ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำว่า เกจิ ครูบา นี้เวลาเรียกพระสงฆ์ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร คะ  (อ่าน 14352 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สงสัยคะ บางทีเราไปพบพระสงฆ์ ก็เรียก หลวงพี่บ้าง หลวงพ่อบ้าง หลวงปู่บ้าง วันนั้นก็เรียก พระรูปหนึ่งว่า หลวงพี่ แต่เพื่อน ๆ ก็บอกว่า เรียกหลวงพี่ไม่ได้ ต้องเรียกว่า ครูบา....  เพราะท่านเป็น เกจิ

  ก็เลยถามเพื่อนว่า แล้ว ครูบา   กับ เกจิ นี่ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ตกลงเพื่อน ๆ บอกว่าให้เรียกแบบนี้ก็เรียกแบบนี้ก็แล้วกัน เอ้าเป็นงั้นไป

 มาถามที่นี่ ดีกว่า

  ขอบคุณ มากคะ

   :c017: :25: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เกจิอาจารย์
    น. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


     คําว่า เกจิ เป็นคําบาลีสันสกฤต ประกอบด้วยคํา เกจิ กับอาจารย์
     เกจิ แปลว่า บางพวก บางเหล่า เช่น
     เกจิภิกขุ แปลว่า ภิกษุบางพวก เกจิปุคคลา แปลว่า บุคคลบางพวก


     อาจารฺย เป็นคำนาม แปลว่า บุคคลที่ศิษย์ควรประพฤติโดนเอื้อเฟื้อ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้

     เกจิอาจารย์ ในภาษาไทยมักจะใช้ในความหมายว่า พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง พระภิกษุที่ประชาชนจำนวนมากเคารพนับถือว่า เป็นผู้มีวิทยาคมและธรรมปฏิบัติ เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก เกจิอาจารย์ดังๆหลายท่านได้รับนิมนต์มาเข้าร่วมพิธีด้วย ในการปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งนี้ อาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาล้วนแต่เป็นเกจิอาจารย์ทั้งนั้น

     ต่อมา เมื่อต้องการจะยกย่องผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็มีผู้นำคำ เกจิอาจารย์ มาใช้ เช่น การแข่งขันชกมวยครั้งนี้ เกจิอาจารย์หลายคนทำนายว่า สด จิตรลดาจะชนะในยกที่สาม



ที่มา http://sbntown.com/forum/group.php?do=discuss&gmid=33845
ขอบคุณภาพจาก http://farm3.static.flickr.com/



ที่มาของ "เกจิอาจารย์"

พระอาจารย์ กล่าวว่า "พวกเราน่าจะบรรลุธรรมกันง่าย เพราะปราศจากความสงสัย อย่างที่อาตมาเคยถามว่า ม้ากัณฐกะ เป็นสหชาติของ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ตอนอายุ ๒๙ พรรษา ม้ากัณฐกะก็อายุ ๒๙ ปี ซึ่งถือว่าเป็นม้าที่แก่มากแล้ว แล้วนำพระพุทธเจ้าออกมหาภิเนษกรมณ์วิ่งไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ถ้าเป็นสมัยนี้ก็วิ่งข้ามจังหวัด ม้าแก่อายุ ๒๙ วิ่งข้ามจังหวัด พวกเราคิดว่าไหวหรือ ?

ดังนั้น..จึงมีข้อชวนสงสัยอยู่ข้อหนึ่งว่า พอพระพุทธเจ้าสั่งให้ม้ากัณฐกะกลับ ม้ากัณฐกะหัวใจสลายตาย ตกลงว่าหัวใจสลายหรือเหนื่อยตายกันแน่ ?"

ถาม : ในพระไตรปิฎกไม่ได้บอกอาการข้างเคียงของม้ากัณฐกะ อย่างเช่นน้ำลายฟูมปากหรือครับ ?

ตอบ : ไม่มี.. ถ้าใน เกจิอาจารย์ ผู้อธิบายอนุฎีกาอาจจะมีก็ได้

พระไตรปิฎกนี้เขาถือเป็น บาลี หลัก แต่บางสิ่งบางอย่างยุคสมัยถัดไปจะไม่รู้ จึงมี อรรถกถา ขึ้นมาอธิบายพระบาลี พอนานไปสิ่งที่อรรถกถาอธิบายก็ไม่เหมาะกับยุคสมัยอีก จะมี ฎีกาจารย์ ขึ้นมาอธิบายอรรถกถา

พอถัดไปอีกยุคหนึ่ง คำอธิบายของฎีกาจารย์ รุ่นหลังก็ไม่รู้ อย่างเช่น บอกว่าพระอาจารย์ฝ่ายข้างนั้น รุ่นหลังไม่รู้ว่าฝ่ายข้างไหน เพราะฎีกาจารย์เขาแบ่งเป็นมหาวิหาร กับ อภัยคีรีวิหาร ทีนี้เราก็ไม่รู้ว่าฎีกาจารย์ที่เขียนเป็นฝ่ายมหาวิหารหรือเป็นฝ่ายอภัยคีรีวิหาร เขาจะใช้ในลักษณะที่ไม่ให้กระทบกระทั่งกันว่า พระอาจารย์ฝ่ายข้างนั้น ก็จะมี อนุฎีกาจารย์ มาอธิบายฎีกาอีกทอดหนึ่ง

