ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อุเปกขูปวิจาร ๖ อยากให้อ่าน ครับ  (อ่าน 3325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อุเปกขูปวิจาร ๖ อยากให้อ่าน ครับ
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:45:14 am »
0

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.oknation.net


จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 11
      [๓๑๖]  อุเปกขูปวิจาร  ๖  อย่าง
          ๑.  เห็นรูปด้วยตาแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
          ๒.  ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
          ๓.  ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
          ๔.  ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
          ๕.  ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
          ๖.  รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว  เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา  ฯ

ถ้า คุณทำอุเบกขาทั้ง 6 ข้อได้
คุณบรรลุธรรมได้ครับ   


หลักการทำ อุเบาขา ที่ผมคิดว่าอ่านง่ายที่สุดแล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 10:58:38 am โดย เจมส์บอนด์ »
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วางอุเบกขา โดยสมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:59:38 am »
0

อุเบกขาคือ ภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลางเห็นเสมอกันในสัตว์ บุคคลทั้งหลาย ในคราวทั้งสองคือในคราวประสบสมบัติ และในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุกๆ คนมีกรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้เพราะกรรม

จึงวางเฉยได้ คือวาง ได้แก่ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือไม่จัดแจงวุ่นวาย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม

อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธี อบรม คือ ระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลง ด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็พยามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย

เมื่อทำจิตให้อุเบกขาได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง หรือโดยไม่เจาะจงทั่วไปด้วยความคิดว่า “ทุก สัตว์ บุคคล มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย ทำกรรมอันใด ดีหรือชั่ว ก็ต้องรับผลของกรรมนั้น”

อันที่จริงภาวะของจิตเป็นอุเบกขานี้ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดาในเวลาปรกติยังไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความยินดี ยินร้าย แต่ยังเจือด้วยความไม่รู้ (อัญญาณ) และจะเปลี่ยนไปเป็นความยินดียินร้ายขึ้นได้โดยง่าย

พระบรมครูสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้ว นี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น คือ ให้เป็นคุณอัน บริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิใช่ในเวลาที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบจิตเท่านั้น แม้มีเรื่องมากระทบจิตให้ยินดียินร้ายก็ระงับได้

ทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้ ด้วยความรู้ (ญาณ) เพราะว่าความยินดี (ราคะ) และความยินร้าย (ปฏิฆะ) เป็นศัตรูที่ห่างของอุเบกขา ส่วนอุเบกขาด้วยความไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) เป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ของอุเบกขา

ฉะนั้น ก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมา ดังเช่นว่า ตน ไม่ชอบให้อื่นมาเล็งชอบใจอยากได้อะไรของตน และไม่ชอบให้ใครอื่นมาหมายมั่นปองร้าย ฉันใด ตนก็ไม่ควรจะไปคิดยินดียินร้ายดังนั้นแก่คนอื่น ควรจะมีใจมัธยัสถ์คือเป็นกลางฉันนั้น

: ศีลและพรหมวิหาร ๔
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่มา : http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=16366
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อุเปกขูปวิจาร ๖ อยากให้อ่าน ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2011, 07:26:38 am »
0
ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น

การวาง อุเบกขา นั้น เป็นหนึ่งใน นิมิต ทั้ง 3 ของ พระพุทธานุสสติ ครับ

  การวาง อุเบกขา มีความจำเป็นในการภาวนามาก ๆ ครับ

 ผมเองถึงแม้ได้ฟัง และ เรียนที่วัดราชสิทธาราม มาก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจกับ อุเบกขานิมิต เท่าใด

 ที่สำคัญ ก็วางใจในการกำหนด จิต กับ ปัคคาหะ นิมิต และ บริกรรมนิมิต และ วางอารมณ์เฉย ๆ ไว้ ก็เท่านี้ครับ

  สรุป ว่า อุเบกขา มีความสำคัญในการภาวนากรรมฐาน มาก นะครับ

  :s_good:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน