ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที  (อ่าน 8322 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

notebook123

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 08:47:47 pm »
0
 ???  ดีครับทุกท่านกระผมพึ่งเข้่ามาใหม่ และมีความส่งสัยบางอย่างในการทำกรรมฐานอย่างมากช่วยผมที่
  เวลาเราเดินจงกรมโดยพุทโธ  เราควรเอาพุทโะไว้ที่ไหนดีครับ  การเดิน พุงยุบพอง  หรือลมหายใจ  เวลานั่งเอาไว้ที่ลมหายใจ แต่เวลาเดินนี้สิครับเอาไว้ที่ไหนดี  เคยได้ยินคนบอกว่าไม่ควรเอาพุทโธไว้ที่การเดิน แต่เวลาผมฟังหลวงตาบัวท่านเทสท่านก็ให้พุทโธ  แล้วเวลาท่านเดินท่านก็ไม่ได้บอกง่ะครับ 

ช่วยกระผมทีนะขอรับ  สาธุกับทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือกระผมแล้วจะมีคำถามอีกขอบคุณ ;)ครับ


บันทึกการเข้า

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:24:53 am »
0

ถามเรื่องการเดินจงกรม คะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1185.0

การเดินจงกรม สามารถเดินเป็น ฌานได้หรือป่าวคะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1803.0

และด้่านในก็จะมีลิงก์ีที่เกี่ยวกับเรื่องเดินจงกรมอีกครับ
ต้องลองอ่านวิธีการ ก่อนครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:28:20 am »
0
การเดินจงกรม มีแบบ สติ กับ แบบ สมาธิ

  แบบสติ น้อมจิตไปในอิริยาบถ เป็นหลัก ...เช่น ยืนหนอ เดินหนอ ย่างซ้ายหนอ ย่างขวาหนอ เป็นต้น

  แบบสมาธิ น้อมจิตไปในนิมิต ส่วนใด ส่วนหนึ่ง และกำหนด บริกรรม เช่น พุทโธ เป็นต้น

    ดังนั้นวิธีเดินเป็นสมาธิ นี้ต้องกำหนดนิิมิตวางจิต ไว้ที่ใดที่หนึ่ง นิยมกำหนดวางไว้ที่ สะดือ ( ศูนย์นาภี )

 :25:
บันทึกการเข้า

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:32:49 am »
0


ฝึกสมาธิด้วยอิริยาบถที่เหมาะสมกับท่าน
         วิธีฝึกสมาธิให้จิตสงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอานาปานสติที่มุ่งในการฝึก ด้วยลมหายใจนี้มีจุดเด่นและคุณวิเศษยอดเยี่ยมสืบทอดมานานแล้ว ด้วยวิธีนี้สามารถป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งกายและใจ เป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โดยเน้นหนักในการฝึกลมหายใจเข้าออก
         ในการฝึกหายใจเข้าออกให้จิตสงบนี้ มีอยู่หลายอิริยาบถต่างๆ กัน โดยปรกติการออกกำลังบริหารร่างกายและการฝึกหายใจเข้าออกให้เกิดสมาธิมี อิริยาบถหลักอยู่ 4 อย่าง
         วิธีแรก “ เดิน ” ก็คือการบริหารท่อนล่างของร่างกายระหว่างเดินนั้น จิตใจย่อมเคลื่อนไหวสั่นคลอน ไปกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย จิตจึงไม่นิ่งเท่าที่ควร

