมนต์นั้นน่ะ ได้บุญแล้ว … แล้วสำรวมจิตส่งกระแสจิตที่หน้าผาก อุทิศส่วนกุศล เวลาแผ่เมตตาเอาไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมอินทรีย์ หน้าที่คอยระวัง นะ อุ อุอะมะ อุอะมะ อะอะอุ นะอยู่ตรงไหน เอามาไว้ตรงไหน จับให้ ได้แล้วอุทิศไป”

“ผมทำมา ๔๐ กว่าปีแล้ว ทำได้ผล ขอถวายความรู้เป็นบุญเป็นกุศล ให้ท่านได้บุญอย่างประเสริฐไป จะได้อุทิศให้โยมเขา เขาเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าไม่เหลือวิสัยมันก็หายได้”

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๙ เรื่อง วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
http://www.jarun.org/v6/th/lrule09p0301.html



ขอให้เครดิต "ยายกบ" ของคุณ AKITO ด้วยครับ
 :s_good: ;) :25:



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากคะ กับคำแนะนำที่เยี่ยมยอด อ่านมาทั้งหมดจำได้แต่ สโลแกนคะ

"สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน"

"สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานเป็นประจำ อโหสิกรรมก่อนค่อยแผ่เมตตา"
"มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย"

เหมือนเป็นเคล็ดวิชา ภาวนาเริ่มต้นจริง เลยคะ
 :25: :25: :25:



บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ กับ บริกรรมคล้าย ๆ กันนะคะ

ถ้าต้องการสมาธิ สำหรับคนที่ฟุ้ง ก็ใช้การออกเสียงให้เป็นสมาธิ

ส่วนคนที่มีกำลังจิตดีแล้ว ก็บริกรรมโดยไม่ต้องออกเสียง

 :25:
บันทึกการเข้า

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ เป็นภาษาไทย กับ สวดมนต์ ภาษาบาลี อย่างไหนดีกว่ากัน คะ

คือจะถามว่า สวดที่ให้เิกิดสมาธิ นะจ๊ะ ควรเลือกสวดแบบไหนดีคะ

ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นิยมสวดมนต์แปลหรือไม่คะ
 :c017:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อานิสงส์ของการสวดมนต์
เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน

ครั้นพลบ ค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่าน เจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยาเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์ ”

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่า

ยัง มีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมายเพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าว ถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไรการสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็น สมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ

• เมื่อฟังธรรม
• เมื่อแสดงธรรม
• เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
• เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
• เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล

พระ พุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ

• กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
• ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
• วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว

อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า

ถ้า หากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอนการสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดับพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก

ก็จะมา ชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม

ดูก่อน.. ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล..

จากหนังสือ อมตะธรรม สมเด็จโต พรหมรังษี
ที่มา ธรรมะดิลิเวอร์ลี่

ที่มาเนื้่อหา
http://variety.teenee.com/foodforbrain/5510.html
บันทึกการเข้า

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้

1. เพื่อทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง มีความทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น มีความวิตกกังวลความกลัวลดลง ใช้ยาน้อยลง

2. ทำให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ มีความสุขเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ ความเจ็บปวดชั่วขณะ

3. ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อทีมงานผู้รักษา แสดงออกในด้านดี

4. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด ไปสู่ความสุขสบายเพลิดเพลิน เนื่องจากดนตรีที่เลือกสรรแล้ว โดยเฉพาะจังหวะ ความเร็ว-ช้า ระดับของเสียงและความดังจะมีอิทธิพล ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทางร่างกาย จิตใจ อันมีผลทำให้ความวิตกกังวล ความกลัวลดลงและยังสามารถปิดกั้นวงจรของการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้ และดนตรียังเพิ่มแรงจูงใจทำให้อยากเคลื่อนไหว ให้เกิดผลดีในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมี early ambulation เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความเจ็บปวด ทำให้จำกัดความเคลื่อนไหว ในการนำดนตรีมาใช้ลดความเจ็บปวดนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Relaxation technique โดยเฉพาะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขสบายมากขึ้น แสดงออกต่อผู้รักษาด้วยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานผู้รักษาเป็นการปรับสภาพอารมณ์และพฤติกรรมไปใน ด้านดีส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อระงับอาการปวด

1. ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยควรมีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด มีบางครั้งที่พบว่าในยามปกติ ผู้ป่วยมีประวัติรักเสียงเพลงและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี แต่เมื่อมีความเจ็บป่วยผู้ป่วยกลับไม่ค่อยตอบสนองต่อดนตรีเลย หรือปฏิเสธที่จะฟังดนตรี จึงควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ชอบ

2. การสำรวจผู้ป่วยในเรื่องประสบการณ์ด้านดนตรี, ความสามารถด้านดนตรี ประเภทเพลงที่ผู้ป่วยชอบ เครื่องดนตรีหรือเพลงที่ผู้ป่วยคุ้นเคยซึ่งจะช่วยให้การจัดกิจกรรมดนตรีง่าย ขึ้น และเป็นการสร้างความรู้สึกอบอุ่นประทับใจแก่ผู้ป่วย

3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด โดยแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่อึดอัดใช้หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ ช่วยพยุงปรับให้อยู่ในท่าที่พอดี

4. ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน ปรับแสงสีในห้องให้เย็นตา สะอาด เรียบร้อย สวยงาม

5. เลือกใช้เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ที่ผู้ป่วยจะสามารถใช้ได้เองด้วยตนเองตามสะดวกและปลอดภัย

6. จัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่ใช้วิธีการดนตรีบำบัดร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลาย

วิธีการทางดนตรีบำบัดมีหลายวิธี อาทิเช่น

- การฟังดนตรี

- การร้อง

- การเล่นดนตรี

- การเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับดนตรี

การฟังดนตรี เป็นวิธีที่นิยมมากที่ สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ผ่อนคลายง่ายที่สุด โดยให้ฟังจากแผ่นเสียง เทป วิทยุ หรือชมการแสดงคอนเสิร์ต โดยจัดให้ฟังในเวลาที่ยาลดความเจ็บปวดกำลังออกฤทธิ์ และใช้เทคนิคการผ่อนคลายร่วมด้วย เวลาที่ใช้ในการฟัง หรือจำนวนครั้งที่ฟังในแต่ละวันขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการรักษา และความพร้อมของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เช่นอาจให้ฟังตามอาการหรือฟังเป็น Background เบาๆเกือบทั้งวัน, Herth (1978) จัดดนตรีให้ผู้ป่วยฟัง 5 นาทีก่อนที่จะมี activity ที่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด, Zimmerman และคณะ (1989) จัดให้ฟังดนตรีลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งครั้งละ 30 นาที ในขณะที่ program ของผู้ป่วย oncology ใน ICU นิยมนำเพลงมาเปิดให้ผู้ป่วยฟัง 30 นาทีทุกเช้า-เย็น

อย่างไรก็ตาม ดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้ถึงจุดหนึ่ง และเป็นเวลาชั่วคราว จึงจำเป็นต้องฟังตามอาการเป็นประจำ ซึ่งการฟังเพลงร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเนื่องจาก เป็นการลงทุนที่ต่ำ แต่ได้ประโยชน์สูงมาก ไม่มีพิษภัยและใช้ได้อย่างอิสระได้มีผู้เขียนแนะนำวิธีการใช้เทคนิคผ่อนคลาย ไว้หลายวิธี แต่สามารถสรุปได้อย่างคร่าวๆ ว่าวิธีการดังกล่าว คือ ให้ผู้ป่วยหลับตาสงบนิ่ง ปล่อยร่างกายทุกส่วนให้ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ให้เกิดความรู้สึกคลายตัวของกล้ามเนื้อตั้งแต่เท้าจนถึงใบหน้า พยายามควบคุมลมหายใจ ให้ราบเรียบ ไม่มีเสียงดัง ในขณะหายใจเข้า-ออก ลึกๆ-ยาวๆ อย่างช้าๆ นับ 1-2-3 ขณะหายใจเข้า หยุดนิ่งและหายใจออก ทำในจังหวะสม่ำเสมอ อาจให้นึกถึงภาพที่ทำให้มีความสุข คำพูดที่ดีๆ ที่ช่วยให้เกิดความสงบ เจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ๆ คอยช่วยสอนแนะนำและเตือนให้ผ่อนคลาย มีรายงานว่าเทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดความเครียดและลดความเจ็บปวดได้ในขณะ ที่ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย อาจมีประคบความร้อน หรือความเย็นตามความเหมาะสม หรือช่วยบีบนวดเพื่อคลายปวดได้อีกด้วย และที่สำคัญคืออย่าลืมใช้ดนตรีร่วมด้วยจะสามารถเบี่ยงเบนความสนใจทำให้ผ่อน คลายได้มากขึ้น

