ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้  (อ่าน 9055 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 10:16:48 am »
0
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๑.  ทสุตตรสูตร] ธรรม  ๗  ประการ ที่ควรกำหนดรู้


วิญญาณฐิติ๑    ๗    ได้แก่
๑.    มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน    มีสัญญาต่างกัน    คือ    มนุษย์ เทพ บางพวก    และวินิปาติกะบางพวก    นี้เป็นวิญญาณฐิติที่    ๑

 ๒.    มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน    แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน    คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา    (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม)    เกิดใน ปฐมฌาน    นี้เป็นวิญญาณฐิติที่    ๒

 ๓.    มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน    แต่มีสัญญาต่างกัน    คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ    นี้เป็นวิญญาณฐิติที่    ๓

๔.    มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน    มีสัญญาอย่างเดียวกันคือ    พวกเทพชั้นสุภกิณหะ    (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่    ๔

 ๕.    มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า“อากาศหาที่สุดมิได้”    เพราะล่วงรูปสัญญา    ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง    นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่    ๕

๖.    มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า    “วิญญาณหาที่สุดมิได้”    นี้เป็นวิญญาณฐิติที่    ๖

๗.    มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า    “ไม่มีอะไร”    นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่    ๗

  นี้    คือธรรม    ๗    ประการที่ควรกำหนดรู้




 ควรกำหนด รู้อย่างไร อยากให้ทุกท่าน รวมธรรมวิจารณ์กันครับ
 ผมจะขอเริ่มวิจารณ์ ก่อนเลยนะครับ

 ความสำคัญของการกำหนดรู้

 1. ให้รู้ ฐานะ ของ ที่ตั้งของวิญญาณ ซึ่งมีกาย ( สังขารนามรูป ) มีสัญญา ( ความจำ ) ต่างกันย่อมมีกำเนิดต่างกัน ด้วย ฐานะ 7 ประการ เป็นที่ตั้งของประกอบจิต เป็นกุศล

    1. เป็น มนุษย์ เป็น เทวดา
    2. เป็น พรหมกายิกา เนื่อง ด้วย ปฐมฌาน
    3. เป็น พรหมอาภัสรา
    4. เป็น พรหมสุภกิณหะ
    5. เป็น พรหม ที่ไม่มีรูป และ สัญญา ดับ ปฏิฆสัญญา ( ความขัดเคืองจิต ) ด้วย อากาสนัญจายตะสมาบัติ
    6. เป็น พรหม ที่ไม่มีรูป และ สัญญา ด้วย อรูปฌาน วิญญานัญจานตนะสมาบัติ
    7. เป็น พรหม ที่ไม่มีรูป และั สญญา ด้วย เนวนาสัญญายตนะสมาบัติ

  ทำไมจึงต้องเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เพราะ ฐานะ ผู้ปฏิบัติธรรม อันไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์ นี้ยังต้องวนเวียน อยู่ ใน วิญญาณฐิติ 7 ประการ หากประกอบด้วย กุศลจิต ฝ่ายความดี

 2.กำหนดรู้แล้วจะได้ อะไร ?
  ความสำคัญแล้ว น่าจะวิเคราะห์ เรื่อง เวลาของแต่ ละชั้น แต่ละพรหม หากเรา วิญญาณฐิติ ในลำดับใด ก็ควรทราบระยะเวลา ที่อาจจะสูญเสีย การได้ภาวนา


  ( วานผู้รู้ เรื่องการมีอายุของ เทวดา และ พรหม แต่ละชั้น ช่วยโพสต์ ด้วยนะครับ )

 




บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ ( 16 ชั้นฟ้า 15 ขั้นดิน )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 10:19:52 am »
0
คำว่า  "16  ชั้นฟ้า"   หมายถึง    ภูมิอันเป็นวิมานลอยอยู่ในอากาสโดนสิ้นเชิง

                + อรูปภูมิ 4
                + ปัญจสุทธาวาสภูมิ 5
                +  ตติยฌานภูมิ 1  ( นับเป็น 1เพราะวิมานอยู่ในระดับเดียวกัน )
                +  ทุติยฌานภูมิ 1 ( นับเป็น 1เพราะวิมานอยู่ในระดับเดียวกัน )
                +  ปฐมฌานภูมิ 1 ( นับเป็น 1เพราะวิมานอยู่ในระดับเดียวกัน )
                +  ปรนิมมิตตวัตสวัตดีภูมิ 1
                +   นิมมานรดีภูมิ 1
                +   ดุสิตภูมิ  1
                +   ยามาภูมิ 1
                                                             
         
คำว่า  "15  ชั้นดิน" หมายถึง ภูมิที่ตั้งอยู่บนและใต้ "แผ่นดิน" อันเป็นที่ตั้งของพญา
                       เขาพระสิเนรุราช  อันแวดล้อมด้วย "มหานทีสีทันดร"
                       และ "ขอบเขาจักรวาฬ" เป็นที่สุด
                                           
