ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รูป เป็นทุกข์ ใจ รู้ เป็น นาม มีใครอธิบายให้เข้าใจได้บ้างคะ  (อ่าน 7328 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รูป เป็นทุกข์ ใจ รู้ เป็น นาม มีใครอธิบายให้เข้าใจได้บ้างคะ

ไปที่วัดมหาธาตุ ฟังเทศน์ทีไร จะถามก็ไม่มีโอกาสถามสักที

กับประโยคที่ว่า รูป เป็นทุกข์ ใจ รู้ เป็นนาม นี้มีความหมายลึกซึ้งในทางภาวนาอย่างไรบ้างคะ

 จึงขอรบกวน ท่านผู้รู้ในเว็บนี้ช่วย อธิบายให้เข้าใจหน่อยนะคะ


:s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยได้รับเมล อ่านเกี่ยวกับเรื่อง วิปัสสนา ในส่วนนี้นะ

วิปัสสนาใหม่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=78.msg4161#msg4161

ต้องเป็นสมาชิก ถึงจะโหลดไฟล์ได้นะคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สัญญาวิปลาส

ไม่ถึงขั้นที่เห็นว่า รูปกับนาม กายกับใจ นั้นไม่มีอยู่จริงๆ
ยังไม่ได้ ธรรมะอะไรสูงล้ำขนาดนั้น

มีบ้างที่ว่ากายนี้ รูปนี้ไม่ใช่เรา เห็นแว้บเดียว นานๆ เกิดที

เห็นตอนที่ไม่จงใจจะเห็น มันเห็นขึ้นมาเอง เช่น ตอนที่แปรงฟัน เห็นแว้บเดียวว่า ตัวนี้มันไม่ใช่เรา ...

ตอนหนึ่งเหยียดขาออก ต้องการผ่อนคลายสบายๆ เห็นว่า ขาสองท่อนนี้ เป็น ขาของใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่ขาของเรา ..

มีเห็นลมหายใจของตัวเอง บ้าง บางครั้ง
ตอนนี้เจอสภาวะที่เด็ดกว่านั้นคือ เกิดสัญญาเพี้ยนๆ เรียก สิ่งของ ผิดๆ ถูกๆ บ่อย
เพียงแต่เริ่มจะจับ อาการแปลกๆ ของสัญญา..ที่จู่ๆ ก็วิปลาศให้เห็นเอาดื้อๆ

ขั้นตอนที่จะเข้าไปเห็น ปกิจจสมุทบาท  ก็ไม่ชัดนักค่ะ อธิบาย เป็นถ้อยคำ
ก็รับรู้ได้ ถึงกระบวนการบางอย่าง แต่เรียกไม่ถูกว่ารู้อะไร แต่รู้ แค่รู้ว่ารู้อยู่ อย่างหนึ่ง

พักนี้ สัญญามันไม่เที่ยงให้เห็นเอาดื้อๆ เลย เช่น เรียก หนังสือเป็นสมุด
เรียกโต๊ะเป็นเก้าอี้ เรียกดินสอกดเป็นปากกา เรียกชามเป็นจาน ฯลฯ
สลับกันมั่วไปหมด ท่าทางจะบ้อง ซะแล้ว

คืออะไรที่คล้ายกัน สัญญามันจะไปหมายรู้ผิดๆ สลับข้างกันหมด ตัวแปล มันมั่ว 555555

จิตมันก็พูดขึ้นมาเองว่า ...แล้วไงละ
นี่ไงสัญญามันไม่เที่ยง เธอ บังคับฉันไม่ได้ หรอก ...จะใส่ใจอะไร กับสมมุติบัญญัติ เธอมุ่ง ใสใจศึกษา ปรมัตถธรรม มิใช่เหรอ
ฉันจะเรียกของฉันผิดอย่างนี้ เรื่องของฉันงะ ฉันเป็นอนัตตา…นั่นแน่จิตมันพูดเองได้ ด้วย

จิตดวงที่คิดประโยคนี้ดับไป
จิตอีกดวงหนึ่งก็เกิดขึ้นมารู้จิตที่คิด แล้วจิตอีกดวงก็ปรุงขึ้นมาใหม่ว่า
สรุปเธอจะเลือกข้างไหน เอาสมมุติบัญญัติ หรือจะเอา ปรมัตถธรรม
เลือกสิ…ถึงเวลาเลือกข้างแล้วนะ...ดวงนี้ดับ

เกิดจิตอีกดวงก็มารู้ดวงตะกี้ก่อนหน้านี้อีกที ดวงจิตเมื่อสักครู่นั้นดับไป
ดวงใหม่ก็ไปปรุงอยู่มันคิดอยู่ว่า
.....ไม่ได้ นะ หลวงพ่อ ท่านเคยเทศน์ว่า สมมุติบัญญัติ ก็จริง ตามสมมุตินะ ต้องเคารพสมมตินะ อย่าปฏิเสธสมมุติ ปรมัตฯ ก็จริงอย่างปรมัติ อย่ามาเอาเทียบกันไม่ได้ ธรรมคนละอย่างกัน.....

จิตดวงที่คิดดับไป แล้ว จิตดวงใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับตัวรู้ที่บอกว่า ไม่ต้องเลือกจะเอาอะไรสักอย่างเดียว หลวงพ่อท่านบอกว่า เราภาวนา ไม่ได้จะเอาอะไรทั้งนั้น

จิตดวงที่คิดช็อตนี้ก็ดับ จิตอีกดวงก็เกิด แล้วก็ปรุงแต่งใหม่ว่า “รู้แค่ว่า สิ่งใด เกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา” ไม่ได้มุ่งเอาอะไรทั้งนั้น จิตดวงนี้ มันก็ดับไป

เกิดจิตอีกดวงที่เกิดขึ้นมาใหม่ จิตรู้สว่าง ว้าบขึ้นมากลางใจ สว่าง โพลงเลย

ขณะนั้น เห็น จิตเกิดแล้วดับ เกิดแล้ว ดับถี่ยิบเลย ตัวปรุงก็ขยันปรุง เป็น ช็อตๆ

หากไม่ได้ โยนิโสมนสิการละแย่เลย .....กิเลส ชั้นเชิงเยอะจริงๆ ....มาเหนือเมฆจริงๆ

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ฟังซีดี เล่นๆ ชิวๆ ไป ฟังเป็น แบ็ค เฉยๆ
พอถึงเวลาคับขับจะโดนกิเลสลากไป สติ ปัญญาก็ผุดขึ้นมาช่วยได้ทัน

สาธุ อัศจรรย์จริงๆ ไม่เคยตั้งอกตั้งใจฟัง ซีดี เท่าไหร่ค่ะ
ฟังเป็นเครื่องอยู่ของจิต เป็นวิหารธรรมบ้าง ฟังไปอย่างนั้นๆ
รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง

ฟังซีดี แล้วรู้ทันจิตตัวเอง เพิ่ง จะเข้าใจ  เพิ่ง Get ว่า
ไม่ได้ ใช้หูฟังซีดี แต่จิตต่างหากที่เป็นคนฟัง

เปิดตลอดค่ะ ตอนนอนหลับก็เปิด ทั้งคืน
เปิดแล้วไม่ฝันอีกเลย ตื่นขึ้นมาก็แสนจะสดชื่น
ความอัศจรรย์ที่เจอกับตัวเองค่ะ ธรรมะมันซึ้ง ถึงอกถึงใจจริงๆ  สาธุ สาธุ สาธุ

จากคุณ    : รุ่งฟ้าสาง

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10419758/Y10419758.html
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รูป ก็คือ กาย

นาม ก็ืคือ รู้คิด รู้จำ รู้สึก รูแจ้ง

ใช่หรือไม่คะ

    :93:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การรู้ รูป นาม มีการรู้ 4 แบบ

การรู้ รูป นาม แบบที่ 1 รู้โดยสัญญา

   รู้แบบนี้ คือ รู้ว่า รูป คือ กาย นาม คือ รู้สึก รู้คิด รู้จำ รู้แจ้ง รู้แบบนี้ก็ใช้ได้ในเบื้องต้น เป็นการส่งเสริม ญาณ จัดเป็น ปริยัติ คือเตรียมตัว

การรู้ รูป  นาม แบบที่ 2 รู้โดยสภาวะ

  รู้แบบนี้ คือ ภาวนา กำหนด สภาวะ เช่น เดิน รู้ ว่า การเดิน คือ รูป ใจรู้สภาวะ นั้นเป็น นาม รู้อย่างนี้ส่งเสริมวิปัสสนา จัดเป็นมรรคญาณวิถี

การรู้ รูป นาม แบบที่ 3 รู้โดยญาณทัศนะ

 รู้แบบนี้ เป็นสภาวะต่อจาก รู้โดยสภาวะ ประกอบด้วยสมาธิ  จัดเป็นมรรคคามัคญาณทัศนะวิสุทธิ

 การรู้ รูป นาม แบบที่ 4 รู้แจ้งละตัดกิเลส

 รู้แบบนี้ เป็น สมุทเฉทปหาน เป็น ปฏิเวธ คือ ผล


การรู้ รูป นาม อาศัย อุปนิสัย พระอริยะ คือ นิพพิทาญาณ ความรู้ที่เบื่อหน่าย ต่อสังสังสารวัฏฏ์

การรู้ รูป นาม อาศัย สามัญลักษณะ 3 ประการเป็นเครื่องรู้แจ้ง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2011, 11:38:53 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รู้ รูปนาม เพื่อรู้ความจริง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 06:50:14 am »
0

รู้ความจริง จะรู้อย่างไร ฉบับเข้าใจเริ่มต้น                

http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=184

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พูดถึงเรื่องรู้ความจริงใน วิปัสสนาญาณเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น จักรู้ได้อย่างไร ควรศึกษาเริ่มต้นได้ดังนี้

 รู้สัจจะ ( ความจริง ) โดยสมมุติ มี 4  ประการ ดังนี้

  1.รู้สัจจะจริง โดยสมมุติ  จริงโดยความรู้สึก
 
     จริงโดยความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์

  2.รู้สัจจะจริง โดยสมมุติ จริงทางความคิด
   
     จริงอย่างนี้เพียงสมมุติฐาน คิดได้จริง ก็จริงตามคิด ตามความสำคัญของความคิด

  3.รู้สัจจะจริง โดยสมมุติ จริงทางความจำ

     จริงส่วนนี้ เป็นส่วนที่กำหนดให้เป็น ก็จริง เช่น พระ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น

  4.รู้สัจจะจริง โดยความรู้ ด้วยอารมณ์

     จริงส่วนนี้เป็นอารมณ์ต่อเนื่อง คือโสมนัสดีใจ ถ้ามีความสุข เป็นต้น
 

 รู้ทั้งหมดนี้ คือ รู้โดยสมมุติ นะจ๊ะ

รู้สัจจะ ( ความจริง ) โดยปรมัตถ์ มี 3 ประการ ดังนี้

  1.รู้สัจจะจริง โดยปรมัตถ์ ด้วยสติ พัฒนาก้าวแรก เห็นแล้ว หายกำหนดรู้ใหม่ รู้ได้หายไป เป็นเกิด ๆ ดับ ๆ

  2.รู้สัจจะจริง โดยปรมัตถ์ ด้วยสมาธิ พัฒนาก้าวที่สอง เห็นแล้ว มองเข้าลึกหยั่งราก เห็นแจ้งรู้จริง เพียงรู้ยังไม่วาง

เพราะเพียงรู้เท่านั้น
 
  3.รู้สัจจะจริง โดยปรมัตถ์ ด้วยญาณปัญญา พัฒนาก้าวสุดท้าย สืบเนื่อง รู้แล้ว ปล่อยละวาง ไม่ยึดมั่น ถือมั่น

ไม่เป็น ไม่อยาก


                                                                                                                               เจริญธรรม





จริงรู้รู้จริงหยั่งเห็นเพียงเกิดดับ
จริงรู้รู้จริงยอมรับมิผละวาง
จริงรู้รู้จริงไม่ยึดอยากห่างร้าง
จริงรู้รู้จริงก็ถึงทางหลีกรู้.

                                                                                                                  ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2011, 06:22:43 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การรู้ รูป นาม มีการรู้ 4 แบบ

การรู้ รูป นาม แบบที่ 1 รู้โดยสัญญา

   รู้แบบนี้ คือ รู้ว่า รูป คือ กาย นาม คือ รู้สึก รู้คิด รู้จำ รู้แจ้ง รู้แบบนี้ก็ใช้ได้ในเบื้องต้น เป็นการส่งเสริม ญาณ จัดเป็น ปริยัติ คือเตรียมตัว

การรู้ รูป  นาม แบบที่ 2 รู้โดยสภาวะ

  รู้แบบนี้ คือ ภาวนา กำหนด สภาวะ เช่น เดิน รู้ ว่า การเดิน คือ รูป ใจรู้สภาวะ นั้นเป็น นาม รู้อย่างนี้ส่งเสริมวิปัสสนา จัดเป็นมรรคญาณวิถี

การรู้ รูป นาม แบบที่ 3 รู้โดยญาณทัศนะ

 รู้แบบนี้ เป็นสภาวะต่อจาก รู้โดยสภาวะ ประกอบด้วยสมาธิ  จัดเป็นมรรคคามัคญาณทัศนะวิสุทธิ

 การรู้ รูป นาม แบบที่ 4 รู้แจ้งละตัดกิเลส

 รู้แบบนี้ เป็น สมุทเฉทปหาน เป็น ปฏิเวธ คือ ผล


การรู้ รูป นาม อาศัย อุปนิสัย พระอริยะ คือ นิพพิทาญาณ ความรู้ที่เบื่อหน่าย ต่อสังสังสารวัฏฏ์

การรู้ รูป นาม อาศัย สามัญลักษณะ 3 ประการเป็นเครื่องรู้แจ้ง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา



เจริญธรรม

 ;)


         รูปนามใช่   อื่นไกล   กายเรานี้      
สัญญามี   คือหนึ่ง   รู้แจ้งจำ
สภาวะ   หยั่งสอง   เดินรู้ทำ      
สมาธิ   ญาณธรรม   สามตามมา
     สี่แจ้งตัด   กิเลส   เป็นสมุทเฉท      
ให้หยั่งผล   ปฏิเวธ   วิเศษหนา
สามัญลักษณ์   นามรูป   อย่ากังขา   
อนิจจัง   ทุกขัง   อนัตตา.

                                                     ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2011, 05:28:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นิด_หน่อย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 90
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
รูป เป็นทุกข์ ใจ รู้ เป็น นาม

รูป น่าจะเป็น รูป ใจรู้สึก นึกคิด จำได้ หมายรู้ เป็นนาม น่าจะเป็นแบบนี้นะคะ

  สติ กำหนดรู้ได้ขณะนั้น เป็นรูป ส่วนใจที่รู้ เป็นนาม

  ทุกข์ เป็นสภาวะที่เกิดทางใจ กำหนดรู้ด้วยสติเป็นรูป ใจรู้ขณะนั้นเป็นนาม อย่างนี้หรือป่าวคะ

 เขียนไปเขียนมา ก็งง เหมือนกันคะ เพราะไม่ค่อยได้ฝึกตามดูรู้อย่างนี้ เคยไปฟังที่วัดท่ามะโอ ครั้งหนึ่งคะ

 :021:
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ จะท่องให้ขึ้นใจ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากคำถาม เมื่อพิจารณาว่านี่คือนาม  นี้คือรูป เราได้ประโยชน์อะไรจากการพิจารณานี้ครับ

มาดูพุทธวจนตรัสไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม

รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้

( ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรัสไว้อย่างเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า )


--------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า

เธอย่อมยุบ – ย่อมไม่ก่อ
ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา
ย่อมทำให้กระจัดกระจาย – ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง
ย่อมทำให้มอด – ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง

อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?
เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา…ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา…ซึ่งวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้

จากคุณ    : เนตังมม (เนตังมม)
เขียนเมื่อ    : 19 เม.ย. 54
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;