ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม  (อ่าน 4483 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สากัจฉา  หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม 
(ม.มู.อ.  ๒/๔๕๒/๒๕๔)


อยากทราบความหมาย เพราะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับกับประโยคนี้ ครับ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

สากัจฉา
    น. การพูดจา, การปรึกษา. (ป.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๓. สากัจฉาสูตร

             [๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยศีลสัมปทากถาได้๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติญาณทัสสนะสัมปทากถาได้ ๑


ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์

จบสูตรที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๔๒๓ - ๔๔๓๖. หน้าที่ ๑๙๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4423&Z=4436&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=163
ขอบคุณภาพจากwww.rmutphysics.com




วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

            พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง   ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้     สติปัญญาที่แตกต่างกัน   พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม   เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง  ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้
 
วิธีการสอนแบบต่างๆ
            วิธีการสอนแบบต่างๆ ของพระพุทธเจ้าในหัวข้อนี้   ผู้เขียนได้กำหนดขอบข่ายตามลักษณะหัวข้อที่พระธรรมปิฎกกล่าวไว้ในหนังสือชื่อว่าพุทธวิธีการสอน   เพื่อง่ายต่อการจัดลำดับขั้นตอนการทำความเข้าใจ  ซึ่งการสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ามีวิธีการที่หลากหลาย    พระองค์จะทรงพิจารณาจากบุคคลที่กำลังรับฟัง   ถ้าบุคคลมีระดับสติปัญญาน้อย ก็จะทรงสอนธรรมะอีกรูปแบบหนึ่ง ผู้มีปัญญามากก็จะใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถึงจะมีวิธีการสอนที่หลากหลายอย่างไร    เมื่อจัดเข้าอยู่ในประเภทแล้ว   จำแนกวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้ ๔ ประเภทคือ
 
          ๑. แบบสากัจฉาหรือสนทนา
            เป็นการสอนโดยใช้วิธีการถามคู่สนทนา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจธรรมะและความเลื่อมใสศรัทธา    วิธีการสอนแบบนี้จะเห็นได้จากการที่พระองค์ใช้โปรดบุคคลในกลุ่มที่มีจำนวนจำกัดที่สามารถพูดตอบโต้กันได้   การสอนแบบนี้จะมีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายๆที่

            เช่นกรณีของปริพพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร  ที่เข้าไปทูลถามเรื่องความเห็นสุดโต่ง ๑๐ ประการกับพระองค์   และก็ได้มีการสนทนาแบบถาม – ตอบ ในเรื่องดังกล่าวระหว่างปริพพาชกกับพระพุทธองค์ เป็นต้น   ในการสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนา   จะมีการถามในรายละเอียดได้มากกว่าการสอนแบบทั่วไป   เพราะเป็นการให้ข้อมูลต่อกลุ่มชนที่มีจำนวนจำกัด    เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบ   ผู้ฟังมักจะได้รับคุณวิเศษจากการฟังธรรมโดยวิธีนี้อยู่เสมอ
         
          ๒.   แบบบรรยาย 
            พระพุทธเจ้าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจำวัน   ซึ่งมีประชาชนและพระสาวกเป็นจำนวนมากมารับฟัง ถือว่าเป็นวิธีการที่พระพุทธองค์ใช้มากที่สุดในการแสดงธรรม    มีทั้งการแสดงธรรมที่มีใจความยาว และที่มีใจความแบบสั้นๆตามแต่สถานการณ์ที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น ในพรหมชาลสูตร   พระองค์ก็ได้บรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของศีลซึ่งแบ่งออกเป็น   ๓ ระดับคือ

            ๑)   ศีลระดับต้นที่เรียกว่าจุลศีล 
            ๒)   ศีลระดับกลางที่เรียกว่ามัชฌิมศีล 
            ๓)   ศีลระดับสูงที่เรียกว่ามหาศีล 


            และในตอนท้ายก็ทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ  ทฤษฎีหรือปรัชญาของลัทธิต่างๆ ร่วมสมัยพุทธกาล    ซึ่งมีทั้งหมด ๖๒ ทฤษฎี   โดยพระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงหรือบรรยาย และชี้ให้เห็นว่า   พระพุทธศาสนามีความเห็น   หรือมีหลักคำสอนที่ต่างจากทฤษฎีทั้ง ๖๒ ประการนี้อย่างไร
 
          ๓. แบบตอบปัญหา
            การสอนแบบตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า จะทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะสมกัน   ซึ่งในการตอบปัญหาของพระองค์นั้น จะทรงพิจารณาจากความเหมาะสม     ตามลำดับแห่งภูมิรู้ของผู้ถามเป็นสำคัญ   เช่น   ในเทวตาสังยุตที่มีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า   “บุคคลให้อะไรชื่อว่าให้กำลัง   ชื่อว่าให้วรรณะ   ชื่อว่าให้ความสุข   ชื่อว่าให้จักษุ   ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

            พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า   “บุคคลที่ให้ข้าว   ชื่อว่าให้กำลัง   ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ   ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข   ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ     และผู้ให้ที่พักชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมตะ” ในเนื้อหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะการสอนแบบตอบปัญหา   และแสดงถึงการให้ความหมาย ด้วยการตีความคำถามในขณะเดียวกันด้วย
 
          ๔.   แบบวางกฎข้อบังคับ 
            เป็นการสอนโดยใช้วิธีการกำหนดหลักเกณฑ์   กฎ   และข้อบังคับให้พระสาวกหรือสงฆ์ปฏิบัติ   หรือยึดถือปฏิบัติด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน     วิธีการนี้จะเป็นลักษณะของการออกคำสั่งให้ผู้ศึกษาปฏิบัติตาม     ถือว่าเป็นการสอนโดยการวางระเบียบให้ปฏิบัติร่วมกัน   เพื่อความสงบสุขแห่งหมู่คณะ   

ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ   ซึ่งใช้เป็นข้อบังคับให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม   และที่สำคัญกฎข้อบังคับที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้น   สามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ได้   ดังที่ทรงตรัสในวันที่จะเสด็จปรินิพพานว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว   บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย   หลังจากเราล่วงลับไปก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย”


อ้างอิง
หนังสือ "วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า"   
ผู้เรียบเรียงอาศัยแนวการอธิบายของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
รวมทั้งในส่วนกลวิธีในการสอนด้วย   เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจตามกรอบของคำสอนตามแนวที่ท่านได้กล่าวไว้ใน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต),
พุทธวิธีในการสอน, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมมิก, ๒๕๔๔).
http://www.watyan.net/?name=news&file=readnews&id=40
ขอบคุณภาพจากwww.rd1677.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ศรีสุพรรณ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 66
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดังนั้น สากัจฉา ก็หมายถึงการร่ำเรียน กรรมฐาน ใช่หรือไม่คะ

  :25:
บันทึกการเข้า
อย่าเห็นแก่ตัว จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน
เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ..... ด้วยใจศรัทธา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา กับคำอธิบาย ชัดเจนแล้ว ในความหมายของ อรรถ และ พยัชนะ

เจริญพร
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