           + ดาวดึงส์  1      (สุทัสนนครของพระอินทร์ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุราชบรรพต)
           + จาตุมหาราชิกา 1  (วิมานของมหาราชทั้ง 4 ตั้งอยู่บนยอดเขายุคันธร)
           +  มนุษย์ 1       (ที่อยู่ของมนุษย์ทั้ง 4 ทวีปตั้งอยู่บนแผ่นดิน )
           +  สัตว์เดรัจฉาน 1  (ที่อยู่ของสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายตั้งอยู่บนแผ่นดิน )
           +  เปรต 1        (ที่อยู่ของเปรตทั้งหลายตั้งอยู่บนแผ่นดิน )
           +  อสุรกาย 1      (ที่อยู่ของเปรตทั้งหลายตั้งอยู่บนแผ่นดิน )
           +  นรก  8  ขุม   ( ที่อยู่ของสัตว์นรกทั้งหลายตั้งอยู่ใต้แผ่นดิน )
           + โลกันตะมหานรก 1 ( ที่อยู่ของสัตว์นรกประเภทนี้ตั้งอยู่ระหว่างขอบเขาจักรวาฬ ทั้ง 3 จักรวาฬบรรจบกัน  เหมือนช่องว่างที่เกิดขึ้น ระหว่างการวางแนบสนิทของบาตร 3 ใบ )
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้ที่ได้จตุตถฌาน ไปเกิดในพรหมโลกต่างชั้นกันดังนี้คือ

1. ผู้ที่ได้จตุตถฌานแบบปกติ ไปเกิดบนพรหมโลกชั้นเวหัปผลา พ้นจากการถูกทำลายล้างเมื่อสิ้นกัลป์ มีสติบริสุทธิ์ตั้งมั่นเป็นอุเบกขาตลอดระยะเวลา 500 มหากัลป์

2. ผู้ที่ได้จตุตถฌาน แต่เห็นโทษของจิต ไม่อยากให้จิตเกิด อยากให้จิตดับ พอออกจากจตุตถฌานก็อธิษฐานขออย่าให้จิตเกิด ขอให้จิตดับ หรือขอจงอย่าได้มีจิต พอตายแล้ว จะไปเกิดเป็นพรหมลูกฟักหรืออสัญญีพรหม บนอสัญญสัตตาภูมิ

พรหมโลกชั้นนี้ ท่านว่าตั้งอยู่ระดับเดียวหรือชั้นเดียวกับเวหัปผลาภูมิ แต่อยู่กันคนละเขตแดน

3. ผู้ที่ได้จตุตถฌาน และเป็นพระอนาคามี ถ้ามีอินทรีย์บารมีหนักไปทางใดก็จะไปเกิดบนสุทธาวาสพรหมโลก ที่อยู่สูงขึ้นไปอีก

ถ้ามีอินทรีย์หนักไปในทางศรัทธา จะไปเกิดบนพรหมโลกชั้นอวิหา มีอายุขัย 1,000 มหากัลป์

ถ้ามีอินทรีย์หนักไปในทางวิริยะ จะไปเกิดบนพรหมโลกชั้นอตัปปา มีอายุขัย 2,000 มหากัลป์

ถ้ามีอินทรีย์หนักไปในทางสติ จะไปเกิดบนพรหมโลกชั้นสุทัสสา มีอายุขัย 4,000 มหากัลป์

ถ้ามีอินทรีย์หนักไปในทางสมาธิ จะไปเกิดบนพรหมโลกชั้นสุทัสสี มีอายุขัย 8,000 มหากัลป

ถ้ามีอินทรีย์หนักไปในทางปัญญา จะไปเกิดบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐา มีอายุขัย 16,000 มหากัลป์
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:00:17 pm »
0

โลกสลาย สวรรค์ล่ม พรหมพินาศ

กาลพินาศต้องเกิดกับทุกภพภูมิ
สัตว์ที่อยู่ในสังสารวัฏ อันประกอบด้วย ๓๑ ภพภูมิ ตกอยู่ภายใต้ “กฏแห่งไตรลักษณ์” ทั้งสิ้นทุกภูมิจะถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ ลม

ในคราวที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ ไฟจะลุกไหม้ตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ จนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ ถูกทำลายทั้งหมด

คราวที่โลกถูกทำลายด้วยน้ำจะท่วมตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ถูกทำลายทั้งหมด

คราวที่โลกถูกทำลายด้วยลม ลมจะพัดทำลายตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายทั้งหมด

ภูมิที่พ้นจากการถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ ลม คือ จตุตถฌานภูมิ และ อรูปภูมิ

