ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในขณะที่มีอารมณ์ โศรกเศร้าอยู่ ควรเจริญกรรมฐานอย่างไร คะ  (อ่าน 3964 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในสภาวะ บางครั้งเราก็พบความเศร้าโศรก และ เจอเพื่อนที่มีปัญหา ความเศร้าโศรก หลากเรื่อง

ในขณะที่จิตมีความเศร้าโศรก ควรเจริญกรรมฐาน อย่างไร คะ

 :25:
บันทึกการเข้า

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในสภาวะ ที่อยู่ในความเศร้าโศรก น่าจะต้องเจริญ

   สติ ก่อน นะคะ เพราะ สติ เป็นเบื้องต้น คะ

   ถ้าเศร้าโศรก มาก ๆ ขาดสติ ก็นึกถึง พระอรหันตสาวิกา ปฏาจารา ก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้านั้น เธอเสียสติอยู่

เป็นหญิงบ้า วิ่งแก้ผ้า พระพุทธเจ้าตรัสให้ระลึกถึง สติ เธอจึงหายบ้า และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

ประวัติ พระอรหันตสาวิกา ปฏาจาราเถรี



http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=780.0

อ่านต่อที่ลิงก์นี้เลยนะคะ

 :s_hi:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2011, 08:41:52 am โดย patra »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ในสภาวะ บางครั้งเราก็พบความเศร้าโศรก และ เจอเพื่อนที่มีปัญหา ความเศร้าโศรก หลากเรื่อง

ในขณะที่จิตมีความเศร้าโศรก ควรเจริญกรรมฐาน อย่างไร คะ


ในสภาวะที่บีบคั้น จิตใจด้วยความทุกข์ ในขณะนั้น สิ่งที่ต้องปฏิบัติก็คือ การดำรงสติ ให้อยู่มั่นคงก่อน

การเจริญสติ ที่เหมาะสม มีอยู่ 4 กรรมฐาน ต้องใช้ทั้งหมดเท่าที่ สติ จะทำได้ในขณะนั้น เพื่อบรรเทาสภาวะ

บีบคั้นทางจิต ที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น

 4 กรรมฐานมีดังนี้

 1.พุทธานุสสติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอันดับแรก นึกถึงอย่างไร นึำกถึงด้วยความศรัทธา เป็นหลัก นึกถึงในพระพุทธคุณของพระองค์ นึกถึงความเป็นสรณะที่พึ่งในยามที่อับจนหนทาง วิธีการนึกถึง

  สวด " นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" สวดไปเรื่อย ๆ เท่าที่ใจปรารถนา สวดใจสภาวะ
บีบคั้น ลดลง ไม่ต้องสวดแปล

  เสก "พุทโธ" ลงกลางใจ

      ใจอยู่ตรงไหน ไม่ใช่ปัญหา ทุกข์ตรงไหน ก็เสก "พุทโธ" ลงไปตรงนั้น

  ปลุก "พุทธคุณ" ให้เปี่ยมหัวใจ ไล่ พระพุทธคุณทั้ง 9 ให้ชัดเจน แจ่มแจ้ง กลางใจเสีย

  สร้าง "พุทธะ" ให้เป็นเกราะของจิตต่อไป เมื่อสภาวะบีบคั้นน้อยลง ก็ให้ พุทธะ เข้าเป็นเกราะกันสภาวะบีบคั้นเสีย

 ทั้งหมดเป็นลำดับของการเจริญ พุทธานุสสติ เพื่อเผชิญ สภาวะบีบคั้น

 2.มรณานุสสติ ระลึกความตายเสียบ้าง เพื่อ สภาวะบีบคั้น จะจางคลายได้ลงโดยปกติ มรณานุสสติ จะมีชัดเด่นแจ้งกับ พระโยคาวจร โครตภู ขึ้นไป แต่ปุถุชน นึกได้ ก็ละกิเลสไม่ได้ แต่เพื่อให้สภาวะบีบคั้นทางจิตลดน้อยลงไป ก็สมควรที่จะเจริญ มรณานุสสติเสียบ้าง

   วิธีเจริญ มรณานุสสติ

   1. นึกถึง "ความตาย" ที่มีแก่ทุกคน  และตัวเรา นึกถึงยามมาเกิด มาอย่างไร นึกถึงยามไป ไปอย่างไร
      ยามเกิด ก็ไม่มี ยามไป ก็ไม่มี ยามเกิด ก็ไม่ได้อยากมาเกิด ยามตาย ก็ไม่ได้ยากตาย เป็นต้น

   2. ทำให้ปรากฏ เรื่องความตาย ลำพังความคิดให้เห็นว่า เราต้องตาย ไม่เพียงพอ ต้องทำให้ปรากฏด้วย
      วิธีทำให้ปรากฏ ให้ไปดูความตายจริง ๆ จากสภาวะแวดล้อม เช่นไปโรงพยาบาล ไปงานศพ เป็นต้น

   3. ทำให้แจ้งชัดในใจ โดยบริกรรมไว้ ว่า "เราต้องตายแน่ ความตายมีกับเราแน่ ๆ เราไม่พ้นความตาย"เมื่อบริกรรมจนขึ้นใจ ก็จะเข้าถึงญาณที่เป็นเหตุวิปัสสนาเอง คือ นิพพิทาญาณ ความหน่ายต่อโลก ช่วงนี้จะมีปัญญาให้เราเห็นแจ้ง และภูมิกันจิตเข้า สภาวะบีบคั้นจิตต่อไป

3.เมตตานุสสติกรรมฐาน

   ส่วนนี้จะไม่กล่าวมาก แต่แผ่เมตตา ให้ตัวเองมีความสุข ๆ มาก ๆ หน่อย จะได้ไม่หลงทำ อัตตวินิบาตกรรม คือการปลง หรือ ฆ่าตัวเอง

4.กายคตาสติ การตามระลึกไปในกาย

   เป็นบาทแห่งวิปัสสนา โดยตรงเลยในส่วนนี้ จะมีผลต่อจาก มรณานุสสติ ในส่วนที่จะทำให้แจ้งชัดในใจ


 ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นวิีธีการเจริญ สติ ไปสู่ สมาธิ ทั้งหมด เป็นทั้ง สมถะ เป็นทั้ง วิปัสสนา

เจริญธรรม

 ;)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2011, 09:04:06 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