ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ  (อ่าน 4797 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 10:34:49 am »
0
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนา

        ด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑         
        ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน  และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

        ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ( พึงจำภาวนา ๔ นี้ไว้ เพราะใช้ถึงที่สุด )

        อรรถแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอรรถอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ฯ


         ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสติ นั้นไม่ล่วงเกินกัน เพราะเกิดที่จังหวะต่างกัน 4 สภาวะ คือ
    1.สภาวะที่หายใจออก
    2.สภาวะที่หายใจเข้า
    3.สภาวะที่สติมีขณะหายใจออก
    4.สภาวะที่สติมีขณะหายใจเข้า

ทั้ง 4 สภาวะเป็นสภาวะใน การภาวนาจริง ๆ ไม่ล่วงเกินกันเพราะเป็นสภาวะธรรมที่แตกต่างกัน

    อันนี้กล่าวว่าเป็น ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน

    อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ทั้งหลายในสภาวะัธรรมทั้ง 4 นี้เป็นใหญ่แตกต่างกัน แต่มีกิจ 2 อย่างที่เหมือนกัน ในสภาวะทั้ง 4

    1.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการมีชีิวิต เพื่อการประกอบขันธ์ทั้ง 5 ให้เป็นอยู่ ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
    2.สภาวะทั้ง 4 นั้นเป็น ธรรมเพื่อการนำมาซึ่ง อรหัตตผล เป็นที่สุด
   
    อันนี้กล่าวว่า อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน

    สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2 นั้นเป็นสภาวะ เหตุ ปัจจัย ในการภาวนาธรรม

    อันนี้จึงกล่าวว่า นำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรม

   
สภาะธรรมทั้ง 4 และอินทรีย์ทั้ง 2 ความเพียรอันประกอบด้วยสภาวะธรรม เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเพราะชีวิต
  มีได้ก็อาศัย สภาวะธรรมทั้ง 4 และ อินทรีย์ทั้ง 2
   
    อันนี้จึงกล่าวว่า เป็นที่เสพ ๑

ข้อความจาก อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค หน้าที่ 30

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 06:58:03 am »
0
อ่านอธิบาย มองเห็นภาพในการปฏิบัติ อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค มากขึ้นเลยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 10:37:26 am »
0
ผมอ่านเรื่อง นี้ ก็ยังไม่เข้าใจ ว่าใน อานาปานสติ มีภาวนา 4 ไปพร้อมกันอย่างไร

  :91:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อธิบายลักษณะการภาวนา 4 อย่างในอานาปานสติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 15, 2013, 08:25:23 am »
0
  มาติกา  ( บทโดยรวม )
 
  ภาวนา 4 ใน มีขึ้นตอนดังนี้
  พระอานาปานสติ 16 คู่ ( สโตริกาญาณ 16 )
  32 ลักษณะ  ( สโตริกาญาณ 32 สามารถแห่งสติ )
  ญาณในการพิจารณาความไม่เที่ยง 50 ลักษณะ
  ญาณในความเป็นผู้ทำสติ 32
  ญาณด้วยสามารถในสมาธิ 24
  ญาณด้วยสามารถในวิปัสสนา 72
  นิพพิทาญาณ 8
  นิพพิทานุโลมญาณ 8
  นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8
  ญาณในวิมุตติสุข 21


 ask1

  ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑   
 

 ans1     ธรรมที่เกิดเป็นสภาวะ ไปตามลำดับ เข้า ออก อย่างไรปรากฏเช่นนั้นไปตามลำดับแห่ง กาย เวทนา จิต และ ธรรม ไม่ก้าวล่วงกัน เพราะเหตุนี้ เพราะต้องมีการ ระงับ คือ ทำกายให้สงบ ทำเวทนาใหสงบ ทำจิตให้สงบ ทำธรรมให้สงบ ลง  เรียกว่า การไม่ก้าวล่วงกัน เพราะเหตุและผล เป็นสภาวะธรรม ตามลำดับ นั่นเอง


 

 ask1

 

อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ 

 [/]
ans1  
อินทรีย์ 5

ศรัทธา คือ สัทธินทรีย์   มีความเป็นใหญ่ ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจเชื่อ

วิริยะ คือ วิริยินทรีย์       มีความเป็นใหญ่ ในการประคองไว้

สติ คือ สตินทรีย์           มีความเป็นใหญ่ในการระลึก 

สมาธิ คือ สมาธินทรีย์    มีความเป็นใหญ่ ในการไม่ฟุ้งซ่าน

ปัญญา คือ ปัญญินทรีย์  มีความเป็นใหญ่ในการเห็นตามความเป็นจริง

   ถึงแม้จะจำแนกออกเป็น กี่หมวด แต่อินทรีย์ รวมลงด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1  นั่นเอง หรือ จะสรุปไปเลยที่องค์เดียวก็คือ นิพพาน

 [/]
ask1    

 
นำไปซึ่งความเพียรอัน สมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน  และความที่อินทรีย์ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน   และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

   
ans1  
 
  ความเพียร มีเรื่องเดียวการสร้าง กุศล นั่นเอง


 ask1

   เป็นที่เสพ ๑ ( พึงจำภาวนา ๔ นี้ไว้ เพราะใช้ถึงที่สุด )


 
ans1

   ปกติ คนเราอาศัย ลมหายใจเข้า และ ออก ทุกวินาทีอยู่แล้ว อันนี้เรียกว่า เสพอย่างไม่มีสติ คือ กำหนดรู้ได้บ้าง และ กำหนดรู้ไม่ได้บ้าง การเสพอย่างนี้เรียกว่า เสพอย่างขาดสติ ผลก็คือ ไม่รู้จัก มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1  นั่นเอง

   แต่เมื่อเจริญพระอานาปานุสสติ แล้ว มีสติ หายใจเข้า มี สติ หายใจออก กำหนดรู้ชัดเจน ทุกวินาทีเช่นกัน รู้จัก อัสสาสะ รู้จักปัสสาสะ รู้จักอัสสวาตะ รู้จักปัสสวาตะ รู้จักนิสสวาตะ เพราะมีสติไปทั่วนั่นเอง  อย่างนี้เรีกว่า เสพธรรมเป็นผล


 
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