อายุของสัตว์ในภูมิ ๓๑
ต่อไปจะได้พรรณนาถึงอายุของเทวดาพรหมทั้งหลาย จะได้เห็นว่าการได้ไปเสวยสุขที่โลกสวรรค์นั้นมีอายุเท่าไรบ้าง และอายุของสัตว์นรกว่ามีอายุเสวยผลอกุศลกรรมเท่าไรบ้าง ทำบุญแล้วอธิษฐานให้เกิดในสวรรค์ ในอรรถกถาธรรมบท กล่าวเรื่องเวลาของสวรรค์เทียบกับมนุษย์ไว้ดังนี้:-
 

ในดาวดึงส์เทวโลกเทวบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า มาลาภารี ไปเที่ยวชมอุทยานพร้อมกับหมู่เทพอัปสร เทพธิดาองค์หนึ่งจุติ ในขณะที่กำลังนั่งอยู่บนกิ่งต้นไม้ให้ ดอกไม้หล่นจากต้น สรีระของนางดับหายไปเหมือนอย่างเปลวประทีปดับ นางถือปฏิสนธิในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีและระลึกชาติได้ว่า เป็นภรรยาของมาลาภารีเทวบุตร นางตั้งความปรารถนาจะไปเกิดในสำนักของเทพสามีอีก

ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทำการบูชาพระรัตนตรัย ทำบุญกุศลต่างๆ และตั้งความปรารถนาอย่างเดียวนั้นตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนถึงได้นามว่า ปติปูชิกา แปลว่า บูชาเพื่อสามี

เมื่อเจริญวัยก็มีสามี คนทั้งหลายก็เข้าใจว่าเป็นที่สมปรารถนาแล้ว นางมีบุตรหลายคนโดยลำดับ ได้ตั้งหน้าทำบุญกุศลต่างๆ อยู่เป็นนิตย์ ในวันสุดท้ายของชีวิต เมื่อฟังธรรมรักษาสิกขาบทแล้ว ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน บังเกิดในสำนักเทพสามีในสวนสวรรค์นั้นแหละ

ขณะนั้น มาลาภารีเทวบุตรก็กำลังอยู่ในอุทยานหมู่เทพอัปสรกาลังเก็บร้อยดอกไม้กันอยู่ เทวบุตรได้ทักถามว่านางหายไปไหนแต่เช้า นางได้ตอบว่าจุติแล้วไปเกิดในมนุษย์ ได้เล่าเรื่องของนางในมนุษย์โดยตลอด และได้เล่าถึงความตั้งใจของนางเพื่อที่จะมาเกิดอีกในสำนักของเทพสามี

บัดนี้ก็ได้มาเกิดสมปรารถนาด้วยอำนาจบุญกุศลและความตั้งใจ เทวบุตรถามถึงกำหนดอายุมนุษย์ เมื่อได้รับตอบว่าประมาณร้อยปีเกินไปมีน้อย

ได้ถามต่อไปว่าหมู่มนุษย์มีอายุเพียงเท่านี้ พากันประมาทเหมือนอย่างหลับ หรือพากันทำบุญกุศลต่างๆ
 
เทพธิดาตอบว่า พวกมนุษย์โดยมากพากันประมาท  เหมือนอย่างมีอายุตั้งอสงไขย เหมือนอย่างไม่แก่ ไม่ตาย เทวบุตรได้เกิดความสังเวชใจ


ความจากพระธรรมบท มุ่งเตือนใจให้ไม่ประมาท เพราะทุกๆคนจะต้องตาย ขณะที่ยังไม่อิ่มยังเพลิดเพลินอยู่ในกาม เหมือนอย่างนางเทพธิดาเพลินเก็บดอกไม้ต้องจุติ(ตาย) ทันทีในสวนสวรรค์นั้น

ในติกนิบาต แสดงอายุสวรรค์เทียบอายุมนุษย์ไว้ว่า
 

อายุของเทวดา
ห้าสิบปีมนุษย์ เป็นหนึ่งคืนวัน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
๓๐ คืนวันเป็นหนึ่งเดือนสวรรค์นั้น  ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปีสวรรค์
ห้าร้อยปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
เท่ากับเก้าล้านปีมนุษย์ (50x360x500 = 9,000,000)


หนึ่งร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นับเดือนปีเช่นเดียวกัน
พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดาวดึงส์
เท่ากับสามโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x9,000,000 = 36,000,000)

สองร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นยามา นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สองพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นยามา เท่ากับสิบสี่โกฏิสี่ล้านปีมนุษย์ (4x36,000,000 = 144,000,000)

สี่ร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดุสิต นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สี่พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดุสิต เท่ากับห้าสิบเจ็ดโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x144,000,000 = 576,000,000)

แปดร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นนิมมานรตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน แปดพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นนิมมานรตี
เท่ากับสองร้อยสามสิบโกฏิกับสี่ล้านปีของมนุษย์ (4x576,000,000 = 2,304,000,000)


หนึ่งพันหกร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
เท่ากับเก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏิกับหกล้านปีมนุษย์ (4x2,304,000,000 = 9,216,000,000)

อายุของรูปพรหม
เทพชั้นพรหมโลกยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้
 
๑. พรหมปาริสัชชา มีอายุเท่าส่วนที่สามของกัป คือหนึ่งในสามของกัป
๒. พรหมปุโรหิต มีอายุกึ่งกัป
๓. มหาพรหม มีอายุหนึ่งกัป
๔. ปริตตาภาพรหม มีอายุสองกัป
๕. อัปปมาณาภาพรหม มีอายุสี่กัป
๖. อาภัสสราพรหม มีอายุแปดกัป
๗. ปริตตสุภาพรหม มีอายุสิบหกกัป
๘. อัปปมาณสุภาพรหม มีอายุสามสิบสองกัป
๙. สุภกิณหาพรหม มีอายุหกสิบสี่กัป
๑๐. เวหัปผลาพรหม และ อสัญญสัตพรหม มีอายุห้าร้อยกัป
๑๑. อวิหาพรหม มีอายุพันกัป
๑๒. อตัปปาพรหม มีอายุสองพันกัป
๑๓. สุทัสสาพรหม มีอายุสี่พันกัป
๑๔. สุทัสสีพรหม มีอายุแปดพันกัป
๑๕. อกนิฏฐาพรหม มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป

 

อายุของอรูปพรหม
อรูปพรหมอีก ๔ ชั้นยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก

อรูปที่หนึ่งมีอายุสองหมื่นกัป
อรูปที่สองมีอายุสี่หมื่นกัป
อรูปที่สามมีอายุหกหมื่นกัป
อรูปที่สี่มีอายุแปดหมื่นสี่พันกัป



อายุของสัตว์ในนรก
อนึ่ง มีแสดงถึงอายุสัตว์ในนรกเทียบกับอายุในสวรรค์ไว้ว่า

ห้าร้อยปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นคืนวันหนึ่งใน สัญชีวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุห้าร้อยปีนรกนั้น


พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นคืนวันหนึ่งใน กาฬสุตตนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งพันปีนรกนั้น

สองพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นยามา เป็นคืนวันหนึ่งใน สังฆาตนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสองพันปีนรกนั้น


สี่พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นคืนวันหนึ่งใน โรรุวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสี่พันปีนรกนั้น

แปดพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นคืนวันหนึ่งใน มหาโรรุวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุแปดพันปีนรกนั้น


หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นคืนวันหนึ่งใน ตาปนนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันปีนรกนั้น

มหาตาปนนรก มีอายุกึ่งอันตรกัป
อเวจีนรก มีอายุหนึ่งอันตรกัป



การนับกาลเวลาที่เรียกว่า กัปหรือกัลป์ เป็นอย่างไร
การนับจำนวนเรื่องกาลเวลาจากคัมภีร์ต่างๆ สรุปได้เป็น ๒ วิธี คือ

๑.นับด้วยจำนวนสังขยา คือ นับจำนวนด้วยตัวเลข เช่น ๑,๒,๓,..... เป็นต้น

๒.กำหนดด้วยอุปมา คือ กำหนดด้วยเครื่องกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อมากเกินไปที่จะนับด้วยจำนวนตัวเลข การกำหนดในวิธีที่ ๒ นี้ เป็นที่มาของคาว่า กัป กัปมี ๔ อย่าง คือ

๑. อายุกัป 
๒. อันตรกัป
๓. อสงไขยกัป
๔. มหากัป

 

๑. อายุกัป หมายถึง กาลเวลาแห่งอายุขัยตามยุคตามสมัย เช่น อายุขัยของคนในยุคปัจจุบัน มีอายุขัยประมาณ ๗๕ ปี หรืออย่างเช่น ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารว่าอีกสามเดือนจะเสด็จปรินิพพาน

หลังจากที่พระอานนท์ทราบแล้ว จึงกราบทูลอาราธนาขอให้เสด็จอยู่กัปหนึ่ง เพราะได้เคยสดับพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ถ้าตั้งใจจะดำรงรูปกายอยู่ก็จะอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเหลือกว่ากัปหนึ่ง ในช่วงนั้นมนุษย์ก็มีอายุขัยประมาณร้อยปี

๒. อันตรกัป การนับอายุ คือ ในสมัยต้นกัปมนุษย์มีอายุขัยยืนยาวมากถึงอสงไขยปี (มากจนนับจำนวนปีไม่ได้) ต่อมาอายุขัยของมนุษย์ค่อยๆ ลดลงตามลำดับจนเหลือแค่ ๑๐ ปี เมื่อลดลงถึงสิบปีแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปอีกจนถึงอสงไขยปีอย่างเก่าอีก เป็นอย่างนี้เท่ากับ ๑ รอบ เรียกว่า อันตรกัป

๓. อสงไขยกัป จำนวนอันตรกัปดังที่กล่าวไว้ในข้อที่ ๒ เป็นอย่างนั้นไปอีกจนครบ ๖๔ อันตรกัป เท่ากับ ๑ อสงไขยกัป (การนับจำนวนอสงไขยกัป มีการกล่าวไว้หลายนัย บ้างก็กล่าวว่า ๒๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป บ้างก็ว่า ๘๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป)

๔. มหากัป มีวิธีนับคือ ๔ อสงไขยกัป = ๑ มหากัป มหากัปหนึ่งๆ มีเวลายาวนานมาก จนไม่สามารถประมาณได้ว่าเป็นเวลานานสักเท่าใด

มีอุปมาว่า มีภูเขาหินใหญ่ยาวโยชน์หนึ่งกว้างโยชน์หนึ่ง (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) ไม่มีช่องไม่มีโพรง เป็นก้อนหินแท่งทึบ ถึงร้อยปีหนหนึ่ง มีบุรุษใช้ผ้าทอที่แคว้นกาสี (ผ้าเนื้อดี) ร้อยปีมาลูบครึ่งหนึ่ง ภูเขาหินนั้นก็จะพึงราบเรียบไปก่อน แต่กัปยังไม่สิ้น

อีกอุปมาหนึ่งว่า มีพื้นที่กว้างและยาวร้อยโยชน์ มีกำแพงสูงร้อยโยชน์ ภายในเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดแน่นขนัด มีบุรุษมาหยิบพันธุ์ผักกาดไปเมล็ดหนึ่งทุกๆ ร้อยปี กองเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นก็จะหมดไปก่อน ส่วนกัปยังไม่สิ้น กัปที่ยาวมากดั่งนี้ เรียกว่า มหากัป


กัปเสื่อมและกัปเจริญ เป็นอย่างไร
หมายความว่า ระยะเวลาที่ โลกวินาศ คือ สลายหรือดับ
ความวินาศของโลกมี ๓ อย่างคือ วินาศเพราะไฟ วินาศเพราะน้ำ วินาศเพราะลม

โลกวินาศเพราะไฟ จะเกิด มหาเมฆกัปวินาศ คือเกิดฝนตกใหญ่ทั่วโลกก่อน ครั้นฝนนั้นหยุดแล้วจะไม่มีฝนตกอีก จะเกิดความแห้งแล้งไปโดยลำดับ จะมีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏขึ้น จนถึงดวงที่ ๗ จึงจะเกิดไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้น อากาศเบื้องบนจะเป็นอันเดียวกับอากาศเบื้องล่าง หมายความว่า เหลือแต่อากาศว่างเปล่า มีความมืดมิดทั่วไป

ครั้นแล้ว มหาเมฆกัปสมบัติ (ก่อเกิดกัป) จะตั้งขึ้น ฝนจะตกทั่วบริเวณที่ถูกไฟไหม้ ลมจะประคองรวมน้ำฝนให้รวมกัน เป็นก้อนกลมเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว แล้วก็แห้งขอดลงไป เป็นไปเช่นนั้นจนปรากฏโลกขึ้นใหม่ จึงถึงวาระที่เรียกว่า กัปเจริญ

สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกบนโลก คือ “โอปปาติกะ”
สัตว์ที่บังเกิดขึ้นเป็นพวกแรกนั้น เป็นพวกพรหมในพรหมโลกชั้นที่ไฟไหม้ขึ้นไปไม่ถึง ลงมาเกิดเป็นพวก โอปปาติกะ เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา เกิดโตปรากฏขึ้นทีเดียว แล้วพากันบริโภคง้วนดิน(ปฐวิรส คือเมื่อน้าแห้งขอด ก็เกิดเป็นแผ่นฝ้าขึ้นในเบื้องบน มีสีงาม มีรสหอมหวาน) สะเก็ดดิน (ปฐวีปัปปฏก) เครือดิน (ปทาลตา) หมดไปโดยลำดับ

จากนั้นจึงบริโภคธัญชาติ เช่น ข้าวสาลีสืบต่อมา สัตว์โลกจำพวกแรกเหล่านั้น จึงมีร่างกายหยาบขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏเป็นบุรุษสตรีสร้างบ้านเรือนสืบพันธุ์กันมา ในตอนต้นมีอายุยืนยาวเป็นอสงไขย (นับปีไม่ถ้วน)

