ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ  (อ่าน 9440 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราฝึกมาเป็นปีแล้ว จิตสงบแค่แป๊บ ๆ เองค่ะ
 เห็นบางท่านที่รู้จักนั่งไม่นานเท่าไรก็สงบแล้ว
แล้วก็ไม่ได้นั่งหรือฝึกสติจริงจังแบบเราด้วยคะ
เป็นเพราะว่าเราเป็นอ่อนในการภาวนา หรือว่ามีเหตุปัจจัยอื่น ๆ อีกหรือป่าวคะ สงสัยอย่างเราต้องกลับไปฝึกเจริญสติแล้วล่ะ อิอิ

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 02:07:41 pm »
0
วันที่ ๑ พฤษภาคมที่จะถึง เชิญที่สระบุรีครับ คุณควรพบคำตอบด้วยตนเอง

บางเรื่องควรคุย เป็นการส่วนตัว

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 05:41:02 pm »
0
สำหรับ คำถามนี้ ผมว่า ต้องทำความเข้าใจกับ คำว่า อุปจาระสมาธิ ก่อนดีกว่าหรือไม่ครับ
คนที่อยู่ไกล ๆ หรือ ยังอยากสังเกตการณ์ครั้งที่ 1 น่าจะรอดูภาพบรรยากาศครั้งแรกกันอยู่ครับ
 :bedtime2:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 05:43:43 pm »
0
อุปจารสมาธิ ... วิถีจิตยังไม่ขึ้นสู่อัปปนาวิถี  จิตยังเป็นแค่มหากุศลจิต ยังไม่เป็นมหคตจิตหรือฌานจิต  วิถีจิตในอุปจารฯ ยังมีภวังค์และขณะจิตอื่นๆคั่น ไม่เป็นชวนะติดต่อกันไปตลอด

    ถาน ๑ ถือว่าเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว (อัปปนาสมาธิหมายถึงฌานทุกๆขั้น)  ลักษณะจิตในฌาน ๑ หรือ ฌานอื่นๆก็ตาม  จะเป็นมหคตจิต หรือฌานจิต  ซึ่งมีพลังมากๆ  (ไม่ใช่เป็นแค่มหากุศลจิต)  วิถีจิตก็เป็นอัปปนาวิถี ซึ่งจะเป็นชวนะ ต่ดต่อกันไปตลอดนับไม่ถ้วน ไม่มีภวังคจิตหรือจิตอื่นๆมาคั่นเลย

--------------------------------------------
    ลักษณะ  เมื่อปรากฏในการปฏิบัติจริง ..... คือ  เมื่อเข้าถึงอุปปจารสมาธิ  จะรู้สึกเหมือนว่า  นิวรณ์ต่างๆสงบลงไปจนหมดหรือแทบหมด ไม่มีนิวรณ์มารบกวนอีก  รู้สึกจิตสงบเย็นลงมาก  พอจะเท่าทันความคิดปรุงแต่งต่างๆได้ทันแทบทุกๆความคิด  แต่จิตมันยังมีการปรุงแต่งคิดๆอะไรของมันอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ไวนัก เพราะยังไม่สงบเต็มที่เป็นอัปปนาฯ    ในตอนจังหวะที่เป็นอุปจาระนี้ ถ้าสติเผลอ จิตจะปรุงแต่งออกไปข้างนอก  มักจะเห็นภาพนิมิตอะไรต่างๆนานา  เป็นนิมิตแบบเคลื่อนไหวเป็นเรื่องติดต่อกันไป หรือบางทีเป็นนิมิตเสียงหรือกลิ่นหรืออื่นๆ ฯฯ