หน้า48
         
         วิธีที่สอง “ หยุด ” ก็คือยืนอยู่กับที่ จิตใจต้องคอยพะวงควบคุมการทรงตัวของร่างกาย และรับรู้สิ่งแวดล้อมมากจนจิตไม่ค่อยสงบ
         วิธีที่สาม “ นอน ” กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย ได้หย่อนยานคลายจากการเหนี่ยวรัดดึง เมือนอนแล้ว เลือดจะคั่งอยู่ที่สมอง เกิดความง่วงเหงาหาวนอน จิตเคลิ้มหลับง่าย หาสติได้ยาก
         วิธีที่สี “ นั่ง ” เป็นท่าที่เหมาะสมกับการฝึกจิตคือ กล้ามเนื้อของร่างกายได้ยึดรั้งให้อยู่ในท่าที่มั่นคงโดยธรรมชาติ จิตใจไม่ต้องพะวงเป็นห่วงอยู่กับกายเนื้อมากนักจึงทำให้จิตสงบนิ่งได้เร็ว กว่าท่าอื่น
ดังนั้น วิธีฝึกสมาธิส่วนมากจึงนิยมใช้ท่านั่ง เรียกกันทั่วไปว่า “ นั่งสมาธิ ”
         แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติฝึกจิตก็สามารถที่จะเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อเกิดความจำเป็นจริงๆเข้า จะได้เป็นการฝึกจิตอย่างต่อเนื่อง หรือ ตามสภาพสังขารตนที่จะทนอยู่ได้ในอิริยาบถนั้นๆ

หน้า49
         การฝึกนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ท่าใดท่าหนึ่ง อย่างตายตัว เพื่อปฏิบัติจิต
         ควรพิจารณา ท่าที่มั่นคงและสบายตามความเหมาะสมกับสังขารของตนและเลือกท่าที่จะช่วยสนับ สนุนให้การปฏิบัติจิตของเราสงบได้เร็วและดี
         พยายามอย่าฝืนอารมณ์ ฝืนสังขารที่จะทนอยู่กับท่าฝึกสมาธิที่คิดว่าตนชอบแต่ด้วยความไม่เหมาะสมจาก เหตุต่างๆ จึงทำให้ออกจากการปฏิบัติจิตแล้วแทนที่จะสงบกาย สบายใจ กลับทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดหัวเสีย พาลพาให้เสียสุขภาพกายและจิต
         ผู้มีสมาธิดีแล้ว ย่อมสามารถควบคุมรักษาอารมณ์ให้ดีอยู่ในสมาธิ ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่าจะตื่นหรือนอน
         โรคประสาทเสื่อม อ่อนเพลีย โรคหัวใจ ควรที่จะใช้ท่านั่งสับกับท่าเดินจงกรม และมีการออกกำลังกายเบาๆ อย่างพอเหมาะสมด้วย
         โรคกระเพาะอาหารย้อยหย่อนยาน
โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคมดลูกหย่อนควรจะใช้ท่านอนตะแคงข้างขวา

http://www.oknation.net/blog/thitiporn/2010/06/01/entry-1
บันทึกการเข้า

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:37:03 am »
0
จากบางตอนในพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ธรรมทาน
พระ สุตตันติปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลลปัณณาสก์ 12-352-[๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษาอยู่ว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น
จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน
จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
จัก สำเร็จการนอนดังราชสีห์โดยเบื้องขวา ซ้อนเท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว
จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้นด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.

พระสุตตันติปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่าน
พระมหากัสสปก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธ
ก็จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็จงกรม
อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุบาลีก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุ
หลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้พระเทวทัตต์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี
พระภาค ฯ

๙. จังกมสูตร
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้๕ ประการเป็นไฉน
ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ
บันทึกการเข้า

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:38:47 am »
0



การเดินจงกรมแบบหนอ คะ

บันทึกการเข้า

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:44:15 am »
0
การเดินจงกรมพิจารณาธาตุ

        ตั้งจิตให้นิ่ง สูดลมหายใจเข้าลึกๆแล้วค่อยๆผ่อนออกช้าๆ ยาวๆ มองตรงไปข้างหน้าไกลประมาณ 1.5 - 2 เมตร ทอดสายตาลงต่ำ เริ่มหายใจเข้าลึกๆ พร้อมก้าวเท้าซ้าย ผ่อนลมหายใจออกพร้อมกับ การวางเท้า นับ 1 เข้า - ออก นับ 2 ทำซ้ำๆ จนครบ 21 ก้าว เมื่อครบ 21 ก้าว ให้หยุดยืนนิ่ง มองตรงไปข้างหน้า แล้วหลับตาพิจารณาธาตุ


ทำลายรูป

เอาผมออก    ให้มองเห็นตัวเองไม่มีผมบนศีรษะเหมือนคนหัวโล้น
เอาขนออก    ให้มองเห็นตัวเองไม่มีขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา และขนต่างๆตามร่างกาย เนื้อตัวดูเกลี้ยงๆแววๆ
เอาเล็บออก    ให้มองเห็นตัวเองตามนิ้วมือนิ้วเท้าไม่มีเล็บ เหมือนคนนิ้วกุดนิ้วด้วน
เอาฟันออก    ให้มองเห็น ที่ช่องปากไม่มีฟัน ริมฝีปากผลุบเข้าไปข้างใน
เอาหนังออก   ให้มองเห็น น้ำเลือดน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มองเห็นกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ
เอาเนื้อออก    ให้มองเห็น โครงกระดูกที่มีเอ็นร้อยอยู่
เอาเอ็นออก    ให้มองเห็น โครงกระดูกกองอยู่ตรงหน้า
         เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ค่อยๆลืมตา แล้วค่อยๆหันหลังกลับทางด้านซ้าย แล้วหยุดนิ่ง เริ่มพิจารณา ตั้งรูป


ตั้งรูป

เอาเอ็นใส่     ให้เห็นโครงกระดูกตั้งขึ้นมีเส้นเอ็นร้อยตามข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้
เอาเนื้อใส่     ให้มองเห็นกล้ามเนื้อเป็นมัดๆตามส่วนต่างๆของร่างกาย
เอาหนังใส่    ให้มองเห็นต่างกายที่มีหนังห่อหุ้มแต่ไม่มีขน ไม่มีเล็บ
เอาฟันใส่     ให้มองที่ช่องปาก เห็นฟันเป็นปกติ
เอาเล็บใส่    ให้มองเห็นนิ้วมือนิ้วเท้า มีเล็บยาวงอกออกมาเป็นปกติ
เอาขนใส่     ให้มองเห็นตัวเองมีขนคิ้วขนตา มีขนตามเนื้อตัวแขนขา ตามส่วนต่างๆของร่างกายแต่ยังหัวโล้น
เอาผมใส่     ให้มองเห็นตัวเองมีผมเป็นทรงต่างๆตามปกติ
        เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นก็ค่อยๆลืมตาช้าๆ แล้วเริ่มเดินจากเท้าซ้าย หายใจ เข้าออกนับ 1 จนครบ 21 ก้าว แล้วหยุดนิ่งเพื่อพิจารณาการ ตั้งธาตุ


ตั้งธาตุ
เข้มแข็ง       ธาตุดิน  ให้นึกถึงสิ่งแข็งๆในร่างกายเรา เช่น กระดูก เนื้อหนัง เล็บ ฟัน
ชุ่มชื่น          ธาตุน้ำ  ให้นึกถึงสิ่งที่ให้ความชุ่มชื่นในร่างกาย เช่น เลือด น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก
อบอุ่น          ธาตุไฟ  ให้นึกถึงความอบอุ่นของร่างกาย ความร้อนผ่าว
เคลื่อนไหว ธาตุลม  ให้นึกถึงการกระเพื่อมเวลาหายใจ ร่างกายมีการเคลื่อนไหว
         เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นก็ค่อยๆลืมตาช้าๆ แล้วหันหลังกลับมาด้านซ้าย แล้วหยุดนิ่งเพื่อพิจารณาการ ทำลายธาตุ

ทำลายธาตุ

ลมดับ     ให้มองเห็นตัวเองนอนตาย หยุดการเคลื่อนไหว
ไฟดับ     ให้มองเห็นตัวเองตัวเย็น แข็ง เริ่มซีด-เขียว
น้ำเน่า    ให้มองเห็นตัวเองอืดพองมีน้ำเลือดน้ำเหลือง น้ำหนองไหลออกจากช่องปาก ทางจมูก ทางหูและตามทวารต่างๆของร่างกายส่งกลิ่นเหม็น
ดินพัง    ให้มองเห็นร่างกายมีการเน่าเปื่อย จนเหลือแต่กระดูก กระดูกก็เริ่มผุพังเป็นผุยผง
        เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นก็ค่อยๆลืมตาช้าๆ แล้วหันหลังกลับมาด้านซ้าย แล้วเริ่มเดินจากเท้าซ้าย หายใจ เข้าออกนับ 1 จนครบ 21 ก้าว แล้วหยุดนิ่งเพื่อพิจารณาการ ทำลายรูป

http://watpanead.com/dhamma001.html
บันทึกการเข้า

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:45:46 am »
0
ตอนนี้ผมกำลังเป็นเท้าใหม่หัดเดินจงกรมอยู่
ที่ว่าเป็นเท้าใหม่ ก็เพราะหยุดเดินจงกรมไปตั้ง ๘-๙ ปีเลย
เพราะก่อนหน้านี้เดินแล้วไปเพ่งกายเพ่งจิต
ซึ่งเป็นการเดินที่ผิด ผิดจนเครียด ผิดจนหนักตื้อไปหมด
แม้หลังจากดูจิตเป็นแล้ว พอจะเดินจงกรมทีไร
ก็จะต้องมีอันเพ่งไปตามความเคยชินซะทุกที
ลองสังเกตมาตลอด ๘-๙ ปี จึงเพิ่งเห็นว่า
ช่วงนี้จิตเริ่มทิ้งความเคยชินที่ผิด ๆ ลงบ้างแล้ว
ก็เลยพอจะเริ่มกลับมาหัดเดินจงกรมได้กับเค้าซะที

เอาละครับ มาเริ่มเดินจงกรมกันเลยดีกว่า

ช้าก่อน...
ก่อนเริ่มเดินจงกรม สังเกตดูใจตัวเองซิว่า
มีความอยากเดินจงกรมหรือเปล่า
มีความคาดหวังว่าเดินแล้วจิตต้องสงบ
เดินแล้วจิตต้องมีกำลัง ต้องตั้งมั่น อะไรทำนองนี้หรือเปล่า
หลายคนจะมีความอยาก
มีความคาดหวังอะไรทำนองนี้ไม่มากก็น้อย

ใครรู้สึกอยากเดิน รู้สึกคาดหวังผลอะไรอยู่
ก็อย่าเพิ่งเริ่มก้าวเท้าเดิน ทั้งที่ยังอยากยังคาดหวัง
ให้หัดดูจิตที่มีความอยากก่อน ให้หัดดูจิตที่มีความคาดหวังก่อน
พอรู้สึกว่าความอยาก ความคาดหวัง เบาบางลง
หรือหายไปแล้ว จึงเริ่มเดินได้นะครับ
อันนี้เป็นเทคนิคของการเดินจงกรมที่สำคัญมาก
ถ้าพลาดไปเริ่มเดินทั้งที่มีความอยาก มีความคาดหวังครอบงำจิต
ก็จะพลาดไปติดเพ่งเอาง่าย ๆ แบบที่ผมพลาดมาแล้วนั่นเอง

ก่อนเริ่มเดินก้าวแรก...
ให้ยืนรู้สึกตัวสบาย ๆ ก่อน อย่าพรวดพราดเริ่มก้าวเท้าเดิน
ยืนรู้สึกตัวสบาย ๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มก้าวเท้าเดิน

เดินท่าไหนดีละ?...
ให้เดินด้วยท่าทางที่สบาย ๆ
(เราจะเดินจงกรม ไม่ใช่ย่องจงกรมนะครับ)
ถ้าชอบเดินเอามือไปจับกันไว้ข้างหลัง ก็เอาไว้แบบนี้
ถ้าชอบเดินเอามือมากุมไว้ข้างหน้า ก็เอาไว้แบบนี้
ถ้าจะเดินกอดอก เดินล้วงกระเป๋า หรือเอามือไว้อย่างไร
แม้แต่จะเปลี่ยนท่าทางสลับไปมา
หรือเดินแบบไร้ท่าทางที่ตายตัว ก็ได้ตามใจชอบเลยครับ