อกุศลกรรมทำให้เกิดยุค “มิคสัญญี”
ต่อมาพากันประพฤติอกุศลกรรมด้วยอำนาจของ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มากขึ้น อายุก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด มีอายุขัย ๑๐ ปี ก็จะถึงความพินาศเป็นส่วนมาก เพราะภัย ๓ อย่าง คือ ศัสตราวุธ โรค ทุพภิกขภัย คือความขาดแคลนอาหาร หรือเรียกว่าถึงสมัย มิคสัญญี แปลว่า มีความสำคัญในกันและกันว่าเหมือนอย่างเนื้อ คือ เห็นกันฆ่ากันเหมือนอย่างเนื้อถึก

กุศลกรรมนำความเจริญกลับม
แต่ก็ยังไม่พินาศกันหมดทั้งโลก ยังมีสัตว์ที่เหลือตายหลบหลีกไป และกลับได้ความสังเวชสลดจิต พากันประพฤติกุศลกรรมมากขึ้น ก็พากันเจริญอายุมากขึ้นด้วยอำนาจกุศลโดยลำดับจนถึงอสงไขย แล้วกลับอายุถอยลงมาด้วยอำนาจอกุศลกรรมจนถึงอายุขัย ๑๐ ปี แล้วก็กลับเจริญอายุขึ้นใหม่อีก วนขึ้นวนลงอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะถึงคราวโลกวินาศอีกครั้งหนึ่ง
 

มหากัปแบ่งเป็น ๔ กัปย่อย
ระยะเวลาทั้งหมดจากความเสื่อมที่สุดของโลก จนถึงความเจริญสูงสุดของโลก เป็นวงจรหนึ่ง เราเรียกว่า มหากัป แบ่งได้เป็น ๔ กัปย่อยดังนี้ คือ

๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเสื่อม ตั้งแต่เกิดมหาเมฆกัปวินาศฝนตกใหญ่จนถึง ไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้นดับลงแล้ว

๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปถึงความพินาศแล้ว และความพินาศนั้นยังอยู่ ตั้งแต่ไฟไหม้โลกดับ จนถึงมหาเมฆกัปสมบัติฝนตกใหญ่ เริ่มก่อกำเนิดโลกขึ้นใหม่

๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเจริญ คือ กัปที่กำลังเจริญขึ้นไปตามลำดับ ตั้งแต่มหาเมฆกัปสมบัติ จนถึงปรากฏดวงจันทร์ดวงอาทิตย์

๔. วิวัฎฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปที่เจริญแล้ว และความเจริญนั้นยังอยู่ ตั้งแต่บัด นั้นจนถึงมหาเมฆกัปวินาศบังเกิดขึ้นอีก โลกวินาศด้วยน้ำ เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นเช่นเดียวกันก่อน แล้วจึงเกิดมหาเมฆ ทำให้ฝนตก ฝนนั้นเป็นน้ำด่างตกลงมาเป็นน้ำประลัยกัลป์ ย่อยโลกให้วินาศไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก โลกวินาศด้วยลม เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นก่อน แล้วเกิดลมกัปวินาศเป็นลมประลัยกัลป์ พัดผันโลกให้ย่อยยับเป็นจุณวิจุณไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก

วงจรแห่งความวินาศของโลก
ความวินาศของโลก จะวินาศด้วยไฟ ๗ ครั้ง
แล้ววินาศด้วยน้า ๑ ครั้ง เป็นไปอย่างนี้ ๗ รอบ
พอถึงรอบที่ ๘ ก็จะถูกทำลายด้วยลม


ที่กล่าวมาในเรื่องของเวลาแห่งชีวิตของสัตว์บุคคลทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ มีอายุขัยแตกต่างกันไปตามภูมิ บางภูมิมีอายุขัยนานมากนับเป็น ๘๔,๐๐๐ กัป

ทุกสิ่งล้วนประกอบด้วย “กาลเวลา”
ยังมีพระพุทธภาษิตที่แสดงเรื่องกาลเวลาไว้ว่า :-
กาลคือ เวลาย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง ฉะนั้นจะเกิดเป็นเทพชั้นไหนก็ต้องถูกเวลากลืนกินคือต้องดับ ไม่มีที่จะสถิตอยู่เป็นนิรันดร แต่อาจจะมีอายุนานนักหนาได้โดยเทียบกับเวลาของมนุษย์นี้ ซึ่งความจริงหาใช่เร็วหรือช้าไม่ เป็นเวลาที่พอเหมาะตามกำหนดสาหรับชั้นนั้นๆ

ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ประกอบด้วย “กาลเวลา” (อกาลิโก)
พระพุทธศาสนาได้แสดงถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลาไว้ด้วยว่า คือ ที่ซึ่งไม่มีตัณหา(ความดิ้นรนทะยานอยาก) เปรียบไว้เหมือนลูกศรที่เสียบจิตใจ