นอกจากการให้ผู้ป่วยฟังดนตรีแล้วยังสามารถให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดนตรีอื่นๆ ได้ตามความสามารถของแต่ละคน เช่น การเปล่งเสียงร้องฮัมตามเพลง เพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวล การเคาะจังหวะการตบมือ เพื่อสร้างสมาธิ การเล่นดนตรี อาทิเช่นเครื่องเป่า เพื่อระบายความรู้สึกทำให้สบายขึ้นหรือการร่วมกิจกรรมดนตรีเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา เป็นต้น โดยเฉพาะผู้รักษาควรเรียนรู้วิธีการใช้เสียงพูดที่นุ่มนวล ราบเรียบไม่ดังมาก จะช่วยให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการฝึกยิ่งขึ้น

ลักษณะของดนตรีที่ใช้

1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง, มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก ฯลฯ

2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที

3. ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น สอดคล้อง

4. ระดับเสียงปานกลาง – ต่ำ

5. ความเข้มของเสียง ไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ป่วย เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดมากขึ้นได้

6. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า นุ่มนวลPop Classic เป็นต้น

7. เป็นดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการคัดเลือก และอาศัยความคุ้นเคย ความชอบของผู้ป่วยร่วมด้วย


ที่มาเนื้อหา

http://www.goldenlifehome.com/blog/2010/07/music/
บันทึกการเข้า

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ เป็นภาษาไทย กับ สวดมนต์ ภาษาบาลี อย่างไหนดีกว่ากัน คะ

คือจะถามว่า สวดที่ให้เิกิดสมาธิ นะจ๊ะ ควรเลือกสวดแบบไหนดีคะ

ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นิยมสวดมนต์แปลหรือไม่คะ
 :c017:


สวดมนต์เป็น ภาษาไทย ก็ให้เกิดความเข้าใจคะ

สวดมนต์เป็น ภาษาบาลี ก็ให้เกิด สมาธิ และ ปาฏิหาริย์ ด้วยคะ ไม่ว่าเราจะเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ

ก็ควรสวดเพราะ สวดธรรมดาแบบไม่แปล ก็สบายใจคะ ยิ่งนำมาประกอบดนตรีในระดับเราฟังแล้ว

ก็ดีกว่าฟังเพลงที่ทำให้ เร่าร้อนคะ

บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การสวดมนต์ เป็นการเจริญสติ นะคะ เพราะระหว่างทีสวดนั้นต้องมีสติ กับ บทสวด เมื่อจิตจำคล่องแคล่ว
แล้วก็เป็นการเจริญสมาธิ การสวดมนต์ ในทางคุณสมบัติ อยู่ที่ความห้าวหาญในการสวดด้วยคะ

เสียงมีพลังนะคะ ถ้าเราออกเสียงได้่ดี

สำหรับพวกโยคะ การออกเสียงระหว่างการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ คีย์เวิร์ดเช่น โอม เป็นต้นคะ

กา่รสวดมนต์ เป็นสมาธิ ได้ด้วยคะ
บันทึกการเข้า

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การสวดมนต์ ต้องออกเสียงให้ถูกด้วยคะ ถึงจะเกิดประโยชน์ทางศัพท์คะ

สังเกตพระสงฆ์ เวลาทำ กรรมอุโบสถ ต้องมีผู้ทาน การสวดอุปสมบถ ก็ต้องมีผู้ทาน ต้องกล่าวอักขระให้ถูก

เพราะไม่ให้ภาษาวิบัติ หรือ เพี้ยนไปซึ่งจะทำให้พระสัทธรรมหายไปได้คะ

 เช่น ภาษาไทย ดิฉันเคยหัีวเราะมาแล้วเมื่อไปดูเด็กนักเรียนชั้นป 2 อ่านหนังสือให้ฟัง ถึงคำว่า

  สามารถ เด็กอ่านว่า สา มา รถ ซึ่งเขาสะกดถูกคะ แต่พวกเราไม่ได้อ่านแบบนี้ซึ่งหลักการสะกดก็ผิดอธิบายให้