 แต่ถ้าเข้าสงบถึงอัปปนา หรือเป็นฌาน จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ซึ่งแตกต่างกับอุปจาระมากมาย
 สมมุติว่าสงบลงเป็นฌานที่ ๑ ตามที่ตั้งคำถาม   อาการคือ จะรู้สึกว่า จิตมีพลังแน่วแน่มากๆสุดๆ  แข็งแกร่งสุดๆ ก่อนจิตจะรวมถึงระดับอัปปนานี้ สำหรับคนที่รวมครั้งแรก  จะผ่านจุดตัดเป็นตัดตาย  รู้สึกเหมือนจะโดนดูดลงไปในหลุมดำอะไรทำนองนั้นแหละ   ซึ่งต้องยอมตายจึงจะผ่านด่านนี้  ถ้ากลัวตายในจังหวะนี้จิตจะถอนหลับมาก่อนที่จะรวม ... ถ้ายอมตาย และจิตรวมวูบลงไปได้  จะรู้สึกว่าเหมือนกับไปโผล่อีกโลกหนึ่ง ที่มีแต่ความรู้เท่านั้น  ตัวตนและโลกนี้ และอะไรต่างๆ จะรู้สึกเสมือนหายไปหมด  และจะมีองค์ประกอบขององค์ฌานทั้ง ๕ ปรากฏออกมาชัดเจนเหมือนกับที่บอกไว้ในตำรา แต่อาการของวิตกวิจาร จะไม่เหมือนกับการวิตกวิจารแบบคนธรรมดา  คืออาการของการวิตกวิจารของคนธรรมดาเปรียบเสมือนคนตีระนาดเวลาเล่นเพลง  แต่อาการของวิตกวิจารของคนที่จิตเป็นฌาน จะเป็นเสมือนคนตอกตะปูที่ตอกย้ำๆลงที่เดียว  และจะรู้สึกว่า  ขณะนั้นเวลาจะหยุดนิ่ง  จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต รู้สึกเวลาเหมือนหยุดนิ่ง  แม้รวมสงบแน่วแน่นิ่งไปนานหลายๆชั่วโมง  แต่รู้สึกเหมือนว่ารวมลงไปแค่หายใจเฮือกเดียว เท่านั้น ... ที่สำคัญที่สุดคือ จะเจอกับความสุขที่มหัศจรรย์มากๆ  ถ้าเปรียบเทียบกับความสุขที่เคยรับมาตลอดชีวิต เสมือนเมล็ดข้าว ๑ เมล็ด  แต่จะพบว่า ความสุขตอนที่จิตสงบเป็นฌาน นั้น เสมือนภูเขาหิมาลัย..
 :banghead:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 05:47:35 pm »
0
ปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือ ใกล้จะถึงปฐมฌาน มีกำลังใจเป็นสมาธิ
สูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อยต่ำกว่าปฐมฌานนิดหน่อยเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิบอิ่มผู้ปฏิบัติ
พระกรรมฐานถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุมชื่นไม่อยากเลิก ท่านที่มี
อารมณ์เข้าถึงสมาธิขั้นนี้ จึงต้องระมัดระวังตัวให้มาก เคยพักผ่อนเวลาเท่าไร เมื่อถึงเวลานั้น
ต้องเลิกและพักผ่อน ถ้าปล่อยอารมณ์ความชุ่มชื่นที่เกิดแก่จิตไม่คิดจะพักผ่อน ไม่ช้าอาการ
เพลียจากประสาทร่างกายจะเกิดขึ้น ในที่สุดอาจเป็นโรคประสาทได้ ที่ต้องรักษาประสาทก็
เพราะปล่อยใจให้เพลิดเพลินเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ต้องเชื่อคำเตือนของพระพุทธเจ้าที่ท่าน
แนะนำ ปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มี ท่านอัญญาโกณฑัญญะ เป็นประธานโดยที่พระพุทธเจ้า
ท่านตรัสว่า เธอทั้งหลายจงละส่วนสุดสองอย่างคือ
๑. ปฏิบัติเครียดเกินไป จนถึงขั้นทรมานตน คือเกิดความลำบาก
๒. ความอยากได้เกินไป จิตใจวุ่นวายเพราะความอยากได้ จนอารมณ์ไม่สงบ
ถ้าเธอทั้งหลายติดอยู่ในส่วนสุดสองอย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ผลในการปฏิบัติคือ
มรรคผลจะไม่มีแก่เธอเลย ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์ปานกลางได้แก่
อารมณ์พอสบาย
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะไว้อย่างนี้ ก็ยังมีบางท่านฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไป
ไม่พักผ่อนตามเวลาที่เคยพักผ่อน จึงเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายจนเป็นโรคประสาท ทำให้
พระพุทธศาสนาต้องถูกกล่าวหาว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานทำให้คนเป็นบ้า ฉะนั้น
ขอท่านนักปฏิบัติทุกท่าน จงอย่าฝืนคำแนะนำของพระพุทธเจ้า จงรู้จักประมาณเวลาที่เคย
พักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติแค่อารมณ์สบาย ถ้าเกินเวลาพักที่เคยพักก็ดี
อารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายคุมไม่อยู่ก็ดีขอให้พักการปฏิบัติเพียงแค่นั้น พักให้สบาย พอใจผลที่ได้
แล้วเพียงนั้น ปล่อยอารมณ์ใจให้รื่นเริงไปตามปกติ
นิมิตทำให้บ้า

