ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ  (อ่าน 5131 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PISSAMAI

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ

เพราะไม่ทราบว่า สำคัญมากหรือไม่ อยากรู้เรื่องปีติ มาก ๆ คะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2011, 12:58:01 pm »
0
เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ

เพราะไม่ทราบว่า สำคัญมากหรือไม่ อยากรู้เรื่องปีติ มาก ๆ คะ

การปฏิบัติภาวนา "ปิติธรรม" นั้น แสดงถึงวาสนาของบุคคล ในอันที่จะบรรลุคุณธรรม หากไร้ซึ่งปิติธรรมแล้วไซร้

ก็ยากที่จะภาวนาสำเร็จ เพราะปิติธรรมเป็นพระลักษณะบาทฐานแรกที่ผู้ภาวนาจะต้องผ่านมี ถ้าจะถามว่าต้องเกิด

ทุกครั้งไหมที่ภาวนา ก็เกิดได้ถ้าสม่ำเสมอในการภาวนา ถ้าไม่สม่ำเสมอแล้วก็เกิดได้เช่นกันแต่ไม่ทุกครั้งที่ภาวนา

แล้วการภาวนาของผู้ภาวนาจะมีปิติธรรมแตกต่างกันด้วย ซึ่งแล้วแต่จริตธาตุ ในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

มีกล่าวไว้เป็นอรรถเป็นพยัญชนะละเอียดหาค้นได้ครับ
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2011, 09:06:38 pm »
0
  ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในห้องพระธรรมปิติ มีปิติประจำฐานอยู่แล้ว

  เรียกเป็นทางการว่า "พระลักษณะ" เป็นอาการทางกายครับ

  ถ้าถามว่า มีคนฝึกแล้วไม่มีปิติหรือไม่ ตอบว่า มีครับ

  ถึงแม้จะไม่มีอาการทางกายแสดงออกมา แต่ก็จะมี "ฉันทะ"

  คือ มีความผูกพันและพอใจที่จะปฏิบัติ(ปฏิบัติแล้วมีความสุข)

  ฉันทะอันนี้ ถือว่า เป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่บอกถึงผลสำเร็จของการฝึกในห้องนี้


   :25:



  ผมขอนำข้อความหนึ่ง ซึ่งอยู่ใน หนังสือ "คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ" มาแสดงบางส่วนดังนี้

      ท่านจงเจริญ พุทธานุสสติ อันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย เมื่อเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จะยังใจให้เต็มได้
   อารมณ์ของ พุทธานุสสติ ประกอบด้วย


      พระปีติ ๕ ประการ
      พระยุคลธรรม ๖ ประการ
      พระสุขสมาธิ ๒ ประการ
      แต่ละองค์มีอารมณ์ที่ต่างกัน


     ปีติธรรม ๕ แต่ละองค์ ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน 
     พระยุคลธรรม ๖ ประการ แต่ละองค์ ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน
     พระสุขสมาธิ แต่ละองค์ ก็มีอารมณ์ที่ต่างกัน

     ปีตินี้  เป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล  เป็นบาทฐานของสมาธิ เบื้องสูงต่อไป   

     อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ
๑.พระขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย          สมาธิเล็กน้อย       ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๑
๒.พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ            สมาธิชั่วขณะ        ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒
๓.พระโอกกนฺติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ    สมาธิเป็นพักๆ       ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓
๔.พระอุพฺเพงคาปีติ ปีติโลดโผน       สมาธิเต็มที่            ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน                 สมาธิแผ่ซ่าน          ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕


อ้างอิง
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง



   อยากรู้รายละเอียด เชิญดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2011, 09:08:55 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2011, 08:53:46 am »
0
เวลาปฏิบัติ ก็ควร จะเกิด ปีติ ครับ เพราะ ปีติ เป็น สภาวะธรรมบาทแรก ของ สมาธิ

 ในสมาธิ ประกอบ ด้วย องค์ หลัก ดังนี้ 1 ปีติ 2 สุข 3 สมาธิ ( เอกัคคตา ) 4 อุเบกขา

ดังนั้น การภาวนา กรรมฐาน ใช้ วิตก กับ วิจาร เข้าไปหา องค์ หลัก  ครับ

  ดังนั้น จิต ไม่เกิดปีติ ก็ไม่เกิด ฉันทะสมาธิ เมื่อไม่มี ฉันทะสมาธิ ก็ไม่มี ปราโมทย์ในสมาธิ

เมื่อไม่มีปราโมทย์ในสมาธิ ก็ย่อมไม่อยากปฏิบัติ สมาธิภาวนา หรือ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน

 :67: :67: :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 11:40:34 am »
0


ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ)

๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล)

๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ)

๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง)

๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ)

๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้)


อ้างอิง
วิสุทฺธิ.๑/๑๘๒.
พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับประมวลศัพท์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.kalasin-mu.go.th


            ปิติ ๕
   ขุททกาปิติ   ปิติอย่างน้อย
   ขณิกาปิติ   ปิติชั่วขณะ
   โอกกันติกาปิติ   ปิติเป็นพักๆ
   อุพเพงคาปิติ   ปิติอย่างโลดโผน
   ผรณาปิติ      ปิติซาบซ่าน


