ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีความรู้สึกเนื้อหา เรื่องกรรมฐาน เป็นเรื่องที่อ่านยาก และเข้าใจยากคะ  (อ่าน 4849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตั้งแต่ตามอ่านมา เกือบจะเดือนแล้ว รู้สึกว่าเนื้อหาทางด้านกรรมฐาน เป็นเนื้อหาที่พิศดาร และค่อนข้างอ่านยากคะ
ก็ชื่นชมในพระอาจารย์ และคณะทีมงานมัชฌิมา ที่มีความพยายามในการเสริมเนื้อหา มาให้ได้อ่านรับทราบคะ

แต่บางปัญหา ก็ไม่รู้ว่าจะถามอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องวิชาเนื้อหาเกี่ยวกับกรรมฐาน ถ้าไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้แล้วก็ไม่รู้จะเริ่มถามอย่างไร

ในใจจึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก ที่ไม่เหมาะสมกับคนทั่วไป จึงอยากให้ทางผู้รู้ทุกท่านช่วยสรุปเนื้อหากรรมฐาน

ที่จะช่วยสอดคล้องกับชีวิตประจำวันได้หรือไม่คะ แทนที่จะต้องออกมานั่งภาวนา หรือ เดินภาวนากันอย่างเดียว

มีวิธีการที่่ทำให้เนื้อหากรรมฐาน เหมาะสมกับชีวิตประจำวันหรือไม่คะ

ขอบคุณคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เข้าใจในความคิดเบื้องต้นว่ากรรมฐาน นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ของมหาชน อยู่บ้างแต่เป็นเพราะว่า มหาชน ส่วนใหญ่นี้มุ่งเรียนกรรมฐาน ที่เป็นระดับสูงสุดเลย จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ายาก ดังนั้นถ้าต้องการเรียนกรรมฐานให้

เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน ก็ต้องเรียนกรรมฐานให้ถูกจุด และมีเป้าหมายที่ชี้ให้เราเข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อนเป็นอันดับแรกเริ่มจาก มองที่ประโยชน์ของกรรมฐานในเบื้องต้นคือ

 1.ช่วยสุขภาพจิต เพิ่มประสิทธิภาพกาย

     การเรียนกรรมฐาน ที่เหมาะกับทุกคนทุกวัย นั้นต้องภาวนาควบคู่กันไป โดยหลักการภาวนาในระดับที่เป็นธรรมชาติ คือไม่ใช่ทำอย่างพระ แต่ทำอย่างชนที่ครองเรือน คือใส่กรรมฐาน ลงไปในชีิวิตประจำวันเช่นการเรียนรู้เรื่องการหายใจ การออกกำลังกาย การออกกำลังจิต การฝึกสติในเบื้องต้น ถ้าเราเรียนอย่างนี้กรรมฐานก็จะไม่ใช่เรื่องยาก สำหรับเราอีกต่อไปเพราะเราเีรียน ภาวนากรรมฐานถูกจุด

2.ช่วยตัดกรรม ตัดวิบากแห่งกรรม

    เรื่องของกรรมอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เ้ข้าใจยาก เอะอะ อะไรก็ไปโทษกรรมทุกครั้ง โทษแม้กระทั่งดวงดาวต่าง ๆ นั้นแต่ใช่ว่าจะไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย คำกล่าวที่ว่า ปัจจุบัน เป็นผลมาจากอดีต นั้นไม่ใช่เรื่องที่เหลวใหล แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันมาหลายภพ หลายชาติ ที่เราได้สะสมลงมา คนปัจจุบันไม่ได้กลัวกรรมส่วนนั้น แต่ที่เกรงกลัวกัน ก็คือวิบาก ( ผลกรรม ) ต่างหาก การที่เราจะหนีกรรมก็ต้องทำกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลให้มากขึ้น ธรรมที่จะสร้างกุศล ให้กรรมทั้งหลายมีทันทีก็คือผลของการเจริญกรรมฐาน อันนี้กล่าวเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวัน และสอดคล้องกันอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นกรรมฐานส่วนนี้จะช่วยได้


3.กรรมฐาน ตัดสังสารวัฏ

  อันนี้กล่าวได้ว่าเป็นเป้าหมาย สูงสุดของพระกรรมฐาน ในพระพุทธศาสนาเลยคือการตัดสังสารวัฏไม่ต้องกลับมาเกิด มาเวียนว่ายอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ มี ทุกข์เป็นเอนกอนันต์ มีความโศรก ความร่ำไร รำพัน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นต้น แต่กรรมฐานส่วนนี้ไม่ใช่เป็นกรรมฐานที่จะภาวนาำได้ง่าย ๆ จะเห็นได้จากจำนวนพระอริยะ ลดน้อยลงทุกวัน ทุกกาลดังนั้นจะกล่าวว่าง่ายนั้นก็ไม่ใช่ กรรมฐานส่วนนี้ต้องอาศัยกำลังใจสูงมาก โดยเฉพาะต้องเป็นผุ้ผ่าน นิพพิทา ( ความเบื่อหน่าย ) คือเห็นโทษของวัฏฏสงสารมาแล้ว จึงจะปฏิบัติภาวนาไปได้ในส่วนนี้ แต่ถ้าหากยังไม่เห็นโทษแห่งวัฏฏสงสารแล้ว เข้ามาศึกษาและภาวนาในส่วนนี้ ก็จะไม่สามารถสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ได้



ดังนั้น กรรมฐาน นั้นเปรียบเหมือนสะพาน ที่จะข้ามน้ำ ไปสู่อีกฟากฝั่ง

ใครจะรู้บ้างว่าอีกฟากฝั่งหนึ่ง นั้นที่เรียกว่า นิพพาน จะมี คุณ มี ธรรม มีลักษณะ อย่างไร ก็ไม่สามารถเล่าสู่กันฟังได้กันอย่างง่าย ๆ หรอกนะจ๊ะ ต้องเป็นผู้ข้ามไปแล้วเห็นเอง รู้เอง เท่านั้น


ดังนั้นถ้าจะเริ่มศึกษากรรมฐาน แล้ว ก็ให้พิจารณากรรมฐาน ให้เหมาะกับลำดับ และเป้าหมายของเราก่อนเป็นเบื้องต้นก็จะเห็นว่ากรรมฐานนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก



อ่านวิธีการที่ ภาวนาง่าย ๆ ก่อนก็จะเข้าใจ นะจ๊ะ
ไม่สบายใจ รู้สึก วิตกกังวล ควรทำอย่างไรดีครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3199.0


เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว ก็ทำความเข้าใจให้ถูกในเป้าหมายกรรมฐาน ด้วยนะคะ

เห็นด้วยคะ ถ้าเราตั้งเป้าหมายไว้น้อยแต่ไปศึกษา ขั้นสูงสุดเลยก็จะประสพปัญหาคือ ไม่เข้าใจคะ

 :13:
บันทึกการเข้า

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามอ่านแล้ว เข้าใจว่า ควรเริ่มจากจุดไหนบ้าง

  สมมุติ ว่าหนูต้องการเรื่อง สุขภาพจิต และ กาย ควรเริ่มฝึกกรรมฐานอย่างไรคะ

  ควรปฏิบัติอย่างไร คะ

  :93:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องค่อย ๆ ศึกษาไปคะ เพราะการศึกษากรรมฐาน ก็คือการศึกษาตัวเราเองคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องขอบอกว่า......
การที่ว่ายากหรือง่ายนั้นเอาอะไรมาวัด..........ด้วยเหตุที่ว่าการปฎิบัติธรรมเป็นของรู้เฉพาะตนเกิดได้ที่ใจตนเองผลที่ได้ก็เป็นเฉพาะตน......ดังนั้นจึงเทียบกันไม่ได้.......ขึ้นอยู่ที่แต่ละบุคคลว่า.....
ปฎิบัติอย่างนี้แล้วได้ผลหรือไม่(ปฎิบัติได้หรือไม่,ก้าวหน้าหรือไม่,เพียงใด)ซึ่งด้วยเหตุผลที่ว่าแต่ละบุคคลมีฐานไม่เหมือนกันเลย,ไม่เท่ากันเลย.......และก็ด้วยเหตุนี้อีกนั่นแหละจึงเกิดแนวปฎิบัติออกมามากมาย..ทั้งๆที่ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เป็นไปเพื่อความเป็นอิสระแห่งจิตตนเองจากกิเลสทั้งสิ้น.....
.......ปฎิบัติอย่างนี้แล้วได้ผล.....ก็เรียกว่าง่าย,ปฎิบัติอย่างนี้แล้วไม่ได้ผลหรือไม่ก้าวหน้า...ก็เยกว่ายาก......
.............................................................................................
ดังนั้นที่บอกว่ายากหรือง่ายก็ต้องลองปฎิบัติดูก่อน...(ต้องปฎิบัติแบบมีศัทธาเชื่อมั่นเต็มร้อยด้วยน๊ะ,รวมทั้งต้องมีความมานะบากบั่น,ใช้สติปัญญาอย่างเต็มที่ลงมือปฎิบัติอย่างเต็มกำลังเสียก่อน)..ถ้าได้ผลอย่างไรแล้วค่อยมาประเมินดูว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่......หรือมีทางไหนที่ตนสามารถปฎิบัติได้ก็ลองศึกษาดู.....อย่าพึ่งท้อใจทั้งๆที่เพิงอ่านหรือแค่รู้ว่าซับซ้อนเท่านั้นก็ถอยเสียแล้ว.....อย่างนี้เขาเรียกว่า แพ้เสีงตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้วล่ะ.......
เป็นการปรามาส(ดูถูก)ความสามารถของตนเองเกินไปหน่อยมั๊ง.......
...................................................
ป้าขอเป็นกำลังใจช่วยให้มีความมานะบากบั่นในการปฎิบัติธรรมและเริ่มด้วยความเพียรและความอดทน.......
เคยดู serie เกาหลีบ้างไหม......เขาให้กำลังใจกันตลอด.......สู้ๆ  flighting flighting
             :58: :34: :bedtime2: :015:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การปฏิบัติธรรมเบื้องต้น ก็ง่ายที่สุดตรงที่ รู้ละ ปล่อยวาง อันนี้เบื้องต้นเท่านั้น

  รู้ละ ก็คือ ผิด ไม่ทำ ถูก ฉันทำ พิจารณาจากอะไร ความเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ถ้าเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ฉันไม่ทำ อันนี้เรียกว่า รู้ละ พูดศัพท์ทางการก็คือ ศีล

  ปล่อยวาง ไม่ได้เป็นคุณธรรมสูงสุด ใกล้เคียงกับคำว่าปล่อยทิ้ง แต่จะปล่อยวาง หรือ ปล่อยทิ้ง ความหมายนั้นอยู่ที่ตัวรู้ก็คือ สติ ระลึกได้ สัมปชัญญะ เกิดพร้อม เข้าใจบางปัญหาก็ต้องปล่อยวาง บางปัญหาก็ต้องปล่อยทิ้ง แต่อย่างไรเสีย ก็ต้องปล่อย เพราะถ้าไม่ปล่อยก็ทุกข์ เช่น เป็นมะเร็งที่แขน หมอต้องตัดแขนแล้ว ปล่อยวางเป็นเรื่องที่ทำสติได้ก่อน แต่ส่วนใหญ่ คนจะต้องปล่อยทิ้งก่อน คือทำลงไปแล้วค่อยไปแก้ ตัดก่อนแล้วค่อยคิด อันนี้มาฝึกสติทีหลัง

 ระดับการฝึกสติ นำใจก็พอจะใช้ได้ ยับยั้งใจไม่ให้เป็นทุกข์ได้ แต่ไม่สิ้นเชิง

 หมั่นในศีล หมั่นในทาน หมั่นในภาวนาบ้าง อันนี้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นอยู่แล้ว นะจ๊ะ

 เจริญธรรมเบื้องต้นก่อน

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติธรรมเบื้องต้น ก็ง่ายที่สุดตรงที่ รู้ละ ปล่อยวาง อันนี้เบื้องต้นเท่านั้น

  รู้ละ ก็คือ ผิด ไม่ทำ ถูก ฉันทำ พิจารณาจากอะไร ความเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ถ้าเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ฉันไม่ทำ อันนี้เรียกว่า รู้ละ พูดศัพท์ทางการก็คือ ศีล

  ปล่อยวาง ไม่ได้เป็นคุณธรรมสูงสุด ใกล้เคียงกับคำว่าปล่อยทิ้ง แต่จะปล่อยวาง หรือ ปล่อยทิ้ง ความหมายนั้นอยู่ที่ตัวรู้ก็คือ สติ ระลึกได้ สัมปชัญญะ เกิดพร้อม เข้าใจบางปัญหาก็ต้องปล่อยวาง บางปัญหาก็ต้องปล่อยทิ้ง แต่อย่างไรเสีย ก็ต้องปล่อย เพราะถ้าไม่ปล่อยก็ทุกข์ เช่น เป็นมะเร็งที่แขน หมอต้องตัดแขนแล้ว ปล่อยวางเป็นเรื่องที่ทำสติได้ก่อน แต่ส่วนใหญ่ คนจะต้องปล่อยทิ้งก่อน คือทำลงไปแล้วค่อยไปแก้ ตัดก่อนแล้วค่อยคิด อันนี้มาฝึกสติทีหลัง

 ระดับการฝึกสติ นำใจก็พอจะใช้ได้ ยับยั้งใจไม่ให้เป็นทุกข์ได้ แต่ไม่สิ้นเชิง

 หมั่นในศีล หมั่นในทาน หมั่นในภาวนาบ้าง อันนี้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นอยู่แล้ว นะจ๊ะ

 เจริญธรรมเบื้องต้นก่อน



 อนุโมทนา สาธุครับ เป็นคำแนะนำเบื้องต้น อย่างถึงใจเลยครับ

 
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์