มีเรื่องที่จะทำให้บ้าอีกเรื่องหนึ่งคือ นิมิต นิมิตคือภาพที่ปรากฏให้เห็นเพราะเมื่อกำลัง
สมาธิเข้าถึงระยะอุปจารสมาธินี้ จิตใจเริ่มสะอาดจากกิเลสเล็กน้อย เมื่อจิตเริ่มสะอาดจาก
กิเลสพอสมควรตามกำลังของ สมาธิที่กดกิเลสไว้ ยังไม่ใช่การตัดกิเลส อารมณ์ใจเริ่ม
เป็นทิพย์นิด ๆ หน่อย ๆ ยังไม่มีความเป็นทิพย์ทรงตัวพอที่จะเป็นทิพจักขุญาณได้ จิตที่สะอาด
เล็กน้อยนั้นจะเริ่มเห็นภาพนิด ๆ หน่อย ๆ ชั่วแว้บเดียวคล้ายแสงฟ้าแลบคือ ผ่านไปแว้บหนึ่งก็
หายไป ถ้าต้องการให้เกิดใหม่ก็ไม่เกิดเรียกร้องอ้อนวอนเท่าไรก็ไม่มาอีก ท่านนักปฏิบัติต้อง
เข้าใจตามนี้ว่าภาพอย่างนี้เป็นภาพที่ผ่านมาชั่วขณะจิตไม่สามารถบังคับภาพนั้นให้กลับมาอีก
ได้ หรือบังคับให้อยู่นานมาก ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน
ภาพที่ปรากฏนี้จะทรงตัวอยู่นานหรือไม่นานอยู่ที่สมาธิของท่าน เมื่อภาพปรากฏ
ถ้ากำลังใจของท่านไม่ตกใจพลัดจากสมาธิ ภาพนั้นก็ทรงตัวอยู่นานเท่าที่สมาธิทรงตัวอยู่ ถ้า
เมื่อภาพปรากฏท่านตกใจ สมาธิก็พลัดตกจากอารมณ์ ภาพนั้นก็จะหายไป ส่วนใหญ่จะลืม
ความจริงไปว่า เมื่อภาพจะปรากฏนั้นเป็นอารมณ์สงัดไม่มีความต้องการอะไรจิตสงัดจากกิเลส
นิดหน่อยจึงเห็นภาพได้ ครั้นเมื่อภาพปรากฎแล้ว เกิดมีอารมณ์อยากเห็นต่อไปอีก อาการอยาก
เห็นนี้แหละเป็นอาการฟุ้งซ่านของจิต จิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จิตมีความสกปรกเพราะ
กิเลส อย่างนี้ต้องการเห็นเท่าไรก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นตามความต้องการก็เกิดความกลุ้ม ยิ่งกลุ้ม
ความฟุ้งซ่านยิ่งเกิด เมื่อความปรารถนาไม่สมหวังในที่สุดก็เป็นโรคประสาท (บางราย
บ้าไปเลย) ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่เชื่อตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแนะนำไว้ว่าจงอย่า
มีอารมณ์อยากหรืออย่าให้ความอยากได้เข้าครอบงำบังคับบัญชาจิต