พอนานไปอนุฎีกาคนก็ไม่เข้าใจอีก ก็มี เกจิอาจารย์ มาอธิบายอนุฎีกา
ดังนั้น..เกจิ แปลว่า ต่าง ๆ เกจิอาจารย์ แปลว่า อาจารย์ต่าง ๆ กันไป คือ อาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งก็ได้ ที่มีความเข้าใจแล้วมาอธิบายให้ฟัง

แต่คนรุ่นหลังไปตีความคำว่าเกจิอาจารย์ ไปอีกอย่าง กลายเป็นว่า ต้องมีความขลัง สามารถทำการปลุกเสกเลขยันต์ได้ เป็นการใช้ความหมายผิด ความหมายที่ใช้ผิดของบาลีมีเยอะในปัจจุบัน

สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓



ที่มา http://board.palungjit.com/f61/ที่มาของ-เกจิอาจารย์-278642.html
ขอบคุณภาพจาก http://farm3.static.flickr.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย

 
ความเห็นของคุณ mahatep
     อิสาน พระบวชวันแรกเรียกครูบา
     ๑๐ พรรษา ขึ้นไป เรียก อาจารย์
     ๒๐ พรรษา ขึ้นไป เรียก ครูจารย์
     ๓๐ พรรษา ขึ้นไป เรียก พ่อแม่ครูอาจารย์ครับ


ความเห็นของคุณ mayrin
   จาก สืบสานตำนานลานนา ความหมายของคำว่าครูบา
   คำว่า "ครูบา" เป็นภาษาบาลี
   มาจากคำว่า "ครุปิ อาจาริโย " แปลว่า เป็นทั้งครูและอาจารย์
   มาจากคำว่า"ครุปา" และเพี้ยนเป็น "ครูบา" ในที่สุด
   เป็นคำที่พบว่า ใช้กันเฉพาะในวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น


     เป็นตำแหน่งทางสังคมของสงฆ์ หมายถึงการยกย่องเชิดชูพระสงฆ์ผู้ได้รับ การยกย่องและ นับถือศรัทธา จากประชาชน หรือมีผลงานปรากฎแก่ชุมชน
     โดยจะใช้คำว่า ครูบานี้ เป็นสรรพนามนำหน้า ภิกษุสงฆ์รูปนั้นๆ พระสงฆ์ทั่วๆไปไม่มีสิทธิ์แต่งตั้งตัวเองเป็นครูบา

    ปัจจุบันตำแหน่งดังกล่าวยังคงมีการใช้อยู่โดยทั่วไป เช่น ครูบาวงค์ (ไชยวงค์ศาพัฒนา ) วัดพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาคำปาน วัดหัวขัว ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น

     สำหรับครูบาศรีวิชัย เป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับยกย่องว่าเป็น ครูบา เพราะท่านมีมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และเป็นที่เคารพและศรัทธาของประชาชนทั่วภาคเหนือ ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าท่านเป็นตนบุญซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดจากศรัทธาของ ชุมชนและเป็นตำแหน่ง ที่อยู่ในฐานะของการเป็นศูนย์รวมของพลังศรัทธาประชาชนอย่างแท้จริง



ที่มา http://larndham.org/index.php?/topic/22687-พระป่าเริ่มเรียกพระบวชใหม่ว/
ขอบคุณภาพจาก http://img23.imageshack.us/


   คำว่า เกจิ มีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่คำว่า เกจิอาจารย์ มีอยู่เฉพาะในชั้นอรรถกถา
   ส่วนคำว่า ครูบา ในพระไตรปิฎกไม่มีครับ

   ทางเหนือมีคำหนึ่ง "ตุ๊พ่อ" น่าจะหมายถึง หลวงพ่อ
   ผมเองไม่สันทัดภาษาเหนือ คนเหนืออู้ให้อ่านหน่อยครับ

    :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2011, 02:16:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ยินมาว่า ตำแหน่งครูบา เป็นตำแหน่งของพระในสายพม่า หรือ พระสงฆ์ไทยได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์พม่า ก็ได้รับการแต่งตั้งมาจากประเทศพม่า ที่ทราบเพราะผมได้ไปร่วม งานฉลองครูบาที่ วัดชิณธาตุดอยตุง ซึ่งพระครูเจ้าอาวาสได้รับแต่งตั้งถวายมาจากประเทศพม่า ทราบว่าในประเทศไทย มีเพียง 3 รูปเท่าันั้นที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกนั้นอุปโลกน์ โดยชาวบ้าน หรือ ตัวพระสงฆ์เอง ครัับ จริงเท็จอย่างไร แนะนำกันต่อได้นะครับ

   :08:
บันทึกการเข้า

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ ความรู้ ขึ้นมามากเลยครับ ผมเองก็เรียกตามเขามาตั้งนาน พึงทราบสาเหตุการเรียก

 แต่อย่างไรเสีย การเรียกนั้น ก็เพราะอาศัยความเคารพจึงได้เรียก แต่ถ้าใช้ผิดก็จะไม่ดี
 
  อย่างเช่น การใช้คำเรียก หลวงพ่อโต  ขรัว  สมเด็จ อย่างนี้เป็นต้น  ดังนั้นขอถามต่อเลยครับ

เมื่อใดเราจะเรียกพระสงฆ์ ว่า ขรัว  และ สมเด็จ ครับ


 ขอบคุณ ครับ
บันทึกการเข้า