ต้องเดินช้าหรือเร็ว?...
อันนี้ต้องทดลองดูเองครับ
ทดลองเดินช้าก่อนก็ได้ หรือจะทดลองเดินเร็วก่อนก็ได้
ถ้าเดินช้าแล้วรู้สึกอึดอัด เคร่งเครียดไป ก็เดินให้เร็วขึ้น
ถ้าเดินเร็วแล้ว รู้สึกใจจะลอยๆ ก็ให้เดินช้าลง
เดินช้า เร็ว ประมาณไหนแล้วรู้สึกได้ว่า
เดินแล้วใจสบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด ไม่ล่อยลอยเกินไป
ก็ให้เดินช้า เร็ว ประมาณนั้นแหละครับ

ต้องเดินไปกลับ หรือเดินวนไปเรื่อย ๆ?...
อันนี้ก็แล้วแต่สถานที่จะเอื้ออำนวย
หรือจะเอาแบบที่ชอบก็ได้ครับ
แต่ถ้าเดินวนไปเรื่อย ๆ ขอแนะนำว่า
ให้มีตำแหน่งหยุดยืนเป็นระยะ ๆ
เพราะตรงที่มีการหยุดยืนนี่เอง
ที่จะเป็นจุดที่จิตจะกลับมามีสติได้ง่าย หลังจากที่เผลอไป
ส่วนการเดินไปกลับ จะมีจุดที่ต้องหยุดยืนก่อนกลับตัวอยู่แล้ว
และควรใช้ระยะทางเดินที่ไม่ยาวเกินไปนะครับ
คือถ้าตอนหัดเดินใหม่ๆ แล้วเดินเป็นระยะทางที่ยาวเกินไป
ก็จะเดินแบบไม่มีสติหรือเผลอนานเกินไป

เดินแล้วต้องดูอะไร ต้องรู้อะไร?...
ก็ให้รู้ร่างกายที่กำลังเดินซิครับ
รู้นะ ไม่ใช่เพ่งจ้องจนเคร่งเครียด
รู้แบบสบาย ๆ นุ่มนวล
แล้วก็ ไม่ฝืน ไม่บังคับจิต ถ้าจิตจะคิดก็ให้คิดได้ตามปกติ
ถ้าจิตจะเผลอ-ลืมกาย แล้วไปมอง ฟังเสียง สนใจสิ่งอื่น
ก็ให้จิตเผลอไปได้ ให้จิตลืมกายไปได้
ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัวนะว่า จะเผลอนาน
เพราะจิตที่เผลอไปนั้น จะเผลอไม่นานหรอก
และในจังหวะที่หยุดยืน จิตก็จะกลับมารู้กายได้เองไม่ยาก

ขณะเดินจงกรมก็แค่...
เดินไปรู้สึกไปสบาย ๆ ว่ามีร่างกายกำลังเดินไป
เดี๋ยวจิตก็จะเผลอไป ลืมกายไป
เผลอไปคิดบ้าง เผลอไปมองบ้าง เผลอไปฟังเสียงบ้าง
ซึ่งในขณะกำลังเผลอ จิตจะไม่รู้สึกว่ามีร่างกายกำลังเดิน
หรือถ้ารู้สึกก็ไม่ชัด รู้แบบเบลอๆ มัวๆ
พอเผลอไปเดี๋ยวก็จะ รู้ว่าเผลอไป
พอรู้ว่าเผลอไป ก็เริ่มมารู้สึกว่ามีร่างกายกำลังเดินใหม่
เดินไปรู้สึกว่ามีร่างกายกำลังเดิน สลับกับรู้ว่าเผลอไป ...เท่านี้เอง