เมื่อนิมิตเกิดขึ้นควรทำอย่างไร

คำว่า นิมิต มี ๒ ประเภทคือ นิมิตที่เราสร้างขึ้น กับ นิมิตที่ลอยมาเอง
๑. นิมิตที่เราสร้างขึ้น จะแนะนำในระยะต่อไป นิมิตประเภทนี้ต้องรักษาหรือควบคุม
ให้ทรงอยู่ เพราะเป็นนิมิตที่สร้างกำลังใจให้ทรงสมาธิได้นาน หรืออาจสร้างกำลังสมาธิให้ทรง
อยู่นานตามที่เราต้องการ
๒. นิมิตลอยมาเอง สำหรับนิมิตประเภทนี้ในที่บางแห่งท่านแนะนำว่า ควรปล่อยไปเลย
อย่าติดใจจำภาพนั้น หรือไม่สนใจเสียเลย เพราะเป็นนิมิตที่ไม่มีความแน่นอนถ้าขืนจำหรือจ้อง
ต้องการภาพ ภาพนั้นจะหายไป กำลังใจจะเสีย แต่บางท่านแนะนำว่าเมื่อนิมิตเกิดขึ้นจะปล่อยใจ
ให้เพลิดเพลินไปในนิมิตนั้นก็ได้ เพราะใจจะได้เป็นสุข จะมีความชุ่มชื่นในนิมิตนั้น เป็นเหตุให้
ทรงสมาธิได้ดี แต่จงอย่าหลงในนิมิตถ้านิมิตหายไปก็ปล่อยใจไปตามสบาย ไม่ติดใจในนิมิตนั้น
คงภาวนาไปตามปกติ
ทั้งสองประการนี้ ขอให้ท่านนักปฏิบัติเลือกเอาตามแต่อารมณ์ใจจะเป็นสุข แต่ขอเตือน
ไว้นิดหนึ่งว่าเมื่อนิมิตปรากฏขึ้น ถ้าปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปกับนิมิต ท่านอย่าลืมว่าเมื่อนิมิต
หายไปนั้นเพราะใจเราพลัดจากสมาธิ ให้เริ่มตั้งอารมณ์โดยจับลมหายใจและภาวนาไปใหม่
ไม่สนใจกับภาพนิมิตที่หายไปจงอย่าลืมว่านิมิตเกิดขึ้นมาเพราะจิตมีสมาธิ และเราไม่อยาก
เห็นจึงเป็นได้ และ นิมิตนั้นไม่ใช่ทิพจักขุญาณ เมื่อหายไปก็เชิญหายไปเราไม่สนใจกับ
นิมิตอีกเราจะรักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขจากคำภาวนาและรู้ลมหายใจต่อไป ถ้าความกระวน
กระวายเกิดขึ้นให้เลิกเสียทันที
สร้างนิมิตให้เกิดขึ้น