ปิติ แปลตามศัพท์ว่า ความอิ่มใจ ในที่นี้จำแนกเป็น ๕ คือ

๑. ขุททกาปิติ ปิติอย่างน้อย ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เมือเกิดขึ้นทำให้ขนชัน ทำให้น้ำตาไหล ตัวอย่างเช่น คนใจอ่อนอ่านเรื่องชาดกต่างๆ เกิดความสงสาร ปิติชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้น

๒. ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ ได้แก่ปิติที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ นั่งขัดสมาธิ พิจารณาธรรมอยู่ ปิติเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเสียวแปลบๆ เปรียบเสมือนฟ้าแลย

๓. โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ ปิติชนิดนี้เกิดขึ้นท่านกล่าวว่า ทำให้ร่างกายซู่ซ่าแรงกว่า เสียวแปลบๆ เปรียบเสมือนคลื่นกระแทกฝั่ง  เช่น ปิติของผู้บำเพ็ญเพียรทางใจที่ได้ขณิกาปิติ แต่แรงกว่า

๔. อุพเพงคาปิติ  ปิติอย่างโลดโผน ปิติชนิดนี้เมื่อเกิดอาจทำให้ใจฟู นำให้อื่นทำการอื่นโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเปล่งอุทาน เป็นต้น เหมือนปิติที่เกิดขึ้นแก่พระวักกลิ ผู้ได้ฟังการสั่งสอนของพระบรมศาสดา  ท่านเปล่งวาจาว่า คำสั่งสอนนี้ดียิ่ง เราได้สดับแล้วดังนี้ ด้วยอำนาจปิตินี้ทำให้กายลอยขึ้นไปในอากาศ ต่อเมื่อข่มปิติได้แล้ว จึงลงมาจากอากาศได้

๕. ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน ปิติชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย น่าจะได้แก่ ปิติของบุคคลผู้ดื่มรสของปิติอันเกิดแต่ธรรม หมดความกระวนกระวาย ไม่มีบาป ท่านกล่าวว่า ถ้ายกเอาการทำให้ขนลุกชัน มาเป็นลักษณะแห่งผรณาปิติ ความจักแจ่มขึ้นมาก



อ้างอิง คู่มือ ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒  น.ธ.โท เรียบเรียงโดย คณาจารณ์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง



   ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข

๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะ พองสยองเกล้า
๒.ขะณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแลบ
๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย


๖.พระกายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
๗.พระกายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๘.พระกายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณธรรม
    ได้บ้าง
๙.พระกายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา
๑๐.พระกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิต ไม่เฉื่อยชา

๑๑.พระกายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
๑๒.พระกายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต
       คือสมาธิ
๑๓.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
นิวรณธรรม เป็นกามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน


มีศีล เกิดปราโมทย์ๆ เกิดปีติ ๕ ประการๆ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการๆ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการๆ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์  ที่สมบูรณ์ เพราะเกิด เป็นขั้น เป็นตอนเป็นลำดับ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ


อ้างอิง
คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ขอบคุณภาพจาก www.kalasin-mu.go.th


    ผมนำเรื่องปิติจากหลายๆที่มาให้พิจาณา เพื่อความบันเทิงในธรรม :49:



    ผมแนบไฟล์คำบรรยายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่อง "ปิติ" มาให้ดาวน์โหลดไปอ่าน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2011, 12:54:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 28, 2011, 09:37:55 am »
0
อ้างถึง
มี ศีล เกิดปราโมทย์ๆ เกิดปีติ ๕ ประการๆ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการๆ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการๆ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์  ที่สมบูรณ์ เพราะเกิด เป็นขั้น เป็นตอนเป็นลำดับ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ

  ลำดับ ขั้น ตอน มองให้เห็นตาม วิสุทธ 7 ประการเลยคะ

   1. ศีลวิสุทธ ไปสู่ จิตวิสุทธิ

   ดังนั้น ศีล เป็นเหตุให้ เกิด ปราโมทย์

         ปราโมทย์ เป็นเหตุให้เกิด ปีติ

         ปีิติ เป็นเหตุให้เกิด ยุคลธรรมหก

         ยุคลธรรมหก เป็นเหตุให้เกิด สุขสมาธิ

         สุขสมาธิ เป็นเหตุให้เกิด สัมมาสมาธิ ( ความสมบูรณ์ ของสมาธิ )

    ดังนั้นผู้ฝึกในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครูอาจารย์ จึงให้ปฏิบัติซ้ำซาก อยู่ใน พระธรรมปีติ มากที่สุด

 เพราะปีติ เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของ สมาธิ นั่นเอง

      ดังนั้น เหตุของสมาธิ ที่คุณ natthaponson ยกมาไว้ จึงมีความสำคัญอย่างนี้ นะจ๊ะ


   :58:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 09:20:02 am »
0
ปีติเป็น ราก เป็นเค้า เป็นมูล เป็นต้นทางปีติ มีทั้งใน ฌานปีติ มีทั้งใน ญา๊ณ

ดังนั้นผู้ฝึกภาวนาจะเป็นส่วน สมถะ และ วิปัสสนา ก็ควรจะต้องผ่านปีติ

เจริญพร
 ;) [/]
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