“ใครก็ตามอยู่ในโลกหรือภูมิไหนก็ตาม เมื่อถอนลูกศรที่เสียบใจนี้ออกเสียได้ ก็ย่อมบรรลุถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลา ที่ซึ่งจะพึงบรรลุด้วยจิตใจเท่านั้น ส่วนร่างกายเป็นของโลกต้องตกอยู่ในอำนาจของเวลา”


การระงับได้ซึ่งตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก จิตใจที่ไม่ดิ้นรน ย่อมไม่เกี่ยวกับเวลาแต่อย่างใดเลย คือไม่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน อนาคต อะไรทั้งสิ้น จิตที่อบรมแล้วย่อมพ้นจากอำนาจของเวลา จิตที่อบรมจนข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ขณะนั้นย่อมไม่มีกาลไม่มีเวลา เป็นอกาลิโก ทั้งหมดคือเรื่องราวของสังสารวัฏ หรือ ภูมิทั้ง ๓๑ ที่เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด
 

บางภูมิก็มีแต่ทุกข์แสนสาหัส บางภูมิก็เสวยสุขอย่างเหลือล้น แต่ก็ไม่สามารถทำให้เราพ้นจากทุกข์ไปได้ หนทางเดียวที่จะพ้นไปจากทุกข์ได้ต้องทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการเจริญวิปัสสนาขจัดขัดเกลากิเลสโดยสิ้นเชิงบรรลุพระอรหันต์ จบการเวียนว่ายตายเกิดปิดสังสารวัฏได้ 


ที่มา  คัดลอกจาก “บทเรียนชุดที่ ๖.๒ เรื่อง ภพภูมิ ๓๑”
หนังสืออ้างอิง
๑. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๒. ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๑ ; ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมมัตถสังคหฎีกา ; พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=879.msg3819#msg3819
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nithi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:07:07 pm »
0


สุดยอดจริง รายละเอียด จากทุกท่าน ได้ความรู้เพิ่มมากจริง กับ จขกท.
และผู้ที่ช่วยกัน ร่วมตอบ ได้อย่างละเอียด

ปกติ ผมก็ไม่เคยสนใจเรื่อง นี้เท่าไหร่ ครับ

แต่พอได้อ่านว่า เป็นธรรมที่ควรกำหนด แสดงว่าต้องมีเหตุผล ที่พระพุทธเจ้า ได้ให้กำหนดไว้

น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ  เทวตานุสสติกรรมฐาน ด้วยนะครับ

เพราะการกำหนด วิญญาณฐิติ 7 นี้เป็นการตั้งระลึกถึง ความเป็นเทวดา พรหม และ ผู้เป็นพระอนาคามี ด้วย

ขอบคุณ หลาย ๆ ทุกท่านครับ ได้สาระ มาก ๆ

 :25: :c017: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ขุมทรัพย์แห่ง ความหลุดพ้น ปรากฏอยู่ที่พระไตรปิฏก อ่านพระไตรปิฏก มาก ๆ
 ก็จะเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ของจริงต้องตาม พุทธวัจนะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:39:37 pm »
0

พระไตรปิฎก(สยามรัฐ) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


๑๑. ทสุตตรสูตร (๓๔)

             [๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ -
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตนครจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า


             [๓๖๕]    เราจักกล่าวธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด เพื่อถึงพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
                                                 
            .......ฯลฯ.......ฯลฯ...........

  [๔๓๒] ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก (อริยทรัพย์ ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรให้เจริญ (โพชฌงค์ ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรกำหนดรู้ (วิญญาณฐิติ ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรละ (อนุสัย ๗)
           ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม (อสัทธรรม ๗)

           ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเจริญ (สัทธรรม ๗)
           ธรรม ๗ อย่างแทงตลอดได้ยาก (สัปปุริสธรรม ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น (สัญญา ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่ง (นิเทสวัตถุ ๗)
           ธรรม ๗ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ(กำลังของพระขีณาสพ ๗)


           .......ฯลฯ.......ฯลฯ...........

             ธรรม ๗๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาดไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ ควรทำให้แจ้ง ฯ

           .......ฯลฯ.......ฯลฯ...........



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๗๐๑๖ - ๘๑๓๗. หน้าที่ ๒๘๙ - ๓๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&Z=8137&pagebreak=0     
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364
ขอบคุณภาพจากwww.rmutphysics.com



     ผมนำภาพรวม(โดยย่อ)ของสูตรนี้มาให้พิจารณา โดยเฉพาะข้อความที่ขีดเส้นใต้เอาไว้

     ขอให้เจริญในธรรม
:25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2011, 07:43:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tasawang

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 08:45:39 am »
0
อ้างถึง
[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ -
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตนครจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

             [๓๖๕]    เราจักกล่าวธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด เพื่อถึงพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