ฟังไม่ได้เพียงแต่ตอบว่าเขาอ่านกันอย่างนี้นะจ๊ะ สามาด 

การสวดมนต์ ที่ดี ฝึกสติ ฝึกสมาธิ ทั้งสองอย่าง ต้องออกเสียงให้ถูกด้วยนะคะ

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ เป็นภาษาไทย กับ สวดมนต์ ภาษาบาลี อย่างไหนดีกว่ากัน คะ

คือจะถามว่า สวดที่ให้เิกิดสมาธิ นะจ๊ะ ควรเลือกสวดแบบไหนดีคะ

ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นิยมสวดมนต์แปลหรือไม่คะ
 :c017:


การสวดมนต์ทุกบทได้สมาธิทั้งหมด จะได้ผลเสมอกันหรือไม่

อันนี้ควรลองปฏิบัติดูก่อน ชอบบทไหนก็สวดดู

เล่าให้ฟังนิดนึง แม่ชีทศพร บอกว่า "สวดธรรมจักรมีผลให้บรรลุธรรม"


การสวดมนต์ของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ อยู่ใน

คู่มือ ทำวัตรกรรมฐานของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน)

ผมแนบไฟล์ มาให้แล้ว

 :s_good: ;) :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมขอสรุปประเด็นจากที่ตามอ่านเรื่องนี้ก่อนนะครับ

 1. สวดมนต์เป็นการฝึกสมาธิหรือไม่

 2. สวดมนต์ประกอบดนตรี ทำไมสบายใจ

 3. สวดมนต์เป็นภาษาไทย ภาวนาถูกหรือไม่

 4. ระหว่าง สวดมนต์เป็นไทย แปลไทย และ สวดบาลีอย่างเดียว ควรเลือกสวดแบบไหน

 5. ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการปฏิบัติในเรื่องสวดมนต์นี้อย่างไร

 ซึ่งผมสรุปจากคำถามของเจ้าของกระทู้นะครับ ว่ามีประเด็นเท่านี้

 ที่นี้ประเด็นเพิ่มเติม ที่ได้เป็นคำตอบด้วย

  1.การสวดมนต์ เป็นยาทา วิปัสสนา เป็นยากิน

  2.การสวดมนต์ เป็นการฝึกสติ และ การฝึก สมาธิ

  3.การสวดมนต์เป็นไทย แปลไทย บาลี มีผลไม่เหมือนกัน

  4.การสวดมนต์ เหมือนการบำบัดจิต เช่นดนตรีบำบัด

  5.การสวดมนต์ แบบไหนก็ดี ทั้งนั้น

  6.การสวดมนต์ มีบทที่เป็น วิปัสสนา เจริญสติ เจริญสมาธิ วิธีการเฉพาะบท
 
  7.การสวดมนต์ ก็คือ การออกเสียง จำเป็นต้องมีการออกเสียง

  8.การสวดมนต์ นั้น รักษา เยียวยา และเป็นการฝึกจิต

  9.การสวดมนต์ ต้อง ทำ 3 ส่วน คือกายนั่ง ยืน เดิน นอน วาจากล่าว จิต มีสติ หรือ สมาธิ

และประเด็นปลีิกย่อย ผมว่าอาจจะต้องทำความเข้าใจกับคำถาม และสิ่งที่เราเสนอนั้นตรงกับคำถาม

ของผู้ถามหรือยังครับ

 :08:

บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พี่พล แยกประเด็นไว้ดี ครับผมกำลังอ่านคำตอบกับประเด็น อยู่ครับว่าขาดตรงไหนอีก
ก็ถ้่าเป็นไปได้ พี่พล ก็สรุปประเด็นก่อนก็ดีนะครับ
 :s_hi:
บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html

โรคเบาหวานหายได้

ท่าน นายกพุทธสมาคมและสมาชิกสภาจังหวัดอุทัยธานี ท่านหนึ่ง มีธุระต้องนำหนังสือเชิญคณะกรรมการพุทธสมาคม จังหวัดอุทัยธานี มาประชุมประจำเดือน จึงขึ้นรถเครื่องตระเวนไปส่งหนังสือจนครบทุกคน แล้วรีบกลับบ้าน เพื่อเตรียมวานการประชุมต่อไป ครั้นรถเครื่องวิ่งมาถึงสี่แยกไฟแดงวัดสังกัสรัตนคีรี มีรถกะบะวิ่งสวนมาอย่างรีบร้อน หักพวงมาลัยเลี้ยวขวาอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะที่รถของท่านกำลังวิ่งสวนมา จึงเกิดเฉี่ยวชน ถูกขาขวาของท่านหัก และมีบาดแผลที่ขาอีกหลายแห่ง กระเด็นลงไปกลิ้งอยู่กับถนน แต่ไม่มีส่วนอื่นใดอีกที่ได้รับอันตราย รถเครื่องเสียหายเพียงเล็กน้อย รถกะบะไม่เสียหายอะไรเลย ปรากฎว่าผู้ขับขี่รถยนต์กะบะ เป็นผู้หญิงออกรถยนต์มาใหม่ ๆ คาดว่าชั่วโมงการขับคงยังมีน้อย เพราะก่อนหน้าสักวันหรือสองวันก็ปรากฎว่า ขับชนกับเสาไฟฟ้ามาแล้ว คนขับเขาไม่มีเจตนาที่จะขับชน แต่เป็นเพราะท่านขับรถช้าเอง มีผู้นำส่งโรงพยาบาลอุทัยธานี วันนั้นหมอกระดูกไม่อยู่ ต้องทรมานปวดอยู่อีก ๑ วัน วันรุ่งขึ้นจึงได้เข้าเฝือก คงจะเป็นกรรมที่ขับรถชนสุนัขขาหักกระมัง

ก่อน จะถูกรถชนครั้งนี้ เป็นเวลาหลายวันมาแล้วที่ท่านไม่มีความสบายใจ ใจคอห่อเหี่ยวและหดหู่ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเป็นสิ่งที่ไม่น่าดู เห็นผู้คนแปลกหน้าไปหมด เบื่อสังคม ดูโลกไม่สดชื่นเลย นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ ประเดี๋ยวก็ตื่น นอนหลับไม่ถึง ๓๐ นาทีก็ตื่นแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นอะไร จึงต้องขอพึ่งพระรัตนตรัย เข้าห้องพระ สวดมนต์ ทำสมาธิ อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรและแผ่เมตตา ทำให้นอนหลับในห้องพระนั้นได้บ้าง เป็นที่กังขาของแม่บ้านยิ่งนัก

แต่ ก็นับเป็นสิ่งที่แปลกมากอยู่เหมือนกัน เมื่อถูกรถชนแล้ว ใจกลับรู้สึกปลอดโปร่ง มีกำลังใจดี บอกกับบุตรภรรยาว่า อะไรจะเกิด ก็ให้มันเกิด ท่านไม่มีห่วงอะไรแล้ว แม้จะพิการหรือถึงแก่เสียชีวิตเพราะมีอายุที่ได้ใช้มาคุ้มทุนแล้ว อายุที่อยู่ในปัจจุบันเป็นส่วนของกำไร จึงขอให้ทุกคนทำใจให้ได้

อนึ่ง ท่านเป็นโรคเบาหวาน ตรวจพบหลายปีแล้ว มีค่าน้ำตาลในโลหิต ๒๐๕ มิลลิกรัม ต่อ ดีแอล หมอสั่งให้รับประทานยาเป็นประจำ แต่ก็ไม่ยอมลด เข้าโรงพยาบาลครั้งนี้ นอกจากรักษาโรคกระดูกหักแล้ว ยังต้องรักษาโรคเบาหวานอีกด้วย เข้าโรงพยาบาลรักษาแผลเป็นเวลาได้ ๑ เดือน บาดแผลที่ขาก็ไม่หายและมีทีท่าว่าจะติดเชื้อ ตรวจโลหิตเบาหวานก็ไม่ยอมลด ฉายเอ๊กซเรย์กระดูกปรากฎว่า ไม่ยอมติดกันเลย จึงสอบถามนายแพทย์ชยันตร์ ตันวัฒนกุล ซึ่งเป็นหมอประจำตัวว่าจะต้องถูกตัดขาหรือไม่ หมอตอบว่ามีทางเป็นไปได้ ในระหว่างนี้อยู่ในเกณฑ์ ๕๐ หมอจึงทำการผ่าตัดโดยนำเอาเนื้อที่สะโพกไปปะที่ขาทั้ง ๓ แผล

ใน ระหว่างพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลครั้งนี้ ท่านใช้เวลาให้หมดไป ด้วยการอ่านหนังสือธรรมะ มีหนังสือของหลวงพ่อที่รวบรวมไว้ หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน ของพระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.๙) วัดมหาธาตุ และของท่านอื่น ๆ อีกมาก เมื่อทราบว่ามีโอกาสที่จะถูกตัดข้าทิ้งกลายเป็นคนพิการในไม่ช้านี้ ก็รำลึกถึงหลวงพ่อขอให้ท่านช่วยด้วย บังเกิดแรงดลใจ นำหนังสืออานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณของหลวงพ่อมาทบทวน และปฏิบัติตามทันที

ตาม ปกติก่อนนอน ท่านก็สวดมนต์เป็นนิตย์ ตั้งจิตภาวนาเป็นประจำ อโหสิกรรมทุกวันอยู่แล้ว แต่ตอนนี้ เพิ่มการสวดมนต์บทพาหุงมหากาฯ คาถาชินบัญชร และสวดพุทธคุณเท่าอายุเพิ่มเข้าไปอีก ตอนนั้นท่านอายุ ๖๗ ปี สวดพุทธคุณ ๖๘ จบ จิตใจปราศจากการฟุ้งซ่าน

เกิดปรากฎการณ์ที่น่า สนเท่ห์ คือแผลที่ขาขวา ๓ แผลนั้น แผลใหญ่ ๒ แผล เนื้อที่นำมาปะติดนั้นติดกันดี ส่วนแผลเล็กอีกหนึ่งแผล ไม่ยอมรับเนื้อใหม่ แต่แสดงอาการดีขึ้น รักษาแผลตอนนี้ ใช้เวลาอีก ๑ เดือน บาดแผลใหญ่น้อยก็หาย เมื่อไปฉายเอ๊กซเรย์ดูอีกครั้ง ปรากฎว่ากระดูกยังไม่ยอมติด เพราะบอบช้ำมาก มีบางส่วนหักป่นไปหมด จึงนำเข้าห้องผ่าตัด นำกระดูกเชิงกรานไปต่อกระดูกที่ขา และนำเหล็กไปดามกระดูกไว้ผ่าตัดครั้งนี้ มีแผลที่ ขายาว ๑๕ เซนติเมตร พอครบ ๑๐ วัน ก็สามารถตัดไหมออกได้ บาดแผลไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเลย ท่านรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา ๙๐ วันพอดี ก็ออกมาพักฟื้นอยู่กับบ้านอีก ๒ เดือน จึงทำการผ่าตัดเอาเฝือกออก ปัจจุบันสามารถเดินได้โดยไม่ต้องมีไม้ค้ำยัน แต่ยังเดินไม่ได้ดีเหมือนเก่า หมอจึงสั่งให้ทำกายภาพบำบัดต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง

การที่ท่านรอดพ้น จากการถูกตัดขาทิ้ง เพราะโรคเบาหวานไปได้นี้ ส่วนหนึ่งเป็นด้วยอำนาจของการสวดพระพุทธคุณเท่าอายุบวกหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งด้วยการดูแลของหมอโรคกระดูก และเป็นหมอประจำตัวของท่านเป็นอย่างดีด้วย

ผู้ใดที่มีทุกข์เพราะโรค ภัยเบียดเบียนก็ดี หรือทุกข์เพราะความผิดหวังก็ดี หรือทุกข์เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาก็ดี ขอให้ลองรำลึกถึง หลวงพ่อและสวดบทพุทธคุณเท่าอายุบวกหนึ่งเป็นประจำ อาจจะได้รับผลอย่างที่ท่านได้ปฏิบัติมา ท่านได้รับทุกข์เพราะรถชนครั้งนี้ คิดว่าเป็นกรรมที่ทำไว้ ตามมาให้ผลสมดังที่พระพุทธองค์ดำรัสว่า เราทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น กรรมเก่าเป็นของแก้ไม่ได้ เพราะแล้วไปแล้ว แต่กรรมที่จะทำใหม่ บุคคลควรละฝ่ายชั่วเสีย ทำแต่กรรมดี กิเลสนั้นเมื่อคนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็หมดเรื่อง ส่วนเรื่องกรรมนั้นถึงสิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ถ้ายังไม่นิพพานก็ยังต้องเสวยผลของกรรมเก่า ต่อเมื่อนิพพานแล้วจึงจบเรื่องกรรม กมฺมสฺสโกมฺหิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน...

จากหนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม ๘ เรื่อง สวดพระพุทธคุณแก้กรรม (โรคเบาหวาน) โดย ยงยุทธ สาธิตานนท์
บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า