เรื่องสร้างนิมิตนี้ ในที่นี้ไม่มีการบังคับ ท่านต้องการสร้างก็สร้าง ท่านไม่ต้องการสร้าง
ก็ไม่ต้องสร้าง สุดแล้วแต่ความต้องการ ขอแนะนำผู้ที่ต้องการสร้างไว้ดังนี้
การสร้างนิมิตมีหลายแบบ แต่ทว่าในหนังสือนี้แนะนำกรรมฐานหลัก คือ พุทธานุสสติ-
กรรมฐาน จึงขอแนะนำเฉพาะกรรมฐานกองนี้ อันดับแรกขอให้ท่านหาพระพุทธรูปที่ท่าน
ชอบใจสักองค์หนึ่ง ถ้าบังเอิญหาไม่ได้ก็ไม่ต้องหา ให้นึกถึงพระพุทธรูปที่วัดไหนก็ได้ที่ท่าน
ชอบใจที่สุด ถ้านึกถึงพระพุทธรูปแล้วใจไม่จับในพระพุทธรูป จิตจดจ่อในรูปพระสงฆ์องค์ใด
องค์หนึ่งที่ท่านชอบก็ได้ เมื่อนึกถึงภาพพระพุทธรูปก็ดี ภาพพระสงฆ์ก็ดี ให้จำภาพนั้นให้
สนิทใจแล้วภาวนาว่า "พุทโธ" พร้อมกับจำภาพพระนั้น ๆ ไว้
ถ้าท่านมีพระพุทธรูปให้ท่านนั่งข้างหน้าพระพุทธรูป ลืมตามองดูพระพุทธรูปแล้วจดจำ
ภาพพระพุทธรูปให้ดี รูปพระพุทธรูปนั้นเป็นกรรมฐานได้สองอย่างคือ เป็นพุทธานุสสติ นึก
ถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ และเป็นกสิณก็ได้ เมื่อท่านมีความรู้สึกว่า รูปที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเรานี้เป็น
พระพุทธรูป ความรู้สึกอย่างนั้นของท่านเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้ามีความรู้สึกตามสีของ
พระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปสีเหลือง เป็น ปิตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปเป็นสีขาว เป็น โอทา-
ตกสิณ ถ้าพระพุทธรูปสีเขียว เป็น นีลกสิณ ทั้งสามสีนี้ สีใดสีหนึ่งก็ตามเป็นกสิณระงับโทสะ
เหมือนกัน
เมื่อท่านจะสร้างนิมิตให้ทำดังนี้ อันดับแรกให้ลืมตามองดูพระพุทธรูป จำภาพพระพุทธรูป
พร้อมทั้งสีให้ครบถ้วน ในขณะนั้นเมื่อเราเห็นสีพระพุทธรูปไม่ต้องนึกว่าเป็นกสิณอะไรตั้งใจจำ
เฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้น เมื่อจำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพพระพุทธรูปนั้นภาวนาควบกับลม
หายใจเข้าออกไปตามปกติ เมื่อภาวนาไปไม่นานนัก ภาพพระอาจจะเลือนจากใจ เรื่องภาพ
เลือนจากใจนี้เป็นของธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ เมื่อภาพเลือนไปก็ลืมตาดูภาพพระใหม่ทำอย่างนี้
สลับกันไป เมื่อเวลาจะนอนให้จำภาพพระไว้ตั้งใจนึกถึงภาพพระ นอนภาวนาจนหลับไป ทั้ง ๆ
ที่จำภาพพระไว้อย่างนั้น แต่ถ้าภาวนาไปเกิดมีอารมณ์วุ่นวายนอนไม่ยอมหลับ ต้องเลิกจับภาพ
พระและเลิกภาวนาปล่อยใจคิดไปตามสบายของใจมันจนกว่าจะหลับไป
อานิสงส์สร้างนิมิต

การสร้างนิมิตมีอานิสงส์อย่างนี้คือ ทำให้ใจเกาะนิมิตเป็นสมาธิได้ง่าย และทรงสมาธิ
ได้นานตามสมควร สามารถสร้างจิตให้เข้าถึงระดับฌานได้รวดเร็ว
ขั้นตอนของนิมิต

นิมิตขั้นแรกเรียกว่า อุคหนินิมิต อุคหนิมิตนี้มีหลายขั้นตอน ในตอนแรกเมื่อจำภาพ
พระได้จนติดใจแล้ว (ไม่ใช่ติดตา) ต้องเรียกว่า ติดใจ เพราะใจนึกถึงภาพพระจะนั่ง นอน
ยืน เดิน ไปทางไหน หรืออยู่ที่ใดก็ตาม ต้องการนึกถึงภาพพระ ใจนึกภาพได้ทันทีทันใดมี
ความรู้ในภาพพระนั้นครบถ้วนไม่เลือนลางอย่างนี้เรียกว่า "อุคหนิมิตขั้นต้น" เป็นเครื่อง
พิสูจน์อารมณ์สมาธิได้ดีกว่าการนับ ถ้าสมาธิยังทรงอยู่ ภาพนั้นจะยังทรงอยู่กับใจ ถ้าสมาธิ
สลายตัวไป ภาพนั้นจะหายไปจากใจถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ อานิสงส์ คือบุญบารมีที่ท่าน
จะได้
อุคหนิมิตขั้นที่สอง เมื่อสมาธิทรงตัวมากขึ้น ภาพพระจะชัดเจนมากขึ้นจะใสสะอาด
ผุดผ่องกว่าภาพจริงถ้าท่านนึกขอให้ภาพพระนั้นสูงขึ้นภาพนั้นจะสูงขึ้นตามที่ท่านต้องการ
ต้องการให้อยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง เล็กลงหรือใหญ่ขึ้นจะเป็นไปตามนั้นทุกประการ อย่างนี้
จัดเป็นอุคหนิมิตขั้นที่สองสมาธิจะทรงตัวได้ดีมาก จะสามารถทรงเวลาได้นานตามที่
ต้องการ
อุคหนิมิตขั้นที่สาม เป็นขั้นสุดท้ายของอุคหนิมิต เมื่อภาพนิมิตคือภาพพระปรากฏ
ให้ถือเอาสีเหลืองเป็นสำคัญ ความจริงสีอื่นก็มีสภาพเหมือนกันแต่จะอธิบายเฉพาะสีเหลือง
เมื่อสมาธิทรงตัวเต็มอัตรา ภาพสีเหลืองหรือสีอื่นก็ตาม จะค่อย ๆ คลายตัวเป็นสีขาวออกมา
ทีละน้อย ๆ ในที่สุดจะเป็นสีขาวสะอาดและหนาทึบอย่างนี้ถือว่า เป็นอุคหนิมิตขั้นสุดท้าย
ถ้าประสงค์จะใช้เป็น ทิพจักขุญาณก็ใช้ในตอนนี้ได้ทันที แต่ต้องมีความฉลาดและอาจหาญ
พอ ถ้าไม่ฉลาดและอาจหาญไม่พอก็จะสร้างความเละเทะให้เกิดมากขึ้น วิชาทิพจักขุญาณ
เป็นหลักสูตรของวิชชาสาม ในที่นี้แนะนำในหลักสูตรสุกขวิปัสสโก จึงของดไม่อธิบายเพราะ
จะทำให้เฝือและวุ่นวายว่าไปตามทางของ สุกขวิปัสสโก ดีกว่า
อุคหนิมิตนี้เป็นนิมิตของ อุปจารสมาธิ จึงยังไม่อธิบายถึง อัปปนาสมาธิ
อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ


อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุข
อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิ
สูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
ภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล
๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติ
ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)
๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุด
ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
เป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
ไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน
อัปปนาสมาธิหรือฌาน

ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง
๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
เป็นอย่างนี้
ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป
พลัดตกจากฌาน

เรื่องอาการพลัดตกจากฌานนี้มีผู้ประสบกันมามาก แม้ผู้เขียนเองอาการอย่างนี้ก็พบมา
ตั้งแต่อายุ ๗ ปี ตอนนั้นถ้ามีอารมณ์ชอบใจอะไรจิตจะเป็นสุข สักครู่ก็มีอาการเสียววาบคล้าย
พลัดตกจากที่สูง ตอนนั้นเป็นเด็กไม่ได้ถามใครเพราะไม่รู้เรื่องของฌาน เป็นอยู่อย่างนี้มานาน
เกือบหนึ่งปี เมื่อท่านแม่พาไปหา หลวงพ่อปาน หลวงพ่อท่านเห็นหน้า ท่านก็ถามท่านแม่ว่า
เจ้าหนูคนนี้ชอบทำสมาธิหรือ ท่านถามทั้งๆ ที่เพิ่งเห็นหน้า ท่านแม่ยังไม่ได้บอกท่านเลย
หลวงพ่อปานท่านก็พูดของท่านต่อไปว่า เอ..เจ้าหนูนี่มันมี ทิพจักขุญาณ ใช้ได้แล้วนี่หว่า
ท่านหันมาถามผู้เขียนว่า เจ้าหนูเคยเห็นผีไหม" ก็กราบเรียนท่านว่า "ผีเคยมาคุยด้วย
ขอรับ แต่ทว่าเขาไม่ได้มาเป็นผี เขามาเป็นคนธรรมดาต่อเมื่อเขาจะลากลับเขา
จึงบอกว่า เขาตายไปแล้วกี่ปี แล้วก็สั่งให้ช่วยบอกลูกบอกหลานเขาด้วย"
หลวงพ่อปานท่านก็พูดต่อไปว่า "อาการที่เสียวใจคล้ายหวิวเหมือนคนตกจากที่สูง
นั้นเป็นอาการที่จิตพลัดตกจากฌาน คือ เมื่อจิตเข้าถึงฌานมีอารมณ์สบายแล้ว
ประเดี๋ยวหนึ่งอาศัยที่ความเข็มแข็งยังน้อย ไม่สามารถทรงตัวได้ ก็พลัดตก
ลงมา"
ท่านบอกว่า "ก่อนภาวนาให้หายใจยาวๆ แรงๆ สักสองสามครั้งหรือหลายครั้งก็ดี
หายใจแรงยาวๆ ก่อน แล้วจึงภาวนา ระบายลมหยาบทิ้งไป เหลือแต่ลมละเอียด
ต่อไปอาการหวิวหรือเสียวจะไม่มีอีก" ถ้าทำครั้งเดียวไม่หายก็ทำเรื่อยๆ ไป เมื่อทำ
ตามท่านก็หายจากอาการเสียว ใครมีอาการอย่างนี้ลองทำดูแล้วกัน หายหรือไม่หายก็สุดแล้ว
แต่เปอร์เซ็นต์ของคน คนเปอร์เซ็นต์มากบอกครั้งเดียวก็เข้าใจและทำได้แต่ท่านที่มีเปอร์เซ็นต์
พิเศษไม่ทราบผลเหมือนกัน (ตามใจเถอะ)
เป็นอันว่าเรื่องสมาธิหมดเรื่องกันเสียที เรื่องปฏิภาคนิมิตก็ของดไม่อธิบายไม่รู้จะอธิบาย
ไปทำไม เพราะพูดถึงฌานแล้วก็หมดเรื่องกัน อัปปนาสมาธิเป็นสมาธิขั้นฌานก็คืออารมณ์ฌาน
นั่นเอง ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตของฌานมีรูปสวยเหมือนดาวประกายพรึกรู้เท่านี้ก็แล้วกัน
ความมุ่งหมายในการเจริญสมาธิ

การที่เจริญสมาธิมีความมุ่งหมายดังนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์
เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ถ้าจะ
เกิด ก็ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี มีรูปสวย เสียงไพเราะ มีโรคน้อย มีอายุยืนยาวนานถึงอายุขัย
มีทรัพย์สมบัติมาก มีความสุขเพราะทรัพย์สิน และทรัพย์สินไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟ น้ำ ลม
มีคนในปกครองดีไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง มีเสียงไพเราะผู้ที่ฟังเสียงไม่อิ่มไม่เบื่อในการฟัง พูดเป็นเงิน
เป็นทอง (รวยเพราะเสียง) ไม่มีโรคประสาท หรือโรคบ้ารบกวน มีหวังพระนิพพานเป็นที่ไป
แน่นอน
หรือมิฉะนั้นเมื่อยังไปนิพพานไม่ได้ ไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดาก่อนแล้วต่อไปนิพพาน
แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์มีพระพุทธประสงค์ให้ไปพระนิพพานโดยตรง
เกิดดีไม่มีอบายภูมิ

เมื่อยังต้องเกิดก็เกิดดีไม่มีการไปอบายภูมิ ท่านให้ปฏิบัติดังนี้ เราเป็นนักสมาธิ คือ
มีอารมณ์มั่นคง ถ้ามุ่งแต่สมาธิธรรมดาที่นั่งหลับตาปฏิบัติ ความดีไม่ทรงตัวได้นาน ต่อไป
อาจจะสลายตัวได้ มีมากแล้วที่ทำได้แล้วก็เสื่อม และก็เสื่อมประเภทเอาตัวไม่รอด คือสมาธิ
หายไปเลย ในปัจจุบันนี้ที่ได้แล้วเสื่อมก็มีมาก เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมและเป็นผู้มีหวัง
ในการเกิดที่ดีแน่นอน ท่านให้ทำดังนี้

http://www.212cafe.com/freewebboard/viewcomment.php?aID=15206505&user=comerhyme&id=472&page=2&page_limit=50
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มีใครฝึก อุปจาระสมาธิ สำเร็จบ้างแล้วคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 29, 2011, 06:41:46 am »
0
ผู้ที่ผ่านไปฝึกอานาปานสติ ห้องที่ 4 ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ล้วนฝึกอุปจาระสมาธิสำเร็จ
ตามธรรมเนียมก็เป็นอย่างนั้น

  กายพุทธะ หรือ พระสุขสมาธิ ผลก็คือเช่นนั้น

แต่เรื่องที่ผู้ฝึกจะไปคุยอวดหรือแสดง ยากที่เราจะรู้เพราะว่า ได้ัรับคำสั่งไม่ให้บอกซึ่งกันและกันในศิษย์

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