ข้อสังเกต!...
๑. ถ้าเดินแล้วเครียด แน่น จุก อึดอัด แสดงว่า เพ่งมากไปแล้ว
ให้หยุดพักก่อน พอหายเครียด หายแน่น หายเพ่งแล้ว
ก็ค่อยกลับเริ่มต้นใหม่ อย่าฝืนเดินไปทั้งที่เพ่ง
เพราะถ้าฝืนเดินแล้วไม่หายเพ่ง ก็จะกลายเป็นเพ่งเคยชิน
แล้วจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการเดินจงกรม
แย่หน่อยก็แบบผมเองที่เพ่งจนชิน
กว่าจะเลิกเพ่งก็เสียเวลาไปตั้งหลายปีทีเดียว

๒. ถ้าเดินแล้ว เกิดรู้สึกว่าร่างกายมีแค่เท้า มีแค่ขา
มีแค่ตัว หรือมีแค่ส่วนเดียว ไม่รู้สึกว่ามีส่วนอื่นๆ อยู่ด้วย
เช่นมีแต่ตัว ไม่รู้สึกว่ามีหัว ก็แสดงว่า จิตไหลไปแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ก็ให้ทราบด้วยว่า การเดินแบบนี้อาจพลิกไปเป็นสมถะได้
แต่ไม่ใช่การเดินเพื่อมีสติรู้กายรู้ใจแบบวิปัสสนา

ต้องเดินนานแค่ไหน?...
เรื่องเวลานี่ ใครจะตั้งใจเดินนานสักกี่นาที ก็ตามสบายเลยครับ
แต่อย่าตั้งเวลาไว้นานเกินไปนะครับ
เพราะถ้าเดินไม่ไหว ก็จะบั่นทอนกำลังใจตัวเองซะเปล่าๆ
หรือจะเริ่มสัก ๕ นาที ๑๐ นาที ก่อนก็ได้ครับ
ส่วนวันไหนเดินแล้วมีสติบ่อย จะเดินมากกว่าที่ตั้งเวลาไว้ก็ได้
หรือพอเดินชำนาญแล้วจะเพิ่มเป็นกี่นาทีก็ได้เลยครับ

เอ้า...ใครจะหัดเดินจงกรมแบบเท้าใหม่หัดเดิน
ก็ลงเท้าเริ่มหัดเดินกันได้เลยครับ

http://forum.02dual.com/index.php?topic=350.0
บันทึกการเข้า

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 01:51:31 am »
0
๏ การเดินจงกรม

เดินจงกรม ก็หมายถึง เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร ? (เพื่อ) เปลี่ยนอิริยาบถ คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้ เดินหลาย (เดินมาก) มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่า เปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนให้เท่าๆกัน นั่งบ้าง นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง อิริยาบถทั้ง ๔ ให้เท่าๆ กัน แบ่งเท่ากัน หรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้ เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่ น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้ว ก็ไปนั่งก็ได้ นั่ง เหนื่อยแล้ว ลุกเดินก็ได้

เวลาเดินจงกรม ไม่ให้แกว่งแขนเอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้

เดินไปเดินมา ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามา ทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า "ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ" ไม่ต้องพูด เพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น

เดินจงกรม ก็อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไป เดินให้พอดี

เดินไปก็ให้รู้...นี่เป็นวิธีเดินจงกรม ไม่ใช่ว่าเดินจงกรม เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว เดินไปจน ตาย มันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น

เดินก้าวไป ก้าวมา "รู้" นี่ (เรียก) ว่า เดินจงกรม

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6013
บันทึกการเข้า

P63

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:57:39 pm »
0
???  ดีครับทุกท่านกระผมพึ่งเข้่ามาใหม่ และมีความส่งสัยบางอย่างในการทำกรรมฐานอย่างมากช่วยผมที่
  เวลาเราเดินจงกรมโดยพุทโธ  เราควรเอาพุทโะไว้ที่ไหนดีครับ  การเดิน พุงยุบพอง  หรือลมหายใจ  เวลานั่งเอาไว้ที่ลมหายใจ แต่เวลาเดินนี้สิครับเอาไว้ที่ไหนดี  เคยได้ยินคนบอกว่าไม่ควรเอาพุทโธไว้ที่การเดิน แต่เวลาผมฟังหลวงตาบัวท่านเทสท่านก็ให้พุทโธ  แล้วเวลาท่านเดินท่านก็ไม่ได้บอกง่ะครับ 

ช่วยกระผมทีนะขอรับ  สาธุกับทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือกระผมแล้วจะมีคำถามอีกขอบคุณ ;)ครับ

อ่านคำถามแล้วยังไม่ทราบว่า คุณ Notebook123 กำลังปฎิบัติกรรมฐานในแนวทางไหนครับ ?
ถ้าเป็นพุทโธ ก็อาจจะใช้แนวสายวัดป่า หลวงปู่มั่น
ถ้าเป็นพองยุบ ก็อาจจะใช้แนวสติปัฎฐาน 4  เช่น วัดมหาธาตุ หรือหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
ถ้าเป็นกรรมฐานมัชฌิมา ก็จะเป็นอีกแนวหนึ่ง ตามห้องกรรมฐานที่ปฎิบัติอยู่
ขอให้เลือกสักแนวทางหนึ่งก่อน แล้วปฏิบัติไปตามที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำ อย่าเอามาปนกัน เช่น การนั่งสมาธิใช้แนวทางหนึ่ง การเดินจงกรมใช้อีกแนวทางหนึ่ง จะสับสนและไม่ก้าวหน้า

ขออธิบายแบบคร่าวๆ เท่าที่เคยฝึกมา
สายพุทโธ   
 นั่งสมาธิ ให้ภาวนาพุทโธอยู่ในใจ อาจกำหนดจิตไว้ที่กลางหน้าอก หรือภาวนาพุทโธ กำกับลมหายใจเข้า-ออก
 เดินจงกรม ให้ภาวนาพุทโธอยู่ในใจ แล้วเดินไปโดยไม่ต้องกำหนดที่เท้า เพียงแต่มีสติระลึกรู้
             บางพระอาจารย์ก็ให้กำหนดพุท ย่างเท้าซ้าย โธย่างเท้าขวา ก็มี  เช่น หลวงพ่อทูล

สายวัดอัมพวัน หลวงพ่อจรัญ
  นั่งสมาธิ ให้รู้อาการที่ท้องพอง  กำหนดพองหนอ และท้องยุบ กำหนดยุบหนอ
  เดินจงกรม มี 1 -6 ระยะ ให้สติระลึกรู้อยู่ที่เท้า เริ่มจาก 1 ระยะ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
              ถ้า 4 ระยะ คือ  ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ  เป็นต้น
               ทั้งนี้ ยังมี ยืนหนอ(5 ครั้ง) กลับหนอ ฯลฯ ซึ่งมีรายละเอียดอีกหลายอย่าง

สายกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ มีผู้อธิบายไปแล้ว

ลองศึกษาเปรียบเทียบตามนี้ครับ
http://www.samathi.com/content/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1
http://larndharma.org/index.php?/topic/1017-%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98/
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_tool/lp-tool_2-2.htm
http://www.softach.com/working.php
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 03:43:40 pm »
0
แฮะ แฮะ........มีคนช่วยแนะนำช่วยตอบ...เยอะแยะแล้ว...
...ป้าก็ช่วยเหมือนกัน...แต่ขอช่วยเป็นกำลังใจให้ปฎิบัติได้ปฎิบัติถึง...ตามที่ตั้งใจไว้.......สู้ๆ..
                          :08:  :58: :13: ;)
บันทึกการเข้า

notebook123

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 24
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 11:17:31 am »
0
 ;)
ผมขอขอบคุณทุกท่านมากครับที่ช่วยผม
สาธุ
บันทึกการเข้า

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทโธ ใครก็ได้ช่วยผมที
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2012, 11:38:29 am »
0
อ่านแล้ว มีหลากหลาย แนวทาง ดีนะครับ ทำให้ลังเลใจในการภาวนา ด้วยหลากรูปแบบสาระเลยนะครับ

  :s_good:
บันทึกการเข้า