วิจารณ์ต่อจากที่ ขีดเส้นไว้นะครับ

ตกลง อันนี้ ไม่ใช่ พุทธวัจนะ ใช่หรือไม่ครับ ดังนั้นเราไม่ต้องเห็นคล้อยตามก็ได้ใช่หรือไม่ครับ
เพราะเป็นพระสูตร ที่ บันทึกคำของ พระอริยะสาวก คือ พระสารีบุตร
 
ดังนั้น ถึงแม้กล่าวว่าเพียงควรกำหนดรู้ ไม่ได้กล่าวว่า ต้องกำหนดรู้
ดังนั้น พิจารณา ตีความได้ว่า กำหนดรู้ก็ได้ ไม่กำหนดรู้ก็ได้ ใช่หรือไม่ครับ

 :25:

 
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 11:01:24 am »
0
สำหรับผม จะเป็นพระพุทธยวัจจนะ หรือ คำถ่ายทอดจากพระสาวก ถ้านำไปสู่ความพ้นทุกข์ ก็ควรปฏิบัติตามครับ

  ถ้าจะเทียบกับในปัจจุบันแล้ว คำของพระพุทธเจ้า ก็ถูกนำมาขี้แจงบอกกล่าว โดยพระสงฆ์สาวก
ถ้าหากเราได้ยิน ได้ฟังแล้วบอกว่า พระสงฆ์รูปนี้กล่าวเอง เป็นต้น ก็น่าจะไม่ถูกต้องนะครับ

   ตรวจสอบได้ สิ่งที่รับรองไว้ในพระไตรปิฏก ก็น่าจะใช้ได้แล้วนะครับ

  :08:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 11:22:06 am »
0
  พระสารีบุตรเถระ
  เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา


    ได้รับยกย่องในทางผู้มีปัญญา
    เมื่อพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด
    สามารถแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร และอริยสัจ ๔ ได้เหมือนพระพุทธองค์
และเป็นกำลัง
    สำคัญของพระบรมศาสดา ในการประกาศเผยแผ่พระศาสนา

    ดังนั้น ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์นั้น ได้ทรงประกาศยกย่อง พระสารีบุตร
    ในท่ามกลางสงฆ์ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้มีปัญญา
    และทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องขวา


   
    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงยกย่องพระสารีบุตรเถระ อีกหลายประการกล่าวคือ
    ๑. เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน เช่น สมัยที่พระบรมศาสดาประทับ
    อยู่ที่เมืองเทวทหะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลลาไปปัจฉาภูมิชนบท ทรงรับสั่งให้ไปลาพระสารีบุตร
    ก่อน เพื่อท่านจะได้แนะนำสั่งสอน มิให้เกิดความเสียหายในระหว่างการเดินทางและในสถานที่
    ที่ไปนั้นด้วย


    ๒. ยกย่องท่านเป็น “พระธรรมเสนาบดี” ซึ่งคู่กับ “พระธรรมราชา” คือ พระองค์เอง

    ๓. ยกย่องท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที เป็นเลิศ เช่น ท่านนับถือ พระอัสสชิเป็น
    อาจารย์ เพราะท่านเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาด้วยการฟังธรรมจากพระอัสสชิ ทุกคืนก่อนที่ท่านจะ
    นอน ท่านได้ทราบข่าวว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้น ก่อนแล้วจึง
    นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น

    อีกเรื่องหนึ่ง คือ พราหมณ์ชราชื่อ ราธะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่ไม่มีภิกษุรูปใดรับ
    เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ พระพุทธองค์ตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่า “ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณ
    ของพราหมณ์นี้ได้บ้าง” พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า “ระลึกได้ คือ ครั้งหนึ่งราธพราหมณ์ผู้นี้
    ได้เคยใส่บาตร ด้วยข้าวสุกแก่ท่านหนึ่งทัพพี” พระพุทธองค์จึงทรงมอบให้ท่านสารีบุตร เป็น
    พระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้แก่ ราธพราหมณ์

ที่มา http://www.84000.org/one/1/03.html


    พระพุทธเจ้ายังเคยตรัสว่า สารีบุตรอยู่ทิศใด เหมือนพระองค์อยู่ทิศนั้น

    ถึงตรงนี้ น่าจะยืนยันได้ว่า คำสอนของพระสารีบุตร เปรียบเสมือนคำสอนของพระพุทธองค์

    ส่วนเรื่องการกำหนดรู้ เรื่องนี้อธิบายยาก ผมยังไปไม่ถึง ขอไม่กล่าวอะไร
     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 01, 2011, 11:25:51 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 09:52:24 am »
0
เป็นเืรื่อง ที่ควรอ่านอีกเรือง โดยเฉพาะ เรื่อง วิญญาณฐิติ 7 นั้นมีปรากฏในหนังสือ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค
ช่วงปลาย นะจ๊ะ

 อนุโมทนา กับผู้โพสต์ทุกท่าน

 เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา